ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๕. นขสิขสูตร
ว่าด้วยความไม่เที่ยงแท้แน่นอนแห่งขันธ์ ๕
[๒๕๒] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ภิกษุนั้นนั่งแล้ว ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูปอะไรๆ ที่เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง ไม่มีความแปร ปรวนเป็นธรรมดา จักคงเที่ยงอยู่เสมออย่างนั้น มีอยู่หรือหนอแล? เวทนาอะไรๆ ฯลฯ สัญญา อะไรๆ ฯลฯ สังขารอะไรๆ ฯลฯ วิญญาณอะไรๆ ที่เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง ไม่มีความแปร ปรวนเป็นธรรมดา จักคงเที่ยงอยู่เสมออย่างนั้น มีอยู่หรือหนอแล? พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุรูปอะไรๆ ที่เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักเที่ยงอยู่เสมอ อย่างนั้นไม่มีเลย. เวทนาอะไรๆ ... สัญญาอะไรๆ ... สังขารอะไรๆ ... วิญญาณอะไรๆ ที่เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักคงเที่ยงอยู่เสมออย่างนั้น ไม่มีเลย. [๒๕๓] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงช้อนฝุ่นนิดหน่อยด้วยปลายเล็บแล้ว ตรัส กะภิกษุนั้นว่า ดูกรภิกษุ แม้รูปมีประมาณเท่านี้แล เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง ไม่มีความแปรปรวน เป็นธรรมดา จักคงเที่ยงอยู่เสมออย่างนั้น ไม่มี. ถ้าว่ารูปแม้มีประมาณเท่านี้ จักได้เป็นของ เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาแล้วไซร้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบนี้ ก็จะไม่พึงปรากฏ. ก็เพราะเหตุที่รูปแม้มีประมาณเท่านี้แล เป็นของ เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ไม่มี ฉะนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ จึงปรากฏ. เวทนาแม้มีประมาณเท่านี้แล ฯลฯ วิญญาณแม้มีประมาณ เท่านี้แล เป็นของเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักคงเที่ยงอยู่เสมอ อย่างนั้น ไม่มี. ถ้าแม้ว่าวิญญาณมีประมาณเท่านี้ จักเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง ไม่มีความแปรปรวน เป็นธรรมดาแล้วไซร้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบนี้ ก็จะไม่พึงปรากฏ. ก็เพราะเหตุที่วิญญาณแม้มีประมาณเท่านี้แล เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง ไม่มีความแปรปรวนเป็น ธรรมดา ไม่มี ฉะนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบจึงปรากฏ. [๒๕๔] ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง? ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า. พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง? ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า. พ. ดูกรภิกษุ เพราะเหตุนั้นแหละ อริยสาวกผู้ได้แล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
จบ สูตรที่ ๕.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๓๒๔๓-๓๒๗๑ หน้าที่ ๑๓๘-๑๔๐. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=3243&Z=3271&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=17&item=252&items=3              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=17&item=252&items=3&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=17&item=252&items=3              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=17&item=252&items=3              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=252              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_17 https://84000.org/tipitaka/english/?index_17

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]