ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
             [๖๘๒] 	ในท่ามกลางสหาย จำต้องมีการปรึกษาทั้งในที่อยู่ ที่ยืน ที่เดิน
                          และที่เที่ยวไป. บุคคลผู้เห็นการบรรพชาอันให้ถึงความเป็นเสรี
                          ที่พวกคนชั่วไม่ปรารถนา พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น.
             [๖๘๓] การไปสบาย การมาสบาย ... การปราศรัยสบายกับบุคคลเหล่าใด บุคคลเหล่าใด
ท่านกล่าวว่า สหาย ในอุเทศว่า อามนฺตนา โหติ สหายมชฺเฌ วาเส ฐาเน คมเน จาริกาย
ดังนี้.
             คำว่า ในท่ามกลางสหาย จำต้องมีการปรึกษาทั้งในที่อยู่ ที่ยืน ที่เดิน และที่เที่ยวไป.
ความว่า ในท่ามกลางสหาย จำต้องมีการปรึกษาประโยชน์ตน การปรึกษาประโยชน์ผู้อื่น การ
ปรึกษาประโยชน์ทั้งสองฝ่าย การปรึกษาประโยชน์ปัจจุบัน การปรึกษาประโยชน์ภายหน้า การ
ปรึกษาปรมัตถประโยชน์ แม้ในที่อยู่ แม้ในที่ยืน แม้ในที่เดิน แม้ในที่เที่ยวไป เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ในท่ามกลางสหาย จำต้องมีการปรึกษาทั้งในที่อยู่ ที่ยืน ที่เดิน และที่เที่ยวไป.
             [๖๘๔] คำว่า บุคคลเมื่อเห็นบรรพชาอันให้ถึงความเป็นเสรี ที่พวกคนชั่วไม่ปรารถนา
ความว่า สิ่งนี้ คือ การครองผ้ากาสายะที่เป็นบริขาร อันพวกคนพาล คือ พวกเดียรถีย์และ
สาวกของเดียรถีย์ ผู้เป็นอสัตบุรุษ ไม่ปรารถนา. สิ่งนี้ คือ การครองผ้ากาสายะที่เป็นบริขาร
อันบัณฑิต คือ พระพุทธเจ้า สาวกของพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นสัตบุรุษ
ปรารถนาแล้ว.
             ชื่อว่า เสรี ได้แก่เสรี ๒ อย่าง คือ ธรรมเสรี ๑ บุคคลเสรี ๑.
             ธรรมเสรีเป็นไฉน? สติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘. นี้ชื่อว่าธรรมเสรี.
             บุคคลเสรีเป็นไฉน? บุคคลใดประกอบแล้วด้วยธรรมเสรีนี้ บุคคลนั้น ท่านกล่าวว่า
บุคคลเสรี.
             คำว่า บุคคลเมื่อเห็นบรรพชาอันให้ถึงความเป็นเสรี ที่พวกคนชั่วไม่ปรารถนา ความว่า
บุคคลเมื่อเห็น เมื่อตรวจดู เมื่อเพ่งดู เมื่อพิจารณาดู ซึ่งบรรพชาอันให้ถึงความเป็นเสรี เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลเมื่อเห็นบรรพชาอันให้ถึงความเป็นเสรี ที่พวกคนชั่วไม่ปรารถนา พึง
เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
                          ในท่ามกลางสหาย จำต้องมีการปรึกษาทั้งในที่อยู่ ที่ยืน ที่เดิน
                          และที่เที่ยวไป. บุคคลผู้เห็นการบรรพชาอันให้ถึงเป็นเสรี ที่
                          พวกคนชั่วไม่ปรารถนา พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ บรรทัดที่ ๖๕๘๒-๖๖๐๘ หน้าที่ ๒๖๗-๒๖๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=30&A=6582&Z=6608&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=30&item=682&items=3              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=30&item=682&items=3&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=30&item=682&items=3              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=30&item=682&items=3              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=682              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]