ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
             [๔๔๔] ธรรม ๘ อย่างที่มีอุปการะมากเป็นไฉน ได้แก่เหตุ ๘ ปัจจัย ๘
ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อ
ความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่ง
ปัญญาที่ได้แล้ว เหตุและปัจจัย ๘ เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้ ย่อมอยู่อาศัยครู หรือสพรหมมจรรย์ผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูรูปใด
รูปหนึ่ง เธอเข้าไปตั้งไว้ซึ่งหิริโอตตัปปะ ความรักและความเคารพอย่างแรงกล้า
ในท่านนั้น นี้เป็นเหตุข้อที่ ๑ เป็นปัจจัยข้อที่ ๑ เป็นไปเพื่อความได้ปัญญา
อันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความ
ไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ก็ภิกษุนั้นอยู่
อาศัยครูหรือสพรหมจรรย์ผู้ตั้งอยู่ในฐานะแห่งครูรูปใดรูปหนึ่ง เธอเข้าไปตั้งไว้ซึ่ง
หิริ โอตตัปปะ ความรักและความเคารพอย่างแรงกล้าในท่านนั้นแล้ว ย่อมเข้าไปหา
ท่านเสมอๆ สอบถามไต่ถามว่า ท่านผู้เจริญ ข้อนี้อย่างไร เนื้อความของข้อนี้
เป็นอย่างไร ท่านเหล่านั้นย่อมจะเปิดเผยสิ่งที่ยังมิได้เปิดเผย กระทำให้ง่ายซึ่งสิ่ง
ที่ยังมิได้กระทำให้ง่าย บรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลาย
อย่างแก่เธอ นี้เป็นเหตุข้อที่ ๒ เป็นปัจจัยข้อที่ ๒ เป็นไปเพื่อความได้ปัญญา
อันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความ
ไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ภิกษุนั้นฟังธรรม
นั้นแล้ว ย่อมยังความหลีกออก ๒ ประการให้ถึงพร้อม คือความหลีกออกแห่ง
กาย ๑ ความหลีกออกแห่งจิต ๑ นี้เป็นเหตุข้อที่ ๓ เป็นปัจจัยข้อที่ ๓ เป็นไป
เพื่อความได้ปัญญา อันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความมียิ่งๆ
ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญา
ที่ได้แล้ว ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๑๒.

อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาท และโคจรอยู่ เห็นภัยในโทษแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย นี้เป็นเหตุข้อที่ ๔ เป็นปัจจัยข้อที่ ๔ เป็นไปเพื่อความได้ปัญญา อันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความ ไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุผู้มีสุตะมาก ทรงไว้ซึ่งสุตะ สั่งสมไว้ซึ่งสุตะ ธรรม ทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง เป็นสิ่งอันภิกษุนั้นสดับแล้ว มาก ทรงไว้ คล่องปาก ตามพิจารณาด้วยใจ แทงตลอดด้วยความเห็น นี้เป็น เหตุข้อที่ ๕ เป็นปัจจัยข้อที่ ๕ เป็นไปเพื่อความได้ปัญญา อันเป็นเบื้องต้นแห่ง พรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความ ถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมอยู่ เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระ ในกุศลธรรม นี้เป็นเหตุข้อที่ ๖ เป็นปัจจัยข้อที่ ๖ เป็นไปเพื่อความได้ปัญญา อันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความ ไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาเครื่องรักษาตน อันยอดเยี่ยม ระลึก ตามระลึก ถึงสิ่งที่ได้ทำ คำที่ได้พูดไว้แล้วแม้นานได้ นี้ เป็นเหตุข้อที่ ๗ เป็นปัจจัยข้อที่ ๗ เป็นไปเพื่อความได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้น แห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อ ความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นความเกิดความดับในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า ดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดแห่งรูป ดังนี้ความดับแห่งรูป ดังนี้เวทนา ดังนี้

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๑๓.

ความเกิดแห่งเวทนา ดังนี้ความดับแห่งเวทนา ดังนี้สัญญา ดังนี้ความเกิดแห่งสัญญา ดังนี้ความดับแห่งสัญญา ดังนี้สังขาร ดังนี้ความเกิดแห่งสังขาร ดังนี้ความดับ แห่งสังขาร ดังนี้วิญญาณ ดังนี้ความเกิดแห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ นี้เป็นเหตุข้อที่ ๘ เป็นปัจจัยข้อที่ ๘ เป็นไปเพื่อความได้ปัญญา อันเป็นเบื้องต้น แห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความ เจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้มีอุปการะมาก ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ บรรทัดที่ ๗๕๕๗-๗๖๐๙ หน้าที่ ๓๑๑-๓๑๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=11&A=7557&Z=7609&pagebreak=1 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=11&item=444&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=11&item=444&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=11&item=444&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=11&item=444&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=444              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_11 https://84000.org/tipitaka/english/?index_11

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]