ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
             [๑๑๖] ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่อว่าอาชินะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน
ไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เพื่อนพรหมจรรย์ของข้าพเจ้าทั้งหลายชื่อว่าบัณฑิต เพราะ
คิดจิตตุปบาทได้ ๕๐๐ ดวง ซึ่งเป็นเครื่องซักถามอัญญเดียรถีย์ทั้งหลาย อัญญ-
*เดียรถีย์ทั้งหลายเป็นผู้ถูกข่มขี่แล้ว รู้ตัวว่าถูกข่มขี่ ฯ
             ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายทรงจำเหตุแห่งความเป็นบัณฑิตได้หรือไม่ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค กาลนี้เป็นกาลควร ข้าแต่พระสุคต กาลนี้เป็นกาลควร
ที่พระผู้มีพระภาคพึงทรงภาษิต ภิกษุทั้งหลายได้ฟังพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค
แล้วจักทรงจำไว้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอ
ทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมข่มขี่
บีบคั้นวาทะอันไม่เป็นธรรมด้วยวาทะอันไม่เป็นธรรม และย่อมยังบริษัทผู้ไม่
ประกอบด้วยธรรมให้ยินดีด้วยวาทะอันไม่เป็นธรรม บริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม
นั้น ย่อมสรรเสริญเสียงเอ็ดอึงเพราะวาทะอันไม่เป็นธรรมนั้นว่า ดูกรท่านผู้เจริญ
ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ฯ
             อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะที่เป็นธรรมด้วยวาทะ
ที่ไม่เป็นธรรม และย่อมยังบริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม ให้ยินดีด้วยวาทะที่ไม่
เป็นธรรม บริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมนั้น ย่อมสรรเสริญเสียงเอ็ดอึงเพราะ
วาทะอันไม่เป็นธรรมนั้นว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ดูกรท่าน
ผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ฯ
             อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะที่เป็นธรรมและวาทะ
ที่ไม่เป็นธรรมด้วยวาทะที่ไม่เป็นธรรม และย่อมยังบริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม
ให้ยินดีด้วยวาทะไม่เป็นธรรม บริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมนั้น ย่อมสรรเสริญ
เสียงเอ็ดอึงเพราะวาทะอันไม่เป็นธรรมนั้นว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็น
บัณฑิตหนอ ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ฯ
             อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะที่ไม่เป็นธรรมด้วย
วาทะที่เป็นธรรม และย่อมยังบริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมให้ยินดีด้วยวาทะที่
เป็นธรรม บริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมนั้น ย่อมสรรเสริญเสียงเอ็ดอึงเพราะ
วาทะอันเป็นธรรมนั้นว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ดูกร
ท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ฯ
             อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะที่เป็นธรรมด้วยวาทะ
ที่เป็นธรรม และย่อมยังบริษัทผู้ประกอบด้วยธรรมให้ยินดีด้วยวาทะที่เป็นธรรม
บริษัทผู้ประกอบด้วยธรรมนั้น ย่อมสรรเสริญเสียงเอ็ดอึงเพราะวาทะที่เป็นธรรม
นั้นว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็น
บัณฑิตหนอ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรมบุคคลควรทราบ
สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์บุคคลควรทราบ ครั้นทราบสิ่งที่ไม่
เป็นธรรม และสิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์แล้ว
พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรมตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่
ไม่เป็นธรรมเป็นไฉน สิ่งที่เป็นธรรมเป็นไฉน สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เป็นไฉน
และสิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นไฉน ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเห็นผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความเห็นชอบ
เป็นสิ่งที่เป็นธรรม อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะความเห็นผิด
เป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญ
บริบูรณ์เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความดำริผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความดำริชอบ
เป็นสิ่งที่เป็นธรรม ... ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย การเจรจาผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม การเจรจาชอบ
เป็นสิ่งที่เป็นธรรม ... ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย การงานผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม การงานชอบเป็นสิ่ง
ที่เป็นธรรม ... ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย การเลี้ยงชีพผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม การเลี้ยงชีพชอบ
เป็นสิ่งที่เป็นธรรม ... ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพยายามผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความพยายาม
ชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ... ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความระลึกผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความระลึกชอบ
เป็นสิ่งที่เป็นธรรม ... ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตั้งใจมั่นผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความตั้งใจมั่นชอบ
เป็นสิ่งที่เป็นธรรม ... ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรู้ผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความรู้ชอบเป็นสิ่งที่
เป็นธรรม ... ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพ้นผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความพ้นชอบเป็น
สิ่งที่เป็นธรรม อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะความพ้นผิดเป็น
ปัจจัย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญ
บริบูรณ์ เพราะความพ้นชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรมบุคคลควรทราบ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และ
สิ่งที่เป็นประโยชน์บุคคลควรทราบ ครั้นทราบสิ่งที่ไม่เป็นธรรม และสิ่งที่เป็นธรรม
สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์แล้ว พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม
ตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ คำที่เรากล่าวดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยเหตุนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๔
สคารวสูตร

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๕๓๕๑-๕๔๒๓ หน้าที่ ๒๓๐-๒๓๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=5351&Z=5423&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=24&item=116&items=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=24&item=116&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=24&item=116&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=24&item=116&items=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=116              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24 https://84000.org/tipitaka/english/?index_24

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]