ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
โคปาลกสูตร
[๒๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการ เป็นผู้ไม่สามารถจะเลี้ยงฝูงโคให้เจริญแพร่หลาย องค์ ๑๑ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลในโลกนี้ ย่อมไม่รู้จักรูป ๑ ไม่ฉลาดในลักษณะ ๑ ไม่กำจัดไข่ขัง ๑ ไม่ปกปิดแผล ๑ ไม่สุมไฟ ๑ ไม่รู้ท่าน้ำ ๑ ไม่รู้ว่าโค ดื่มน้ำแล้วหรือยัง ๑ ไม่รู้ทาง ๑ ไม่ฉลาดในที่หากิน ๑ รีดนมไม่ให้มีเหลือ ๑ ไม่บูชาโคผู้ทั้งหลายที่เป็นพ่อโคเป็นผู้นำฝูงโคด้วยการบูชาอย่างยิ่ง ๑ ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย นายโคบาลผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่สามารถจะ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๖๘.

เลี้ยงฝูงโคให้เจริญแพร่หลาย ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการ ก็เป็นผู้ไม่สามารถจะถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรม ๑๑ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่รู้จักรูป ๑ ไม่ฉลาดในลักษณะ ๑ ไม่กำจัดไข่ขัง ๑ ไม่ปกปิดแผล ๑ ไม่สุมไฟ ๑ ไม่รู้ท่าน้ำ ๑ ไม่รู้ธรรมที่ดื่มแล้ว ๑ ไม่รู้ทาง ๑ ไม่ฉลาดในโคจร ๑ รีดนมไม่ให้มีเหลือ ๑ ไม่บูชาภิกษุทั้งหลายผู้เป็นรัตตัญญู บวชนาน เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปรินายก ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง ๑ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมไม่รู้จักรูปอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งรูปอย่างใดอย่างหนึ่งตามความเป็นจริงว่า มหาภูตรูป ๔ และรูป อันอาศัยมหาภูตรูป ๔ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมไม่รู้จักรูปอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมไม่ฉลาดในลักษณะอย่างไร ภิกษุในธรรม วินัยนี้ ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า คนพาลมีกรรมเป็นลักษณะ บัณฑิตมีกรรม เป็นลักษณะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมไม่ฉลาดในลักษณะอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุไม่กำจัดไข่ขังอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมให้กามวิตกที่บังเกิดขึ้นครอบงำ ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่กระทำให้สิ้นสุด ซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้กามวิตกที่เกิดขึ้นแล้วถึงความไม่มี ย่อมให้ พยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้วครอบงำ ... ย่อมให้วิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้วครอบงำ ... ย่อมให้อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วครอบงำ ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ กระทำให้สิ้นสุด ซึ่งอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วๆ ไม่ให้อกุศลธรรมที่เกิด ขึ้นแล้วถึงความไม่มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่กำจัดไข่ขังอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมไม่ปกปิดแผลอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมถือเอาโดยนิมิต ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ ย่อมไม่ ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอัน- *ลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่าย่อมไม่รักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่า

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๖๙.

ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรส ด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ ถือเอาโดยนิมิต ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส ครอบงำ ชื่อว่าย่อมไม่รักษามนินทรีย์ ชื่อว่าย่อมไม่ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ปกปิดแผลอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุไม่สุมไฟอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม ไม่แสดงธรรมตามที่ฟังมาแล้ว ตามที่เรียนมาแล้ว แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าไม่สุมไฟอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมไม่รู้ท่าน้ำอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปหาภิกษุผู้เป็นพหูสูต ผู้ชำนาญนิกาย ผู้ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ตามเวลาอันสมควร ย่อมไม่สอบถาม ย่อมไม่ไต่ถามว่า ท่านผู้เจริญ พระพุทธ- *พจน์นี้เป็นอย่างไร อรรถแห่งพระพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร ท่านเหล่านั้นย่อมไม่ เปิดเผยข้อที่ยังไม่ได้เปิดเผย ย่อมไม่ทำให้ตื้นข้อที่ยังไม่ได้ทำให้ตื้น และไม่ บรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยมากอย่าง แก่ภิกษุนั้น ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมไม่รู้ท่าน้ำอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมไม่รู้ธรรมที่ดื่มแล้วอย่างไร ภิกษุในธรรม วินัยนี้ เมื่อธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว อันบุคคลอื่นแสดงอยู่ ย่อมไม่ได้ ความรู้อรรถ ไม่ได้ความรู้ธรรม ไม่ได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่รู้ธรรมที่ดื่มแล้วอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมไม่รู้ทางอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่รู้อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ตามความจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่รู้ทางอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมไม่ฉลาดในโคจรอย่างไร ภิกษุในธรรม

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๗๐.

วินัยนี้ ย่อมไม่รู้สติปัฏฐาน ๔ ตามความจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ฉลาด ในโคจรอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมรีดนมไม่ให้เหลืออย่างไร ภิกษุในธรรม วินัยนี้ ย่อมไม่รู้ประมาณเพื่อการรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร ที่คฤหบดีผู้มีศรัทธาปวารณาเพื่อนำไปได้ตามพอใจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมรีดนมไม่ให้เหลืออย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมไม่บูชาภิกษุผู้เป็นพระเถระ ผู้รัตตัญญู บวชนาน เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปรินายก ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่เข้าไปตั้งเมตตากายกรรม ทั้งในที่แจ้งทั้งในที่ลับ ย่อมไม่เข้าไปตั้งเมตตาวจีกรรม ย่อมไม่เข้าไปตั้งเมตตามโนกรรม ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ ในภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระ ผู้รัตตัญญู บวชนาน เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปรินายก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมไม่บูชาภิกษุผู้เป็นพระเถระ ผู้รัตตัญญู บวชนาน เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปรินายก ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการนี้ เป็นผู้ไม่ สามารถถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการ เป็นผู้ สามารถเลี้ยงฝูงโคให้เจริญแพร่หลายได้ องค์ ๑๑ ประการเป็นไฉน คือ นายโคบาลในโลกนี้ ย่อมรู้จักรูป ๑ ฉลาดในลักษณะ ๑ กำจัดไข่ขัง ๑ ปกปิดแผล ๑ สุมไฟ ๑ รู้ท่าน้ำ ๑ รู้โคว่าดื่มน้ำแล้วหรือยัง ๑ รู้ทาง ๑ ฉลาดในที่หากิน ๑ รีดนมให้เหลือ ๑ บูชาโคผู้ที่เป็นพ่อโคเป็นผู้นำฝูงโค ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถเลี้ยงฝูงโคให้เจริญแพร่หลายได้ ฉันใด ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการ ย่อมเป็นผู้สามารถถึงความเจริญ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๗๑.

งอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรม ๑๑ ประการเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักรูป ๑ ฉลาดในลักษณะ ๑ กำจัดไข่ขัง ๑ ปกปิดแผล ๑ สุมไฟ ๑ รู้ท่าน้ำ ๑ รู้ธรรมที่ดื่มแล้ว ๑ รู้ทาง ๑ ฉลาด ในโคจร ๑ รีดให้เหลือ ๑ บูชาภิกษุผู้เป็นพระเถระ ผู้รัตตัญญู บวชนาน เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปรินายก ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรู้จักรูปอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้รูป อย่างใดอย่างหนึ่งตามเป็นจริงว่า มหาภูตรูป ๔ และรูปอาศัยมหาภูตรูป ๔ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมรู้จักรูปอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมฉลาดในลักษณะอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ตามเป็นจริงว่า คนพาลมีกรรมเป็นลักษณะ บัณฑิตมีกรรมเป็นลักษณะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุฉลาดในลักษณะอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมกำจัดไข่ขังอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ให้กามวิตกที่บังเกิดขึ้นครอบงำ ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้มีความ สิ้นสุด ซึ่งกามวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมให้กามวิตกที่เกิดขึ้นแล้วถึงความไม่มี ย่อมไม่ให้พยาบาทวิตกที่บังเกิดขึ้นครอบงำ ... ย่อมไม่ให้วิหิงสาวิตกที่บังเกิดขึ้น ครอบงำ ... ย่อมไม่ให้อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วๆ ครอบงำ ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้มีความสิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ซึ่งอกุศลธรรมอันลามก ที่เกิดขึ้นแล้วๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุกำจัดไข่ขังอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมปกปิดแผลอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ ย่อม ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความ สำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่ถือเอา

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๗๒.

โดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อ ไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส ครอบงำนั้น ชื่อว่าย่อมรักษามนินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมปกปิดแผล อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมสุมไฟอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ- *ในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงธรรมตามที่ตนฟังมาแล้ว ตามที่ตนเรียนมาแล้ว แก่คน เหล่าอื่นโดยพิสดาร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมสุมไฟอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมรู้ท่าน้ำอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปหาภิกษุผู้เป็นพหูสูต ผู้ชำนาญนิกาย ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา โดยกาลอันสมควร ย่อมสอบถามไต่ถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระพุทธพจน์นี้ เป็นอย่างไร อรรถแห่งพระพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร ท่านเหล่านั้นย่อมเปิดเผยสิ่ง ที่ยังไม่เปิดเผย ย่อมทำให้ตื้นสิ่งที่ยังไม่ทำให้ตื้น และย่อมบรรเทาซึ่งความสงสัย ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยมากอย่าง แก่ภิกษุนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมรู้ท่าน้ำอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมรู้ธรรมที่ดื่มแล้วอย่างไร ภิกษุในธรรม วินัยนี้ เมื่อธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว อันผู้อื่นแสดงอยู่ ย่อมได้ความ รู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมรู้ธรรมที่ดื่มแล้วอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมรู้ทางอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ ซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ตามเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมรู้ ทางอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมฉลาดในโคจรอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้สติปัฏฐาน ๔ ตามเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมฉลาดในโคจร อย่างนี้แล ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๗๓.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมรีดให้เหลืออย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ประมาณเพื่อการรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ที่คฤหบดีผู้มีศรัทธาปวารณา เพื่อนำไปได้ตามพอใจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมรีดให้เหลืออย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมบูชาภิกษุผู้เป็นพระเถระ ผู้รัตตัญญู บวชนาน เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปรินายก ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเข้าไปตั้งเมตตากายกรรม ทั้งในที่แจ้งทั้งในที่ลับ ย่อม เข้าไปตั้งเมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม ทั้งในที่แจ้งทั้งในที่ลับ ในภิกษุผู้เป็น พระเถระ ผู้รัตตัญญู บวชนาน เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปรินายก ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุย่อมบูชาภิกษุผู้เป็นพระเถระ ผู้รัตตัญญู บวชนาน เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปรินายก ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการนี้แล เป็นผู้ สามารถถึงซึ่งความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๗

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๘๔๕๒-๘๕๙๓ หน้าที่ ๓๖๗-๓๗๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=8452&Z=8593&pagebreak=1 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=24&item=224&items=1&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=24&item=224&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=24&item=224&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=24&item=224&items=1&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=224              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24 https://84000.org/tipitaka/english/?index_24

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]