ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
             [๖๗๕] 	พุ่มไม้ไผ่ใหญ่เทียวเกี่ยวข้องกัน ฉันใด ตัณหาในบุตร
                          และภรรยาทั้งหลาย กว้างขวางเกี่ยวข้องกัน ฉันนั้น. พระ-
                          ปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่ขัดข้องเหมือนหน่อไม้ไผ่ พึงเที่ยวไป
                          ผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น.
             [๖๗๖] พุ่มไม้ไผ่ ท่านกล่าวว่า วํโส ในอุเทศว่า วํโส วิสาโลว ยถา วิสตฺโต
ดังนี้. ในพุ่มไม้ไผ่มีหนามมาก รก ยุ่ง เกี่ยวกัน ข้องกัน คล้องกัน พันกัน ฉันใด ตัณหา
ราคะ สาราคะ ความกระหยิ่ม ความยินดี ความเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน
ความกำหนัดนักแห่งจิต ความปรารถนา ความหลง ความติดใจ ความกำหนัด ความกำหนัดรอบ
ความข้อง ความจม ความหวั่นไหว ความลวง ตัณหาอันให้สัตว์เกิด ตัณหาอันให้เกี่ยวข้องไว้
กับทุกข์ ตัณหาอันเย็บไว้ ตัณหาดังข่าย ตัณหาดังแม่น้ำ ตัณหาอันเกาะเกี่ยวในอารมณ์ต่างๆ
ความเป็นผู้หลับ ตัณหาอันแผ่ไป ตัณหาอันให้อายุเสื่อมไป ตัณหาอันเป็นเพื่อน ความตั้งไว้
ตัณหาอันนำไปในภพ ตัณหาดังป่า ตัณหาดังหมู่ไม้ตั้งอยู่ในป่า ความสนิทสนม ความรัก
ความเพ่ง ความผูกพัน ความหวัง กิริยาที่หวัง ความเป็นผู้หวัง ความหวังในรูป ความหวัง
ในเสียง ความหวังในกลิ่น ความหวังในรส ความหวังในโผฏฐัพพะ ความหวังในลาภ
ความหวังในทรัพย์ ความหวังในบุตร ความหวังในชีวิต ความชอบ ความชอบทั่วไป
ความชอบเฉพาะ กิริยาที่ชอบ ความเป็นผู้ชอบ ความโลภมาก กิริยาที่โลภมาก ความเป็นผู้
โลภมาก ความที่ตัณหาหวั่นไหว ความเป็นผู้ไม่ใคร่ดี ความกำหนัดในอธรรม ความกำหนัด
ไม่สม่ำเสมอ ความโลภไม่สม่ำเสมอ ความใคร่ กิริยาที่ใคร่ ความปรารถนา ความทะเยอทะยาน
ความปรารถนาดี กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ
ตัณหาในความดับ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพะตัณหา ธรรมตัณหา
กิเลสดังห้วงน้ำ กิเลสอันประกอบไว้ กิเลสอันร้อยไว้ ความถือมั่น ความกั้น ความบัง
ความปิด ความผูก ความเศร้าหมอง ความนอนตาม ความกลุ้มรุม ตัณหาดังเถาวัลย์
ความปรารถนาต่างๆ มูลแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนแห่งทุกข์ บ่วงมาร เบ็ดมาร อำนาจมาร
ที่อยู่ของมาร เครื่องผูกของมาร แม่น้ำคือตัณหา ข่ายคือตัณหา โซ่คือตัณหา ทะเลคือตัณหา
อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ท่านกล่าวว่า เป็นตัณหาอันเกาะเกี่ยว ฉันนั้นเหมือนกัน.
             ตัณหาชื่อวิสัตติกา ในคำว่า วิสตฺติกา นี้ เพราะอรรถว่ากระไร? เพราะอรรถว่าแผ่ไป
ว่ากว้างขวาง ว่าซึมซาบไป ว่าครอบงำ ว่านำพิษไป ว่าให้กล่าวผิด ว่ามีรากเป็นพิษ ว่ามีผล
เป็นพิษ ว่ามีการบริโภคเป็นพิษ.
             อีกอย่างหนึ่ง ตัณหากว้างขวาง แผ่ไป ซึมซาบไป ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย-
*เภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ
เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต ปัจจุบัน
รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ในธรรมที่พึงรู้แจ้ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
... พุ่มไม้ไผ่ที่ใหญ่เทียวเกี่ยวข้องกัน ฉันใด.
             [๖๗๗] ชื่อว่าบุตร ในอุเทศว่า ปุตฺเตสุ ทาเรสุ จ ยา อเปกฺขา ดังนี้ บุตรมี
๔ จำพวก คือ บุตรที่เกิดแต่ตน ๑ บุตรที่เกิดในเขต ๑ บุตรที่เขาให้ ๑ บุตรที่อยู่ในสำนัก ๑.
ภรรยาท่านกล่าวว่า ทาระ. ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ท่านกล่าวว่า
อเปกฺขา. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตัณหาในบุตรและภรรยาทั้งหลาย.
             [๖๗๘] พุ่มไม้ไผ่ ท่านกล่าวว่า ไม้ไผ่ ในอุเทศว่า วํสกฬิโรว อสชฺชมาโน ดังนี้.
หน่อไม้อ่อนทั้งหลายในพุ่มไม้ไผ่ ไม่เกี่ยวข้อง ไม่ติด ไม่ขัด ไม่พัวพัน ออกไป สละออกไป
พ้นไป ฉันใด.
             ความขัดข้องมี ๒ อย่าง คือ ความขัดข้องด้วยอำนาจตัณหา ๑ ความขัดข้องด้วยอำนาจ
ทิฏฐิ ๑. ฯลฯ นี้ชื่อว่าความขัดข้อด้วยอำนาจตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความขัดข้องด้วยอำนาจทิฏฐิ
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ละความขัดข้องด้วยอำนาจตัณหา สละคืนความขัดข้องด้วยอำนาจ
ทิฏฐิเสียแล้ว เพราะเป็นผู้ละความขัดข้องด้วยอำนาจตัณหา เพราะเป็นผู้สละคืนความขัดข้อง
ด้วยอำนาจทิฏฐิ. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงไม่ข้องในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ไม่
ข้อง ไม่ยึดถือ ไม่พัวพัน ในสกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ
อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโว
การภพ อดีต อนาคต ปัจจุบัน รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ และในธรรม
ที่พึงจะรู้แจ้ง ออกไป สลัดออกไป พ้นไป ไม่เกี่ยวข้อง มีจิตอันทำไม่ให้มีเขตแดนอยู่ ฉัน
นั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ขัดข้องเหมือนหน่อไม้ไผ่ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรด ฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงกล่าวว่า
                          พุ่มไม้ไผ่ใหญ่เทียวเกี่ยวข้องกัน ฉันใด ตัณหาในบุตรและภรรยา
                          ทั้งหลาย กว้างขวางเกี่ยวข้องกัน ฉันนั้น. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
                          ไม่ขัดข้องเหมือนหน่อไม้ไผ่ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
                          ฉะนั้น.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ บรรทัดที่ ๖๔๗๒-๖๕๒๘ หน้าที่ ๒๖๓-๒๖๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=30&A=6472&Z=6528&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=30&item=675&items=4              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=30&item=675&items=4&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=30&item=675&items=4              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=30&item=675&items=4              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=675              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]