ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
             [๗๕๖] 	พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่ทำความพอใจซึ่งการเล่น ความ
                          ยินดี และกามสุขในโลก ไม่อาลัย เว้นจากฐานะแห่ง
                          เครื่องประดับ เป็นผู้พูดจริง พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
                          นอแรด ฉะนั้น.
             [๗๕๗] ชื่อว่า การเล่น ในอุเทศว่า ขิฑฺฑา รตี กามสุขญฺจ โลเก ดังนี้ ได้แก่
การเล่น ๒ อย่าง คือ การเล่นทางกาย ๑ การเล่นทางวาจา ๑. ฯลฯ นี้ชื่อว่าการเล่นทางกาย. ฯลฯ
นี้ชื่อว่าการเล่นทางวาจา.
             คำว่า ความยินดี นี้ เป็นเครื่องกล่าวถึงความเป็นผู้ไม่กระสัน.
             คำว่า กามสุข ความว่า สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ดูกร-
*ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้. ๕ ประการเป็นไฉน? คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยตา อันน่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู กลิ่น
ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการ
นี้แล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุขโสมนัสใดแล อาศัยกามคุณ ๕ ประการนี้ เกิดขึ้น สุขโสมนัส
นี้เรากล่าวว่า กามสุข เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กามสุข.
             คำว่า ในโลก คือ ในมนุษย์โลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ... ความเล่น ความยินดี
และกามสุขในโลก.
             [๗๕๘] คำว่า ไม่ทำความพอใจ ไม่อาลัย ความว่า ไม่ทำความพอใจ ซึ่งการเล่น
ความยินดี และกามสุขในโลก เป็นผู้ไม่มีความอาลัย คือ ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึง
ความไม่มี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ทำความพอใจ ไม่อาลัย.
             [๗๕๙] ชื่อว่า เครื่องประดับ ในอุเทศว่า วิภูสนฏฺฐานา วิรโต สจฺจวาที ดังนี้ ได้
แก่เครื่องประดับ ๒ อย่าง คือ เครื่องประดับของคฤหัสถ์อย่าง ๑ เครื่องประดับของบรรพชิต
อย่าง ๑.
             เครื่องประดับของคฤหัสถ์เป็นไฉน? ผม หนวด ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
เครื่องประดับ เครื่องแต่งตัว ผ้า เครื่องประดับศีรษะ ผ้าโพก เครื่องอบ เครื่องนวด เครื่อง
อาบน้ำ เครื่องตัด กระจกเงา เครื่องหยอดตา ดอกไม้ เครื่องไล้ทา เครื่องทาปาก เครื่อง
ผัดหน้า เครื่องผูกข้อมือ เครื่องผูกมวยผม ไม้เท้า กล้องยา ดาบ ร่ม รองเท้า กรอบหน้า
พัดขนสัตว์ ผ้าขาว ผ้ามีชายยาว เครื่องประดับดังกล่าวมานี้ เป็นเครื่องประดับของคฤหัสถ์.
             เครื่องประดับของบรรพชิตเป็นไฉน? การประดับจีวร การประดับบาตร การประดับ
เสนาสนะ การประดับ การตกแต่ง การเล่น การเล่นรอบ ความกำหนัด ความพลิกแพลง
ความเป็นผู้พลิกแพลง ซึ่งกายอันเปื่อยเน่านี้ หรือซึ่งบริขารอันเป็นภายนอก. การประดับนี้
เป็นการประดับของบรรพชิต.
             คำว่า เป็นผู้พูดจริง ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้พูดจริง เชื่อมคำสัตย์
มีถ้อยคำเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่กล่าวให้เคลื่อนคลาดแก่โลก เว้นทั่ว งดเว้น ออกไป
สลัดออกไป หลุดพ้น พรากออกไป จากฐานะแห่งเครื่องประดับ มีใจปราศจากเขตแดนอยู่
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เว้นแล้วจากฐานะแห่งเครื่องประดับ เป็นผู้พูดจริง พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรด ฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
                          พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่ทำความพอใจซึ่งการเล่น ความ
                          ยินดี และกามสุขในโลก ไม่อาลัย เว้นจากฐานะแห่ง
                          เครื่องประดับ เป็นผู้พูดจริง พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
                          นอแรด ฉะนั้น.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ บรรทัดที่ ๗๔๖๑-๗๕๐๑ หน้าที่ ๓๐๒-๓๐๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=30&A=7461&Z=7501&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=30&item=756&items=4              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=30&item=756&items=4&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=30&item=756&items=4              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=30&item=756&items=4              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=756              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]