ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
             [๓๐๒] ดูกรสันทกะ ในลัทธิของศาสดานั้น วิญญูชนย่อมเห็นตระหนักดังนี้ว่า ท่าน
ศาสดาผู้มีปกติกล่าวอย่างนี้ว่า มีความเห็นอย่างนี้ว่า ไม่มีใครทำ ไม่มีแบบอย่างอันใครทำ ไม่มี
ใครนิรมิต ไม่มีใครให้นิรมิต เป็นสภาวะยั่งยืน ตั้งอยู่มั่นคงดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นคงดุจ
เสาระเนียด สภาวะ ๗ กองเหล่านั้น ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน ไม่เบียดเบียนกันและกัน
ไม่อาจให้เกิดสุขหรือทุกข์หรือทั้งสุขทั้งทุกข์แก่กันและกัน สภาวะ ๗ กองเป็นไฉน คือ กองดิน
กองน้ำ กองไฟ กองลม สุข ทุกข์ ชีวะเป็นที่ ๗ สภาวะ ๗ กองนี้ ไม่มีใครทำ ไม่มีแบบ
อย่างอันใครทำ ไม่มีใครนิรมิต ไม่มีใครให้นิรมิต เป็นสภาวะยั่งยืน ตั้งอยู่มั่นคงดุจยอดภูเขา
ตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด สภาวะ ๗ กอง เหล่านั้น ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน ไม่เบียดเบียน
กันและกัน ไม่อาจให้เกิดสุขหรือทุกข์หรือทั้งสุขทั้งทุกข์แก่กันและกัน  ผู้ฆ่าเองก็ดี ผู้ใช้ให้ฆ่าก็ดี
ผู้ได้ยินก็ดี ผู้กล่าวให้ได้ยินก็ดี ผู้เข้าใจความก็ดี ผู้ทำให้เข้าใจความก็ดี ไม่มีในสภาวะ ๗ กองนั้น
เพราะแม้ว่าบุคคลจะเอาศาตราอย่างคมตัดศีรษะกัน ก็ไม่ชื่อว่าใครๆ ปลงชีวิตใครๆ เป็นแต่
ศาตราสอดไปตามช่องแห่งสภาวะ ๗ กองเท่านั้น. ก็แต่กำเนิดที่เป็นประธาน ๑,๔๐๖,๖๐๐ กรรม
๕๐๐ กรรม ๕ กรรม ๓ กรรม ๑ กรรมกึ่ง ปฏิปทา ๖๒ อันตรกัป ๖๒ อภิชาติ ๖ ปุริสภูมิ ๘ อาชีวก
๔,๙๐๐ ปริพาชก ๔,๙๐๐ นาคาวาส ๔,๙๐๐ อินทรีย์ ๒,๐๐๐ นรก ๓๐๐ ราโชธาตุ ๓๖
สัญญีครรภ์ ๗ อสัญญีครรภ์ ๗ นิคันถครรภ์ ๗ เทวดา ๗ มนุษย์ ๗ ปีศาจ ๗ สระ ๗
ปวุฏะ ๗ หิน ๗ เหวใหญ่ ๗ เหวน้อย ๗๐๐ มหาสุบิน ๗ สุบิน ๗๐๐ มหากัป ๘,๔๐๐,๐๐๐
เหล่านี้. ที่พาลและบัณฑิตเร่ร่อนท่องเที่ยวไปแล้วจักทำที่สุดทุกข์ได้ ความสมหวังว่าเราจัก
บ่มกรรมที่ยังไม่อำนวยผลให้อำนวยผล หรือเราสัมผัสถูกต้องกรรมที่อำนวยผลแล้ว จักทำให้
สุดสิ้นด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยตบะหรือด้วยพรหมจรรย์นี้ไม่มีในที่นั้น สุขทุกข์ที่ทำให้มีที่สิ้นสุด
ได้เหมือนตวงของให้หมดด้วยทะนาน ย่อมไม่มีในสงสารด้วยอาการอย่างนี้เลย ไม่มีความเสื่อม
ความเจริญ ไม่มีการเลื่อนขึ้นเลื่อนลง พาลและบัณฑิตเร่ร่อนท่องเที่ยวไป จักทำที่สุดทุกข์ได้เอง
เหมือนกลุ่มด้ายที่บุคคลขว้างไปย่อมคลี่หมดไปเอง ฉะนั้น ดังนี้ ถ้าคำของท่านศาสดานี้เป็น
คำจริง กรรมในลัทธินี้ที่เราไม่ได้ทำเลยเป็นอันทำแล้ว พรหมจรรย์ในลัทธินี้ที่เรามิได้อยู่เลย
เป็นอันอยู่แล้ว แม้เราทั้งสองคือเราผู้มิได้กล่าวว่า เราทั้งสองเร่ร่อนท่องเที่ยวไปแล้วจักทำ
ที่สุดทุกข์ได้ก็ดี ก็ชื่อว่าเป็นผู้เสมอๆ กันถึงความเป็นผู้เสมอกันในลัทธินี้ ที่ยิ่งกว่ากันก็คือความ
ที่ท่านศาสดานี้เป็นผู้ประพฤติเปลือยกาย เป็นคนศีรษะโล้น ทำความเพียรในการเดินกระโหย่ง
ถอนผมและหนวด เมื่อเราอยู่ครองเรือนนอนเบียดกับบุตร ประพรมแก่นจันทน์เมืองกาสี
ทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ยินดีทองและเงินอยู่ ก็จักเป็นผู้มีคติเสมอๆ กันกับท่าน
ศาสดานี้ในภพหน้าได้ เรานั้นรู้อะไรเห็นอะไรอยู่ จึงจักประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานี้
วิญญูชนนั้นครั้นรู้ว่า ลัทธินี้ไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ได้ดังนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่าย
หลีกไปจากพรหมจรรย์นั้น. ดูกรสันทกะ ลัทธิอันไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่ออยู่ก็ยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้
สำเร็จไม่ได้ เป็นประการที่สี่นี้แล อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ตรัสไว้แล้ว ดูกรสันทกะ ลัทธิสมัยอันไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่
ประพฤติพรหมจรรย์ ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่ออยู่ ก็ยังกุศลธรรม
เครื่องออกไปจากทุกข์ให้สำเร็จไม่ได้  สี่ประการนี้แล อันพระผู้มีพระภาค ผู้รู้ ผู้เห็นเป็น
พระอรหันต์ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบพระองค์นั้น ตรัสไว้แล้ว.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ บรรทัดที่ ๕๒๒๒-๕๒๕๘ หน้าที่ ๒๒๘-๒๓๐. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=5222&Z=5258&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=13&item=302&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=13&item=302&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=13&item=302&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=13&item=302&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=302              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_13 https://84000.org/tipitaka/english/?index_13

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]