ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
             [๗๔๑] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ
             ก็สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตรชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลาย เห็นแจ้ง สมาทาน
อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ด้วยวาจาของชาวเมือง สละสลวย ไม่มีโทษ
ไม่เคลื่อนคลาด อาจยังผู้ฟังให้รู้เนื้อความได้แจ่มแจ้ง ฯ
             ส่วนภิกษุเหล่านั้นก็ทำธรรมนั้นให้เป็นประโยชน์ ใส่ใจกำหนดด้วยจิต
ทั้งปวง เงี่ยโสตลงฟังธรรม ฯ
             [๗๔๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะมีความคิดดังนี้ว่า ท่านพระสารีบุตร
นี้ แนะนำชักชวนภิกษุทั้งหลายให้อาจหาญ รื่นเริงด้วยธรรมีกถา ด้วยวาจาของ
ชาวเมือง สละสลวย ไม่มีโทษ ไม่เคลื่อนคลาด อาจยังผู้ฟังให้รู้เนื้อความได้
แจ่มแจ้ง ฯ
             ส่วนภิกษุเหล่านั้นเล่า ก็ทำธรรมนั้นให้เป็นประโยชน์ ใส่ใจกำหนดด้วย
จิตทั้งปวง เงี่ยโสตลงฟังธรรม อย่ากระนั้นเลย เราควรสรรเสริญท่านพระสารี-
*บุตรด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควรในที่เฉพาะหน้าเถิด ฯ
             ลำดับนั้นแล ท่านพระวังคีสะลุกจากอาสนะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
แล้ว ประนมอัญชลีเฉพาะท่านพระสารีบุตรแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตร
ดังนี้ว่า ท่านสารีบุตร เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพเจ้า ท่านสารีบุตร เนื้อ
ความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพเจ้า ฯ
             ท่านพระสารีบุตรกล่าวกะท่านพระวังคีสะว่า เนื้อความนั้นจงแจ่มแจ้งกะ
ท่านเถิด ท่านวังคีสะ ฯ
             [๗๔๓] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะได้สรรเสริญท่านพระสารีบุตร
ต่อหน้าด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควรว่า
                          ท่านสารีบุตรเป็นนักปราชญ์ มีปัญญาลึกซึ้ง ฉลาดในทาง
                          และมิใช่ทาง มีปัญญามาก ย่อมแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย
                          แสดงโดยย่อก็ได้ แสดงโดยพิสดารก็ได้ เสียงของท่าน
                          ไพเราะดังก้อง เหมือนเสียงนกสาริกา ปฏิภาณเกิดขึ้นโดย
                          ไม่รู้สิ้นสุด เมื่อท่านแสดงธรรมอยู่ ภิกษุทั้งหลายย่อมฟัง
                          เสียงอันไพเราะ เป็นผู้ปลื้มจิตยินดีด้วยเสียงอันเพราะ น่า
                          ยินดี น่าฟัง เงี่ยโสตอยู่ ดังนี้ ฯ
ปวารณาสูตรที่ ๗

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๖๑๔๑-๖๑๗๐ หน้าที่ ๒๖๔-๒๖๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=6141&Z=6170&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=15&item=741&items=3&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=15&item=741&items=3              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=15&item=741&items=3&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=15&item=741&items=3&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=741              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_15 https://84000.org/tipitaka/english/?index_15

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]