ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๙. มลสูตร
[๒๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มลทินในภายใน ๓ ประการนี้ เป็นอมิตร เป็นศัตรู เป็นผู้ฆ่า เป็นข้าศึกในภายใน ๓ ประการเป็นไฉน คือ โลภะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มลทินในภายใน ๓ ประการนี้แล เป็น อมิตร เป็นศัตรู เป็นผู้ฆ่า เป็นข้าศึกในภายใน ฯ โลภะให้เกิดความฉิบหายโลภะทำจิตให้กำเริบชนไม่รู้สึกโลภะ นั้นอันเกิดแล้วในภายในว่าเป็นภัย คนโลภย่อมไม่รู้ประโยชน์ ย่อมไม่เห็นธรรม โลภะย่อมครอบงำนรชนในขณะนั้น ความ มืดตื้อย่อมมีในขณะนั้น ก็ผู้ใดละความโลภได้ขาด ย่อมไม่โลภ ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความโลภ ความโลภอันอริยมรรคย่อม ละเสียได้จากบุคคลนั้น เปรียบเหมือนหยดน้ำตกไปจาก ใบบัวฉะนั้น โทสะให้เกิดความฉิบหาย โทสะทำจิต ให้กำเริบ ชนไม่รู้จักโทสะนั้นอันเกิดในภายในว่าเป็นภัย คนโกรธย่อมไม่รู้จักประโยชน์ ย่อมไม่เห็นธรรม โทสะ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๗๔.

ย่อมครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อย่อมมีในขณะ นั้น ก็บุคคลใดละโทสะได้ขาด ย่อมไม่ประทุษร้ายใน อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย โทสะอันอริยมรรค ย่อมละเสียได้จากบุคคลนั้น เปรียบเหมือนผลตาลสุกหลุด จากขั้วฉะนั้น โมหะให้เกิดความฉิบหาย โมหะทำจิต ให้กำเริบ ชนไม่รู้สึกโมหะนั้นอันเกิดในภายในว่าเป็นภัย คนหลงย่อมไม่รู้จักประโยชน์ ย่อมไม่เห็นธรรม โมหะ ย่อมครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อย่อมมีในขณะ นั้น ก็บุคคลใดละโมหะได้ขาด ย่อมไม่หลงในอารมณ์ เป็นที่ตั้งแห่งความหลง บุคคลนั้นย่อมกำจัดความหลงได้ ทั้งหมด เปรียบเหมือนพระอาทิตย์อุทัยขจัดมืดฉะนั้น ฯ
จบสูตรที่ ๙

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๖๒๐๑-๖๒๒๖ หน้าที่ ๒๗๓-๒๗๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=6201&Z=6226&pagebreak=1 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=25&item=268&items=1&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=25&item=268&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=25&item=268&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=25&item=268&items=1&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=268              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 https://84000.org/tipitaka/english/?index_25

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]