ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
             [๒๖๔] ปัญญาในความกำหนดรู้ เป็นทุกขญาณ ปัญญาในความละ
เป็นสมุทยญาณ ปัญญาในความทำให้แจ้ง เป็นนิโรธญาณ ปัญญาในความเจริญ
เป็นมรรคญาณ อย่างไร ฯ
             สภาพบีบคั้น สภาพเดือดร้อน สภาพปัจจัยปรุงแต่ง สภาพแปรปรวน
สภาพที่ควรกำหนดรู้แห่งทุกข์ สภาพที่ประมวลมา สภาพเป็นเหตุ สภาพที่เกี่ยวข้อง
สภาพพัวพัน สภาพที่ควรละแห่งสมุทัย สภาพที่สลัดออก สภาพที่สงัด
สภาพอันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาพเป็นอมตะ สภาพที่ควรทำให้แจ้งแห่งนิโรธ
สภาพที่นำออก สภาพที่เป็นเหตุ สภาพที่เห็น สภาพที่เป็นอธิบดี สภาพที่ควร
เจริญแห่งมรรค ฯ
             ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความกำหนด เป็นทุกขญาณ ปัญญา
ในความละ เป็นสมุทยญาณ ปัญญาในความทำให้แจ้ง เป็นนิโรธญาณ ปัญญา
ในความเจริญเป็นมรรคญาณ ฯ
             [๒๖๕] ทุกขญาณ ทุกขสมุทยญาณ ทุกขนิโรธญาณ ทุกขนิโรธคามินี
ปฏิปทาญาณ อย่างไร ญาณของท่านผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรคนี้ เป็นทุกข-
*ญาณ ทุกขสมุทยญาณ ทุกขนิโรธญาณ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ ฯ
             [๒๖๖] ในญาณเหล่านั้น ทุกขญาณเป็นไฉน ฯ
             ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด ความเลือกเฟ้น ความค้นคว้า ความสอดส่องธรรม
ความกำหนดดี ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ความเป็นบัณฑิต
ความเป็นผู้ฉลาด ความเป็นผู้ละเอียด ความแจ่มแจ้ง ความคิด ความพิจารณา
ปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน ปัญญาอันทำลายกิเลส ปัญญาอันนำไปรอบ ความ
เห็นแจ้ง ความรู้ทั่วพร้อม ปัญญาดังปะฏัก ปัญญาเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นกำลัง
ปัญญาดังศาตรา ปัญญาดังปราสาท ปัญญาเป็นแสงสว่าง ปัญญาเป็นรัศมี ปัญญา
รุ่งเรือง ปัญญาดังรัตนะ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฐิที่ปรารภทุกข์
เกิดขึ้น นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขญาณ ฯ
             [๒๖๗] ฯลฯ ปรารภทุกข์สมุทัย ฯลฯ ปรารภทุกขนิโรธ ฯลฯ ความรู้ทั่ว
ความรู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฐิ ที่ปรารภทุกขนิโรธ
คามินีปฏิปทาเกิดขึ้น นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ ฯ
             ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ทุกขญาณ ทุกขสมุทยญาณ ทุกขนิโรธญาณ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๒๙๗๐-๓๐๐๐ หน้าที่ ๑๒๑-๑๒๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=2970&Z=3000&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=31&item=264&items=4              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=31&item=264&items=4&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=31&item=264&items=4              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=31&item=264&items=4              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=264              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_31 https://84000.org/tipitaka/english/?index_31

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]