ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
อลํสูตรที่ ๑
[๑๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็น ผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ทั้งตนและผู้อื่น ธรรม ๖ ประการ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเข้าใจได้เร็วใน กุศลธรรมทั้งหลาย ๑ เป็นผู้ทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑ พิจารณาเนื้อความแห่ง ธรรมที่ทรงจำแล้ว ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ เป็นผู้มี วาจางาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มี โทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑ เป็นผู้ชี้แจงสพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้ อาจหาญร่าเริง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ทั้งตนเองและผู้อื่น ฯ
จบสูตรที่ ๒
อลํสูตรที่ ๒
[๑๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ทั้งตนและผู้อื่น ธรรม ๕ ประการ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่มีความเข้าใจได้เร็ว ในอกุศลธรรมทั้งหลาย แต่เป็นผู้ทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑ พิจารณาเนื้อความ แห่งธรรมที่ทรงจำแล้ว ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ เป็น ผู้มีวาจางาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑ เป็นผู้ชี้แจงสพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ทั้งตนเองและผู้อื่น ฯ
จบสูตรที่ ๓
อลํสูตรที่ ๓
[๑๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นผู้ สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน แต่ไม่สามารถในอันปฏิบัติเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเข้าใจได้เร็วในอกุศลธรรมทั้งหลาย ๑ เป็นผู้ทรงจำ ธรรมที่ฟังแล้ว ๑ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ได้ทรงจำแล้ว ๑ รู้อรรถรู้ธรรม แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ หาเป็นผู้มีวาจางาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ไม่ หาชี้แจงสพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริงไม่ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน แต่ไม่เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อ กูลแก่ผู้อื่น ฯ
จบสูตรที่ ๔
อลํสูตรที่ ๔
[๑๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นผู้ สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น แต่ไม่เป็นผู้สามารถในอัน ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑ เป็นผู้ ทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑ แต่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ได้ฟังแล้ว และหา รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ เป็นผู้มีวาจางาม กล่าวถ้อยคำ ไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑ เป็นผู้ชี้แจงสพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริง ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น แต่ไม่เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์ เกื้อกูลแก่ตน ฯ
จบสูตรที่ ๕
อลํสูตรที่ ๕
[๑๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้ สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน แต่ไม่เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่เป็นผู้ ทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำแล้ว ๑ รู้อรรถ รู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ หาเป็นผู้มีวาจางาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ไม่ และ หาชี้แจงสพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริงไม่ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน แต่ไม่เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อ กูลแก่ผู้อื่น ฯ
จบสูตรที่ ๖
อลํสูตรที่ ๖
[๑๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้ สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น แต่ไม่เป็นผู้สามารถในอัน ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่เป็นผู้ ทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑ ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ได้ทรงจำแล้ว หารู้ อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ เป็นผู้มีวาจางาม กล่าวถ้อยคำ ไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑ ชี้แจงสพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น แต่ไม่เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล แก่ตน ฯ
จบสูตรที่ ๗
อลํสูตรที่ ๗
[๑๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ เป็นผู้ สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน แต่ไม่เป็นผู้สามารถในอัน ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่เป็น ผู้ทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว แต่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ได้ทรงจำแล้ว ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ หาเป็นผู้มีวาจางาม กล่าวถ้อยคำ ไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ไม่ ไม่ชี้แจงสพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน แต่ไม่สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ ผู้อื่น ฯ
จบสูตรที่ ๘
อลํสูตรที่ ๘
[๑๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ เป็นผู้ สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น แต่ไม่เป็นผู้สามารถในอัน ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ทรงจำ ธรรมที่ได้ฟังแล้ว ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ได้ทรงจำแล้ว หารู้อรรถ รู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ แต่เป็นผู้มีวาจางาม กล่าวถ้อยคำ ไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑ ชี้แจงสพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์ เกื้อกูลแก่ผู้อื่น แต่ไม่เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน ฯ
จบสูตรที่ ๙

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๖๒๑๕-๖๓๑๓ หน้าที่ ๒๖๙-๒๗๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=6215&Z=6313&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=23&item=152&items=8              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=23&item=152&items=8&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=23&item=152&items=8              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=23&item=152&items=8              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=152              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]