ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
สุตวาสูตร
[๒๑๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้ พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล สุตวาปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับได้ ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่งข้าพระองค์และพระผู้มีพระภาคอยู่ที่เมืองคิริพชะ ใกล้กรุงราชคฤห์นี่แหละ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๓๙.

ณ ที่นั้นแล ข้าพระองค์ได้สดับรับฟังเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ดูกรสุตวะ ภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลง ภาระแล้วมีประโยชน์แห่งตนอันบรรลุแล้วโดยลำดับ มีกิเลสเครื่องผูกสัตว์ไว้ใน ภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นไม่ควรเพื่อประพฤติล่วง ฐานะ ๕ ประการ คือ ภิกษุผู้ขีณาสพไม่ควรแกล้งฆ่าสัตว์ ๑ ไม่ควรถือเอาสิ่งของ ที่เจ้าของไม่ให้อันเป็นส่วนแห่งความเป็นขโมย ๑ ไม่ควรเสพเมถุนธรรม ๑ ไม่ ควรกล่าวเท็จทั้งรู้ ๑ ไม่ควรทำการสั่งสมบริโภคกามคุณเหมือนเป็นคฤหัสถ์ในกาล ก่อน ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คำนี้ข้าพระองค์ฟังมาดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจ ไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว แลหรือ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า จริงละ คำนี้ท่านสดับมาดีแล้ว รับเอามาดีแล้ว ใส่ใจไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว ดูกรสุตวะ ครั้งก่อนและบัดนี้ เราก็กล่าวอย่าง นี้ว่า ภิกษุใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว มีประโยชน์แห่งตนอันบรรลุแล้วโดยลำดับ มีกิเลสเครื่องประกอบ สัตว์ไว้ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควร เพื่อประพฤติล่วงฐานะ ๙ ประการ คือภิกษุผู้ขีณาสพไม่ควรแกล้งฆ่าสัตว์ ๑ ไม่ ควรถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้อันเป็นส่วนแห่งความเป็นขโมย ๑ ไม่ควรเสพ เมถุนธรรม ๑ ไม่ควรกล่าวเท็จทั้งรู้ ๑ ไม่ควรทำการสั่งสมบริโภคกามคุณเหมือน คฤหัสถ์ในกาลก่อน ๑ ไม่ควรลุอำนาจฉันทาคติ ๑ ไม่ควรลุอำนาจโทสาคติ ๑ ไม่ควรลุอำนาจโมหาคติ ๑ ไม่ควรลุอำนาจภยาคติ ๑ ดูกรสุตวะ ครั้งก่อนและบัดนี้ เราก็กล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว มีประโยชน์แห่งตนอันบรรลุแล้วโดยลำดับ มีกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อประพฤติล่วงฐานะ ๙ ประการนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๗

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๗๘๓๕-๗๘๖๔ หน้าที่ ๓๓๘-๓๓๙. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=7835&Z=7864&pagebreak=1 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=23&item=211&items=1&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=23&item=211&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=23&item=211&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=23&item=211&items=1&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=211              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]