ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
             [๒๔๖] ก็โดยสมัยนั้น สุริยเทวบุตร ถูกอสุรินทราหูเข้าจับแล้ว ครั้ง
นั้น สุริยเทวบุตร ระลึกถึงพระผู้มีพระภาค ได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่า
                          ข้าแต่พระพุทธเจ้า ผู้แกล้วกล้า ขอความนอบน้อมจงมีแด่
                          พระองค์ พระองค์เป็นผู้หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ข้า-
                          พระองค์ถึงเฉพาะแล้วซึ่งฐานะอันคับขัน ขอพระองค์จงเป็น
                          ที่พึ่งแห่งข้าพระองค์นั้น ฯ
             [๒๔๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงปรารภสุริยเทวบุตรได้ตรัสกะ-
*อสุรินทราหูด้วยพระคาถาว่า
                          สุริยเทวบุตร ถึงตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ว่าเป็นที่พึง ดูกร
                          ราหู ท่านจงปล่อยสุริยะ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้
                          อนุเคราะห์แก่โลก สุริยะใดเป็นผู้ส่องแสง กระทำความสว่าง
                          ในที่มืดมิด มีสัณฐานเป็นวงกลม มีเดชสูง ดูกรราหู ท่าน
                          อย่ากลืนกินสุริยะนั้น ผู้เที่ยวไปในอากาศ ดูกรราหู ท่าน
                          จงปล่อยสุริยะ ผู้เป็นบุตรของเรา ฯ
             [๒๔๘] ลำดับนั้น อสุรินทราหู ปล่อยสุริยเทวบุตรแล้ว มีรูปอัน
กระหืดกระหอบ เข้าไปหาอสุรินทเวปจิตติถึงที่อยู่ ครั้นแล้วก็เป็นผู้เศร้าสลด เกิด
ขนพอง ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
             [๒๔๙] อสุรินทเวปจิตติ ได้กล่าวกะอสุรินทราหู ผู้ยืนอยู่ ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง ด้วยคาถาว่า
                          ดูกรราหู ทำไมหนอ ท่านจึงกระหืดกระหอบ ปล่อยพระ-
                          สุริยะเสีย ทำไมหนอ ท่านจึงมีรูปเศร้าสลด มายืนกลัวอยู่ ฯ
             [๒๕๐] อสุรินทราหู กล่าวว่า
                          ข้าพเจ้าถูกขับด้วยคาถาของพระพุทธเจ้า ถ้าข้าพเจ้าไม่พึง

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๗๓.

ปล่อยพระสุริยะ ศีรษะของข้าพเจ้าพึงแตกเจ็ดเสี่ยง มีชีวิต อยู่ ก็ไม่พึงได้รับความสุข ฯ
จบ วรรคที่ ๑
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรในวรรคที่ ๑ นี้ มี ๑๐ สูตร คือ ปฐมกัสสปสูตรที่ ๑ ทุติยกัสสปสูตรที่ ๒ มาฆสูตรที่ ๓ มาคธสูตรที่ ๔ ทามลิสูตรที่ ๕ กามทสูตร ที่ ๖ ปัญจาลจัณฑสูตรที่ ๗ ตายนสูตรที่ ๘ จันทิมสูตรที่ ๙ และ สุริยสูตรที่ ๑๐ ฯ
-----------------------------------------------------

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๗๔.

อนาถปิณฑิกวรรคที่ ๒
จันทิมสสูตรที่ ๑

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๑๕๗๘-๑๖๑๑ หน้าที่ ๗๒-๗๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=1578&Z=1611&pagebreak=1 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=15&item=246&items=5&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=15&item=246&items=5&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=15&item=246&items=5&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=15&item=246&items=5&pagebreak=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=246              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_15 https://84000.org/tipitaka/english/?index_15

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]