ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
จุลปัณณาสก์
อันตวรรคที่ ๑
๑. อันตสูตร
ว่าด้วยส่วนคือสักกายะ ๔
[๒๗๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วน ๔ อย่างเหล่านี้. ส่วน ๔ อย่างเป็นไฉน? ส่วนคือสักกายะ ๑ ส่วนคือสักกายสมุทัย ๑ ส่วนคือสักกายนิโรธ ๑ ส่วนคือสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา ๑. [๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ส่วนคือสักกายะเป็นไฉน? ส่วนคือสักกายะนั้น ควร จะกล่าวว่า อุปาทานขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? อุปาทานขันธ์ ๕ นั้น ได้แก่ อุปา- *ทานขันธ์คือรูป ๑ อุปาทานขันธ์คือเวทนา ๑ อุปาทานขันธ์คือสัญญา ๑ อุปาทานขันธ์คือ สังขาร ๑ อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ส่วนคือสักกายะ. [๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ส่วนคือสักกายสมุทัยเป็นไฉน? ส่วนคือสักกายสมุทัยนั้น คือ ตัณหาอันนำให้เกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน มี ปกติเพลิดเพลินยิ่งในภพหรืออารมณ์นั้นๆ. ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา. ดูกร ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ส่วนคือสักกายสมุทัย. [๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ส่วนคือสักกายนิโรธเป็นไฉน? ส่วนคือสักกายนิโรธนั้น คือ ความดับโดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นแล ด้วยมรรค คือ วิราคะ ความสละ ความสละคืน ความหลุดพ้น ความไม่มีอาลัย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ส่วนคือสักกายนิโรธ. [๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ส่วนคือสักกายนิโรธคามินีปฏิปทาเป็นไฉน? ส่วนคือสัก- *กายนิโรธคามินีปฏิปทานั้น ได้แก่อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสัง- *กัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑. สัมมาสมาธิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ส่วนคือสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา. ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ส่วน ๔ อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๓๔๖๗-๓๔๙๓ หน้าที่ ๑๔๙-๑๕๐. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=3467&Z=3493&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=17&item=274&items=5              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=17&item=274&items=5&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=17&item=274&items=5              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=17&item=274&items=5              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=274              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_17 https://84000.org/tipitaka/english/?index_17

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]