ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
ภิกขุสูตร
[๔๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๒ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๓ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๕ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๖ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๑๘ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๓๖ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๑๐๘ ก็มี ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยปริยายอย่างนี้ เมื่อเราแสดงธรรมโดยปริยายอย่างนี้ แล้ว ชนเหล่าใดจักไม่สำคัญตาม จักไม่รู้ตาม จักไม่บันเทิงตาม ซึ่งคำที่เรา กล่าวดีแล้ว เจรจาดีแล้ว แก่กันและกัน เหตุนี้จักเป็นอันชนเหล่านั้นพึงหวังได้ คือ ชนเหล่านั้นจักเกิดความบาดหมางกัน จักเกิดความทะเลาะกัน วิวาทกัน จักทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเราแสดง แล้วโดยปริยายอย่างนี้ เมื่อธรรมอันเราแสดงแล้วโดยปริยายอย่างนี้มีอยู่ ชน เหล่าใดจักสำคัญตาม จักรู้ตาม จักบันเทิงตาม ซึ่งคำที่เรากล่าวดีแล้ว เจรจา ดีแล้ว แก่กันและกัน เหตุนี้อันชนเหล่านั้นพึงหวังได้ คือพวกเขาจักพร้อมเพรียง กัน จักชื่นบานต่อกัน จักไม่วิวาทกัน จักเป็นดุจน้ำเจือด้วยน้ำนม จักมองกัน และกันด้วยจักษุอันเปี่ยมด้วยความรักอยู่ ฯ [๔๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ เหล่านี้ ฯลฯ (เหมือนข้อ ๔๑๓ ถึงข้อ ๔๒๔) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่ปริพาชกอัญญเดียรถีย์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมกล่าวสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ และย่อมบัญญัตินิโรธนั้นไว้ใน ความสุข ข้อนี้นั้นเพราะเหตุไร ข้อนี้นั้นเป็นอย่างไร ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้มีวาทะอย่างนี้ พวกเธอพึงค้านอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุ ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคไม่ได้ทรงหมายเอาสุขเวทนาบัญญัตินิโรธนั้นไว้ในความ สุข บุคคลย่อมได้สุขในฐานะใดๆ พระตถาคตย่อมทรงบัญญัติฐานะนั้นๆ อัน เป็นสุขไว้ในความสุขทุกแห่ง ดังนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบรโหคตวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. รโหคตสูตร ๒. วาตสูตรที่ ๑ ๓. วาตสูตรที่ ๒ ๔. นิวาสสูตร ๕. อานันทสูตรที่ ๑ ๖. อานันทสูตรที่ ๒ ๗. สัมพหุลสูตรที่ ๑ ๘. สัมพหุล สูตรที่ ๒ ๙. ปัญจกังคสูตร ๑๐. ภิกขุสูตร ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๖๐๖๗-๖๐๙๗ หน้าที่ ๒๖๑-๒๖๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=6067&Z=6097&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=18&item=425&items=2              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=18&item=425&items=2&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=18&item=425&items=2              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=18&item=425&items=2              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=425              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_18 https://84000.org/tipitaka/english/?index_18

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]