ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๒. สนิทานสูตร
[๓๕๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน- *อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น พยาบาทวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น วิหิงสาวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น ฯ [๓๕๖] ก็กามวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น พยาบาท วิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น วิหิงสาวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหมายรู้ในกามบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยกามธาตุ ความดำริในกามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความหมายรู้ในกาม ความพอใจในกามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความพอใจในกาม การแสวงหากามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย ความเร่าร้อนเพราะกาม ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหากาม ย่อมปฏิบัติผิดโดย ฐานะ ๓ คือ กาย วาจา ใจ ความหมายรู้ในพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะพยาปาท ธาตุ ความดำริในพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความหมายรู้ในพยาบาท ความพอใจ ในพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในพยาบาท ความเร่าร้อนเพราะพยาบาท บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความพอใจในพยาบาท การแสวงหาพยาบาทบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะพยาบาท ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหาพยาบาท ย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะ ๓ คือ กาย วาจา ใจ ความหมายรู้ในวิหิงสาบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยวิหิงสาธาตุ ความดำริในวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความหมายรู้ใน วิหิงสา ความพอใจในวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในวิหิงสา ความ เร่าร้อนเพราะวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความพอใจในวิหิงสา การแสวงหา วิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะวิหิงสา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชน ผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหาวิหิงสา ย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะ ๓ คือกาย วาจา ใจ ฯ [๓๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษวางคบหญ้าที่ไฟติดแล้วในป่าหญ้าแห้ง ถ้าหากเขาไม่รีบดับด้วยมือและเท้าไซร้ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ สัตว์มีชีวิตทั้งหลาย บรรดาที่อาศัยหญ้าและไม้อยู่ พึงถึงความพินาศฉิบหาย แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่รีบละ ไม่รีบบรรเทา ไม่รีบทำให้สิ้นสุด ไม่รีบทำให้ไม่มีซึ่งอกุศลสัญญาที่ก่อกวนอันบังเกิดขึ้นแล้ว สมณะหรือพราหมณ์นั้น ย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความอึดอัด คับแค้น เร่าร้อน ใน ปัจจุบัน เบื้องหน้าแต่มรณะ เพราะกายแตก พึงหวังทุคติได้ ฯ [๓๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เนกขัมมวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มี เหตุบังเกิดขึ้น อัพยาปาทวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น อวิหิงสา วิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น ฯ [๓๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เนกขัมมวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มี เหตุบังเกิดขึ้น อัพยาปาทวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น อวิหิงสาวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น อย่างไร ภิกษุทั้งหลาย ความหมายรู้ในเนกขัมมะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยเนกขัมมธาตุ ความดำริในเนกขัมมะ บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความหมายรู้ในเนกขัมมะ ความพอใจในเนกขัมมะบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความดำริในเนกขัมมะ ความเร่าร้อนเพราะเนกขัมมะบังเกิดขึ้นเพราะ อาศัยความพอใจในเนกขัมมะ การแสวงหาในเนกขัมมะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย ความเร่าร้อนเพราะเนกขัมมะ อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาเนกขัมมะ ย่อม ปฏิบัติชอบโดยฐานะ ๓ คือ กาย วาจา ใจ ความหมายรู้ในอัพยาบาทบังเกิด ขึ้นเพราะอาศัยอัพยาปาทธาตุ ความดำริในอัพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความ หมายรู้ในอัพยาบาท ความพอใจในอัพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริใน อัพยาบาท ความเร่าร้อนเพราะอัพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความพอใจใน อัพยาบาท การแสวงหาในอัพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะ อัพยาบาท อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาอัพยาบาท ย่อมปฏิบัติชอบโดยฐานะ ๓ คือ กาย วาจา ใจ ความหมายรู้ในอวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยอวิหิงสาธาตุ ความ ดำริในอวิหิงสาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความหมายรู้ในอวิหิงสา ความพอใจในอวิหิงสา บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในอวิหิงสา ความเร่าร้อนเพราะอวิหิงสาบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความพอใจในอวิหิงสา การแสวงหาในอวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย ความเร่าร้อนเพราะอวิหิงสา ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหา อวิหิงสา ย่อมปฏิบัติชอบโดยฐานะ ๓ คือ กาย วาจา ใจ ฯ [๓๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษพึงวางคบหญ้าที่ไฟติดแล้วในป่าหญ้า แห้ง เขาจึงรีบดับคบนั้นเสียด้วยมือและเท้า ก็เมื่อเป็นเช่นนี้สัตว์ มีชีวิตทั้งหลาย บรรดาที่อาศัยหญ้าและไม้อยู่ ไม่พึงถึงความพินาศฉิบหาย แม้ฉันใด ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน รีบละ รีบ บรรเทา รีบทำให้หมด รีบทำให้ไม่มีซึ่งอกุศลสัญญาที่ก่อกวนอันบังเกิดขึ้นแล้ว เขาย่อมอยู่เป็นสุข ไม่มีความอึดอัด ความคับแค้น ความเร่าร้อน ในปัจจุบัน เบื้องหน้าแต่มรณะ เพราะกายแตก พึงหวังสุคติได้ ฯ
จบสูตรที่ ๒

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๓๙๘๑-๔๐๔๒ หน้าที่ ๑๖๖-๑๖๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=16&A=3981&Z=4042&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=16&item=355&items=6              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=16&item=355&items=6&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=16&item=355&items=6              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=16&item=355&items=6              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=355              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_16 https://84000.org/tipitaka/english/?index_16

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]