ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
             [๗๑๐] 	เราทั้งหลายย่อมสรรเสริญสหาย ผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมโดยแท้.
                          ควรเสพแต่สหายที่ประเสริฐกว่า หรือที่เสมอกัน (เท่านั้น).
                          เมื่อไม่ได้สหาย เหล่านั้น ก็ควรบริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษ
                          พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น.
             [๗๑๑] คำว่า อทฺธา ในอุเทศว่า อทฺธา ปสํสาม สหายสมฺปทํ ดังนี้ เป็นเครื่อง
กล่าวโดยส่วนเดียว เป็นเครื่องกล่าวโดยไม่สงสัย เป็นเครื่องกล่าวโดยไม่เคลือบแคลง เป็น
เครื่องกล่าวไม่เป็นสองส่วน เป็นเครื่องกล่าวไม่เป็นสองแยก เป็นเครื่องกล่าวไม่เป็นสองทาง
เป็นเครื่องกล่าวไม่ผิด. คำว่า อทฺธา นี้ เป็นเครื่องกล่าวแน่นอน. สหายผู้ใดเป็นผู้ประกอบ
ด้วยศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ
สหายผู้นั้นท่านกล่าวว่า สหายผู้ถึงพร้อมด้วยธรรม ในคำว่า สหายสมฺปทํ ดังนี้.
             คำว่า ย่อมสรรเสริญซึ่งสหายผู้ถึงพร้อมด้วยธรรม ความว่า ย่อมสรรเสริญ คือ ย่อม
ชมเชย ยกย่อง พรรณนาคุณ ซึ่งสหายผู้ถึงพร้อมด้วยธรรม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อม-
*สรรเสริญ ซึ่งสหายผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมโดยแท้.
             [๗๑๒] คำว่า ควรเสพแต่สหายที่ประเสริฐกว่าหรือที่เสมอกัน ความว่า สหายทั้งหลาย
เป็นผู้ประเสริฐกว่าด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุติ วิมุตติญาณทัสสนะ สหายทั้งหลายเป็นผู้
เสมอกันด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุติ วิมุตติญาณทัสสนะควรเสพ คือ ควรคบ ควรนั่งใกล้
ควรไต่ถาม ควรสอบถาม สหายที่ประเสริฐกว่าหรือสหายที่เสมอกัน (เท่านั้น) เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ควรเสพสหายที่ประเสริฐกว่าหรือที่เสมอกัน (เท่านั้น).
             [๗๑๓] พึงทราบวินิจฉัย ในอุเทศว่า เมื่อไม่ได้สหายเหล่านั้นก็ควรบริโภคปัจจัย
อันไม่มีโทษ ดังต่อไปนี้ บุคคลผู้บริโภคปัจจัยอันมีโทษก็มี ผู้บริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษก็มี.
             ก็บุคคลผู้บริโภคปัจจัยอันมีโทษเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ ได้ คือ ได้ ได้รับ
ประสบ ได้มาซึ่งปัจจัย ด้วยการหลอกลวง ด้วยการพูดเลียบเคียง ด้วยความเป็นหมอดู ด้วย
ความเป็นคนเล่นกล ด้วยการแสวงหาลาภด้วยลาภ ด้วยการให้ไม้จริง ด้วยการให้ไม้ไผ่ ด้วย
การให้ใบไม้ ด้วยการให้ดอกไม้ ด้วยการให้เครื่องอาบน้ำ ด้วยการให้จุรณ ด้วยการให้ดิน
ด้วยการให้ไม้สีฟัน ด้วยการให้น้ำบ้วนปาก ด้วยความเป็นผู้ใคร่ให้ปรากฏ ด้วยความพูดเหลวใหล
เหมือนแกงถั่ว (ไม่สุกทั้งหมด) ด้วยความประจบเขา ด้วยการขอมาก ดังที่พูดกันว่ากินเนื้อ
หลังผู้อื่น ด้วยวิชาดูพื้นที่ ด้วยติรัจฉานวิชา ด้วยวิชาทำนายอวัยวะ ด้วยวิชาดูฤกษ์ยาม ด้วย
การเป็นทูต ด้วยการเดินรับใช้ ด้วยการเดินสาส์น ด้วยเวชกรรม ด้วยทูตกรรม ด้วยการให้
บิณฑบาตตอบแก่บิณฑบาต ด้วยการเพิ่มให้แก่การให้โดยผิดธรรม โดยไม่สม่ำเสมอ ครั้นแล้ว
ก็สำเร็จความเป็นอยู่. บุคคลนี้ท่านกล่าวว่า ผู้บริโภคปัจจัยอันมีโทษ.
             ก็บุคคลผู้บริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ ได้ คือ ได้ ได้รับ
ประสบ ได้มาซึ่งปัจจัย ด้วยการไม่หลอกลวง ด้วยการไม่พูดเลียบเคียง ด้วยความไม่เป็นคน
เล่นกล ด้วยการไม่แสวงหาลาภด้วยลาภ ไม่ใช่ด้วยการให้ไม้จริง ไม่ใช่ด้วยการให้ไม้ไผ่ ไม่ใช่
ด้วยการให้ใบไม้ ไม่ใช่ด้วยการให้ดอกไม้ ไม่ใช่ด้วยการให้เครื่องอาบน้ำ ไม่ใช่ด้วยการให้จุรณ
ไม่ใช่ด้วยการให้ดิน ไม่ใช่ด้วยการให้ไม้สีฟัน ไม่ใช่ด้วยการให้น้ำบ้วนปาก ไม่ใช่ด้วยความ
เป็นผู้ใคร่ให้ปรากฏ ไม่ใช่ด้วยความพูดเหลวใหลเหมือนแกงถั่ว ไม่ใช่ด้วยความประจบเขา
ไม่ใช่ด้วยการขอมากดังที่พูดกันว่ากินเนื้อหลังผู้อื่น ไม่ใช่ด้วยวิชาดูพื้นที่ ไม่ใช่ด้วยติรัจฉานวิชา
ไม่ใช่ด้วยวิชาทำนายอวัยวะ ไม่ใช่ด้วยวิชาดูฤกษ์ยาม ไม่ใช่ด้วยการเดินเป็นทูต ไม่ใช่ด้วยการ
เดินรับใช้ ไม่ใช่ด้วยการเดินสาส์น ไม่ใช่ด้วยเวชกรรม ไม่ใช่ด้วยทูตกรรม ไม่ใช่ด้วยการให้
บิณฑบาตตอบแก่บิณฑบาต ไม่ใช่ด้วยการเพิ่มให้แก่การให้ โดยธรรม โดยสม่ำเสมอ ครั้น
แล้วก็สำเร็จความเป็นอยู่. บุคคลนี้ท่านกล่าวว่า ผู้บริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษ.
             คำว่า เมื่อไม่ได้สหายเหล่านั้นก็ควรบริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษ ความว่า เมื่อไม่ได้ ไม่
ประสบ ไม่ได้เฉพาะ ไม่พบ ไม่ปะสหายเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อไม่ได้สหาย
เหล่านั้น ก็ควรบริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น. เพราะ
เหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
                          เราทั้งหลายย่อมสรรเสริญสหาย  ผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมโดยแท้.
                          ควรเสพแต่สหายที่ประเสริฐกว่าหรือที่เสมอกัน (เท่านั้น).
                          เมื่อไม่ได้สหายเหล่านั้น  ก็ควรบริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษ
                          พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ บรรทัดที่ ๖๙๐๕-๖๙๕๓ หน้าที่ ๒๘๐-๒๘๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=30&A=6905&Z=6953&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=30&item=710&items=4              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=30&item=710&items=4&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=30&item=710&items=4              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=30&item=710&items=4              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=710              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]