ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
             [๘๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
                          ชนใดไม่มีใครถาม ย่อมบอกศีลและวัตรของตนแก่ชนเหล่าอื่น ผู้ฉลาด
                          ทั้งหลายกล่าวชนนั้นว่าไม่มีอริยธรรม อนึ่ง ชนใดย่อมบอกตนเอง
                          ผู้ฉลาดทั้งหลายก็กล่าวชนนั้นว่า ไม่มีอริยธรรม.
             [๘๑] คำว่า ชนใด ... ย่อมบอกศีลและวัตรของตน มีความว่า  คำว่า ใด คือเช่นใด
ประกอบอย่างใด ชนิดอย่างใด มีประการอย่างใดถึงฐานะใด ประกอบด้วยธรรมใด เป็นกษัตริย์
เป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ เป็นศูทร เป็นคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิต เป็นเทวดา หรือเป็นมนุษย์.
คำว่า ศีลและวัตร มีความว่า บางแห่งเป็นศีลและเป็นวัตร บางแห่งเป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล.
ว่าด้วยศีลและวัตร
เป็นศีลและเป็นวัตรเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยความ สำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ เป็นผู้เห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณ น้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ความสำรวม ความระวัง ความไม่ก้าวล่วง ใน สิกขาบททั้งหลายนั้น นี้เป็นศีล. ความสมาทานชื่อว่าเป็นวัตร. เพราะอรรถว่าสำรวม จึงชื่อว่าศีล เพราะอรรถว่า สมาทานจึงชื่อว่าวัตร นี้เรียกว่าเป็นศีลและเป็นวัตร. เป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีลเป็นไฉน? ธุดงค์ (องค์ของภิกษุผู้กำจัดกิเลส) ๘ คือ อารัญญิ- *กังคธุดงค์ ปิณฑปาติกังคธุดงค์ ปังสุกูลิกังคธุดงค์ เตจีวริกังคธุดงค์ สปทานจาริกังคธุดงค์ ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ เนสัชชิกังคธุดงค์ ยถาสันถติกังคธุดงค์ นี้เรียกว่าเป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล. แม้การสมาทานความเพียร ก็เรียกว่าเป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล กล่าวคือพระมหาสัตว์ทรงประคองตั้ง พระทัยว่า จงเหลืออยู่แต่หนังเอ็นและกระดูกก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด อิฐผลใดอันจะพึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยกำลังของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วย ความบากบั่นของบุรุษ การไม่บรรลุผลนั้นแล้ว หยุดความเพียรจักไม่มี ดังนี้ แม้การสมาทาน ความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่าเป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล. พระมหาสัตว์ทรงประคองตั้งพระทัยว่า จิตของเราจักยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่นเพียงใด เราจักไม่ทำลายบัลลังก์ (ความนั่งเนื่องด้วยขาที่คู้เข้าโดยรอบ) นี้เพียงนั้น แม้การสมาทานความเพียร เห็นปานนี้ ก็ เรียกว่าเป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล. ภิกษุประคองตั้งจิตว่า เมื่อลูกศรคือตัณหาอันเรายังถอนไม่ได้แล้ว เราจักไม่กิน ไม่ดื่ม ไม่ออก จากวิหาร ทั้งจักไม่เอนข้าง ดังนี้ แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่าเป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล. ภิกษุประคองตั้ง จิตว่า จิตของเราจักยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น เพียงใด เราจักไม่ลุก ขึ้นจากอาสนะนี้เพียงนั้น ... จักไม่ลงจากที่จงกรม ... จักไม่ออกจากวิหาร ... จักไม่ออกจากเรือน มีหลังคาแถบเดียว ... จักไม่ออกจากปราสาท ... จักไม่ออกจากเรือนโล้น ... จักไม่ออกจากถ้ำ ... จักไม่ออกจากถ้ำภูเขา ... จักไม่ออกจากกุฏิ ... จักไม่ออกจากเรือนยอด ... จักไม่ออกจากป้อม ... จักไม่ออกจากโรงกลม ... จักไม่ออกจากเรือนที่มีเครื่องกั้น ... จักไม่ออกจากศาลาที่บำรุง ...จัก ไม่ออกจากมณฑป ... จักไม่ออกจากโคนต้นไม้ เพียงนั้น ดังนี้ แม้การสมาทานความเพียรเห็น ปานนี้ ก็เรียกว่า เป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล. ภิกษุประคองตั้งจิตว่า ในเช้าวันนี้แหละ เราจักนำมา นำมาด้วยดี บรรลุ ถูกต้อง ทำให้แจ้ง ซึ่งอริยธรรม ดังนี้ แม้การสมาทานความเพียรเห็น ปานนี้ ก็เรียกว่าเป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล. ภิกษุประคองตั้งจิตว่า ในเที่ยงวันนี้แหละ ... ในเย็นนี้ แหละ ... ในกาลก่อนภัตนี้แหละ ... ในกาลภายหลังภัตนี้แหละ ... ในยามต้นนี้แหละ ... ใน ยามกลางนี้แหละ ... ในยามหลังนี้แหละ ... ในข้างแรมนี้แหละ ... ในข้างขึ้นนี้แหละ ... ใน ฤดูฝนนี้แหละ ... ในฤดูหนาวนี้แหละ ... ในฤดูร้อนนี้แหละ ... ในตอนวัยต้นนี้แหละ ... ใน ตอนวัยกลางนี้แหละ ... ในตอนวัยหลังนี้แหละ เราจักนำมา นำมาด้วยดี บรรลุ ถูกต้อง ทำให้ แจ้ง ซึ่งอริยธรรม ดังนี้ แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่าเป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล. คำว่า ชน คือ สัตว์ นระ มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนใด ... ย่อมบอกศีลและวัตรของตน. [๘๒] คำว่า ไม่มีใครถาม ย่อมบอก ... แก่ชนเหล่าอื่น มีความว่า ชนเหล่าอื่น คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา มนุษย์. คำว่าไม่มีใครถาม คือ อันใครๆ ไม่ถาม ไม่ไต่ถาม ไม่ขอร้อง ไม่เชิญ ไม่เชื้อเชิญ. คำว่า ย่อมบอก คือ ย่อม อวดอ้างศีลบ้าง วัตรบ้าง ศีลและวัตรบ้างของตน. (อธิบายว่า) ย่อมอวดอ้าง บอก พูด แสดง แถลงว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลบ้าง ถึงพร้อมด้วยวัตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยศีลและ วัตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยชาติบ้าง ถึงพร้อมด้วยโคตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยความเป็นบุตรแห่งสกุลบ้าง ถึงพร้อมด้วยความเป็นผู้มีรูปร่างงามบ้าง ถึงพร้อมด้วยทรัพย์บ้าง ถึงพร้อมด้วยการเชื้อเชิญบ้าง ถึงพร้อมด้วยหน้าที่การงานบ้าง ถึงพร้อมด้วยหลักแหล่งศิลปศาสตร์บ้าง ถึงพร้อมด้วยวิทยฐานะ บ้าง ถึงพร้อมด้วยการศึกษาบ้าง ถึงพร้อมด้วยปฏิภาณบ้าง ถึงพร้อมด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง บ้าง ออกบวชจากสกุลสูงบ้าง ออกบวชจากสกุลใหญ่บ้าง ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติมาก บ้าง ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติใหญ่บ้าง เป็นผู้มีชื่อเสียงมียศกว่าพวกคฤหัสถ์และบรรพชิต บ้าง เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารบ้าง เป็นผู้ทรงจำพระ สูตรบ้าง เป็นผู้ทรงพระวินัยบ้าง เป็นธรรมกถึกบ้าง เป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือ บิณฑบาตเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือทรงไตรจีวรเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับตรอกเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือไม่ฉันภัตหนหลังเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถืออยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไรเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ได้ ปฐมฌานบ้าง เป็นผู้ได้ทุติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้ตติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้จตุตถฌานบ้าง เป็น ผู้ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้อากิญ- *จัญญายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าไม่มี ใครถาม ย่อมบอก ... แก่ชนเหล่าอื่น. [๘๓] คำว่า ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวชนนั้นว่าไม่มีอริยธรรม มีความว่าฉลาดในอายตนะ ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในสติปัฏฐาน ฉลาดในสัมมัปปธาน ฉลาดในอิทธิบาท ฉลาด ในอินทรีย์ ฉลาดในพละ ฉลาดในโพชฌงค์ ฉลาดในมรรค ฉลาดในผล ฉลาดในนิพพาน ผู้ ฉลาดเหล่านั้นกล่าว บอก พูด แสดง แถลงอย่างนี้ว่า ธรรมนั้นของพวกอนารยชน ธรรมนั้น ไม่ใช่ของพวกอริยชน ธรรมนั้นของพวกคนพาล ธรรมนั้นไม่ใช่ของพวกบัณฑิต ธรรมนั้นของ พวกอสัตบุรุษ ธรรมนั้นไม่ใช่ของพวกสัตบุรุษ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวชนนั้น ว่าไม่มีอริยธรรม. [๘๔] คำว่า ชนใดย่อมบอกตนเอง มีความว่า อัตตาเรียกว่าตน. คำว่า ย่อมบอกเอง คือ ย่อมอวดอ้างซึ่งตนเอง คือ ย่อมอวดอ้าง บอก พูด แสดง แถลงว่า ข้าพเจ้าเป็น ผู้ถึงพร้อมด้วยศีลบ้าง ถึงพร้อมด้วยวัตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยศีลและวัตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยชาติบ้าง ถึงพร้อมด้วยโคตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยความเป็นบุตรแห่งสกุลบ้าง ถึงพร้อมด้วยความเป็นผู้มีรูป งามบ้าง ถึงพร้อมด้วยทรัพย์บ้าง ถึงพร้อมด้วยการเชื้อเชิญบ้าง ถึงพร้อมด้วยหน้าที่การงานบ้าง ถึงพร้อมด้วยหลักแหล่งแห่งศิลปศาสตร์บ้าง ถึงพร้อมด้วยวิทยฐานะบ้าง ถึงพร้อมด้วยการศึกษา บ้าง ถึงพร้อมด้วยปฏิภาณบ้าง ถึงพร้อมด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ออกบวชจากสกุลสูงบ้าง ออกบวชจากสกุลใหญ่บ้าง ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติมากบ้าง ออกบวชจากสกุลมีโภค สมบัติใหญ่บ้าง เป็นผู้มีชื่อเสียงมียศกว่าพวกคฤหัสถ์และบรรพชิตบ้าง เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารบ้าง เป็นผู้ทรงจำพระสูตรบ้าง เป็นผู้ทรงพระวินัยบ้าง เป็นธรรมกถึกบ้าง เป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือทรง ผ้าบังสุกุลเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือทรงไตรจีวรเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับ ตรอกเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือไม่ฉันภัตหนหลังเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ ถืออยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไรเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ได้ปฐมฌานบ้าง เป็นผู้ได้ทุติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้ตติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้จตุตถฌานบ้าง เป็นผู้ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้ วิญญาณัญจายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้เนวสัญญานา- *สัญญายตนสมาบัติบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนใดย่อมบอกตนเอง. เพราะเหตุนั้น พระผู้มี พระภาคจึงตรัสว่า ชนใดไม่มีใครถาม ย่อมบอกศีลและวัตรของตนแก่ชนเหล่าอื่น ผู้ฉลาด ทั้งหลายกล่าวชนนั้นว่าไม่มีอริยธรรม อนึ่ง ชนใดย่อมบอกตนเอง ผู้ ฉลาดทั้งหลายก็กล่าวชนนั้นว่าไม่มีอริยธรรม.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๑๔๐๔-๑๔๙๕ หน้าที่ ๕๙-๖๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=1404&Z=1495&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=29&item=80&items=5              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=29&item=80&items=5&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=29&item=80&items=5              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=29&item=80&items=5              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=80              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]