ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
โพชฌาสูตร
[๑๓๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล โพชฌา อุบาสิกาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรโพชฌา อุโบสถอันประกอบด้วย องค์ ๘ ประการ บุคคลเข้าอยู่แล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความ รุ่งเรืองมาก มีความแพร่หลายมาก ดูกรโพชฌา ก็อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ บุคคลเข้าอยู่แล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความ รุ่งเรืองมาก มีความแพร่หลายมาก ดูกรโพชฌา อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมตระหนักชัดดังนี้ว่า พระอรหันต์ทั้งหลาย ละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต วางท่อนไม้ วางศาตรา มีความละอาย เอื้อเอ็นดู อนุเคราะห์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์ อยู่ตลอดชีวิตในวันนี้ แม้เราก็ละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต วางท่อนไม้ วางศาตรามีความละอาย เอื้อเอ็นดู อนุเคราะห์เกื้อกูล ต่อสรรพสัตว์อยู่ตลอดคืน และวันนี้เราชื่อว่ากระทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายแม้ด้วยองค์นี้ และอุโบสถจักเป็น อันชื่อว่าเราเข้าอยู่แล้ว อุโบสถประกอบด้วยองค์ที่ ๑ นี้ ฯลฯ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมตระหนักชัดดังนี้ว่า พระอรหันต์ทั้งหลาย ละการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ งดเว้นจากการนั่ง การนอนบนที่นั่งที่ นอนสูงใหญ่ สำเร็จการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนต่ำ คือ นอนบนเตียงหรือ เครื่องลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอดชีวิต ในวันนี้ แม้เราก็ละการนั่งการนอนบนที่นั่งที่ นอนสูงใหญ่ เว้นจากการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ สำเร็จการนั่งการ นอนบนที่นั่งที่นอนต่ำ คือ บนเตียงหรือเครื่องลาดด้วยหญ้าตลอดคืนและวันนี้ เรา ชื่อว่ากระทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายแม้ด้วยองค์นี้ และอุโบสถจักเป็นอันชื่อ ว่าเราเข้าอยู่แล้ว อุโบสถประกอบด้วยองค์ที่ ๘ นี้ ดูกรโพชฌา อุโบสถอัน ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ บุคคลเข้าอยู่แล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์ มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแพร่หลายมาก ฯ อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ บุคคลเข้าอยู่แล้ว มีผลมาก มี อานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแพร่หลายมากเพียงไร ดูกรโพชฌา เปรียบเหมือนพระราชาที่เสวยราชย์ดำรงอิสรภาพและอธิปไตยในชนบทใหญ่ ๑๖ รัฐ มีรัตนะ ๗ ประการ มากมายเหล่านี้ คือ อังคะ มคธะ กาสี โกศล วัชชี มัลละ เจดีย์ วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุระเสนะ อัสสกะ อวันตี คันธาระ กัมโพชะ การเสวยราชย์ดำรงอิสรภาพและอธิปไตยของ พระ ราชานั้น ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ข้อนั้น เพราะเหตุไร ดูกรโพชฌา เพราะราชสมบัติมนุษย์ เป็นเหมือนของคนกำพร้า เมื่อ เทียบกับสุขอันเป็นทิพย์ ดูกรโพชฌา ๕๐ ปีมนุษย์เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่งของเทวดา ชั้นจาตุมมหาราช ๓๐ ราตรี โดยราตรีนั้นเป็นเดือนหนึ่ง ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็นปีหนึ่ง ๕๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นจาตุมมหาราช ดูกรโพชฌา ข้อที่บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม เข้าอยู่ อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการแล้ว เมื่อตายไป พึงเข้าถึงความเป็นสหาย แห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช นี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรโพชฌา เราหมายเอาข้อ นี้จึงกล่าวว่า ราชสมบัติมนุษย์เป็นเหมือนของคนกำพร้า เมื่อเทียบกับสุขอัน เป็นทิพย์ ฯ ดูกรโพชฌา ๑๐๐ ปีมนุษย์ ฯลฯ ดูกรโพชฌา ๒๐๐ ปีมนุษย์ ฯลฯ ดูกรโพชฌา ๔๐๐ ปีมนุษย์ ฯลฯ ดูกรโพชฌา ๘๐๐ ปีมนุษย์ ฯลฯ ดูกรโพชฌา ๑,๖๐๐ ปีมนุษย์ เป็นคืนวันหนึ่งของเทวดาชั้นปรนิม- *มิตวสวัตตี ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้นเป็นเดือนหนึ่ง ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้นเป็นปีหนึ่ง ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ดูกร โพชฌา ข้อที่บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม เข้าอยู่อุโบสถอัน ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการแล้ว เมื่อตายไป พึงเข้าถึงความเป็นสหาย แห่ง เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี นี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรโพชฌา เราหมายเอาข้อนี้ จึงกล่าวว่า ราชสมบัติมนุษย์เป็นเหมือน ของคนกำพร้า เมื่อเทียบกับสุขอัน เป็นทิพย์ ฯ บุคคลไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้ พึง เว้นจากเมถุนธรรม อันมิใช่ความประพฤติของพรหม ไม่พึง พูดเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา ไม่พึงบริโภคอาหารในเวลาวิกาล ในราตรี ไม่พึงทัดทรงดอกไม้และของหอม พึงนอนบนเตียง บนแผ่นดิน หรือบนเครื่องลาดด้วยหญ้า บัณฑิตทั้งหลายกล่าว อุโบสถ ๘ ประการนี้แลที่พระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ทรง ประกาศแล้ว พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสองส่องแสง สว่างไสว ย่อมโคจรไปตามวิถีเพียงไร ลอยอยู่บนอากาศ ส่องแสงสว่างทั่วทุกทิศในท้องฟ้า ทรัพย์ใดอันมีอยู่ใน ระหว่างนี้ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ อย่างดี หรือทองมีสีสุกใส ที่เรียกกันว่า หตกะ พระ จันทร์พระอาทิตย์และทรัพย์นั้นๆ ก็ยังไม่ถึงแม้เสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ เปรียบเหมือน รัศมีพระจันทร์ข่มหมู่ดวงดาวทั้งหมด ฉะนั้น เพราะฉะนั้น แหละ หญิงหรือชายผู้มีศีล เข้าอยู่อุโบสถอันประกอบด้วย องค์ ๘ ประการแล้ว กระทำบุญมีสุขเป็นกำไร ไม่มีใคร ติเตียนย่อมเข้าถึงสวรรค์ ฯ
จบสูตรที่ ๕

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๕๔๓๓-๕๕๐๓ หน้าที่ ๒๓๕-๒๓๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=5433&Z=5503&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=23&item=135&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=23&item=135&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=23&item=135&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=23&item=135&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=135              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]