ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
             [๔๑๐] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งจิตตสังขารหายใจออก ย่อมศึกษาว่า
จักรู้แจ้งจิตตสังขารหายใจเข้า อย่างไร ฯ
             จิตตสังขารเป็นไฉน สัญญาและเวทนาด้วยสามารถลมหายใจออกยาว
เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตตสังขาร สัญญาและเวทนาด้วย
สามารถลมหายใจเข้ายาว เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตตสังขาร
ฯลฯ สัญญาและเวทนาด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งสุขหายใจออก ด้วยสามารถ
ความเป็นผู้รู้แจ้งสุขหายใจเข้า เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตต-
*สังขาร นี้เป็นจิตตสังขาร ฯ
             จิตตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏอย่างไร ฯ
             เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว
สติย่อมตั้งมั่น จิตตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้
ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว สติย่อม
ตั้งมั่น จิตตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ เมื่อทำให้
แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง จิตตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏ จิตตสังขารเหล่านั้น
ย่อมปรากฏอย่างนี้ ฯ
             เวทนา ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งจิตตสังขารหายใจออกหายใจเข้า
ปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ เวทนาปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย
เป็นตัวสติด้วย บุคคลย่อมพิจารณาเวทนานั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะ
เหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ พิจารณาเวทนาในเวทนา
ทั้งหลาย ฯ
             คำว่า พิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาเวทนานั้นอย่างไร ย่อมพิจารณา
โดยความไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมพิจารณาเวทนานั้นอย่างนี้ ฯ
             ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ
สีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่ารู้แจ้งจิตตสังขารระวังลมหายใจออกลมหายใจเข้า ฯลฯ
เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งจิตตสังขาร
หายใจออกหายใจเข้า ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๔๘๗๑-๔๘๙๗ หน้าที่ ๑๙๙-๒๐๐. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=4871&Z=4897&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=31&item=410&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=31&item=410&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=31&item=410&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=31&item=410&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=410              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_31 https://84000.org/tipitaka/english/?index_31

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]