ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
สมุทรสูตรที่ ๒
[๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนไม่ได้สดับแล้ว ย่อมกล่าวว่า สมุทรๆ ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย สมุทรนั้นไม่ชื่อว่าเป็นสมุทรในวินัยของพระอริยเจ้า ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย สมุทรนั้นเรียกว่า เป็นแอ่งน้ำใหญ่ เป็นห้วงน้ำใหญ่ รูปอันจะพึง รู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้ กำหนัด นี้เรียกว่าเป็นสมุทรในวินัยของพระอริยเจ้า โลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีอยู่ ในสมุทรนี้ โดยมากเป็นผู้เศร้าหมอง เกิดเป็นผู้ยุ่งประดุจด้ายของช่างหูก เกิด เป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย ๑- เป็นดุจหญ้าปล้องและหญ้ามุงกระต่าย หาล่วงอบาย ทุคติ วินิบาต สงสารไปได้ไม่ ฯลฯ ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้ได้ด้วยใจ น่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด นี้เรียกว่าเป็น สมุทรในวินัยของพระอริยเจ้า โลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีอยู่ในสมุทรนี้ โดยมากเป็น ผู้เศร้าหมอง เกิดเป็นผู้ยุ่งดุจด้ายของช่างหูก เกิดเป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย เป็นดุจหญ้าปล้องและหญ้ามุงกระต่าย หาล่วงอบาย ทุคติ วินิบาต สงสารไป ได้ไม่ ฯ [๒๘๘] บุคคลใดคลายราคะ โทสะ และอวิชชาได้แล้ว บุคคล นั้นชื่อว่าข้ามสมุทรนี้ ซึ่งมีทั้งสัตว์ร้าย มีทั้งผีเสื้อน้ำ มีทั้ง คลื่นและภัย ที่ข้ามได้แสนยาก ได้แล้ว เรากล่าวว่า บุคคลนั้นล่วงพ้นเครื่องข้อง ละมัจจุ ไม่มีอุปธิ ละทุกข์ได้ @๑. บาลีสูตรนี้ปรากฏเป็น กนฺตา กุลกชาตา กุลคุณฺฑิกชาตา มุญฺชปพฺพชภูตา อปายํ @ทุคคตึ วินิปาตํ สํสารํ นาติวตฺตนฺติ" มีปัญหาว่าน่าจะวิปลาศทางอักขระในการ @คัดลอก อรรถกถาของบาลีแห่งนี้ ไม่แก้ กล่าวไว้แต่เพียงว่า "ศัพท์ว่า กนฺตา @กุลกชาตา เป็นต้น ให้พิสดารแล้วในหนหลัง" ได้สอบทานบาลีพระสูตรข้างต้น @ดูตลอดแล้ว ปรากฏในมหานิทานสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค ข้อ ๕๗ ว่า "เอวมยํ ปชา @ตนฺตากุลกชาตา คุณคณฺฐิกชาตา มุญฺชปพฺพชภูตา อปายํ ทุคฺคตึ วินิปาตํ สํสารํ นาติ- @*วตฺตติ" ในสูตรนั้นแสดงนัยของมหาสมุทรเช่นกัน ฉบับแปลแปลไว้ว่า "หมู่สัตว์นี้จึง @เกิดเป็นผู้ยุ่งประดุจด้ายของช่างหูก เกิดเป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย เป็นผู้เกิดมาเหมือน @หญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ฯลฯ" ได้สอบทานอรรถกถามหานิทานสูตรแล้ว เห็น @ว่าแปลตรงตามอรรถกถาทุกประการ เมื่อเป็นเช่นนี้ บาลีที่ว่า "กนฺตา กุลกชาตา @กุลคุณฺฑิกชาตา" ต้องพลาดแน่ เพราะอรรถกถาแห่งสูตรนี้ ไม่แก้ แต่ยืนยันว่า @มีพิสดารแล้วข้างต้น ซึ่งเมื่อค้นดูข้างต้นแล้วก็พบในมหานิทานสูตรนั้นเอง ฉบับแปล @ของเดิมในสูตรนี้แปลศัพท์ไว้ จึงได้แก้แปลแบบเดียวกับมหานิทานสูตรข้างต้น โดย @หลักฐานที่ค้นพบดังกล่าวแล้ว ฯ (คณะกรรมการตรวจชำระและสอบทานพิมพ์ครั้งที่ ๒) ขาดเพื่อไม่เกิดต่อไป ถึงความดับสูญ ไม่กลับมาเกิดอีก ลวงพระยามัจจุราชให้หลงได้ ฯ
จบสูตรที่ ๒

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๔๓๙๙-๔๔๓๕ หน้าที่ ๑๙๑-๑๙๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=4399&Z=4435&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=18&item=287&items=2              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=18&item=287&items=2&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=18&item=287&items=2              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=18&item=287&items=2              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=287              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_18 https://84000.org/tipitaka/english/?index_18

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]