ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
อริยวสสูตรที่ ๒
[๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่นิคมของชาวกุรุ ชื่อ กัมมาสธรรม ในแคว้นกุรุ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่อยู่แห่งพระอริยะ ที่พระอริยะอยู่แล้วก็ดี กำลังอยู่ก็ดี จักอยู่ก็ดี ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรม วินัยนี้เป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว ๑ ประกอบด้วยองค์ ๖ ๑ รักษาแต่อย่างเดียว ๑ มีธรรมเป็นที่พักพิง ๔ ประการ ๑ มีปัจเจกสัจจะบรรเทาได้แล้ว ๑ มีการแสวงหา อันสละแล้วด้วยดี ๑ มีความดำริไม่ขุ่นมัว ๑ มีกายสังขารอันสงบระงับแล้ว ๑ มีจิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ๑ มีปัญญาอันหลุดพ้นแล้วด้วยดี ๑ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้วอย่างไร ภิกษุในธรรม วินัยนี้ เป็นผู้ละกามฉันทะได้แล้ว ๑ เป็นผู้ละพยาบาทได้แล้ว ๑ เป็นผู้ละ ถีนมิทธะได้แล้ว ๑ เป็นผู้ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว ๑ เป็นผู้ละวิจิกิจฉาได้แล้ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้วอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ อย่างไร ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูก ต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มี อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ อย่างนี้แล ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๕.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้รักษาแต่อย่างเดียวอย่างไร ภิกษุในธรรม วินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยใจอันรักษาด้วยสติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รักษา แต่อย่างเดียว อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีธรรมเป็นที่พักพิง ๔ ประการอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาแล้วย่อมเสพของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วย่อมอดกลั้น ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วย่อมเว้นของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วย่อมบรรเทา ของอย่างหนึ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีธรรมเป็นที่พักพิง ๔ ประการ อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีปัจเจกสัจจะบรรเทาแล้วอย่างไร ปัจเจก สัจจะเป็นอันมากเหล่าใดเหล่าหนึ่งของสมณพราหมณ์เป็นอันมาก คือ สัจจะว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลกมีที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นบ้าง ชีพเป็นอื่น สรีระเป็นอื่นบ้าง สัตว์เมื่อตายไปย่อมเป็นอีกบ้าง สัตว์เมื่อตายไปย่อมไม่เป็นอีกบ้าง สัตว์เมื่อตายไปย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีก ก็มีบ้าง สัตว์เมื่อตายไปย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้บ้าง สัจจะ เหล่านั้นทั้งหมดเป็นของอันภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรเทาได้แล้ว กำจัดออกแล้ว สละได้แล้ว คลายได้แล้ว พ้นได้แล้ว ละได้แล้ว สลัดได้เฉพาะแล้ว ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีปัจเจกสัจจะอันบรรเทาได้แล้วอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้แล้วด้วยดีอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละการแสวงหากามได้แล้ว เป็นผู้ละการแสวงหาภพได้ แล้วเป็นผู้สงบระงับการแสวงหาพรหมจรรย์ได้แล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็น ผู้มีการแสวงหาอันสละได้แล้วด้วยดีอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีความดำริไม่ขุ่นมัวอย่างไร ภิกษุในธรรม วินัยนี้ เป็นผู้ละความดำริในกามได้แล้ว เป็นผู้ละความดำริในพยาบาทได้แล้ว เป็นผู้ละความดำริในวิหิงสาได้แล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีความดำริไม่ขุ่น มัวอย่างนี้แล ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๖.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีกายสังขารสงบระงับแล้วอย่างไร ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และ ดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีกายสังขารอันสงบระงับแล้ว อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีจิตอันหลุดพ้นแล้วด้วยดีอย่างไร จิต ของภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นธรรมชาติหลุดพ้นแล้วจากราคะ หลุดพ้นแล้วจาก โทสะ หลุดพ้นแล้วจากโมหะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีจิตอันหลุดพ้น แล้วด้วยดี อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นแล้วด้วยดีอย่างไร ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดว่า ราคะเราละได้แล้ว ตัดรากได้ขาดแล้ว ทำให้เป็น เหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ย่อมรู้ ชัดว่า โทสะเราละได้แล้ว ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า โมหะเราละได้แล้ว ตัดรากได้ ขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็น ธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาอันหลุดพ้นแล้วด้วยดีอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พระอริยเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลอยู่อาศัย แล้วซึ่งธรรมเป็นที่อยู่ของพระอริยเจ้า ๑๐ ประการเหล่านี้เทียว พระอริยเจ้าเหล่า ใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล จักอยู่อาศัยซึ่งธรรมเป็นที่อยู่ของพระอริยเจ้า ๑๐ ประการเหล่านี้เทียว พระอริยเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันนี้ อยู่อาศัยซึ่งธรรม เป็นที่อยู่ของพระอริยเจ้า พระอริยเจ้าเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมอยู่อาศัยซึ่งธรรมเป็น ที่อยู่ของพระอริยเจ้า ๑๐ ประการเหล่านี้เทียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่อยู่ ของพระอริยเจ้า ที่พระอริยเจ้าอยู่อาศัยแล้วก็ดี กำลังอยู่อาศัยก็ดี จักอยู่อาศัยก็ดี ๑๐ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบนาถกรณวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๗.

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. เสนาสนสูตร ๒. อังคสูตร ๓. สังโยชนสูตร ๔. ขีลสูตร ๕. อัปปมาทสูตร ๖. อาหุเนยยสูตร ๗. นาถสูตรที่ ๑ ๘. นาถสูตรที่ ๒ ๙. อริยวสสูตรที่ ๑ ๑๐. อริยวสสูตรที่ ๒ ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๗๖๘-๘๔๒ หน้าที่ ๓๔-๓๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=768&Z=842&pagebreak=1 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=24&item=20&items=1&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=24&item=20&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=24&item=20&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=24&item=20&items=1&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=20              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24 https://84000.org/tipitaka/english/?index_24

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]