ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
             [๗๐๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารสาลา ป่ามหาวัน เขต
พระนครเวสาลี สมัยนั้นแล ท่านพระวิสาขปัญจาลบุตร ยังภิกษุทั้งหลายให้เห็น
แจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ประกอบด้วยวาจา
ไพเราะ สละสลวยปราศจากโทษ นับเนื่องเข้าในวาจาที่ให้เข้าใจเนื้อความ ไม่อิง
อาศัยวัฏฏะ ในอุปัฏฐานศาลา ฯ
             [๗๐๗] ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้น
เสด็จไปทางอุปัฏฐานศาลา ครั้นเสด็จถึงแล้วประทับบนอาสนะที่แต่งตั้งไว้ แล้ว
ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใครหนอแลยังภิกษุทั้งหลายให้เห็น
แจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ประกอบด้วยวาจา
ไพเราะ สละสลวยปราศจากโทษ นับเนื่องเข้าในวาจาที่ให้เข้าใจเนื้อความ ไม่
อิงอาศัยวัฏฏะ ในอุปัฏฐานศาลา ฯ
             ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระวิสาขปัญจาล-
*บุตร ฯลฯ
             ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสกะท่านวิสาขปัญจาลบุตรว่า ดีแล้ว ดีแล้ว
วิสาขะ เธอยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ... ด้วยธรรมีกถา ฯลฯ ดีนักแล ฯ
             [๗๐๘] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้
แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า
                          ชนทั้งหลายย่อมไม่รู้จักคนที่ไม่พูด ว่าเจือด้วยพาลหรือเป็น
                          บัณฑิต แต่ย่อมรู้จักคนที่พูด ผู้แสดงทางอมฤตอยู่ บุคคล
                          พึงกล่าวธรรม พึงส่องธรรม พึงประคองธงชัยของฤาษี ฤาษี
                          ทั้งหลายมีสุภาษิตเป็นธง ธรรมนั่นเองเป็นธงชัยของพวก
                          ฤาษี ดังนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๗
๘. นันทสูตร

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๗๓๖๗-๗๓๙๑ หน้าที่ ๓๑๖-๓๑๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=16&A=7367&Z=7391&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=16&item=706&items=3&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=16&item=706&items=3              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=16&item=706&items=3&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=16&item=706&items=3&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=706              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_16 https://84000.org/tipitaka/english/?index_16

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]