ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
             [๗๑๘] 	การพูดด้วยวาจาก็ดี ความเกี่ยวข้องก็ดี กับสหาย พึงมี
                          แก่เราอย่างนี้. บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ต่อไป พึงเที่ยวไปผู้เดียว
                          เหมือนนอแรด ฉะนั้น.
             [๗๑๙] คำว่า กับสหาย พึงมีแก่เราอย่างนี้ ความว่า ด้วยตัณหาเป็นสหาย. ตัณหา
เป็นสหายมีอยู่. บุคคลเป็นสหายมีอยู่. ตัณหาเป็นสหายอย่างไร? รูปตัณหา สัททตัณหา
คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา ชื่อว่า ตัณหา. ผู้ใดยังละตัณหานี้ไม่ได้
ผู้นั้นท่านกล่าวว่า มีตัณหาเป็นสหาย.
                          บุรุษมีตัณหาเป็นสหาย ท่องเที่ยวไปตลอดกาลนาน ย่อม
                          ไม่ล่วงสงสารอันมีความเป็นอย่างนี้ และมีความเป็นอย่างอื่น
                          ไปได้.
             ตัณหาเป็นสหายอย่างนี้.
             บุคคลเป็นสหายอย่างไร? บุคคลบางคนในโลกนี้ ฟุ้งซ่านมิใช่เพราะเหตุของตน มิใช่
เพราะเหตุแห่งผู้อื่นให้ทำ มีจิตไม่สงบ คนเดียวกลายเป็นคนที่สองบ้าง สองคนกลายเป็นคน
ที่สามบ้าง สามคนกลายเป็นคนที่สี่บ้าง ย่อมกล่าวคำเพ้อเจ้อมากในที่ที่ตนไปนั้น คือ พูดเรื่อง
พระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า
เรื่องดอกไม้ เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี
เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้า เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและ
ความเสื่อมด้วยประการดังนี้. บุคคลเป็นสหายอย่างนี้. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กับสหายพึงมี
แก่เราอย่างนี้.
             [๗๒๐] ติรัจฉานกถา ๓๒ คือ เรื่องพระราชา เรื่องโจร ฯลฯ เรื่องความเจริญและ
ความเสื่อมด้วยประการนั้น ท่านกล่าวว่า การพูดด้วยวาจา ในอุเทศว่า วาจาภิลาโป อภิสชฺชนา
วา ดังนี้. ชื่อว่า ความเกี่ยวข้อง ได้แก่ ความเกี่ยวข้อง ๒ อย่าง คือ ความเกี่ยวข้องด้วย
ตัณหา ๑ ความเกี่ยวข้องด้วยทิฏฐิ ๑. ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความเกี่ยวข้องด้วยตัณหา. ฯลฯ นี้ชื่อว่า
ความเกี่ยวข้องด้วยทิฏฐิ. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า การพูดด้วยวาจาก็ดี ความเกี่ยวข้องก็ดี.
             [๗๒๑] ชื่อว่า ภัย ในอุเทศว่า เอตํ ภยํ อายตึ เปกฺขมาโน ดังนี้ คือ ชาติภัย ชราภัย
พยาธิภัย มรณภัย ราชภัย โจรภัย อัคคีภัย อุทกภัย ภัยคือการติเตียนตน ภัยคือการติเตียน
ผู้อื่น ภัยคืออาชญา ภัยคือทุคติ ภัยแต่ลูกคลื่น ภัยแต่จระเข้ ภัยแต่น้ำวน ภัยแต่ปลาร้าย
ภัยแต่การแสวงหาเครื่องบำรุงชีพ ภัยแต่ความติเตียน ภัยคือความครั่นคร้ามในประชุมชน เหตุ
ที่น่ากลัว ความหวาดเสียว ขนลุกขนพอง ความที่จิตสะดุ้ง ความที่จิตหวั่นหวาด.
             คำว่า เมื่อเห็นภัยนี้ต่อไป ความว่า เมื่อเห็น เมื่อแลเห็น เมื่อตรวจดู เมื่อเพ่งดู
เมื่อพิจารณา ซึ่งภัยนี้ต่อไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อเห็นภัยนี้ต่อไป พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรด ฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
                          การพูดด้วยวาจาก็ดี ความเกี่ยวข้องก็ดี กับสหาย พึงมีแก่เรา
                          อย่างนี้.  บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ต่อไป พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
                          นอแรด ฉะนั้น.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ บรรทัดที่ ๖๙๗๕-๗๐๐๙ หน้าที่ ๒๘๓-๒๘๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=30&A=6975&Z=7009&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=30&item=718&items=4              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=30&item=718&items=4&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=30&item=718&items=4              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=30&item=718&items=4              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=718              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]