ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
             [๑๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ภพก่อน
กำเนิดก่อน เมื่อตรวจดูมหาชนที่ควรสงเคราะห์ ย่อมรู้จักชนที่เสมอกัน รู้จักเอง
รู้จักบุรุษ รู้จักบุรุษพิเศษ หยั่งทราบว่าบุคคลนี้ควรแก่สักการะนี้ บุคคลนี้ควรแก่
สักการะนี้ ดังนี้ แล้วทำกิจเป็นประโยชน์อันพิเศษในบุคคลนั้นๆ ในกาลก่อนๆ
ตถาคตย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เพราะกรรม
นั้น อันตนทำ สั่งสม พอกพูน ไพบูลย์ ฯลฯ ครั้นจุติจากสวรรค์นั้นแล้ว
มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ย่อมได้เฉพาะซึ่งมหาปุริสลักษณะ ๒ ประการนี้ คือ มี

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๔๙.

พระกายเป็นปริมณฑลดังว่านิโครธพฤกษ์ ๑ เมื่อทรงยืนอยู่ไม่ต้องทรงน้อมพระกาย ลง ย่อมลูบคลำพระชาณุทั้ง ๒ ด้วยฝ่ายพระหัตถ์ทั้ง ๒ ได้ ๑ พระมหาบุรุษ สมบูรณ์ด้วยลักษณะทั้ง ๒ นั้น ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ฯลฯ เมื่อเป็นพระราชาจะได้อะไร เมื่อเป็นพระราชาจะได้รับผลข้อนี้ คือ เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องอุปกรณ์น่าปลื้มใจมาก มีทรัพย์และข้าวเปลือกมาก มีคลังเต็มบริบูรณ์ ถ้าพระมหาบุรุษนั้นออกจากเรือน ผนวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลส อันเปิดแล้วในโลก เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้ รับผลข้อนี้ คือ เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก ทรัพย์ของพระองค์นั้น คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะ ปัญญา เป็นทรัพย์อย่างหนึ่งๆ พระผู้มีพระภาคตรัสเนื้อความนี้ไว้ พระโบราณกเถระทั้งหลายจึงกล่าวคาถาประพันธ์ นี้ ในพระลักษณะเหล่านั้นว่า [๑๕๓] พระมหาบุรุษ เมื่อตรวจดูมหาชนที่ควรสงเคราะห์ พิจารณา แล้ว สอดส่องแล้ว คิดแล้วหยั่งทราบว่า บุคคลนี้ควรแก่ สักการะนี้ ดังนี้แล้ว ทำกิจพิเศษของบุรุษในบุคคลนั้นๆ ใน กาลก่อน ก็แหละพระมหาบุรุษทรงยืนตรงไม่ต้องน้อมพระกาย ลง ก็ถูกต้องพระชาณุทั้ง ๒ ด้วยพระกรทั้ง ๒ ได้ และมี พระกายเป็นปริมณฑลดังว่า ต้นนิโครธที่งอกงามบนแผ่นดิน ด้วยผลกรรมที่ประพฤติมาดีแล้ว ยังเป็นส่วนเหลือ มนุษย์ ทั้งหลาย ที่มีปัญญาอันละเอียด รู้จักลักษณะเป็นนิมิตมากอย่าง ทำนายว่า พระราชโอรสนี้เป็นพระดรุณกุมาร ยังทรงพระเยาว์ ย่อมได้เฉพาะซึ่งลักษณะอันคู่ควรแก่คฤหัสถ์มากอย่าง กาม โภคะอันสมควรแก่คฤหัสถ์เป็นอันมาก ย่อมมีแก่พระราชกุมาร ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ในฆราวาสวิสัยนี้ ถ้าพระราชกุมารนี้

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๕๐.

ทรงละกามโภคะทั้งปวง จะทรงได้อนุตตรธรรมอันเป็นทรัพย์อย่าง ประเสริฐสูงสุด ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ บรรทัดที่ ๓๕๙๗-๓๖๒๙ หน้าที่ ๑๔๘-๑๕๐. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=11&A=3597&Z=3629&pagebreak=1 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=11&item=152&items=2&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=11&item=152&items=2&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=11&item=152&items=2&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=11&item=152&items=2&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=152              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_11 https://84000.org/tipitaka/english/?index_11

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]