ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
อนุสยา อนารัมมณาติกถา
[๑๓๒๗] สกวาที อนุสัยเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ? ปรวาที ถูกแล้ว ส. เป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๓๒๘] ส. กามราคานุสัย เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสัญโญชน์ กาโมฆะ กามโยฆะ กาม- ฉันทนิวรณ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสัญโญชน์ กาโมฆะ กามโยคะ กาม- ฉันทนิวรณ์ เป็นธรรมมีอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. กามราคานุสัย เป็นธรรมมีอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๓๒๙] ส. กามราคานุสัย เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. นับเนื่องในขันธ์ไหน? ป. นับเนื่องในสังขารขันธ์ ส. สังขารขันธ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. สังขารขันธ์เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๓๓๐] ส. กามราคานุสัย นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. กามราคะนับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. กามราคะนับเนื่องในสังขารขันธ์ และเป็นธรรมมีอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. กามราคานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ และเป็นสารัมมณะ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๓๓๑] ส. กามราคานุสัย นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ส่วน กามราคะนับเนื่องในสังขารขันธ์ และเป็นธรรมมีอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่ง เป็นธรรมมีอารมณ์ แต่อีกส่วนหนึ่งเป็นธรรมไม่ อารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่ง เป็นธรรมมีอารมณ์ แต่อีกส่วนหนึ่งเป็นธรรมไม่ มีอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ ส่วนหนึ่งเป็นธรรมมีอารมณ์ แต่อีกส่วนหนึ่งเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๓๓๒] ส. ปฏิฆานุสัย มานานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชา- นุสัย เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชาสัญโญชน์ อวิชชานิวรณ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ ฯลฯ อวิชชานิวรณ์ เป็นธรรมมีอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. อวิชชานุสัย เป็นธรรมมีอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๓๓๓] ส. อวิชชานุสัย เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. นับเนื่องในขันธ์ไหน? ป. นับเนื่องในสังขารขันธ์ ส. สังขารขันธ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. สังขารขันธ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๓๓๔] ส. อวิชชานุสัย นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. อวิชชา นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. อวิชชา นับเนื่องในสังขารขันธ์ และเป็นธรรมมีอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. อวิชชานุสัย นับเนื่องในสังขารขันธ์ และเป็นธรรมมีอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๓๓๕] ส. อวิชชานุสัย นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ส่วน อวิชชานับเนื่องในสังขารขันธ์ และเป็นธรรมมีอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่ง เป็นธรรมมีอารมณ์ แต่อีกส่วนหนึ่ง เป็นธรรมไม่ มีอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. สังขารส่วนหนึ่งเป็นธรรมมีอารมณ์ แต่อีกส่วนหนึ่งเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ ส่วนหนึ่งเป็นธรรมมีอารมณ์ แต่อีกส่วนหนึ่ง เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๓๓๖] ส. ไม่พึงกล่าวว่า อนุสัยเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. ปุถุชน เมื่อจิตเป็นกุศลและอัพยากฤตเป็นไปอยู่ พึงกล่าวได้ว่า เป็นผู้ มีอนุสัย หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. อารมณ์ของอนุสัยเหล่านั้น มีอยู่หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ป. ถ้าอย่างนั้น อนุสัยก็เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ น่ะสิ [๑๓๓๗] ส. ปุถุชน เมื่อจิตเป็นกุศลและอัพยากฤตเป็นไปอยู่ พึงกล่าวได้ว่า เป็นผู้ มีราคะ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. อารมณ์ของราคะนั้นมีอยู่หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ถ้าอย่างนั้น ราคะก็เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ น่ะสิ
อนุสยา อนารัมมณาติกถา จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๑๓๒๒๒-๑๓๓๒๓ หน้าที่ ๕๕๑-๕๕๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=13222&Z=13323&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=37&siri=107              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1327              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [1327-1337] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=37&item=1327&items=11              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=5497              The Pali Tipitaka in Roman :- [1327-1337] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=37&item=1327&items=11              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=5497              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv9.4/en/aung-rhysdavids

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :