ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
เลขสูตร
[๕๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลผู้เปรียบด้วยรอยขีดที่แผ่นหิน ๑ บุคคลผู้เปรียบ ด้วยรอยขีดที่แผ่นดิน ๑ บุคคลผู้เปรียบด้วยรอยขีดที่น้ำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้เปรียบด้วยรอยขีดที่แผ่นหินเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคน ในโลกนี้ โกรธเนืองๆ ทั้งความโกรธของเขานั้นนอนเนื่องอยู่ในสันดานนานนัก เปรียบเหมือนรอยขีดที่แผ่นหิน ไม่ลบเลือนเร็วเพราะลมหรือน้ำ ย่อมตั้งอยู่ยั่งยืน แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อม โกรธเนืองๆ ทั้งความโกรธของเขานั้นก็นอนเนื่องอยู่ในสันดานนานนัก นี้ เรียกว่า บุคคลผู้เปรียบด้วยรอยขีดที่แผ่นหิน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้เปรียบ ด้วยรอยขีดที่แผ่นดินเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ โกรธ เนืองๆ แต่ความโกรธของเขานั้นไม่นอนเนื่องอยู่ในสันดานนานนัก เปรียบ เหมือนรอยขีดที่แผ่นดิน ลบเลือนไปโดยเร็วเพราะลมและน้ำ ไม่ตั้งอยู่ยั่งยืน แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อม โกรธเนืองๆ แต่ความโกรธของเขานั้นไม่นอนเนื่องอยู่ในสันดานนานนัก นี้ เรียกว่า บุคคลผู้เปรียบด้วยรอยขีดที่แผ่นดิน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้เปรียบ ด้วยรอยขีดที่น้ำเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้จะถูกว่า ด้วยคำหนักๆ แม้จะถูกว่าด้วยคำหยาบๆ แม้จะถูกว่าด้วยคำที่ไม่พอใจ ก็คง สมานไมตรี กลมเกลียว ปรองดองกันอยู่ เปรียบเหมือนรอยขีดที่น้ำ จะขาด จากกันก็ประเดี๋ยวเดียวเท่านั้น ไม่ตั้งอยู่นาน แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้จะถูกว่าด้วยคำหนักๆ แม้จะถูก ว่าด้วยคำหยาบๆ แม้จะถูกว่าด้วยคำที่ไม่พอใจ ก็คงสมานไมตรีกลมเกลียว ปรองดองกันอยู่ นี้เรียกว่า บุคคลผู้เปรียบด้วยรอยขีดที่น้ำ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
จบกุสินารวรรคที่ ๓
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กุสินารสูตร ๒. ภัณฑนสูตร ๓. โคตมสูตร ๔. ภรัณฑุสูตร ๕. หัตถกสูตร ๖. กฏุวิยสูตร ๗. อนุรุทธสูตรที่ ๑ ๘. อนุรุทธสูตรที่ ๒ ๙. ปฏิจฉันนสูตร ๑๐. เลขสูตร ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๗๔๕๒-๗๔๘๒ หน้าที่ ๓๑๙-๓๒๐. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=7452&Z=7482&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=20&item=572&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=20&item=572&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=20&item=572&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=20&item=572&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=572              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]