ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
จิตตารัมมณกถา
[๑๐๖๕] สกวาที ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น มีจิตเป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรม อื่นเป็นอารมณ์ หรือ? ปรวาที ถูกแล้ว ส. มีบางคน เมื่อจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีราคะ มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า มีบางคนเมื่อจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีราคะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น มีจิตเป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่นเป็น อารมณ์ ส. มีบางคน เมื่อจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ ฯลฯ เมื่อจิต มีโทสะ ฯลฯ เมื่อจิตปราศจากโทสะ เมื่อจิตมีโมหะ เมื่อจิตปราศจาก โมหะ เมื่อจิตหดหู่ เมื่อจิตกวัดแกว่ง เมื่อจิตใหญ่ เมื่อจิตไม่ใหญ่ เมื่อจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า เมื่อจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า เมื่อจิตเป็นสมาธิ เมื่อ จิตไม่เป็นสมาธิ เมื่อจิตหลุด ฯลฯ เมื่อจิตยังไม่หลุด ก็รู้ชัดว่าจิตยัง ไม่หลุด มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า มีบางคนเมื่อจิตยังไม่หลุด ก็รู้ชัดว่า จิตยังไม่หลุด ก็ต้องไม่ กล่าวว่า ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น มีจิตเป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มี ธรรมอื่นเป็นอารมณ์ [๑๐๖๖] ส. ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น พึงกล่าวว่า ความรู้ในอารมณ์ คือ ผัสสะ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น พึงกล่าวว่า ความรู้ในอารมณ์ คือ ผัสสะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น มีจิตเป็นอารมณ์ เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์ ส. ความรู้ในการกำหนดใจผู้อื่น พึงกล่าวว่า ความรู้ในอารมณ์ คือ เวทนา ฯลฯ ว่าความรู้ในอารมณ์คือสัญญา ว่าความรู้ในอารมณ์คือเจตนา ว่า ความรู้ในอารมณ์คือจิต ว่าความรู้ในอารมณ์คือศรัทธา ว่าความรู้ในอารมณ์ คือ วิริยะ ว่าความรู้ในอารมณ์คือสติ ว่าความรู้ในอารมณ์คือสมาธิ ว่า ความรู้ในอารมณ์คือปัญญา ฯลฯ ว่าความรู้ในอารมณ์คือราคะ ฯลฯ ว่าความรู้ในอารมณ์ คือโทสะ ฯลฯ ว่าความรู้ในอารมณ์คืออโนตตัปปะ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น พึงกล่าวว่า ความรู้ในอารมณ์คือ อโนตตัปปะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น มีจิตเป็น อารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์ [๑๐๖๗] ส. ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น ไม่พึงกล่าวว่า ความรู้ในอารมณ์ คือ ผัสสะ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เป็นความรู้ในการกำหนดรู้ผัสสะ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น ไม่พึงกล่าวว่า ความรู้ในอารมณ์คือเวทนา ฯลฯ ว่าความรู้ในอารมณ์คือสัญญา ฯลฯ ว่าความรู้ในอารมณ์ คือ อโนตตัปปะ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เป็นความรู้ในการกำหนดรู้อโนตตัปปะ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๐๖๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น มีจิตเป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. เป็นความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น มิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. หากว่า เป็นความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น ด้วยเหตุนั้นนะท่าน จึงต้อง กล่าวว่าความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น มีจิตเป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรม อื่นเป็นอารมณ์
จิตตารัมมณกถา จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๑๐๒๐๖-๑๐๒๖๒ หน้าที่ ๔๒๓-๔๒๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=10206&Z=10262&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=37&siri=69              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1065              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [1065-1068] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=37&item=1065&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4783              The Pali Tipitaka in Roman :- [1065-1068] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=37&item=1065&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4783              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv5.7/en/aung-rhysdavids

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :