ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
             [๒๔๖] ปัญญาในความมีกุศลธรรมเป็นอธิบดี เป็นสัญญาวิวัฏฏญาณ
อย่างไร ฯ
             ปัญญาในความมีเนกขัมมะเป็นอธิบดี ย่อมหลีกออกจากกามฉันทะด้วย
ปัญญาเครื่องรู้ดี เพราะฉะนั้น ปัญญาในความมีกุศลธรรมเป็นอธิบดี จึงเป็น
สัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาในความมีความไม่พยาบาทเป็นอธิบดี ย่อมหลีกออก
จากพยาบาทด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ดี เพราะฉะนั้น ปัญญาในความมีกุศลธรรม
เป็นอธิบดี จึงเป็นสัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาในความมีอาโลกสัญญาเป็นอธิบดี
ย่อมหลีกออกจากถีนมิทธะด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ดี ... ปัญญาในความมีความไม่
ฟุ้งซ่านเป็นอธิบดี ย่อมหลีกออกจากอุทธัจจะด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ดี ... ปัญญา
ในความมีการกำหนดธรรมเป็นอธิบดี ย่อมหลีกออกจากวิจิกิจฉาด้วยปัญญาเป็น
เครื่องรู้ดี ... ปัญญาในความมีญาณเป็นอธิบดี ย่อมหลีกออกจากอวิชชาด้วย
ปัญญาเป็นเครื่องรู้ดี ... ปัญญาในความมีปราโมทย์เป็นอธิบดี ย่อมหลีกออกจาก
อรติด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ดี ... ปัญญาในความมีปฐมฌานเป็นอธิบดี ย่อมหลีก
ออกจากนิวรณ์ด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ดี ฯลฯ ปัญญาในความมีอรหัตมรรคเป็น
อธิบดี ย่อมหลีกออกจากกิเลสทั้งปวงด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ดี เพราะฉะนั้น
ปัญญาในความมีกุศลธรรมเป็นอธิบดี จึงเป็นสัญญาวิวัฏฏญาณ ฯ
             ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความมีกุศลธรรมเป็นอธิบดี เป็นสัญญา
วิวัฏฏญาณ ฯ
             [๒๔๗] ปัญญาในธรรมเป็นเหตุหลีกออกจากความต่าง เป็นเจโตวิวัฏฏ-
*ญาณอย่างไร ฯ
             กามฉันทะเป็นความต่าง เนกขัมมะเป็นอย่างเดียว เมื่อพระโยคาวจรคิด
ถึงความที่เนกขัมมะเป็นธรรมอย่างเดียว จิตย่อมหลีกออกจากกามฉันทะ เพราะ
ฉะนั้น ปัญญาในธรรมเป็นเหตุหลีกออกจากความต่าง จึงเป็นเจโตวิวัฏฏญาณ
พยาบาทเป็นความต่าง ความไม่พยาบาทเป็นอย่างเดียว เมื่อพระโยคาวจรคิดถึง
ความที่ความไม่พยาบาทเป็นธรรมอย่างเดียว จิตย่อมหลีกออกจากพยาบาท เพราะ
ฉะนั้น ปัญญาในธรรมเป็นเหตุหลีกออกจากความต่าง จึงเป็นเจโตวิวัฏฏญาณ
ถีนมิทธะเป็นความต่าง อาโลกสัญญาเป็นอย่างเดียว เมื่อพระโยคาวจรคิดถึงความ
ที่อาโลกสัญญาเป็นธรรมอย่างเดียว จิตย่อมหลีกออกจากถีนมิทธะ เพราะฉะนั้น
ปัญญาในธรรมเป็นเหตุหลีกออกจากความต่าง จึงเป็นเจโตวิวัฏฏญาณ ฯลฯ
กิเลสทั้งปวงเป็นความต่าง อรหัตมรรคเป็นอย่างเดียว เมื่อพระโยคาวจรคิดถึง
ความที่อรหัตมรรคเป็นธรรมอย่างเดียว จิตย่อมหลีกออกจากกิเลสทั้งปวง เพราะ
ฉะนั้น ปัญญาในธรรมเป็นเหตุหลีกออกจากความต่าง จึงเป็นเจโตวิวัฏฏญาณ ฯ
             ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในธรรมเป็นเหตุหลีกออกจากความต่าง เป็น
เจโตวิวัฏฏญาณ ฯ
             [๒๔๘] ปัญญาในการอธิษฐาน เป็นจิตตวิวัฏฏญาณอย่างไร ฯ
             เมื่อพระโยคาวจรละกามฉันทะ ย่อมอธิษฐานจิตด้วยสามารถแห่ง
เนกขัมมะ เมื่อละพยาบาท ย่อมอธิษฐานจิตด้วยสามารถแห่งความไม่พยาบาท
เมื่อละถีนมิทธะ ย่อมอธิษฐานจิตด้วยสามารถแห่งอาโลกสัญญา ฯลฯ เมื่อละ
กิเลสทั้งปวง ย่อมอธิษฐานจิตด้วยสามารถแห่งอรหัตมรรค เพราะฉะนั้น
ปัญญาในการอธิษฐาน (แต่ละอย่าง) จึงเป็นจิตตวิวัฏฏญาณ (แต่ละอย่าง) ฯ
             ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการอธิษฐานเป็นจิตตวิวัฏฏญาณ ฯ
             [๒๔๙] ปัญญาในธรรมอันว่างเปล่า เป็นญาณวิวัฏฏญาณอย่างไร ฯ
             เมื่อพระโยคาวจรรู้ชัดและเห็นแจ้งตามความเป็นจริงว่า จักษุว่างเปล่า
จากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความคงที่
หรือจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา ญาณย่อมหลีกออกจากความยึดถือในกาม
เพราะฉะนั้น ปัญญาในธรรมอันว่างเปล่า จึงเป็นญาณวิวัฏฏญาณ เมื่อพระ-
*โยคาวจรรู้ชัดและเห็นแจ้งตามความเป็นจริงว่า หูว่างเปล่า ฯลฯ จมูกว่างเปล่า
ลิ้นว่างเปล่า กายว่างเปล่า ใจว่างเปล่า จากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน
จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความคงที่ หรือจากความไม่แปรปรวนเป็น
ธรรมดา ญาณย่อมหลีกออกจากความยึดถือในกาม เพราะฉะนั้น ปัญญาใน
ธรรมอันว่างเปล่า จึงเป็นญาณวิวัฏฏญาณ ฯ
             ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่า
รู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในธรรมอันว่างเปล่า เป็นญาณ-
*วิวัฏฏญาณ ฯ
             [๒๕๐] ปัญญาในความสลัดออก เป็นวิโมกขวิวัฏฏญาณอย่างไร ฯ
             พระโยคาวจรย่อมสลัดกามฉันทะออกด้วยเนกขัมมะ สลัดพยาบาทออก
ด้วยความไม่พยาบาท สลัดถีนมิทธะออกด้วยอาโลกสัญญา สลัดอุทธัจจะออก
ด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน สลัดวิจิกิจฉาออกด้วยการกำหนดธรรม ฯลฯ สลัดกิเลส
ทั้งปวงออกด้วยอรหัตมรรค เพราะฉะนั้น ปัญญาในความสลัดออก (แต่ละอย่าง)
จึงเป็นวิโมกขวิวัฏฏญาณ (แต่ละอย่าง) ฯ
             ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่า
รู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความสลัดออก เป็นวิโมกข-
*วิวัฏฏญาณ ฯ
             [๒๕๑] ปัญญาในความว่าธรรมจริง เป็นสัจจวิวัฏฏญาณอย่างไร ฯ
             เมื่อพระโยคาวจรกำหนดรู้ความบีบคั้น ความปรุงแต่ง ความให้เดือดร้อน
ความแปรปรวน แห่งทุกข์ ย่อมหลีกไป เมื่อละความประมวลมา ความเป็นเหตุ
ความเกี่ยวข้อง ความกังวล แห่งสมุทัย ย่อมหลีกไป เมื่อกระทำให้แจ้งซึ่ง
ความสลัดออก ความสงัด ความไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ความไม่ตาย แห่งนิโรธ
ย่อมหลีกไป เมื่อเจริญความนำออก ความเป็นเหตุ ความเห็น ความเป็นอธิบดี
แห่งมรรค ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น ปัญญาในความว่าธรรมจริง (แต่ละอย่าง)
จึงเป็นสัจจวิวัฏฏญาณ (แต่ละอย่าง) ญาณเป็นสัญญาวิวัฏฏ์ เจโตวิวัฏฏ์
จิตตวิวัฏฏ์ ญาณวิวัฏฏ์ วิโมกขวิวัฏฏ์ สัจจวิวัฏฏ์ พระโยคาวจรเมื่อรู้พร้อมย่อม
หลีกไป เพราะฉะนั้นจึงเป็นสัญญาวิวัฏฏ์ เมื่อคิดถึงย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น
จึงเป็นเจโตวิวัฏฏ์ เมื่อรู้แจ้งย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้นจึงเป็นจิตตวิวัฏฏ์
เมื่อกระทำญาณย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้นจึงเป็นญาณวิวัฏฏ์ เมื่อสลัดออกย่อม
หลีกไป เพราะฉะนั้นจึงเป็นวิโมกขวิวัฏฏ์ ย่อมหลีกไปในความว่าธรรมจริง
เพราะฉะนั้นจึงเป็นสัจจวิวัฏฏ์ ฯ
             [๒๕๒] ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏฏ์ ในขณะแห่งมรรคนั้น
ย่อมมีเจโตวิวัฏฏ์ ในขณะแห่งมรรคใดมีเจโตวิวัฏฏ์ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมี
สัญญาวิวัฏฏ์ ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏฏ์ เจโตวิวัฏฏ์ ในขณะแห่งมรรค
นั้นย่อมมีจิตตวิวัฏฏ์ ในขณะแห่งมรรคใดมีจิตตวิวัฏฏ์ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมี
สัญญาวิวัฏฏ์ เจโตวิวัฏฏ์ ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏฏ์ เจโตวิวัฏฏ์
จิตตวิวัฏฏ์ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีญาณวิวัฏฏ์ ในขณะแห่งมรรคใดมีญาณ-
*วิวัฏฏ์ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏฏ์ เจโตวิวัฏฏ์ จิตตวิวัฏฏ์
ในขณะแห่งมรรคใดมี สัญญาวิวัฏฏ์ เจโตวิวัฏฏ์ จิตตวิวัฏฏ์ ญาณวิวัฏฏ์
ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีวิโมกขวิวัฏฏ์ ในขณะแห่งมรรคใดมีวิโมกขวิวัฏฏ์
ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏฏ์ เจโตวิวัฏฏ์ จิตตวิวัฏฏ์ ญาณวิวัฏฏ์
ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏฏ์ เจโตวิวัฏฏ์ จิตตวิวัฏฏ์ ญาณวิวัฏฏ์ วิโมกข-
*วิวัฏฏ์ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัจจวิวัฏฏ์ ในขณะแห่งมรรคใดมีสัจจวิวัฏฏ์
ในขณะแห่งมรรคนั้น ย่อมมีสัญญาวิวัฏฏ์ เจโตวิวัฏฏ์ จิตตวิวัฏฏ์ ญาณวิวัฏฏ์
วิโมกขวิวัฏฏ์ ฯ
             ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่า
รู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความว่าธรรมจริง เป็น
สัจจวิวัฏฏญาณ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๒๗๐๐-๒๗๙๖ หน้าที่ ๑๑๐-๑๑๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=2700&Z=2796&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=31&item=246&items=7              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=31&item=246&items=7&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=31&item=246&items=7              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=31&item=246&items=7              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=246              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_31 https://84000.org/tipitaka/english/?index_31

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]