ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
ภัททิยวรรคที่ ๕๕
ลกุณฏกภัททิยเถราปทานที่ ๑
ว่าด้วยบุพจริยาของพระกุณฏกภัททิยเถระ
[๑๓๑] ในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้ พระพิชิตมารพระนามว่าปทุมุตระ ทรงรู้ จบธรรมทั้งปวง เป็นพระผู้นำได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ครั้งนั้น เรา เป็นบุตรเศรษฐีมีทรัพย์มาก ในพระนครหงสวดี เที่ยวเดินพักผ่อนอยู่ ได้ไปถึงสังฆาราม คราวนั้น พระผู้นำผู้ส่องโลกให้โชติช่วงพระองค์ นั้น ทรงแสดงพระธรรมเทศนา ได้ตรัสสรรเสริญพระสาวกผู้ประ- เสริฐกว่าภิกษุทั้งหลายที่มีเสียงไพเราะ เราได้สดับพระธรรมเทศนา นั้นแล้วก็ชอบใจ จึงได้ทำสักการะแก่พระองค์ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ถวายบังคมพระบาททั้งสองของพระศาสดาแล้ว ปรารถนาฐานันดร นั้น ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้นำชั้นพิเศษ ได้ตรัสพยากรณ์ใน ท่ามกลางพระสงฆ์ว่า ในอนาคตกาล ท่านจักได้ฐานันดรนี้สมดัง มโนรถความปรารถนา ในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้ พระศาสดามี พระนามชื่อว่าโคดม ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จ อุบัติขึ้นในโลก เศรษฐีบุตรผู้นี้ จักได้เป็นธรรมทายาทของพระ ศาสดาพระองค์นั้น เป็นโอรสอันธรรมเนรมิต เป็นสาวกของพระ ศาสดา มีนามชื่อว่าภัททิยะ เพราะกรรมที่ทำไว้ดีนั้น และเพราะ การตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในกัปที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้ พระพิชิตมารพระนามว่าผุสสะเป็นผู้นำ ยากที่จะหาผู้เสมอ ยากที่จะข่มขี่ได้ สูงสุดกว่าโลกทั้งปวงได้เสด็จ อุบัติขึ้นแล้ว และพระพุทธองค์ทรงสมบูรณ์ด้วยจรณะ เป็นผู้ ประเสริฐเที่ยงตรง ทรงมีความเพียรเผากิเลส ทรงแสวงหา ประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ทรงเปลื้องสัตว์เป็นอันมากจาก กิเลสเครื่องจองจำ เราเกิดเป็นนกดุเหว่าขาวในพระอารามอันน่าเพลิด เพลินเจริญใจ ของพระผุสสสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เราอยู่ ที่ต้นมะม่วงใกล้พระคันธกุฎี ครั้งนั้น เราเห็นพระพิชิตมารผู้สูงสุด เป็นพระทักขิไณยบุคคล เสด็จพระราชดำเนินไปบิณฑบาต จึงทำ จิตให้เลื่อมใส แล้วร้องด้วยเสียงอันไพเราะ ครั้งนั้น เราบินไป สวนหลวงคาบผลมะม่วงที่สุกดีมีเปลือกเหมือนทองคำมาแล้วน้อม เข้าไปถวายแด่พระสัมพุทธเจ้า เวลานั้น พระพิชิตมารผู้ประกอบ ด้วยพระกรุณา ทรงทราบวาระจิตของเรา จึงทรงรับบาตรจากมือของ ภิกษุผู้อุปัฏฐาก เรามีจิตร่าเริงถวายผลมะม่วงแด่พระมหามุนี เราใส่ บาตรแล้วก็ประนมปีกร้องด้วยเสียงอันไพเราะ น่ายินดี เสนาะน่า ฟัง เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า แล้วไปนอนหลับ ครั้งนั้น นกเหยี่ยว ผู้มีใจชั่วช้าได้โฉบเอาเรา ผู้มีจิตเบิกบาน มีอัธยาศัยไปสู่ความรัก- ต่อพระพุทธเจ้าไปฆ่าเสีย เราจุติจากอัตภาพนั้นไปเสวยมหันตสุขใน สวรรค์ชั้นดุสิต แล้วมาสู่กำเนิดมนุษย์เพราะกรรมนั้นพาไป ใน ภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าผู้มีพระนามตามพระโคตรว่ากัสสป เป็นเผ่า พันธุ์พรหมมีพระยศใหญ่ ประเสริฐกว่านักปราชญ์ ได้เสด็จอุบัติขึ้น แล้วพระองค์ทรงยังพระศาสนาให้โชติช่วงครอบงำเดียรถีย์ผู้หลอก ลวงทรงแนะนำเวไนยสัตว์พระองค์พร้อมทั้งพระสาวกปรินิพพานแล้ว เมื่อพระพุทธองค์ผู้เลิศในโลกปรินิพพานแล้ว ประชุมชนเป็นอันมาก ที่เลื่อมใส จักทำพระสถูปของพระศาสดา เพื่อต้องการจะบูชาพระ พุทธเจ้า เขาปรึกษากันอย่างนี้ว่า จักช่วยกันทำพระสถูปของ พระศาสดาผู้แสวงหาพระคุณอันใหญ่ ให้สูงเจ็ดโยชน์ ประดับ ด้วยแก้ว ๗ ประการ ครั้งนั้น เราเป็นจอมทัพของพระเจ้าแผ่นดิน แคว้นกาสีพระนามว่ากิกี ได้พูดลดประมาณที่พระเจดีย์ของพระพุทธ เจ้า ผู้ไม่มีประมาณเสีย ครั้งนั้น ชนเหล่านั้นได้ช่วยกันทำเจดีย์ ของศาสดา ผู้มีพระปัญญากว่านรชน สูงโยชน์เดียว ประดับด้วย รัตนะนานาชนิด ตามถ้อยคำของเรา เพราะกรรมที่ทำไว้ดีนั้น และ เพราะการตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ ก็ในภพสุดท้ายในบัดนี้ เราเกิดในสกุลเศรษฐีอันมั่งคั่ง สมบูรณ์ มีทรัพย์มากมาย ในพระนครสาวัตถีอันประเสริฐ เราได้ เห็นพระสุคตเจ้าในเวลาเสด็จเข้าพระนครก็อัศจรรย์ใจ จึงบรรพชา ไม่นานก็ได้บรรลุอรหัต เพราะกรรมคือการลดประมาณของพระเจดีย์ เราได้ทำไว้ เราจึงมีร่างกายต่ำเตี้ย ควรจะเป็นร่างกายกลม เราบูชา พระพุทธเจ้าสูงสุดด้วยเสียงอันไพเราะ จึงได้ถึงความเป็นผู้เลิศกว่า ภิกษุทั้งหลายที่มีเสียงไพเราะ เพราะการถวายผลไม้แด่พระพุทธเจ้า และเพราะการอนุสรณ์ถึงพระพุทธคุณ เราจึงสมบูรณ์ด้วยสามัญผล ไม่มีอาสวะอยู่ เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... พระพุทธศาสนาเรา ได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระลกุณฏกภัททิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ลกุณฏกภัททิยเถราปทาน.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๓๔๓๔-๓๔๙๗ หน้าที่ ๑๔๙-๑๕๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=33&A=3434&Z=3497&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=33&siri=131              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=131              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [131] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=33&item=131&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=6425              The Pali Tipitaka in Roman :- [131] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=33&item=131&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=6425              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_33              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap543/en/walters

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :