ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
             [๑๗๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นรกชื่อว่ามีความเร่าร้อนมาก มีอยู่ ในนรกนั้น บุคคล
ยังเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยนัยน์ตาได้ (แต่) เห็นรูปที่ไม่น่าปรารถนาอย่างเดียว ไม่เห็นรูป
ที่น่าปรารถนา เห็นรูปที่ไม่น่าใคร่อย่างเดียว ไม่เห็นรูปที่น่าใคร่ เห็นรูปที่ไม่น่าชอบใจ
อย่างเดียว ไม่เห็นรูปที่น่าชอบใจ ได้ฟังเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยหูได้ ... ได้สูดกลิ่นอย่างใด
อย่างหนึ่งด้วยจมูกได้ ... ได้ลิ้มรสอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยลิ้นได้ ... ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะอย่างใด
อย่างหนึ่งด้วยกายได้ ... ได้รู้แจ้งธรรมารมณ์อย่างหนึ่งด้วยใจได้ (แต่) รู้แจ้งรูปที่ไม่น่าปรารถนา
อย่างเดียว ไม่รู้แจ้งรูปที่น่าปรารถนา รู้แจ้งรูปที่ไม่น่าใคร่อย่างเดียว ไม่รู้แจ้งรูปที่น่าใคร่ รู้แจ้ง
รูปที่ไม่น่าพอใจอย่างเดียว ไม่รู้แจ้งรูปที่น่าพอใจ.
             [๑๗๓๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเร่าร้อนมาก ความเร่าร้อนมากแท้ๆ ความเร่าร้อนอื่นที่มากกว่า
และน่ากลัวกว่าความเร่าร้อนนี้ มีอยู่หรือ?
             พ. ดูกรภิกษุ ความเร่าร้อนอื่นที่มากกว่าและน่ากลัวกว่าความเร่าร้อนนี้มีอยู่.
             ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความเร่าร้อนอื่นที่มากกว่า และน่ากลัวกว่าความเร่าร้อน
นี้ เป็นไฉน?
             [๑๗๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ชัด
ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ย่อมยินดีในสังขารทั้งหลาย ซึ่งเป็นไปเพื่อความเกิด ฯลฯ ยินดีแล้ว ย่อมปรุงแต่ง ครั้น
ปรุงแต่งแล้ว ย่อมเร่าร้อนด้วยความเร่าร้อนเพราะความเกิดบ้าง ความแก่บ้าง ความตายบ้าง
ความเศร้าโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นใจบ้าง เรากล่าวว่า
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่พ้นไปจากความเกิด ... ความคับแค้นใจ ย่อมไม่พ้นไป
จากทุกข์.
             [๑๗๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ชัด
ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ย่อมไม่ยินดีในสังขารทั้งหลาย ซึ่งเป็นไปเพื่อความเกิด ฯลฯ ไม่ยินดีแล้ว ย่อมไม่ปรุงแต่ง
ครั้นไม่ปรุงแต่งแล้ว ย่อมไม่เร่าร้อน ด้วยความเร่าร้อนเพราะความเกิด ... และความคับแค้นใจ
เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมพ้นจากความเกิด ... ความคับแค้นใจ ย่อมพ้น
จากทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตาม
ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๓
กูฎสูตร
ว่าด้วยฐานะที่มีได้และมีไม่ได้

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๑๐๖๐๓-๑๐๖๓๓ หน้าที่ ๔๔๓-๔๔๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=10603&Z=10633&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=19&item=1731&items=4&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=19&item=1731&items=4              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=19&item=1731&items=4&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=19&item=1731&items=4&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1731              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19 https://84000.org/tipitaka/english/?index_19

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]