ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
             [๖๒๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระราหุลได้เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้ว
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
             [๖๒๑] ครั้นท่านพระราหุลนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถาม
ท่านว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
             ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
             รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ
ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
             รา. ไม่ควรตามเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
             พ. โสต ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... ใจ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
             รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
             รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ
ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
             รา. ไม่ควรตามเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
             [๖๒๒] ดูกรราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย
ทั้งในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในโสต ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในฆานะ ย่อมเบื่อหน่าย
ทั้งในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในกาย ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ เมื่อเบื่อหน่าย
ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว
ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า จิตหลุดพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
มิได้มี ดังนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๑
[พึงทำสูตรทั้ง ๑๐ โดยเปยยาลเช่นนี้]
๒. รูปสูตร
[๖๒๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกร ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ... ฯ
จบสูตรที่ ๒
๓. วิญญาณสูตร
[๖๒๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกร ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักขุวิญญาณ ... โสตวิญญาณ ... ฆาน- *วิญญาณ ... ชิวหาวิญญาณ ... กายวิญญาณ ... มโนวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ... ฯ
จบสูตรที่ ๓
๔. สัมผัสสสูตร
[๖๒๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักขุสัมผัส ... โสตสัมผัส ... ฆานสัมผัส ... ชิวหาสัมผัส ... กายสัมผัส ... มโนสัมผัส เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
จบสูตรที่ ๔
๕. เวทนาสูตร
[๖๒๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ... เวทนาที่เกิดแต่ โสตสัมผัส ... เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส ... เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส ... เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ... เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ... ฯ
จบสูตรที่ ๕
๖. สัญญาสูตร
[๖๒๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปสัญญา ... สัททสัญญา ... คันธสัญญา ... รสสัญญา ... โผฏฐัพพสัญญา ... ธัมมสัญญา เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ... ฯ
จบสูตรที่ ๖
๗. เจตนาสูตร
[๖๒๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปสัญเจตนา ... สัททสัญเจตนา ... คันธสัญ- *เจตนา ... รสสัญเจตนา ... โผฏฐัพพสัญเจตนา ... ธัมมสัญเจตนา เที่ยงหรือ ไม่เที่ยง ฯ ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ... ฯ
จบสูตรที่ ๗
๘. ตัณหาสูตร
[๖๒๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกร ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปตัณหา ... สัททตัณหา ... คันธ- *ตัณหา ... รสตัณหา ... โผฏฐัพพตัณหา ... ธัมมตัณหา เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ... ฯ
จบสูตรที่ ๘
๙. ธาตุสูตร
[๖๓๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกร ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ปฐวีธาตุ ... อาโปธาตุ ... เตโชธาตุ ... วาโยธาตุ ... อากาสธาตุ ... วิญญาณธาตุ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ... ฯ
จบสูตรที่ ๙
๑๐. ขันธสูตร
[๖๓๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกร- *ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรละหรือ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ รา. ไม่ควรตามเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในรูป ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสัญญา ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า จิตหลุดพ้นแล้ว ดังนี้ อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
๑๑. อนุสยสูตร

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๖๕๗๖-๖๖๘๑ หน้าที่ ๒๘๑-๒๘๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=16&A=6576&Z=6681&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=16&item=620&items=12&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=16&item=620&items=12              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=16&item=620&items=12&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=16&item=620&items=12&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=620              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_16 https://84000.org/tipitaka/english/?index_16

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]