ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
             [๗๔๘] 	พึงละเว้นสหายชั่ว ผู้ไม่เห็นประโยชน์ ผู้ตั้งอยู่ในธรรมอัน
                          ไม่เสมอ ไม่ควรเสพคนผู้ขวนขวายและคนประมาทด้วยตนเอง
                          พึงเที่ยวไปเหมือนนอแรด ฉะนั้น.
             [๗๔๙] สหายชั่ว ในอุเทศว่า ปาปํ สหายํ ปริวชฺชเยถ ดังนี้ ที่บัณฑิตกล่าวไว้ว่า
สหายผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิวัตถุ ๑๐ ว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล ผล
วิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี เหล่า
สัตว์ที่ผุดขึ้นเกิดไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วย
ความรู้ยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ ไม่มีในโลก ดังนี้. สหายนี้ชื่อว่า สหายชั่ว.
             คำว่า พึงละเว้นสหายชั่ว ความว่า พึงละ พึงเว้น พึงหลีกเลี่ยงสหายชั่ว เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า พึงละเว้นสหายชั่ว.
             [๗๕๐] สหายผู้ไม่เห็นประโยชน์ ในอุเทศว่า อนตฺถทสฺสี วิสเม นิวฏฺฐํ ดังนี้ ที่
บัณฑิตกล่าวไว้ว่า สหายผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ ว่าทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชา
แล้วไม่มีผล ฯลฯ สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วย
ความรู้ยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ ไม่มีในโลก ดังนี้. สหายนี้ ชื่อว่าผู้ไม่เห็นประโยชน์.
             คำว่า ผู้ตั้งอยู่ในธรรมอันไม่เสมอ ความว่า ผู้ตั้งอยู่ในกายกรรมอันไม่เสมอ ใน
วจีกรรมอันไม่เสมอ ในมโนกรรมอันไม่เสมอ ในปาณาติบาตอันไม่เสมอ ในอทินนาทานอันไม่
เสมอ ในกาเมสุมิจฉาจารอันไม่เสมอ ในมุสาวาทอันไม่เสมอ ในปิสฺณาวาจาอันไม่เสมอ ใน
ผรุสวาจาอันไม่เสมอ ในสัมผัปปลาปอันไม่เสมอ ในอภิชฌาอันไม่เสมอ ในพยาบาทอันไม่เสมอ
ในมิจฉาทิฏฐิอันไม่เสมอ ในสังขารอันไม่เสมอ ผู้ตั้งอยู่ ข้องอยู่ แอบอยู่ เข้าถึงอยู่ ติดใจ
น้อมใจไปในเบญจกามคุณอันไม่เสมอ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่เห็นประโยชน์ ผู้ตั้งอยู่ใน
ธรรมอันไม่เสมอ.
             [๗๕๑] คำว่า ผู้ขวนขวาย ในอุเทศว่า สยํ น เสเว ปสุตํ ปมตฺตํ ดังนี้ ความว่า
ผู้ใดย่อมแสวงหา เสาะหา ค้นหากาม เป็นผู้ประพฤติอยู่ในกาม มักมากอยู่ในกาม หนักอยู่
ในกาม เอนไปในกาม โอนไปในกาม อ่อนไปในกาม น้อมใจไปในกาม มุ่งกามเป็นใหญ่
แม้ผู้นั้นชื่อว่าผู้ขวนขวายในกาม. ผู้ใดเสาะหารูป ได้รูป บริโภครูป ด้วยสามารถตัณหา เป็น
ผู้ประพฤติอยู่ในรูป มักมากในรูป หนักอยู่ในรูป เอนไปในรูป โอนไปในรูป อ่อนไปในรูป
น้อมใจไปในรูป มุ่งรูปเป็นใหญ่ แม้ผู้นั้นก็ชื่อว่าผู้ขวนขวายในกาม. ผู้ใดเสาะหาเสียง ... ผู้ใด
เสาะหากลิ่น ... ผู้ใดเสาะหารส ... ผู้ใดเสาะหาโผฏฐัพพะ ได้โผฏฐัพพะ บริโภคโผฏฐัพพะด้วย
สามารถตัณหา เป็นผู้ประพฤติอยู่ในโผฏฐัพพะ มักมากในโผฏฐัพพะ หนักอยู่ในโผฏฐัพพะ
เอนไปในโผฏฐัพพะ โอนไปในโผฏฐัพพะ อ่อนไปในโผฏฐัพพะ น้อมใจไปในโผฏฐัพพะ
มุ่งโผฏฐัพพะเป็นใหญ่ แม้ผู้นั้นก็ชื่อว่าผู้ขวนขวายในกาม.
             พึงกล่าวความประมาท ในคำว่า ปมตฺตํ ดังต่อไปนี้ ความปล่อยจิตไป ความตามเพิ่ม
การปล่อยจิตไป ในกายทุจริตก็ดี  ในวจีทุจริตก็ดี  ในมโนทุจริตก็ดี  ในเบญจกามคุณก็ดี หรือ
ความทำโดยไม่เอื้อเฟื้อ  ความไม่ทำเนืองๆ ความทำหยุดๆ ความประพฤติย่อหย่อน ความปลง
ฉันทะ ความทอดธุระ ความไม่เสพ ความไม่เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งใจ ความ
ไม่ประกอบเนืองๆ ในการบำเพ็ญธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล ความประมาท กิริยาที่ประมาท ความ
เป็นผู้ประมาท เห็นปานนี้ ท่านกล่าวว่า ความประมาท.
             คำว่า ไม่ควรเสพคนผู้ขวนขวายและคนผู้ประมาทด้วยตนเอง ความว่า ไม่ควรเสพ
ไม่ควรอาศัยเสพ ไม่ควรร่วมเสพ ไม่ควรซ่องเสพ  ไม่ควรเอื้อเฟื้อประพฤติ ไม่ควรเต็มใจ
ประพฤติ ไม่ควรสมาทานประพฤติ กะคนผู้ขวนขวายและคนประมาท เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ไม่ควรเสพคนผู้ขวนขวายและคนผู้ประมาทด้วยตนเอง พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น.
เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงกล่าวว่า
                          พึงละเว้นสหายชั่ว ผู้ไม่เห็นประโยชน์ ผู้ตั้งอยู่ในธรรมอันไม่เสมอ
                          ไม่ควรเสพคนผู้ขวนขวายและคนประมาทด้วยตนเอง พึงเที่ยวไป
                          ผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ บรรทัดที่ ๗๓๗๔-๗๔๑๘ หน้าที่ ๒๙๙-๓๐๐. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=30&A=7374&Z=7418&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=30&item=748&items=4              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=30&item=748&items=4&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=30&item=748&items=4              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=30&item=748&items=4              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=748              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]