ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
             [๑๓๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตารามใกล้พระ
นครโกสัมพี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะไปยังวิหารที่พักกลางวัน หลีกเร้น
อยู่ ลำดับนั้น มีเทวดาเหล่ามนาปกายิกามากมายพากันเข้าไปหาท่านพระ
อนุรุทธะถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าว
ดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระอนุรุทธะผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นเทวดาชื่อมนาปกายิกา
มีอิสระและอำนาจในฐานะ ๓ ประการ คือ ข้าพเจ้าทั้งหลายหวังวรรณะเช่นใด
ก็ได้วรรณะเช่นนั้นโดยพลัน ๑ หวังเสียง [พูดเพราะ] เช่นใดก็ได้เสียงเช่นนั้น
โดยพลัน ๑ หวังความสุขเช่นใด ก็ได้ความสุขเช่นนั้นโดยพลัน ๑ ข้าแต่พระ
อนุรุทธะผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นเทวดาชื่อว่ามนาปกายิกา มีอิสระและ
อำนาจใน ๓ ประการนี้ ฯ
             ลำดับนั้น ท่านพระอนุรุทธะดำริว่า โอหนอ ขอให้เทวดาทั้งปวงนี้
พึงมีร่างเขียว นุ่งผ้าเขียว มีผิวพรรณเขียว มีเครื่องประดับเขียว ฯ
             ลำดับนั้น เทวดาเหล่านั้นทราบความดำริของท่านพระอนุรุทธะแล้ว
ล้วนมีร่างเขียว มีผิวพรรณเขียว นุ่งผ้าเขียว มีเครื่องประดับเขียว ฯ
             ท่านพระอนุรุทธะจึงดำริต่อไปว่า โอหนอ ขอให้เทวดาทั้งปวงนี้
มีร่างเหลือง ฯลฯ มีร่างแดง ฯลฯ มีร่างขาว มีผิวพรรณขาว นุ่งผ้าขาว
มีเครื่องประดับขาว ฯ
             เทวดาเหล่านั้นทราบความดำริของท่านพระอนุรุทธะแล้ว ล้วนมีร่างขาว
มีผิวพรรณขาว นุ่งผ้าขาว มีเครื่องประดับขาว เทวดาเหล่านั้น ตนหนึ่งขับร้อง
ตนหนึ่งฟ้อนรำ ตนหนึ่งปรบมือ เปรียบเหมือนดนตรีมีองค์ ๕ ที่เขาปรับดีแล้ว
ตีดังไพเราะ ทั้งบรรเลงโดยนักดนตรีผู้เชี่ยวชาญ มีเสียงไพเราะ เร้าใจ ชวน
ให้เคลิบเคลิ้ม ดูดดื่ม และน่ารื่นรมย์ ฉันใด เสียงแห่งเครื่องประดับของเทวดา
เหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีเสียงไพเราะ เร้าใจ ชวนให้เคลิบเคลิ้ม ดูดดื่ม
และน่ารื่นรมย์ ฯ
             ลำดับนั้น ท่านพระอนุรุทธะทอดอินทรีย์ลง เทวดาเหล่านั้นทราบว่า
พระผู้เป็นเจ้าอนุรุทธะไม่ยินดี จึงอันตรธานไป ณ ที่นั้น ฯ
             ครั้งนั้น เป็นเวลาเย็น ท่านพระอนุรุทธะออกจากที่เร้น เข้าไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญขอประทานวโรกาส วันนี้ ข้าพระองค์
ไปยังวิหารที่พักกลางวันหลีกเร้นอยู่ ครั้งนั้นแล เทวดาเหล่ามนาปกายิกามากมาย
เข้ามาหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วกล่าว
กะข้าพระองค์ว่า ข้าแต่ท่านพระอนุรุทธะผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นเทวดาชื่อว่า
มนาปกายิกา มีอิสระและอำนาจในฐานะ ๓ ประการ คือ ข้าพเจ้าทั้งหลาย
หวังวรรณะเช่นใด ก็ได้วรรณะเช่นนั้นโดยพลัน ๑ หวังเสียงเช่นใด ก็ได้เสียง
เช่นนั้นโดยพลัน ๑ หวังความสุขเช่นใด ก็ได้ความสุขเช่นนั้นโดยพลัน ๑ ข้า
แต่พระอนุรุทธะผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นเทวดาชื่อว่ามนาปกายิกา มีอิสระ
และอำนาจในฐานะ ๓ ประการนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีความดำริ
อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอให้เทวดาทั้งปวงนี้พึงมีร่างเขียว มีผิวพรรณเขียว
นุ่งผ้าเขียว มีเครื่องประดับเขียว เทวดาเหล่านั้นทราบความดำริของข้าพระองค์
แล้ว ล้วนมีร่างเขียว มีผิวพรรณเขียว นุ่งผ้าเขียว มีเครื่องประดับเขียว แล้ว
ข้าพระองค์จึงดำริต่อไปว่า โอหนอ ขอให้เทวดาทั้งปวงนี้ พึงมีร่างเหลือง ฯลฯ
มีร่างแดง ฯลฯ มีร่างขาว  มีผิวพรรณขาว นุ่งผ้าขาว มีเครื่องประดับขาว เทวดา
เหล่านั้นก็ทราบความดำริของข้าพระองค์แล้วล้วนมีร่างขาว มีผิวพรรณขาว นุ่งผ้า
ขาว มีเครื่องประดับขาว เทวดาเหล่านั้น ตนหนึ่งขับร้อง ตนหนึ่งฟ้อนรำ
ตนหนึ่งปรบมือ เปรียบเหมือนดนตรีมีองค์ ๕ ที่เขาปรับดีแล้ว ตีดังไพเราะ
ทั้งบรรเลงโดยนักดนตรีผู้เชี่ยวชาญ มีเสียงไพเราะ เร้าใจ ชวนให้เคลิบเคลิ้ม
ดูดดื่ม และน่ารื่นรมย์ ฉันใด เสียงแห่งเครื่องประดับของเทวดาเหล่านั้น ก็ฉัน
นั้นเหมือนกัน มีเสียงไพเราะเร้าใจ ชวนให้เคลิบเคลิ้ม ดูดดื่ม และน่ารื่นรมย์
ข้าพระองค์จึงทอดอินทรีย์ลง เทวดาเหล่านั้นทราบว่าข้าพระองค์ไม่ยินดี จึง
อันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มาตุคามประกอบด้วยธรรม
เท่าไร เมื่อตายไป จึงเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่ามนาปกายิกา ฯ
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๘
ประการ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่ามนาปกายิกา ธรรม
๘ ประการเป็นไฉน ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามในโลกนี้ ที่มารดาบิดาผู้มุ่งประโยชน์
แสวงหาความเกื้อกูล อนุเคราะห์ เอื้อเอ็นดู ยอมยกให้แก่ชายใดผู้เป็นสามี
สำหรับชายนั้น เธอต้องตื่นก่อน นอนภายหลัง คอยฟังรับใช้ ประพฤติให้ถูกใจ
กล่าวถ้อยคำเป็นที่รัก ๑ ชนเหล่าใดเป็นที่เคารพของสามี คือ มารดา บิดา
หรือสมณพราหมณ์ เธอสักการะเคารพนับถือบูชาชนเหล่านั้น และต้อนรับท่าน
เหล่านั้นผู้มาถึงแล้วด้วยอาสนะและน้ำ ๑ การงานใดเป็นงานในบ้านของสามี คือ
การทำผ้าขนสัตว์หรือผ้าฝ้าย เธอเป็นคนขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานนั้น ประกอบ
ด้วยปัญญาอันเป็นอุบายในการงานนั้น สามารถจัดทำ ๑ ชนเหล่าใดเป็นคนภาย
ในบ้านของสามี คือ ทาส คนใช้ หรือกรรมกร ย่อมรู้ว่าการงานที่เขาเหล่านั้น
ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ ๑ ย่อมรู้อาการของคนภายในผู้เป็นไข้ว่า ดีขึ้นหรือทรุด
ลง ย่อมแบ่งปันของกินของบริโภคให้แก่เขาตามควร ๑ สิ่งใดที่สามีหามาได้
จะเป็นทรัพย์ ข้าว เงินหรือทอง ย่อมรักษาคุ้มครองสิ่งนั้นไว้ และไม่เป็นนัก
เลงการพนัน ไม่เป็นขโมย ไม่เป็นนักดื่ม ไม่ผลาญทรัพย์ให้พินาศ ๑ เป็น
อุบาสิกาถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ เป็นผู้มีศีล งดเว้น
จากปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท และการดื่มน้ำเมา
คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ เป็นผู้มีการบริจาค มีใจ
ปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ อยู่ครองเรือน มีจาคะอันปล่อยแล้ว มี
ฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน ๑ ดูกร
อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง
ความเป็นสหายของเทวดาเหล่ามนาปกายิกา ฯ
                          สุภาพสตรีผู้มีปรีชา ย่อมไม่ดูหมิ่นสามี ผู้หมั่นเพียร
                          ขวนขวายอยู่เป็นนิตย์ เลี้ยงตนอยู่ทุกเมื่อ ให้ความปรารถนา
                          ทั้งปวง ไม่ยังสามีให้ขุ่นเคือง ด้วยถ้อยคำ ๑- แสดงความหึง
                          หวง ๑- และย่อมบูชาผู้ที่เคารพทั้งปวงของสามี เป็นผู้ขยัน
                          ไม่เกียจคร้าน สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี ประพฤติ
                          เป็นที่พอใจของสามี รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ นารีใดย่อม
                          ประพฤติตามความชอบใจของสามีอย่างนี้ นารีนั้นย่อมเข้า
                          ถึงความเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา ฯ
จบสูตรที่ ๖
วิสาขสูตร

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๕๕๐๕-๕๕๘๗ หน้าที่ ๒๓๘-๒๔๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=5505&Z=5587&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=23&item=136&items=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=23&item=136&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=23&item=136&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=23&item=136&items=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=136              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]