ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
ปรินิพพานสูตรที่ ๕
[๖๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่สาลวัน อันเป็นที่แวะพัก แห่งมัลลกษัตริย์ทั้งหลาย เขตเมืองกุสินารา ระหว่างแห่งสาลพฤกษ์ทั้งคู่ ในสมัยจะเสด็จปรินิพพาน ฯ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เอาเถิด บัดนี้ เราขอเตือนเธอทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อม ไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด ดังนี้ นี้เป็นวาจาครั้งสุดท้ายของตถาคต ฯ [๖๒๑] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงเข้าปฐมฌาน ออกจากปฐม- *ฌานแล้ว ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้ว ทรงเข้าตติยฌาน ออกจาก ตติยฌานแล้ว ทรงเข้าจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานแล้ว ทรงเข้าอากาสานัญจายตน ฌาน ออกจากอากาสานัญจายตนฌานแล้ว ทรงเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน ออกจาก วิญญาณัญจายตนฌานแล้ว ทรงเข้าอากิญจัญญายตนฌาน ออกจากอากิญจัญญายตน ฌานแล้ว ทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตน ฌานแล้ว ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ แล้ว ทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน แล้ว ทรงเข้าอากิญจัญญายตนฌาน ออกจากอากิญจัญญายตนฌานแล้ว ทรงเข้า วิญญาณัญจายตนฌาน ออกจากวิญญาณัญจายตนฌานแล้ว ทรงเข้าอากาสา- *นัญจายตนฌาน ออกจากอากาสานัญจายตนฌานแล้ว ทรงเข้าจตุตถฌาน ออกจาก จตุตถฌานแล้ว ทรงเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้ว ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้ว ทรงเข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้ว ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้ว ทรงเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้ว ทรงเข้าจตุตถฌาน พระผู้มีพระภาคออกจากจตุตถฌานแล้ว เสด็จปรินิพพานในลำดับนั้น ฯ [๖๒๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้ว ท้าวสหัมบดีพรหมได้กล่าว คาถานี้พร้อมกับกาลเป็นที่ปรินิพพานว่า สัตว์ทุกหมู่เหล่า จักทอดทิ้งร่างกายไว้ในโลก พระตถาคต ผู้ศาสดา ผู้หาบุคคลเปรียบมิได้ในโลก ถึงแล้วซึ่งกำลัง พระญาณเป็นพระสัมพุทธเช่นนี้ ยังปรินิพพานแล้ว ฯ [๖๒๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้ว ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่ของ ทวยเทพได้กล่าวคาถานี้ พร้อมกับกาลเป็นที่ปรินิพพานว่า สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้น และเสื่อมไป เป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความเข้าไปสงบสังขาร เหล่านั้นเป็นสุข ฯ [๖๒๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าว คาถานี้พร้อมกับกาลเป็นที่ปรินิพพานว่า เมื่อพระสัมพุทธเจ้าผู้ประกอบด้วยอาการอันประเสริฐทั้งปวง ปรินิพพานแล้ว ความสยดสยอง (และ) ความชูชันแห่งขน ได้มีแล้วในกาลนั้น ฯ [๖๒๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้ว ท่านพระอนุรุทธได้กล่าว คาถานี้ พร้อมกับกาลเป็นที่ปรินิพพานว่า ลมอัสสาสะปัสสาสะ (หายใจเข้าออก) มิได้มีแล้วแด่พระผู้มี พระภาคผู้มีจิตตั้งมั่นคงที่ พระผู้มีพระภาคมีจักษุไม่ทรงหวั่น ไหว ทรงปรารภสันติปรินิพพานแล้ว พระผู้มีพระภาคมีจิต ไม่หดหู่ ทรงอดกลั้นเวทนาเสียได้ ความพ้นแห่งจิตได้มี แล้ว เหมือนความดับแห่งประทีป ฉะนั้น ฯ
จบพรหมปัญจกะ
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตร
พรหมปัญจกะนี้ พระธรรมสังคาหกาจารย์แสดงด้วยสนังกุมารสูตร เทวทัตตสูตร อันทธกวินทสูตร อรุณวตีสูตร และปรินิพพานสูตร ฯ
จบพรหมสังยุตต์
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๕๐๘๔-๕๑๓๕ หน้าที่ ๒๑๙-๒๒๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=5084&Z=5135&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=15&item=620&items=6              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=15&item=620&items=6&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=15&item=620&items=6              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=15&item=620&items=6              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=620              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_15 https://84000.org/tipitaka/english/?index_15

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]