ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
             [๗๒๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมชื่อว่า โขมทุสสะของเจ้า
ศากยะ ในแคว้นสักกะ ฯ
             ครั้งนั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้วทรงถือบาตรและจีวร เสด็จ
เข้าไปบิณฑบาตยังโขมทุสสนิคม ฯ
             สมัยนั้น พราหมณ์และคฤหบดีชาวโขมทุสสนิคม ประชุมกันอยู่ในสภา
ด้วยกรณียกิจบางอย่าง และฝนกำลังตกอยู่ประปราย ฯ
             ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังสภานั้น ฯ
             พราหมณ์และคฤหบดีชาวโขมทุสสนิคม ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมา
แต่ไกล ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า คนพวกไหนชื่อว่าสมณะโล้น และคนพวกไหน
รู้จักธรรมของสภา ฯ
             [๗๒๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะพราหมณ์และคฤหบดีชาว
โขมทุสสนิคม ด้วยพระคาถาว่า
                          ในที่ใดไม่มีคนสงบ ที่นั้นไม่ชื่อว่าสภา คนเหล่าใดไม่
                          กล่าวธรรม คนเหล่านั้นไม่ชื่อว่าคนสงบ คนสงบละราคะ
                          โทสะ และโมหะแล้วกล่าวธรรมอยู่ ฯ
             [๗๒๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์และคฤหบดี
ชาวโขมทุสสนิคม ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดม ภาษิตของ
พระองค์แจ่มแจ้งนัก ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ท่านพระ
โคดมทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่าคนมีจักษุจักเห็นรูป
ฉะนั้น พวกข้าพระองค์เหล่านี้ขอถึงท่านพระโคดมผู้เจริญกับพระธรรมและพระภิกษุ
สงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมทรงจำพวกข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกถึงสรณะ
ตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้ ฯ
จบอุบาสกวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กสิสูตร ๒. อุทัยสูตร ๓. เทวหิตสูตร ๔. มหาศาลสูตร ๕. มานัตถัทธสูตร ๖. ปัจจนิกสูตร ๗. นวกรรมิกสูตร ๘. กัฏฐหารสูตร ๙. มาตุโปสกสูตร ๑๐. ภิกขกสูตร ๑๑. สังครวสูตร ๑๒. โขมทุสสสูตร ฯ
จบพราหมณสังยุต
-----------------------------------------------------
วังคีสสังยุต
นิกขันตสูตรที่ ๑

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๕๙๕๘-๕๙๙๑ หน้าที่ ๒๕๖-๒๕๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=5958&Z=5991&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=15&item=724&items=3&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=15&item=724&items=3              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=15&item=724&items=3&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=15&item=724&items=3&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=724              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_15 https://84000.org/tipitaka/english/?index_15

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]