ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
             [๔๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปีติมีอามิสมีอยู่ ปีติไม่มีอามิสมีอยู่ ปีติที่
ไม่มีอามิสกว่าปีติที่ไม่มีอามิสมีอยู่ สุขมีอามิสมีอยู่ สุขไม่มีอามิสมีอยู่ สุขไม่มี
อามิสกว่าสุขไม่มีอามิสมีอยู่ อุเบกขามีอามิสมีอยู่ อุเบกขาไม่มีอามิสมีอยู่
อุเบกขาไม่มีอามิสกว่าอุเบกขาไม่มีอามิสมีอยู่ วิโมกข์มีอามิสมีอยู่ วิโมกข์ไม่มี
อามิสมีอยู่ วิโมกข์ไม่มีอามิสกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิสมีอยู่ ฯ
             [๔๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปีติมีอามิสเป็นไฉน กามคุณ ๕ เหล่านี้
กามคุณ ๕ เป็นไฉน คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่า
พอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ฯลฯ โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย กามคุณ ๕ เหล่านี้แล ปีติเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้ เรา
เรียกว่า ปีติมีอามิส ฯ
             [๔๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปีติไม่มีอามิสเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัย
นี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและ
สุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็น
ธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่
สมาธิอยู่ นี้เราเรียกว่า ปีติไม่มีอามิส ฯ
             [๔๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปีติไม่มีอามิสกว่าปีติไม่มีอามิสเป็นไฉน
ปีติที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพผู้พิจารณาเห็นจิตซึ่งหลุดพ้นแล้วจากราคะ จากโทสะ
จากโมหะ นี้เราเรียกว่า ปีติไม่มีอามิสกว่าปีติไม่มีอามิส ฯ
             [๔๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขมีอามิสเป็นไฉน กามคุณ ๕ เหล่านี้
กามคุณ ๕ เป็นไฉน คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอ
ใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ฯลฯ โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกายอันน่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย กามคุณ ๕ เหล่านี้ สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้
นี้เราเรียกว่า สุขมีอามิส ฯ
             [๔๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขไม่มีอามิสเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุข
เกิดแต่วิเวกอยู่ ฯลฯ เธอมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนาม
กาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้
ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข นี้เราเรียกว่า สุขไม่มีอามิส ฯ
             [๔๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขไม่มีอามิสกว่าสุขไม่มีอามิสเป็นไฉน
สุขโสมนัสที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพผู้พิจารณาเห็นจิตซึ่งหลุดพ้นแล้วจากราคะ จาก
โทสะ จากโมหะ นี้เราเรียกว่าสุขไม่มีอามิสกว่าสุขไม่มีอามิส ฯ
             [๔๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขามีอามิสเป็นไฉน กามคุณ ๕
เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน คือรูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ฯลฯ โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วย
กายอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ เหล่านี้แล อุเบกขาเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕
เหล่านี้ เราเรียกว่า อุเบกขามีอามิส ฯ
             [๔๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขาไม่มีอามิสเป็นไฉน ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ บรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับ
โสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เราเรียกว่า
อุเบกขาไม่มีอามิส
             [๔๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขาไม่มีอามิสกว่าอุเบกขาไม่มีอามิส
เป็นไฉน อุเบกขาเกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพผู้พิจารณาเห็นจิตซึ่งหลุดพ้นแล้วจาก ราคะ
จากโทสะ จากโมหะ นี้เราเรียกว่า อุเบกขาไม่มีอามิสกว่าอุเบกขาไม่มีอามิส ฯ
             [๔๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิโมกข์มีอามิสเป็นไฉน วิโมกข์ที่ปฏิสังยุต
ด้วยรูป ชื่อว่าวิโมกข์มีอามิส วิโมกข์ที่ไม่ปฏิสังยุตด้วยรูป ชื่อว่าวิโมกข์ไม่มี
อามิส ฯ
             [๔๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิโมกข์ไม่มีอามิสกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิส
เป็นไฉน วิโมกข์เกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพผู้พิจารณาเห็นจิตซึ่งหลุดพ้นแล้วจากราคะ
จากโทสะ จากโมหะ นี้เราเรียกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิสกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิส ฯ
จบสูตรที่ ๑๑
จบอัฏฐสตปริยายวรรคที่ ๓
-----------------------------------------------------
๑. สิวกสูตร ๒. อัฏฐสตปริยายสูตร ๓. ภิกขุสูตร ๔. ปุพพสูตร ๕. ญาณสูตร ๖. ภิกขุสูตร ๗. สมณพราหมณสูตรที่ ๑ ๘. สมณพราหมณ สูตรที่ ๒ ๙. สมณพราหมณสูตรที่ ๓ ๑๐. สุทธิกสูตร ๑๑. นิรามิสสูตร ฯ
จบเวทนาสังยุตต์
-----------------------------------------------------
เปยยาลวรรคที่ ๑
อมนาปสูตร

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๖๒๓๕-๖๒๙๖ หน้าที่ ๒๖๙-๒๗๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=6235&Z=6296&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=18&item=446&items=12&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=18&item=446&items=12              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=18&item=446&items=12&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=18&item=446&items=12&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=446              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_18 https://84000.org/tipitaka/english/?index_18

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]