ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
สูทสูตร
ว่าด้วยการสำเหนียกและไม่สำเหนียกนิมิต
[๗๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพ่อครัวผู้เขลา ไม่ฉลาดเฉียบแหลม บำรุง พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชาด้วยสูปะต่างชนิด มีรสเปรี้ยวจัดบ้าง ขมจัดบ้าง เผ็ดจัด บ้าง หวานจัดบ้าง มีรสเฝื่อนบ้าง ไม่เฝื่อนบ้าง เค็มบ้าง จืดบ้าง พ่อครัวนั้นไม่สังเกตรสอาหาร ของตนว่า วันนี้ ภัตและสูปะของเราชนิดนี้ท่านชอบใจ หรือท่านรับสูปะนี้มาก หรือท่านชม สูปะนี้ วันนี้ ภัตและสูปะของเรามีรสเปรี้ยวจัด ท่านชอบใจ หรือท่านรับสูปะมีรสเปรี้ยวจัด หรือท่านหยิบเอาสูปะมีรสเปรี้ยวจัดมาก หรือท่านชมสูปะมีรสเปรี้ยวจัด วันนี้ ภัตและสูปะ ของเรามีรสขมจัด ... มีรสเผ็ดจัด ... มีรสหวานจัด ... มีรสเฝื่อน ... มีรสไม่เฝื่อน ... มีรสเค็ม ... วันนี้ ภัตและสูปะของเรามีรสจืดท่านชอบใจ หรือท่านรับสูปะมีรสจืด หรือท่านหยิบเอาสูปะ มีรสจืดมาก หรือท่านชมสูปะมีรสจืด ดังนี้ พ่อครัวนั้นย่อมไม่ได้เครื่องนุ่งห่ม ไม่ได้ค่าจ้าง ไม่ได้รางวัล ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะพ่อครัวนั้นเป็นคนเขลา ไม่ฉลาดเฉียบแหลม ไม่ สังเกตเครื่องหมายอาหารของตน ฉันใด [๗๐๕] ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาดเฉียบแหลม ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ จิตย่อมไม่ตั้งมั่น ยังละ อุปกิเลสไม่ได้ เธอไม่สำเหนียกนิมิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณา เห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ จิตย่อมไม่ตั้งมั่น ยังละอุป- *กิเลสไม่ได้ เธอไม่สำเหนียกนิมิตนั้น ภิกษุนั้นย่อมไม่ได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และไม่ได้สติสัมปชัญญะ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาดเฉียบแหลม ไม่สำเหนียกนิมิตแห่งจิตของตน. [๗๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพ่อครัวผู้มีปัญญาฉลาด เฉียบแหลม บำรุง พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชาด้วยสูปะต่างชนิด มีรสเปรี้ยวจัดบ้าง ขมจัดบ้าง เผ็ดจัด บ้าง หวานจัดบ้าง มีรสเฝื่อนบ้าง ไม่เฝื่อนบ้าง มีรสเค็มบ้าง จืดบ้าง พ่อครัวนั้นย่อมสังเกต รสอาหารของตนว่า วันนี้ ภัตและสูปะของเราชนิดนี้ ท่านชอบใจ หรือท่านรับสูปะนี้ หรือ หยิบเอาสูปะนี้มาก หรือท่านชมสูปะนี้ วันนี้ ภัตและสูปะของเรามีรสเปรี้ยวจัด ... วันนี้ ภัต และสูปะของเรามีรสขมจัด ... มีรสเผ็ดจัด ... มีรสหวานจัด ... มีรสเฝื่อน ... มีรสไม่เฝื่อน ... มีรสเค็ม ... วันนี้ ภัตและสูปะของเรามีรสจืดท่านชอบใจ หรือท่านรับสูปะมีรสจืด หรือท่าน หยิบเอาสูปะมีรสจืดมาก หรือท่านชมสูปะมีรสจืด ดังนี้ พ่อครัวนั้นย่อมได้เครื่องนุ่งห่ม ได้ค่า จ้าง ได้รางวัล ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะพ่อครัวนั้นเป็นคนมีปัญญา ฉลาด เฉียบแหลม สังเกตรสอาหารของตนฉันใด. [๗๐๗] ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ฉลาด เฉียบแหลม ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ จิตย่อมตั้งมั่น ละอุปกิเลสได้ เธอย่อมสำเหนียกนิมิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ จิตย่อมตั้งมั่น ละอุปกิเลสได้ เธอย่อม สำเหนียกในนิมิตนั้น ภิกษุนั้นย่อมได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และได้สติสัมปชัญญะ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร? เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้มีปัญญา ฉลาด เฉียบแหลม สำเหนียกนิมิตแห่ง จิตของตน.
จบ สูตรที่ ๘

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๔๐๕๐-๔๐๙๑ หน้าที่ ๑๖๙-๑๗๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=4050&Z=4091&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=19&item=704&items=4              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=19&item=704&items=4&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=19&item=704&items=4              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=19&item=704&items=4              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=704              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19 https://84000.org/tipitaka/english/?index_19

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]