ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
ปฐมอัปปมาทสูตรที่ ๗
[๓๗๘] พระผู้มีพระภาคประทับ ... เขตพระนครสาวัตถี ... พระเจ้า ปเสนทิโกศล ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอย่างหนึ่งที่ยึดไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้ง ๒ คือ ประโยชน์ภพนี้ และประโยชน์ภพหน้า มีอยู่หรือ พระเจ้าข้า ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหาบพิตร ธรรมอย่างหนึ่งที่ยึดไว้ได้ซึ่ง ประโยชน์ทั้ง ๒ คือ ประโยชน์ภพนี้ และประโยชน์ภพหน้ามีอยู่ ฯ พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอย่าง- *หนึ่งที่ยึดไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้ง ๒ คือ ประโยชน์ภพนี้ และประโยชน์ภพหน้า คืออะไร ฯ [๓๗๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหาบพิตร ธรรมอย่างหนึ่งที่ยึด ไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้ง ๒ คือ ประโยชน์ภพนี้ และประโยชน์ภพหน้า คือ ความ ไม่ประมาท ฯ ดูกรมหาบพิตร รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลายที่สัญจรไปบนแผ่นดิน ชนิดใด ชนิดหนึ่ง รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมถึงการรวมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้าง ย่อมกล่าวกันว่า เป็นเลิศกว่ารอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็นของใหญ่ ข้อนี้มีอุปมา ฉันใด ดูกรมหาบพิตร ธรรมอย่างหนึ่งที่ยึดไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้ง ๒ คือ ประโยชน์ ภพนี้ และประโยชน์ภพหน้า คือความไม่ประมาท ก็มีอุปไมยฉันนั้น ฯ [๓๘๐] พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้ จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า บุคคลปรารถนาอยู่ซึ่งอายุ ความไม่มีโรค วรรณะ สวรรค์ ความเกิดในตระกูลสูง และความยินดีอันโอฬารต่อๆ ไป

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๒๓.

พึงบำเพ็ญความไม่ประมาท บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญ ความไม่ประมาทในบุญกิริยาทั้งหลาย บัณฑิตผู้ไม่ประมาท ย่อมยึดไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้ง ๒ คือ ประโยชน์ภพนี้ และ ประโยชน์ภพหน้า เพราะยึดไว้ได้ซึ่งประโยชน์ ผู้มีปัญญา จึงได้นามว่า "บัณฑิต" ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๒๗๖๔-๒๗๙๐ หน้าที่ ๑๒๒-๑๒๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=2764&Z=2790&pagebreak=1 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=15&item=378&items=3&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=15&item=378&items=3&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=15&item=378&items=3&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=15&item=378&items=3&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=378              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_15 https://84000.org/tipitaka/english/?index_15

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]