ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
พระสุตตันตปิฎก
เล่ม ๑๘
ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถระ-เถรีคาถา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ปิฐวรรคที่ ๑
๑. ปิฐวิมานที่ ๑
ว่าด้วยทำบุญอะไรจึงเป็นเทพธิดาสวยงาม
[๑] พระโมคคัลลานะถามว่า ตั่งทองคำของท่านอันใหญ่โต ลอยไปในที่ต่างๆ ได้เร็วดังใจตามปรารถนา ท่านมีกายอันประดับแล้ว ทรงมาลัยนุ่งห่มผ้าสวยงาม มีรัศมีเปล่งปลั่ง ดังสายฟ้าอันแลบออกจากกลีบเมฆ ท่านมีวรรณะเช่นนี้เพราะบุญอะไร อิฐผลย่อมสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้ เพราะบุญอะไร อนึ่ง โภคะอันเป็น ที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่าง ย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านเพราะบุญอะไร ดูกรนาง เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน ครั้งเมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ ได้ทำบุญอะไรไว้ ท่านมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีกายของท่าน สว่างไสวไปทั่วทุกทิศเพราะบุญอะไร. นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีใจยินดีได้พยากรณ์ ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า เมื่อดิฉันเกิดเป็นมนุษย์ในมนุษยโลก ได้ถวายอาสนะแก่หมู่ภิกษุผู้มาใหม่ ได้อภิวาท ได้ทำอัญชลี และให้ทานตามสติกำลัง ดิฉันมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญนั้น อิฐผลย่อมสำเร็จแก่ดิฉันในที่นี้เพราะบุญนั้น อนึ่ง โภคะ อันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเกิดแก่ดิฉันก็เพราะบุญนั้น ข้าแต่ ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอบอกแก่ท่าน เมื่อครั้งดิฉันเกิดเป็นมนุษย์ ได้ทำบุญใดไว้ ดิฉันนั้นมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และมีรัศมีกายสว่าง- ไสวไปทั่วทิศเพราะบุญนั้น.
จบ ปิฐวิมานที่ ๑
๒ ปิฐวิมานที่ ๒
[๒] พระโมคคัลลานะถามว่า ตั่งอันล้วนแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ของท่าน อันใหญ่โต ลอยไปในที่ต่างๆ ได้เร็วดังใจตามปรารถนา ท่านมีกายอันประดับแล้ว ทัดทรงมาลัย นุ่งห่มผ้าอันสวยงาม มีรัศมีเปล่งปลั่งดังสายฟ้าอันแลบออกจากกลีบเมฆ ท่านมีวรรณะเช่นนี้เพราะบุญอะไร อนึ่ง โภคะอันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่ง ทุกอย่าง ย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านเพราะบุญอะไร ดูกรนางเทพธิดาผู้มีอานุ- ภาพมาก อาตมาขอถามท่าน ครั้งเมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไร ไว้ ท่านมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีกายของท่านสว่างไสวไปทั่ว ทุกทิศ เพราะบุญอะไรฯ นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานะถามแล้ว มีใจยินดีได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามว่า เมื่อดิฉันเกิดเป็นมนุษย์ในมนุษยโลก ได้ถวายอาสนะแก่หมู่ภิกษุผู้มา ใหม่ ได้อภิวาทกระทำอัญชลี และถวายทานตามสติกำลัง ดิฉันมีวรรณะ เช่นนี้เพราะบุญนั้น อิฐผลย่อมสำเร็จแก่ดิฉันในที่นี้เพราะบุญนั้น และ โภคะอันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่าง ย่อมเกิดแก่ดิฉันเพราะบุญนั้น ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอบอกแก่ท่าน เมื่อครั้งดิฉันเกิดเป็น มนุษย์ได้ทำบุญใดไว้ ดิฉันมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้และมีรัศมีกายสว่าง ไสวไปทั่วทุกทิศเพราะบุญนั้น.
จบ ปิฐวิมานที่ ๒
๓. ปิฐวิมานที่ ๓
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในปิฐวิมานที่ ๓
[๓] พระโมคคัลลานะถามว่า ตั่งทองคำของท่านอันใหญ่โต ลอยไปในที่ต่างๆ ได้เร็วดังใจตามปรารถนา ท่านมีกายอันประดับแล้ว ทรงมาลัย นุ่งห่มผ้าสวยงาม มีรัศมีเปล่งปลั่ง ดังสายฟ้าอันแลบออกจากกลีบเมฆ ท่านมีวรรณะเช่นนี้เพราะบุญอะไร อิฐผลย่อมสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้ เพราะบุญอะไร อนึ่ง โภคะอันเป็น ที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่าง ย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านเพราะบุญอะไร ดูกรนาง เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน ครั้งเมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ ได้ทำบุญอะไรไว้ ท่านมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีกายของท่าน สว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญอะไร. นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานะถามแล้วมีใจยินดีได้พยากรณ์ปัญหา แห่งผลกรรมที่ถูกถามว่า ดิฉันมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ เพราะผลกรรมอันน้อยของดิฉัน เมื่อดิฉัน เกิดเป็นมนุษย์ในมนุษยโลกในชาติก่อน ได้เห็นภิกษุผู้ปราศจากกิเลสธุลี มีอินทรีย์ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว ดิฉันมีจิตเลื่อมใส ได้ถวายตั่งแก่ท่านด้วยมือ ทั้งสองของตน ดิฉันมีวรรณะเช่นนี้เพราะบุญนั้น อิฐผลย่อมสำเร็จแก่ ดิฉันในที่นี้เพราะบุญนั้น และโภคะอันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่าง ย่อมเกิดขึ้นแก่ดิฉันเพราะบุญนั้น ข้าแต่ภิกษุผู้มีมหานุภาพ ดิฉันขอบอก แก่ท่าน เมื่อครั้งดิฉันเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญใดไว้ ดิฉันมีอานุภาพ รุ่งเรืองอย่างนี้ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทิศ เพราะบุญนั้น.
จบ ปิฐวิมานที่ ๓
๔. ปิฐวิมานที่ ๔
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในปิฐวิมานที่ ๔
[๔] พระโมคคัลลานะถามว่า ตั่งอันล้วนแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ของท่านอันใหญ่โต ลอยไปในที่ต่างๆ ได้เร็วดังใจตามปรารถนา ท่านมีกายอันประดับแล้ว ทัดทรงมาลัย นุ่งห่ม ผ้าอันสวยงาม มีรัศมีเปล่งปลั่งดังสายฟ้าแลบออกจากกลีบเมฆ ท่านมี วรรณะเช่นนี้เพราะบุญอะไร อนึ่ง โภคะอันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่าง ย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านเพราะบุญอะไร ดูกรนางเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน ครั้งเมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้ ท่านมี อานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีกายของท่านสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญอะไร. นางเทพธิดานั้น อันพระมหาโมคคัลลานะถามแล้ว มีใจยินดีได้พยากรณ์ ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามว่า ดิฉันมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ เพราะผลกรรมอันน้อยของดิฉัน เมื่อดิฉัน เกิดเป็นมนุษย์ในหมู่มนุษย์ทั้งหลายในมนุษยโลกในชาติก่อน ได้เห็น ภิกษุผู้ปราศจากกิเลสธุลี มีอินทรีย์ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว ดิฉันมีจิตเลื่อมใส ได้ถวายตั่งแก่ท่านด้วยมือทั้งสองของตน ดิฉันมีวรรณะเช่นนี้เพราะบุญ นั้น อิฐผลย่อมสำเร็จแก่ดิฉันในที่นี้เพราะบุญนั้น และโภคะอันเป็นที่รัก แห่งใจทุกสิ่งทุกอย่าง ย่อมเกิดแก่ดิฉันเพราะบุญนั้น ข้าแต่ภิกษุผู้มี อานุภาพมาก ดิฉันขอบอกท่าน เมื่อครั้งดิฉันเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญใดไว้ มีอานุภาพมากรุ่งเรืองอย่างนี้ และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทิศเพราะ บุญนั้น.
จบ ปิฐวิมานที่ ๔
๕. กุญชรวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในกุญชรวิมาน
[๕] พระโมคคัลลานะถามว่า กุญชรเป็นยานอันประเสริฐของท่าน ประดับประดาด้วยแก้วหลายชนิด เป็นสัตว์น่ารัก มีกำลังว่องไวมาก เที่ยวไปในอากาศได้ มีสีเหมือนกับ หม้อใหม่ มีนัยน์ตากลมคล้ายใบบัว มีตัวประดับด้วยพวงดอกปทุมและ พวงอุบลทิพย์งามรุ่งเรือง มีกายอันโปรยปรายไปด้วยเกสรปทุม ประดับ ด้วยปทุมทอง ตามทางที่ช้างเดินไปและหยุดยืนอยู่ มีดอกบัวทองใหญ่ๆ คอยรับเท้าช้างทุกฝีเท้า และประดับด้วยดอกปทุมและดอกอุบลทอง เวลาเดินก็ค่อยๆ เดินไป ขณะเมื่อเดินไปมีเสียงกระดิ่งไพเราะ น่าเพลิด- เพลินใจ คล้ายกับดนตรีเครื่อง ๕ ฉะนั้น บนคอช้างนั้นมีผ้าอย่างสะอาด เป็นเครื่องลาด ท่านรุ่งเรืองกว่าหมู่เทพกัญญาในเชิงรูปร่าง การที่ท่านได้ ทิพยสมบัตินี้ ด้วยผลแห่งทาน ผลแห่งศีล หรือผลแห่งการกราบไหว้ (ชนิดไหน) อาตมาถามท่านแล้วขอได้โปรดตอบคำถามนั้นแก่อาตมาด้วย. นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานะถามแล้วมีใจยินดี ได้พยากรณ์ ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามว่า ดิฉันได้เห็นพระเถรเจ้าผู้สมบูรณ์ด้วยคุณ ผู้เพ่งฌาน ยินดีในฌาน เป็น ผู้สงบ ได้ถวายอาสนะที่ลาดด้วยผ้า โปรยดอกไม้ลงรอบๆ อาสนะ ดิฉันมีใจเลื่อมใส ได้ประดับพวงมาลัยปทุมมีใบติดลงครึ่งหนึ่ง และโรย เกสรปทุมลงครึ่งหนึ่ง ด้วยมือทั้งสองของตน ผลเช่นนี้เป็นผลแห่งกุศล กรรมนั้น เพราะดิฉันได้ทำสักการบูชาแก่ท่านผู้ประหารกิเลสทั้งปวงได้ ผู้มีกาย วาจา ใจ สงบระงับแล้ว ผู้ประพฤติธรรมอันประเสริฐ อย่าง ท่านผู้ประเสริฐด้วยคุณทั้งหลายบูชากันมาแล้ว ดิฉันได้ถวายอาสนะด้วย น้ำใจอันผ่องใส เดี๋ยวนี้ดิฉันจึงรื่นเริงบันเทิงใจ เหมือนอย่างที่คนอื่นเขา รื่นเริงบันเทิงกัน เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านที่มุ่งประโยชน์ตน ประสงค์ ความสุขอันยิ่งใหญ่คือ เพื่อความเป็นผู้สิ้นอาสวขัยในชาติ อันเป็นอวสาน จึงควรถวายอาสนทาน.
จบ กุญชรวิมานที่ ๕
๖. นาวาวิมานที่ ๑
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในนาวาวิมานที่ ๑
[๖] พระโมคคัลลานะถามว่า ดูกรนางเทพนารี ท่านขึ้นนั่งวิมานเรือ อันบุญกรรมบุด้วยทองคำ เล่น ในสระโบกขรณีเก็บดอกปทุมอยู่ ท่านมีปราสาทเป็นเทวาลัยอันบุญกรรม จัดแจงเนรมิตให้แล้ว เป็นส่วนๆ โดยรอบทั้งสี่ทิศ รุ่งเรืองเป็นสง่าอยู่ เพราะบุญอะไร ท่านมีวรรณะเช่นนี้เพราะบุญอะไร อิฐผลสำเร็จแก่ท่าน ในวิมานนี้เพราะบุญอะไร อนึ่ง โภคะอันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่าง ย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านเพราะบุญอะไร ดูกรนางเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน ครั้งเมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้ ท่านมี อานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีกายของท่านสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญอะไร? เทพธิดานั้น อันพระมหาโมคคัลลานะถามแล้ว มีใจยินดี ได้พยากรณ์ ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามว่า ในชาติก่อน ครั้งเมื่อดิฉันยังเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ในมนุษยโลก ได้เห็นภิกษุทั้งหลายผู้กระหายน้ำ เหน็ดเหนื่อยมา จึงถวายน้ำฉันโดย ขมีขมัน อันว่าผู้ใดแล ได้ถวายน้ำฉันโดยขมีขมันแก่ภิกษุทั้งหลายผู้เหน็ด เหนื่อยกระหายน้ำมา แม่น้ำหลายสายมีน้ำเยือกเย็นเต็มไปด้วยบัวขาว (ริมฝั่ง) มีไม้จันทน์และมะม่วงอย่างเล็กมีรสหวานอยู่ล้นหลาม ย่อมเกิด แก่ผู้นั้น ที่อยู่และหมู่ไม้ของผู้นั้น มีน้ำหลายสายล้อมรอบประจำ แม่น้ำ ทั้งหลายมีทรายมูล น้ำเย็นสนิท ก็เกิดขึ้นแก่ผู้นั้น หมู่ไม้มะม่วง หมู่ต้น รัง หมู่ต้นหมากหอม หมู่ต้นชมพู่ หมู่ต้นราชพฤกษ์ และต้นแคฝอย ทั้งหลายมีผลดกดื่น ออกดอกชูสล้างเกิดขึ้นล้อมรอบวิมานของผู้นั้น เขาได้วิมานชั้นดีเยี่ยมงามหนักหนาเช่นนั้น ว่าโดยภูมิภาคแล้ว มีลักษณะ ควรสรรเสริญ นี้เป็นวิบากแห่งกรรมนั้นทั้งนั้น คนทั้งหลายที่ทำบุญไว้ แล้วต้องได้ผลเช่นนี้ ดิฉันมีปราสาทเป็นเทวาลัย อันบุญกรรมจัดแจง เนรมิตให้ จัดไว้เป็นส่วนๆ โดยรอบทิศทั้งสี่ รุ่งเรือง เป็นสง่าอยู่ เพราะบุญนั้น ดิฉันมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญนั้น อิฐผลย่อมสำเร็จ แก่ดิฉันในวิมานนี้เพราะบุญนั้น อนึ่ง โภคะอันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่ง ทุกอย่าง เกิดขึ้นแก่ดิฉันเพราะบุญนั้น ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉัน ขอบอกแก่ท่าน ครั้งเมื่อดิฉันยังเป็นมนุษย์ได้กระทำบุญอันใดไว้ ดิฉัน มีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และมีรัศมีกายของดิฉันสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญนั้น.
จบ นาวาวิมานที่ ๖
๗. นาวาวิมานที่ ๒
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในนาวาวิมานที่ ๒
[๗] พระโมคคัลลานะถามว่า ดูกรนางเทพนารี ท่านขึ้นนั่งวิมานเรือ อันบุญกรรมบุด้วยทองคำ เล่น ในสระโบกขรณีเก็บดอกปทุมอยู่ ท่านมีปราสาทเป็นเทวาลัยอันบุญกรรม จัดแจงเนรมิตให้แล้ว เป็นส่วนๆ โดยรอบทั้งสี่ทิศ รุ่งเรืองเป็นสง่าอยู่ เพราะบุญอะไร ท่านมีวรรณะเช่นนี้เพราะบุญอะไร อิฐผลสำเร็จแก่ท่าน ในวิมานนี้ เพราะบุญอะไร อนึ่ง โภคะอันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่าง ย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านเพราะบุญอะไร ดูกรนางเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน ครั้งเมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้ ท่านมี อานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีกายของท่านสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญอะไร? นางเทพธิดานั้น อันพระมหาโมคคัลลานะถามแล้ว มีใจยินดีได้พยากรณ์ ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามว่า ในชาติก่อน ครั้งเมื่อดิฉันยังเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ในมนุษยโลก ได้เห็นภิกษุผู้กระหายน้ำ เหน็ดเหนื่อยมา จึงถวายน้ำฉันโดยขมีขมัน ท่านผู้ใดแลได้ถวายน้ำฉันโดยขมีขมันแก่ภิกษุที่เหน็ดเหนื่อย กระหายน้ำ มา แม่น้ำหลายสายมีน้ำเยือกเย็น ดาระดาษไปด้วยบัวขาว (ชายฝั่ง) มีหมู่ไม้จันทน์และมะม่วงขนาดเล็กมีรสหวานอยู่ล้นหลาม ย่อมเกิดแก่ ผู้นั้น ที่อยู่และหมู่ไม้ของผู้นั้นมีแม่น้ำหลายสายล้อมรอบประจำ แม่น้ำ ทั้งหลายมีทรายมูล น้ำเย็นสนิท ย่อมเกิดแก่ผู้นั้น หมู่ไม้มะม่วง หมู่ต้นรัง หมู่ต้นหมากหอม หมู่ต้นชมพู่ หมู่ไม้ราชพฤกษ์ และต้นแค ฝอยทั้งหลายมีผลดกดื่น ออกดอกชูสล้างเกิดขึ้นล้อมรอบวิมานของผู้นั้น เขาได้วิมานชั้นดีเยี่ยมงามหนักหนาเช่นนั้น ว่าโดยพื้นที่แล้วมีลักษณะ ควรสรรเสริญ นี้เป็นวิบากแห่งกรรมนั้นทั้งนั้น คนทั้งหลายที่ทำบุญไว้ แล้วต้องได้ผลเช่นนี้ ดิฉันมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญนั้น อิฐผลย่อม สำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้ เพราะบุญนั้น อนึ่ง โภคะอันน่ารักแห่งใจทุกสิ่ง ทุกอย่างเกิดขึ้นแก่ดิฉันเพราะบุญนั้น ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉัน ขอบอกแก่ท่าน ครั้งเมื่อดิฉันยังเป็นมนุษย์อยู่ ได้ทำบุญอันใดไว้ ดิฉัน มีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีกายของดิฉันสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญนั้น.
จบ นาวาวิมานที่ ๗
๘. นาวาวิมานที่ ๓
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในนาวาวิมานที่ ๓
[๘] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรนางเทพนารี ท่านขึ้นนั่งวิมานเรือ อันบุญกรรมบุด้วยทองคำ เล่น ในสระโบกขรณีเก็บดอกประทุมอยู่ ท่านมีปราสาทเป็นเทวาลัยอันบุญ กรรมจัดแจงเนรมิตให้แล้ว เป็นส่วนๆ โดยรอบทั้งสี่ทิศ รุ่งเรืองเป็น สง่าอยู่ เพราะบุญอะไร ท่านมีวรรณะเช่นนี้เพราะบุญอะไร อิฐผลสำเร็จ แก่ท่านในวิมานนี้เพราะบุญอะไร อนึ่ง โภคะอันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่ง ทุกอย่าง ย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านเพราะบุญอะไร ดูกรนางเทพธิดาผู้มีอานุภาพ มาก อาตมาขอถามท่าน ครั้งเมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้ ท่านมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีกายของท่านสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญอะไร นางเทพธิดานั้น อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถามแล้วมีใจยินดี ได้ทูล ตอบปัญหาแห่งผลกรรมที่ตรัสซักถามว่าในชาติก่อน ครั้งเมื่อหม่อมฉัน ยังเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ ในมนุษยโลก ได้เห็นภิกษุหลายรูปกระหาย น้ำเหน็ดเหนื่อยมาจึงถวายน้ำฉันโดยขมีขมัน ผู้ใดแลได้ถวายน้ำฉันโดย ขมีขมันแก่ภิกษุทั้งหลายผู้เหน็ดเหนื่อยกระหายน้ำมา แม่น้ำหลายสายมี น้ำเยือกเย็น ดาระดาษไปด้วยบัวขาว (ชายฝั่ง) มีหมู่ไม้จันทน์ และ มะม่วงขนาดเล็กมีรสหวานอยู่ล้นหลาม ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้น ที่อยู่และ หมู่ไม้ของผู้นั้น มีแม่น้ำหลายสายล้อมรอบประจำ น้ำเย็นสนิท แม่น้ำ ทั้งหลายที่ทรายมูล ก็เกิดขึ้นแก่ผู้นั้น หมู่ไม้มะม่วง หมู่ต้นรัง หมู่ต้น หมากหอม หมู่ต้นชมพู่ หมู่ไม้ราชพฤกษ์ และต้นแคฝอยมากมาย มีผล ดกดื่นออกดอกชูสล้าง ก็เกิดขึ้นล้อมรอบวิมานของผู้นั้น เขาได้วิมานดี เยี่ยมงามนักหนาเช่นนั้น ว่ากันโดยพื้นที่แล้วมีลักษณะควรสรรเสริญ นี้เป็นวิบากแห่งกรรมนั้น ทั้งนั้น คนทั้งหลายที่ทำบุญไว้แล้วต้องได้ผล เช่นนี้ หม่อมฉันมีปราสาทเป็นเทวาลัย อันบุญกรรมจัดเนรมิตมาให้แล้ว เป็นส่วนๆ โดยรอบทั้งสี่ทิศ งดงามเป็นสง่าอยู่ เพราะบุญนั้น หม่อม ฉันมีวรรณะเช่นนี้เพราะบุญนั้น อิฐผลย่อมสำเร็จแก่หม่อมฉันในวิมานนี้ เพราะบุญนั้น อนึ่ง โภคะอันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่าง เกิดขึ้นแก่ หม่อมฉันเพราะบุญนั้น หม่อมฉันมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีกาย ของหม่อมฉันสว่างไสวไปทั่วทุกทิศเพราะบุญนั้น นี้เป็นผลแห่งกรรมนั้น คือ หม่อมฉันขมีขมันถวายน้ำแก่พระพุทธเจ้า.
จบ นาวาวิมานที่ ๘.
๙. ปทีปวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในปทีปวิมาน
[๙] พระมหาโมคคัลลานะถามว่า ดูกรนางเทพธิดา ท่านมีรูปงาม มีรัศมีรุ่งเรือง ส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เหมือนกับดวงดาวประกายพฤกษ์ ฉะนั้น ท่านมีผิวพรรณเช่นนี้เพราะบุญ อะไร อิฐผลย่อมสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้เพราะบุญอะไร อนึ่ง โภคะ อันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่าง ย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านเพราะบุญอะไร ดูกรนางเทพธิดา ท่านมีรัศมีสุกใสไพโรจน์ ล่วงเทวดาทั้งหลายเพราะ บุญอะไร ท่านมีอวัยวะทุกส่วนสัดส่องสว่างไปทั่วทุกทิศเพราะบุญอะไร ดูกรนางเทพธิดาผู้มีอานุภาพอันยิ่งใหญ่ อาตมาขอถามท่าน ครั้งท่านยัง เป็นมนุษย์อยู่ได้ทำบุญอะไรไว้ ท่านมีอานุภาพรุ่งเรืองถึงเช่นนี้ และรัศมี กายของท่านสว่างไสวไปทั่วทุกทิศเพราะบุญอะไร? นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานะซักถามแล้ว มีใจยินดีได้พยากรณ์ ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกซักถามว่า ในชาติก่อน ครั้งเมื่อดิฉันยังเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ในมนุษยโลก เมื่อถึงเดือนมืดมาก ได้เวลาตามประทีป ดิฉันได้ถวายดวงประทีปอันเป็น อุปกรณ์กำจัดความมืดให้เป็นทาน อันว่าผู้ใด ถึงเวลาเดือนมืดมาก ได้เวลาตามประทีป ได้ถวายประทีปอันเป็นอุปกรณ์กำจัดความมืดให้ เป็นทาน วิมานอันมีแสงสว่างเป็นผล ประดับด้วยดอกไม้จันทน์ และ บัวขาวอย่างมากมาย ย่อมเกิดแก่ผู้นั้น ดิฉันมีผิวพรรณถึงเช่นนี้ เพราะ การให้ประทีปเป็นทานนั้น อิฐผลสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้ เพราะการ ให้ประทีปเป็นทานนั้น อนึ่ง โภคทรัพย์ทั้งหลายอันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่ง ทุกอย่าง เกิดแก่ดิฉันเพราะการให้ประทีปเป็นทานนั้น เพราะการให้ ประทีปเป็นทานนั้น ดิฉันจึงมีรัศมีสุกใสไพโรจน์ล่วงเทวดาทั้งหลาย มีสรีระร่างทุกๆ ส่วนสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพ อันใหญ่ยิ่ง ดิฉันขอบอกแก่ท่าน ครั้งดิฉันยังเป็นมนุษย์ได้ให้ ดวงประทีปใดเป็นทานไว้ ด้วยการให้ประทีปนั้นเป็นทาน ดิฉันจึงมี อานุภาพรุ่งโรจน์ถึงเช่นนี้ และรัศมีกายของดิฉันจึงสว่างไสวไปทั่ว ทุกทิศ.
จบ ปทีปวิมานที่ ๙
๑๐. ติลทักขิณวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้เกิดในติลทักขิณวิมาน
[๑๐] พระมหาโมคคัลลานะถามว่า ดูกรนางเทพธิดา ท่านมีรูปงาม มีรัศมีรุ่งเรืองส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เหมือนกับดวงดาวประกายพฤกษ์ฉะนั้น ท่านมีผิวพรรณเช่นนี้ เพราะบุญ อะไร อิฐผลย่อมสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้เพราะบุญอะไร อนึ่ง โภคะอัน เป็นที่รักแห่งใจ ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านเพราะบุญอะไร ดูกร นางเทพธิดา ท่านมีรัศมีสุกใสไพโรจน์ล่วงเทวดาทั้งหลาย เพราะบุญ อะไร ท่านมีอวัยวะทุกส่วนสัดส่องสว่างไปทั่วทุกทิศเพราะบุญอะไร ดูกรนางเทพธิดาผู้มีอานุภาพอันยิ่งใหญ่ อาตมาขอถามท่าน ครั้งท่านยัง เป็นอยู่ ได้ทำบุญอะไรไว้ ท่านผู้มีอานุภาพรุ่งเรืองถึงเช่นนี้ และรัศมีกาย ของท่านสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญอะไร? นางเทพธิดานั้น อันพระมหาโมคคัลลานะซักถามแล้ว มีใจยินดี ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกซักถามว่า ในชาติก่อน ครั้งดิฉัน ยังเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ในมนุษยโลก ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศ- จากกิเลสธุลี มีน้ำพระหฤทัยใสสะอาดยิ่ง ดิฉันมีความเลื่อมใสขึ้น อันมิได้ตั้งไว้เดิม ได้ถวายเมล็ดงาเป็นทาน แก่พระพุทธเจ้าผู้พระทัก- ขิไณยบุคคลด้วยมือตนเอง ด้วยการถวายเมล็ดงาเป็นทานนั้น ดิฉันจึงมี ผิวพรรณถึงเช่นนี้ อิฐผลจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้ อนึ่ง โภคทรัพย์ ทั้งหลายอันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่าง เกิดแก่ดิฉันเพราะการให้เมล็ด งาเป็นทานนั้น ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพอันยิ่งใหญ่ ดิฉันขอบอกแก่ท่าน ครั้งดิฉันยังเป็นมนุษย์อยู่ได้ทำบุญ คือ ถวายเมล็ดงาเป็นทานอันใดไว้ เพราะการถวายเมล็ดงาเป็นทานนั้น ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งโรจน์ถึงอย่างนี้ และรัศมีกายของดิฉันก็สว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.
จบ ติลทักขิณวิมานที่ ๑๐
๑๑. ปติพพตาวิมานที่ ๑
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในปติพพตาวิมานที่ ๑
[๑๑] พระมหาโมคคัลลานะถามว่า ดูกรนางเทพธิดาผู้มีอานุภาพอันยิ่งใหญ่ ท่านได้วิมานอันมีนกกระเรียน นกยูงทอง นกดุเหว่าดำ และนกดุเหว่าขาว ซึ่งมีทิพยานุภาพเที่ยวส่งเสียง อย่างไพเราะอยู่รอบด้าน ในวิมานนั้นเต็มไปด้วยดอกไม้หอมชื่นใจ วิจิตร ไปด้วยนานาประการ แวดล้อมไปด้วยเทพบุตรและเทพธิดา อนึ่ง หมู่ นางเทพอัปสรเหล่านี้มีฤทธิ์ นิรมิตรูปร่างขึ้นแปลกๆ กันเป็นอันมาก ฟ้อนรำขับร้องอยู่รอบข้าง ให้ท่านมีความร่าเริงอยู่ ดูกรนางเทพธิดาผู้มี อานุภาพอันยิ่งใหญ่ ครั้งท่านยังเป็นมนุษย์ได้ทำบุญสิ่งใดไว้ จึงบรรลุ ความสำเร็จ ท่านมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีกายของท่านสว่าง ไสวไปทั่วทิศเพราะบุญอะไร? นางเทพธิดานั้น อันพระมหาโมคคัลลานะซักถามแล้ว มีใจยินดี ได้ พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกซักถามว่า ครั้งดิฉันยังเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ ได้เป็นผู้มีสัจจะมั่นในสามี ไม่ ประพฤตินอกใจ มีความจงรักต่อสามี เหมือนกับมารดารักบุตร แม้ดิฉัน จะโกรธเคืองก็ไม่กล่าวถ้อยคำอันหยาบคาย ละทิ้งการพูดเท็จเสีย ดำรง มั่นอยู่ในความสัตย์ ยินดีในการให้ทาน ตามปกติชอบสงเคราะห์ผู้อื่น เช่นกับสงเคราะห์ตน มีใจเลื่อมใส ได้ให้ข้าวและน้ำอย่างดีเป็นทาน โดยความเคารพ ด้วยความเป็นผู้ถือสัจจะมั่น เหตุนั้น ดิฉันจึงมีผิวพรรณ ถึงเช่นนี้ อิฐผลจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้ และโภคทรัพย์ทั้งหลายอัน เป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่างบังเกิดแก่ดิฉัน ก็เพราะความเป็นผู้ถือ สัจจะมั่นในสามีเป็นเหตุนั้น ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพอันยิ่งใหญ่ ดิฉันขอ บอกแก่ท่าน ครั้งดิฉันยังเป็นมนุษย์ ได้ทำบุญสิ่งใดไว้ เพราะบุญอันนั้น ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองถึงเช่นนี้ และรัศมีกายของดิฉันจึงสว่างไสวไป ทั่วทุกทิศ.
จบ ปติพพตาวิมานที่ ๑๑
๑๒. ปติพพตาวิมานที่ ๒
[๑๒] พระมหาโมคคัลลานะถามว่า ดูกรนางเทพธิดาผู้มีอานุภาพอันยิ่งใหญ่ ท่านได้ขึ้นวิมานมีเสา อันแล้ว ไปด้วยแก้วไพฑูรย์งดงาม มีแสงระยับตา ในวิมานของท่านนั้นวิจิตรไป ด้วยนานาประการ อนึ่ง หมู่นางเทพอัปสรเหล่านี้ มีร่างกายกระทัดรัด มีฤทธิ์นิรมิตตนได้ ฟ้อนรำขับร้องให้ท่านร่าเริงอยู่รอบข้าง ดูกรนาง เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก ครั้งท่านยังเป็นมนุษย์ ได้ทำบุญสิ่งใดไว้ จึงบรรลุความสำเร็จ ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองถึงอย่างนี้ และรัศมีกาย ของท่านจึงสว่างไสวไปทั่วทุกทิศเพราะบุญอะไร? นางเทพธิดานั้น อันพระมหาโมคคัลลานะซักถามแล้วมีใจยินดี ได้ พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกซักถามว่า ครั้งดิฉันยังเป็นมนุษย์อยู่ใน หมู่มนุษย์ ได้เป็นอุบาสิกาของพระจักขุมาตถาคตเจ้า เป็นผู้งดเว้นจาก การฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการลักทรัพย์ ยินดีเฉพาะสามีของตน ไม่กล่าว คำเท็จและไม่ดื่มน้ำเมา อนึ่ง ดิฉันมีใจเลื่อมใส ได้ให้ข้าวและน้ำอย่างดี เลิศเป็นทานโดยเคารพ ด้วยผลแห่งการถือสัจจะมั่นในสามีเป็นอาทินั้น ดิฉันจึงมีผิวพรรณถึงเช่นนี้ ด้วยผลแห่งการถือสัจจะมั่นในสามีเป็นเดิม นั้น อิฐผลจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้ และโภคทรัพย์ทั้งหลายอันเป็น ที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่าง จึงเกิดขึ้นแก่ดิฉัน ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพ อันยิ่งใหญ่ ดิฉันขอบอกแก่ท่าน ครั้งดิฉันยังเป็นมนุษย์อยู่ได้ทำบุญสิ่งใด ไว้ ดิฉันมีอานุภาพรุ่งเรืองถึงอย่างนี้ และรัศมีกายของดิฉันย่อมสว่างไสว ไปทั่วทุกทิศ ก็เพราะบุญสิ่งนั้น.
จบ ปติพพตาวิมานที่ ๑๒.
๑๓. สุณิสาวิมานที่ ๑
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในสุณิสาวิมานที่ ๑
[๑๓] พระมหาโมคคัลลานะถามว่า ดูกรนางเทพธิดา ท่านมีวรรณงาม มีรัศมีสว่างไสวฉายแสงไปทั่วทุกทิศ เหมือนกับดาวประกายพฤกษ์ เพราะทำบุญอะไรไว้ ท่านจึงมีผิวพรรณ งามถึงอย่างนี้ เพราะทำบุญอะไรไว้ อิฐผลจึงสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้ และโภคทรัพย์อันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่าง จึงเกิดขึ้นแก่ท่าน ดูกร นางเทพธิดาผู้มีอานุภาพอันยิ่งใหญ่ อาตมาขอถามท่าน ครั้งท่านยังเป็น มนุษย์อยู่ ได้ทำบุญสิ่งใดไว้ ท่านจึงมีอานุภาพอันรุ่งเรืองถึงอย่างนี้ อนึ่ง รัศมีกายของท่านสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะทำบุญอะไรไว้? นางเทพธิดานั้น อันพระมหาโมคคัลลานะซักถามแล้วมีใจยินดีได้พยากรณ์ ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามว่า ครั้นดิฉันยังเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ ได้เป็นบุตรสะใภ้อยู่ในตระกูล แห่งพ่อผัว ได้เห็นภิกษุผู้ปราศจากกิเลสธุลีมีอินทรีย์ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว ดิฉันเลื่อมใสได้ถวายขนมแก่ภิกษุรูปนั้นด้วยมือทั้งสองของตน ครั้น ถวายส่วนขนมกึ่งส่วนแล้ว ดิฉันจึงมาบันเทิงใจอยู่ในสวนนันทวันที่ ท่านเห็นอยู่นี้ ด้วยการทำบุญเช่นนั้น ดิฉันจึงมีผิวพรรณเช่นนี้ ด้วยการ ทำบุญเช่นนั้น อิฐผลจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้ อนึ่ง เพราะบุญนั้น โภคทรัพย์อันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่าง จึงเกิดแก่ดิฉัน เพราะบุญ นั้น ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีกายของดิฉันจึงสว่างไสว ไปทั่วทุกทิศ.
จบ สุณิสาวิมานที่ ๑๓.
๑๔. สุณิสาวิมานที่ ๒
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในสุณิสาวิมานที่ ๒
[๑๔] พระมหาโมคคัลลานะถามว่า แน่ะนางเทพธิดา ท่านมีวรรณงาม มีรัศมีสว่างไสวฉายแสงไปทั่วทุกทิศ เหมือนกับดาวประกายพฤกษ์ เพราะทำบุญอะไรไว้ ท่านจึงมีผิวพรรณ งามถึงอย่างนี้ เพราะทำบุญอะไรไว้ อิฐผลจึงสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้ และโภคทรัพย์อันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่างจึงเกิดขึ้นแก่ท่าน ดูกร นางเทพธิดาผู้มีอานุภาพอันยิ่งใหญ่ อาตมาขอถามท่าน ครั้งท่านยังเป็น มนุษย์อยู่ ได้ทำบุญสิ่งใดไว้ ท่านจึงมีอานุภาพอันรุ่งเรืองถึงอย่างนี้ อนึ่ง รัศมีกายของท่านสว่างไสวไปทั่วทุกทิศเพราะทำบุญอะไรไว้? นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีใจยินดีได้พยากรณ์ ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกซักถามว่า ครั้งดิฉันยังเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ ได้เป็นบุตรสะใภ้อยู่ในตระกูล แห่งพ่อผัว ได้เห็นภิกษุผู้ปราศจากกิเลสธุลี มีอินทรีย์ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว ดิฉันเลื่อมใสได้ถวายข้าวบาร์ลี และขนมถั่วเหลืองแก่ภิกษุรูปนั้นด้วยมือ ตนเอง ครั้นถวายแล้ว จึงมาบันเทิงใจอยู่ในสวนนันทวัน ด้วยการทำบุญ เช่นนั้น อิฐผลจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้ อนึ่ง เพราะบุญนั้น โภคทรัพย์ ทั้งหลายอันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่าง จึงเกิดแก่ดิฉัน ดิฉันจึงมี อานุภาพรุ่งเรืองถึงอย่างนี้ อนึ่ง รัศมีกายของดิฉันสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ก็เพราะบุญนั้นๆ.
จบ สุณิสาวิมานที่ ๑๔
๑๕. อุตตราวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในอุตตราวิมาน
[๑๕] พระมหาโมคคัลลานะถามว่า แน่ะนางเทพธิดา ท่านมีวรรณะงาม มีรัศมีสว่างไสวฉายแสงไปทั่วทุกทิศ เหมือนกับดาวประกายพฤกษ์ เพราะทำบุญอะไรไว้ ท่านจึงมีผิวพรรณงาม ถึงอย่างนี้ เพราะทำบุญอะไรไว้ อิฐผลจึงสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้ และ โภคทรัพย์อันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่าง จึงเกิดขึ้นแก่ท่าน ดูกร นางเทพธิดาผู้มีอานุภาพอันยิ่งใหญ่ อาตมาขอถามท่าน ครั้งท่านยังเป็น มนุษย์อยู่ได้ทำบุญสิ่งใดไว้ ท่านจึงมีอานุภาพอันรุ่งเรืองถึงอย่างนี้ อนึ่ง รัศมีกายของท่านสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะทำบุญอะไรไว้? นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีใจยินดีได้พยากรณ์ ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกซักถามว่า เมื่อครั้งดิฉันยังปกครองบ้านเรือนอยู่ ดิฉันไม่มีความริษยา ไม่มีความ ตระหนี่ ไม่เย่อหยิ่ง ไม่ตีเสมอ ไม่โกรธ ไม่ประพฤตินอกใจสามี ไม่ประมาทในวันอุโบสถและวันปกติ เข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ วัน ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำแห่งปักษ์ และ ตลอดปาฏิหาริยปักษ์ ระมัดระวังในนิจศีลและอุโบสถศีลอย่างเคร่งครัด ตลอดกาลทุกเมื่อ ขณะที่อยู่ในวิมาน ดิฉันมีความสำรวมจำแนกทาน ยินดี ในสิกขาบททั้ง ๕ คือ งดเว้นจากปาณาติบาตอย่างเด็ดขาด ๑ งดเว้นจาก ความเป็นขโมยอย่างห่างไกล ๑ ไม่ประพฤติล่วงประเวณี ๑ ระมัดระวัง ในการพูดเท็จ ๑ สำรวมการดื่มน้ำเมาอย่างเด็ดขาด ๑ ดิฉันเป็นผู้ฉลาดใน อริยสัจธรรม เป็นอุบาสิกาของพระโคดมผู้มีพระจักษุเปรื่องยศ ดิฉันนั้น ผู้ยิ่งยศโดยยศได้ก็เพราะศีลของตนเอง ดิฉันได้เสวยผลแห่งบุญของตน อยู่ จึงสุขกายสุขใจปราศจากโรค เพราะการกระทำและการประพฤติอย่าง นั้น ดิฉันจึงมีผิวพรรณถึงเช่นนี้ อิฐผลสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้ได้ ก็เพราะการกระทำและการประพฤติอย่างนั้น โภคทรัพย์อันเป็นที่รัก แห่งใจทุกสิ่งทุกอย่าง เกิดแก่ดิฉันก็เพราะการกระทำอย่างนั้น ข้าแต่ภิกษุ ผู้มีอานุภาพอันยิ่งใหญ่ ดิฉันขอบอกแก่ท่าน ครั้งดิฉันยังเป็นมนุษย์อยู่ ได้บำเพ็ญกิจและประพฤติสิ่งใดไว้ เพราะการกระทำและความประพฤติ นั้นดิฉันจึงมีอานุภาพอย่างรุ่งโรจน์ถึงเช่นนี้ อนึ่ง รัศมีกายของดิฉันสว่าง ไสวไปทั่วทุกทิศ ก็เพราะการกระทำและความประพฤตินั้น. ก็และนางเทพธิดาได้กราบเรียนต่อไปว่า ขอท่านได้กรุณานำไปกราบทูลแด่พระผู้มีพระ- *ภาคตามคำของดิฉันด้วยเถิดว่า นางอุตตราอุบาสิกา ขอถวายบังคมพระบาทยุคลของพระผู้มีพระ- *ภาคด้วยเศียรเกล้า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้อที่พระผู้มีพระภาคพึงทรงพยากรณ์ดิฉัน ในสามัญผล อย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ไม่น่าอัศจรรย์เลย แต่ข้อที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ดิฉันในสกทาคามิผล นั้นน่าอัศจรรย์.
จบ อุตตราวิมานที่ ๑๕
๑๖. สิริมาวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในสิริมาวิมาน
[๑๖] พระวังคีสเถระประสงค์จะให้นางสิริมาเทพธิดา ได้ประกาศบุญกรรมที่นางทำไว้ ในครั้งก่อน จึงย้อนถามนางด้วยคาถาสองคาถา ความว่า ดูกรนางงามประจำชั้นไตรทศ ผู้มีร่างกายสะโอดสะอง ฉันจะขอถามท่าน การที่ท่านเข้าถึงความเป็นผู้มีสกลกาย และยานพาหนะอย่างประเสริฐเลิศ ยิ่ง คือ ท่านมีรถถึง ๕๐๐ คัน บุญกรรมเนรมิตมาให้โดยเฉพาะ ทั้งเทียม แล้วด้วยม้าอาชาไนยหลายตัว ทุกๆ ตัวเครื่องประดับประจำ ล้วน เครื่องสูง มันพากันก้มหน้าลง ในขณะที่ท่านจะลงมาจากเทวโลกและ เหินไปตามอากาศได้ มีกำลังฉับเฉี่ยว ม้าอาชาไนยทุกม้า อันบุญกรรม ดังนายสารถีเร่งแล้วก็พาตัวท่านไปได้ ท่านนั้นขณะที่ยืนอยู่บนรถอัน เพริศแพร้วที่บุญกรรมตกแต่งมาให้แล้ว ก็สว่างไสวคล้ายกับไฟกำลังโชติ ช่วงอยู่เช่นนี้ เพราะได้ทำบุญสิ่งใดไว้? นางเทพธิดาอันพระเถระถามแล้ว เมื่อจะประกาศการกระทำของตนให้ประจักษ์ จึงตอบเป็นคาถาความว่า พระคุณเจ้าพูดถึงหมู่ทวยเทพชั้นปรนิมมิตวสวัสดี ซึ่งเป็นผู้เลิศโดยเชิง ภพที่อยู่ และโภคสมบัติหมู่ใดว่า เป็นทวยเทพที่เยี่ยมหาที่เปรียบมิได้ ทวยเทพเหล่านั้น ก็มีความสุขสบายแต่ในภพและโภคสมบัติที่ทวยเทพ พวกอื่นมาเนรมิตให้เท่านั้น เพราะฉะนั้น ทวยเทพที่มีหน้าที่เนรมิต ภพและโภคสมบัติให้ คือพวกที่พระคุณเจ้าพูดถึงอยู่นี้ จึงได้นามว่า "นิมมานรดี" เป็นนางฟ้าที่มีร่างกายและผิวพรรณงดงามอันก่อให้เกิด ความงวยงงเพราะความรัก เดี๋ยวนี้มาถึงมนุษยโลกนี้แล้วเพื่อจะถวาย บังคมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อนางเทพธิดาประกาศความที่ตนเป็นนิมมานรดีเทพ ให้ปรากฏเช่นนี้แล้ว พระเถระ ใคร่จะถามถึงบุญกรรมที่นางให้ก่อสร้างไว้ในชาติก่อน จึงได้ภาษิตสองคาถาความว่า ชาติก่อนแต่จะเป็นนางเทพธิดานี้ ท่านได้สั่งสมสุจริตกรรมอย่างไรไว้ ท่านมียศบริวารอยู่มากมาย เปี่ยมไปด้วยความสุข สำหรับตัวท่านเล่า ก็มีฤทธิ์และอำนาจพ้นจากสิ่งธรรมดาสูงเยี่ยม และมักเหาะไปในอากาศ ได้ (เช่นนี้) เพราะบุญกรรมอะไร อนึ่ง รัศมีกายของท่านก็สว่างไสวไป ทั่วทุกทิศ และท่านเล่าก็มีมวลเทพเจ้าเกรงกลัวและห้อมล้อมอยู่รอบ ท่านจุติมาจากคติไหนจึงมาถึงสุคตินี้ แม่เทพธิดา อนึ่ง ท่านได้ทำตาม ด้วยอาการยอมรับเอาโอวาทานุสาสนีในศาสนปาพจน์ของพระศาสดาองค์ ไหน หากท่านเป็นสาวิกาของพระพุทธเจ้าจริงไซร้ ขอท่านได้โปรดตอบ คำถามของฉันนี้แก่ฉันด้วย? เมื่อนางเทพธิดา จะตอบเนื้อความตามที่พระเถระถามอย่างนี้ จึงกล่าวตอบด้วยคาถา เหล่านี้ความว่า ดิฉันเป็นพระสนมของพระเจ้าพิมพิสารผู้ประเสริฐ มีศิริ อยู่ในพระนคร ราชคฤห์ ซึ่งตั้งอยู่ในระหว่างภูเขา อันเป็นนครที่แออัดไปด้วยนักปราชญ์ ดิฉันมีความชำนาญในการฟ้อนรำขับร้องชั้นเยี่ยม ชาวเมืองในกรุง ราชคฤห์ เขาพากันเรียกดิฉันว่า "นางสิริมา" พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ องอาจในจำพวกผู้แสวงหาคุณอันประเสริฐ ผู้แนะนำสัตว์โลกให้เป็นผู้ พิเศษ ได้ทรงแสดงความไม่เที่ยงแห่งของจริง คือ เหตุเกิดของทุกข์ และทางให้ถึงความดับทุกข์ อันเป็นธรรมที่ไม่มีปัจจัยอะไรปรุงแต่ง เป็น ทางถาวร ทางตรง เป็นทางสุขเกษมแก่ดิฉัน ครั้นดิฉันฟังธรรมอัน เป็นทางไม่ตาย ไม่มีเหตุปัจจัยอะไรปรุงแต่งได้ ซึ่งเป็นคำสอนของพระ ตถาคตผู้ประเสริฐแล้ว จึงเป็นผู้สำรวมอย่างเคร่งครัดในศีลทั้งหลาย ดำรงมั่นอยู่ในธรรมปฏิบัติ ที่พระพุทธเจ้าผู้เลิศกว่านรชนทรงแสดงไว้ แล้ว ครั้นดิฉันรู้จักบทอันปราศจากธุลี ซึ่งหาเหตุปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ ที่พระตถาคตผู้ประเสริฐทรงแสดงไว้นั้น ดิฉันจึงได้บรรลุสมาธิอันเกิด จากความสงบจิตใจในอัตภาพนั้นเอง ดิฉันนั้นจึงได้มีความแน่นอนใน มรรคผลอันเป็นธรรมชั้นเยี่ยมขึ้น ครั้นดิฉันได้ฟังธรรมอันประเสริฐ อันไม่เกิดไม่ตายอย่างวิเศษแล้ว จึงหมดความเคลือบแคลงในพระรัตน- ตรัย มีความรู้พิเศษในการรู้อริยสัจธรรม หมดความสงสัยในสิ่งทั้งปวง จึงควรเป็นที่บูชาของชุมนุมชน ได้รับผลคือความสุขอันมั่นคง เป็นเครื่อง ตอบแทนมากมาย โดยทำนองตามที่กราบเรียนมานี้ ดิฉันจึงเป็นนางเทพ ธิดาผู้เห็นนิพพาน เป็นสาวิกาของพระตถาคตผู้ประเสริฐ เป็นผู้ได้เห็น ธรรมตามความเป็นจริง เป็นผู้ตั้งอยู่ในผลขั้นแรก คือ เป็นพระโสดาบัน ก็ทุคติย่อมไม่มีแก่ดิฉันอีก ดิฉันนั้นมาเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประ- เสริฐ ก็เพื่อจะถวายบังคม และนมัสการภิกษุทั้งหลายที่น่าเลื่อมใส ผู้ยินดีในธรรมอันไม่มีโทษ และเพื่อจะนมัสการสถานที่ๆ พระสมณะ ประชุมกัน อันเป็นสถานที่มีธรรมเกษม ดิฉันเป็นผู้มีความเคารพใน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงพระศิริ เป็นพระธรรมราชา ครั้นได้เห็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนักปราชญ์แล้ว ก็อิ่มเอิบปลาบปลื้มใจ ดิฉัน ขอถวายบังคมพระตถาคต ผู้เป็นสารถีของบุคคลที่ควรฝึกอย่างยอดเยี่ยม ทรงตัดตัณหาเสียได้ ทรงยินดีแล้วในกุศลธรรม ผู้ทรงแนะนำประชุมชน ให้พ้นจากทุกข์ได้ ผู้ทรงอนุเคราะห์สัตว์โลกในทางที่เป็นประโยชน์ อย่างยิ่ง.
จบ สิริมาวิมานที่ ๑๖.
๑๗. เปสการิยวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในเปสการิยวิมาน
[๑๗] นางเปสการีเทพธิดาชมวิมานของตนเองด้วยคาถา กึ่งคาถาความว่า วิมาน หลังนี้เป็นวิมานงามรุ่งเรือง มีเสาล้วนแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ ใหญ่โต สะอาดสะอ้าน ล้อมรอบด้วยต้นไม้ทองคำ วิมานหลังนี้เกิดเพราะผล กรรมของเรา นางเทพอัปสรตั้งแสนเหล่านี้ ซึ่งเกิดประจำในวิมาน ก็เพราะกรรมของเรา สมเด็จอัมรินทราธิราช มีเทวโองการตรัสถามด้วยคาถาสองคาถากึ่งความว่า ท่านเป็นผู้เพรียบพร้อมไปด้วยบริวาร มีรัศมีกายแผ่ซ่านกว่าเทพเจ้าที่เกิด ก่อน พระจันทร์มีรัศมีสุกสะกาวยิ่งกว่าหมู่ดาวนักขัตฤกษ์ ฉันใด ท่าน ก็รุ่งเรืองสุกใสกว่านางเทพอัปสรทั้งหมด โดยเชิงบริวาร ฉันนั้นเหมือน กัน แน่ะนางงามผู้มีพักตร์ควรพิศ ท่านมาจากภพไหน จึงได้มาเกิดที่ภพ ของเรานี้ เทพเจ้าชาวไตรทศรวมหมดทั้งพระอินทร์ พระพรหม ดูเหมือน จะไม่รู้สึกอิ่มในการดูท่าน? นางเทพธิดา อันสมเด็จอัมรินทราธิราชมีเทวโองการตรัสถามอย่างนั้น เมื่อจะประกาศ เนื้อความนั้น จึงกล่าวคาถาสองคาถาความว่า ขอเดชะ พระองค์ผู้องอาจ พระองค์ตรัสถามหม่อมฉันถึงตระกูลเดิม ของหม่อมฉันว่า ท่านจุติมาจากภพไหนจึงได้มาเกิดที่ภพของเรานี้ หม่อม ฉันได้จุติมาจากกรุงพาราณสี ซึ่งเป็นบุรีของแคว้นกาสี เมื่อก่อนขณะ ที่อยู่ในนครนั้น หม่อมฉันเป็นธิดานายช่างหูก ผู้มีใจเลื่อมใสใน พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งหม่อมฉันได้ถึงแล้วโดย ใกล้ชิด ไม่มีความสงสัย มีสิกขาบทอันได้สมาทานแล้ว ไม่ด่างพร้อย ได้สำเร็จอริยผล เป็นผู้แน่นอนในทางที่จะตรัสรู้ซึ่งธรรม ของสัมมาสัม- พุทธเจ้า เป็นผู้มีพระอนามัยดี. สมเด็จอัมรินทราธิราช เมื่อจะทรงอนุโมทนาบุญสมบัติ ของนางเทพธิดานั้น จึงตรัสคาถาถึ่งความว่า เราขอแสดงความยินดีต่อท่านผู้มาในที่นี้ได้โดยสวัสดี ท่านเป็นผู้รุ่งเรือง ด้วยยศ มีใจเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์อย่าง ใกล้ชิด ไม่มีความสงสัย เป็นผู้ตั้งอยู่ในสิกขาบทอย่างบริบูรณ์ เป็นได้ สำเร็จอริยผล เป็นคนหมดโรค ควรที่จะได้ตรัสรู้ธรรมของพระสัมมา- สัมพุทธเจ้าแน่นอน.
จบเปสการิยวิมานที่ ๑๗.
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปิฐวิมานที่ ๑ ๒. ปิฐวิมานที่ ๒ ๓. ปิฐวิมานที่ ๓ ๔. ปิฐวิมานที่ ๔ ๕. กุญชรวิมาน ๖. นาวาวิมานที่ ๑ ๗. นาวาวิมานที่ ๒ ๘. นาวาวิมานที่ ๓ ๙. ปทีปวิมาน ๑๐. ติลทักขิณาวิมาน ๑๑. ปติพพตาวิมานที่ ๑ ๑๒. ปติพพตาวิมานที่ ๒ ๑๓. สุณิสาวิมานที่ ๑ ๑๔. สุณิสาวิมานที่ ๒ ๑๕. อุตตราวิมาน ๑๖. สิริมาวิมาน ๑๗. เปสการิยวิมาน.
จบ วรรคที่ ๑ ในอิตถีวิมาน.
-----------------------------------------------------
จิตตลดาวรรคที่ ๒
๑. ทาสีวิมาน
ว่าด้วยบุญที่ทำให้ไปเกิดในทาสีวิมาน
[๑๘] ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า ท่านผู้แวดล้อมด้วยหมู่นางเทพนารี เที่ยวชมไปโดยรอบในสวนจิตตลดา- วันอันน่ารื่นรมย์ ประดุจท้าวสักกเทวาธิราช ยังทิศทั้งปวงให้สว่างไสว เหมือนดาวประกายพฤกษ์ ท่านมีวรรณะเช่นนี้ เพราะกรรมอะไร อิฐผล ย่อมสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้ เพราะกรรมอะไร ประการหนึ่ง โภคสมบัติ ต่างๆ อันเป็นเครื่องปลื้มใจ ย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านเพราะกรรมอะไร ดูกร นางเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน ครั้งเมื่อท่านเกิดเป็น มนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้ ท่านเป็นผู้มีอานุภาพรุ่งเรืองเช่นนี้ และมี รัศมีสว่างไสวไปทั่วทิศ เพราะบุญกรรมอะไร? นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลื้มใจ จึง ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ครั้งเมื่อดิฉันเกิดเป็น มนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ ได้เป็นทาสีหญิงรับใช้ในตระกูลแห่งชนอื่น ดิฉันนั้นเป็นอุบาสิกาของพระสมณโคดม ผู้มีพระจักษุและพระเกียรติยศ เมื่อดิฉันรักษาศีล ทำมนสิการในกรรมฐานอยู่ ๑๖ ปี กรรมฐานกล่าวคือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการได้สำเร็จแก่ดิฉัน ด้วยอานุภาพแห่งการ มนสิการนั้น การออกไปจากกิเลสได้เกิดมีแก่ดิฉัน ในศาสนาของพระ สมณโคดมผู้ทรงพระคุณคงที่ เพราะมีมนสิการมั่นอยู่ในจิตว่า แม้ถึง ร่างกายนี้จะแตกทำลายไปก็ตามที การที่จะหยุดความเพียรในการเจริญ กรรมฐานนี้ เป็นอันไม่มีเป็นอันขาด ขอท่านจงดูผลแห่งความเพียร เป็นเหตุก้าวไปสู่คุณเบื้องหน้า กล่าวคือความสวัสดี ความเกษม ความปราศจากเสี้ยนหนามคือกิเลส สภาวะที่หาเครื่องยึดเหนี่ยวมิได้ ความซื่อตรง และองค์อริยมรรค ที่สัตบุรุษทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้า เป็นต้นประกาศแล้ว อันเป็นอุปนิสัยสืบเนื่องมาจากการรักษาสิกขาบท ๕ ประการของดิฉันนั้น อันเป็นเหตุให้บรรลุซึ่งผลอันนี้ ดิฉันเป็นที่โปรด ปรานและคุ้นเคยกับท้าวสักกเทวราช เทพบุตรอันมีนามว่าอาลัมพะ คัคคมะ ภีมะ สาธุวาที ปสังสิยะ โปกขรา และสุผัสสะ และเหล่า เทพธิดาน้อยๆ อันมีนามว่า วีณา โมกขา นันทา สุนันทา โสณทินนา สุจิมหิตา อาลัมพุสา มิสสเกสี และนางบุณฑริกา ได้ทำการบำเรอ ปลุกปลื้มแก่ดิฉัน ด้วยดนตรีทิพย์มีประมาณได้หกหมื่น และนางเทพ กัญญาเหล่านี้ คือ นางเอนิปัสสา นางสุปัสสา นางสุภัททา นางมุทุกาวที ผู้ประเสริฐกว่า นางเทพอัปสรทั้งหลาย และนางเทพกัญญาเหล่าอื่นผู้บำรุง บำเรอ นางเทพอัปสรทั้งหลายเหล่านั้น ได้เข้ามาสู่ที่ใกล้ชิดตามกาล อันควร สนองเสนอดิฉันด้วยวาจาที่น่ายินดีว่า เอาเถอะ พวกดิฉันจัก ฟ้อนรำ ขับร้อง จักยังท่านให้รื่นรมย์ ดังนี้ ฐานะที่ดิฉันได้รับในบัดนี้ ย่อมไม่มีแก่ผู้ที่ไม่ได้ทำบุญไว้ ฐานะที่หาความโศกมิได้ น่าเพลิดเพลิน น่ารื่นรมย์ เป็นอุทยานใหญ่ของเทวดาชาวไตรทศเช่นนี้ ย่อมเกิดมีสำหรับ ผู้มีบุญเท่านั้น ผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ ย่อมไม่มีความสุขทั้งในโลกนี้และโลก หน้า ส่วนผู้มีบุญอันได้บำเพ็ญแล้ว ย่อมมีความสุขทั้งในโลกนี้และโลก หน้า อันบุคคลผู้ปรารถนา เพื่อสถิตร่วมกับเทวดาชาวไตรเทศเหล่านั้น ควรจะบำเพ็ญกุศลไว้ให้มาก เพราะว่าผู้มีบุญอันก่อสร้างไว้แล้ว ย่อม เพรียบพร้อมด้วยโภคสมบัติ ร่าเริงบันเทิงอยู่ในสวรรค์.
จบ ทาสีวิมานที่ ๑.
๒. ลขุมาวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในลขุมาวิมาน
[๑๙] พระมหาโมคคัลลานเถระ เมื่อขณะท่องเที่ยวอยู่ ณ เทวสถานได้ถามนางเทพธิดา ตนหนึ่งว่า ดูกรนางเทพธิดา ท่านเป็นผู้มีรัศมีงามยิ่งนัก ส่องสว่างไสวไปทั่วทิศ สถิตอยู่ ประดุจดาวประจำรุ่ง ฉะนั้น ท่านมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญ กรรมอะไร ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทิศ เพราะบุญกรรมอะไร? นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลื้มใจ ได้ พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า เมื่อดิฉันยังเป็นมนุษย์อยู่ บ้านของดิฉันตั้งอยู่ใกล้กับประตูบ้านชาวประมง ดิฉันได้ถวายข้าวสุก ขนมกุมมาส ผักดอง และน้ำเครื่องดื่ม เจือด้วยรสต่างๆ แก่พระ สาวกทั้งหลายผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ยิ่ง ซึ่งออกจากประตูบ้านชาวประมง กำลังท่องเที่ยวไปในบ้านของดิฉันนั้น ประการหนึ่ง ดิฉันเป็นผู้มีจิต เลื่อมใสในพระอริยสาวกผู้มีจิตอันซื่อตรง ได้เข้ารักษาอุโบสถศีลอัน ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ๘ ค่ำ และ ตลอดปาฏิหาริยปักษ์ เป็นผู้สังวรด้วยดีในองค์ศีลทุกเมื่อ เป็นผู้สำรวม และจำแนกทาน จึงได้ครอบครองวิมานนี้ เป็นผู้เว้นจากปาณาติบาต เว้นขาดจากการเอาสิ่งของของผู้อื่นด้วยไถยจิต จากการประพฤติล่วง ละเมิดในกาม สำรวมจากมุสาวาท และจากการดื่มน้ำเมา เป็นผู้ยินดี ในเบญจศีล ฉลาดในอริยสัจ เป็นอุบาสิกาของพระสมณโคดมผู้มี พระจักษุ และพระเกียรติยศ ดิฉันมีวรรณะเช่นนี้เพราะบุญกรรมนั้น ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสว ไปทั่วทุกทิศ ประการหนึ่ง ขอท่านผู้เจริญพึง ถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า แล้วทูลตาม คำของดิฉันว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสิกาชื่อลขุมา ถวายบังคม พระบาททั้งคู่ของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็การ ที่พระผู้มีพระภาคพึงทรงพยากรณ์ดิฉันในสามัญผล อย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ไม่น่าอัศจรรย์ แต่การที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ดิฉัน ในสกทาคามิผล นั้น น่าอัศจรรย์แท้จริง.
จบ ลขุมาวิมานที่ ๒.
๓. อาจามทายิกาวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในอาจามทายิกาวิมาน
[๒๐] ท้าวสักกเทวราชเมื่อจะตรัสถามถึงที่เกิดแห่งหญิงนั้น กะพระมหากัสสปเถระ จึงตรัสคาถาสองคาถาความว่า หญิงขัดสน เป็นคนกำพร้า อาศัยชายคาเรือนของคนอื่นอยู่ มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายข้าวตังแด่พระคุณเจ้าผู้เที่ยวไปบิณฑบาต ซึ่งมาหยุดยืนนิ่งอยู่ เฉพาะหน้า ด้วยมือของตนเอง ครั้นละจากอัตภาพมนุษย์แล้ว ได้ไป บังเกิดในฉกามาพจรสวรรค์ชั้นไหนหนอ? พระมหากัสสปเถระถวายพระพรว่า หญิงขัดสน เป็นคนกำพร้า อาศัยชายคาเรือนของคนอื่นอยู่ มีจิต เลื่อมใส ได้ถวายข้าวตังแก่อาตมภาพผู้กำลังเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต ซึ่งมายืนหยุดนิ่งเฉพาะหน้า ด้วยมือของตนเองนั้น ครั้นละจากอัตภาพ มนุษย์ จุติจากมนุษยโลกนี้พ้นไปแล้ว ได้บังเกิดเป็นเทพธิดาผู้มี ฤทธิ์มาก อยู่ ณ ชั้นนิมมานรดี ถึงความสุขอันเป็นทิพย์ ร่าเริง บันเทิงใจอยู่ในชั้นนิมมานรดีนั้น เหตุสักว่าอาจามทานฯ ท้าวสักกเทวราชกล่าวสรรเสริญทานนั้นว่า น่าอัศจรรย์จริงหนอ ทานของคนกำพร้าไร้ญาติ เป็นทานที่นำมาแต่ ผู้อื่นแล้ว ได้นอบน้อมถวายแก่พระมหากัสสป สำเร็จเป็นทักษิณา มากถึงเพียงนี้ นางแก้วผู้งามทั่วสรรพางค์ สามีไม่จืดจางในการมอง ชม ได้รับอภิเษกเป็นเอกอัครมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ยังไม่ เทียบเท่าเสี้ยวที่ ๑๖ ของอาจามทานนี้ ทองคำแท่งมีปริมาณตั้งร้อยก็ดี ม้ามีกำลังเร็วมีปริมาณตั้งร้อยก็ดี ราชรถอันเทียมด้วยม้าอัสดรตั้งร้อย ก็ดี นางราชกัญญาอันประดับประดาแล้วด้วยแก้วมุกดา และแก้วมณี และต่างหูมีปริมาณตั้งแสนก็ดี ก็ยังไม่เทียบเท่าเสี้ยวที่ ๑๖ ของอาจาม- ทานนี้ คชสารตัวประเสริฐเกิดแต่ป่าหิมพานต์ เป็นคชสารตระกูลมา- ตังคะ มีงางามงอนดุจงอนรถ มีสายรัดแล้วด้วยทองคำ มีข่ายทองคำ ปกเหนือกระพองศีรษะ มีประมาณตั้งร้อยเชือก ก็ยังไม่เทียบเท่าเสี้ยว ที่ ๑๖ ของอาจามทานนี้ ถึงแม้พระเจ้าจักรพรรดิ ได้เสวยราชสมบัติ เป็น ใหญ่ในมหาทวีปทั้งสี่ ก็ยังไม่เทียบเท่าเสี้ยวที่ ๑๖ ของอาจามทานนี้.
จบ อาจามทายิกาวิมานที่ ๓
๔. จัณฑาลิวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในจัณฑาลิวิมาน
[๒๑] พระมหาโมคคัลลานเถระได้กล่าวคาถาสองคาถาความว่าแน่ะยายจัณฑาล ท่านจงถวายอภิวาทพระบาทยุคลของพระสมณโคดมผู้อุดม ด้วยพระ- เกียรติยศ พระองค์ผู้ประเสริฐกว่าผู้วิเศษทั้งหลาย ได้ประทับยืนอยู่เพื่อ ทรงอนุเคราะห์ท่านคนเดียวเท่านั้น ท่านจงยังจิตให้เลื่อมใสยิ่ง ใน พระพุทธเจ้าผู้ห่างไกลจากกิเลสทั้งมวล เป็นผู้หนักแน่น แล้วจงประคอง หัตถ์ถวายอภิวาทโดยเร็วเถิด ชีวิตของท่านยังเหลือน้อยเต็มที. เพื่อจะแสดงประวัติของหญิงจัณฑาลนั้นโดยตลอด ท่านพระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวคาถา สองคาถานี้ว่า หญิงจัณฑาลผู้นี้มีตนอันอบรมแล้ว ดำรงไว้ซึ่งสรีระอันเป็นที่สุด อัน พระมหาเถระตักเตือนแล้ว จึงถวายบังคมพระบาทยุคลของพระสมณ- โคดม ผู้อุดมด้วยพระเกียรติยศ แต่โคนมได้ขวิดนางในขณะที่กำลังยืน ประคองหัตถ์ นมัสการพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ส่องแสงสว่าง คือ พระญาณในโลกอันมืดมัว. เพื่อประกาศข้อความเป็นไปของตน นางเทพธิดาจึงกล่าวว่า ข้าแต่ท่านวีรบุรุษผู้มีอานุภาพมาก พวกดิฉันถึงแล้วซึ่งความเป็นผู้มีฤทธิ์ อันประเสริฐ เข้ามาขอถวายนมัสการท่านผู้สิ้นอาสวะปราศจากกิเลสธุลี เป็นผู้ไม่หวั่นไหว. พระมหาโมคคัลลานเถระจึงกล่าวกะนางนั้นว่า ท่านทั้งหลายผู้มีรัศมีอร่ามงามรุ่งโรจน์ มากด้วยเกียรติยศ ประดับประดา ด้วยเครื่องอาภรณ์งามวิจิตรพิสดาร แวดล้อมด้วยหมู่นางอัปสรพากันลง มาจากวิมาน แนะแม่เทพธิดาผู้มีคุณอันงาม ท่านเป็นใคร มาไหว้ ฉันอยู่ นางเทพธิดานั้น อันพระมหาเถระถามอย่างนี้ จึงกล่าวคาถา ๔ คาถา ความว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อดิฉันยังเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก เป็นหญิง จัณฑาล อันท่านผู้เป็นวีรบุรุษส่งไปเพื่อถวายบังคมพระบาทของพระ- พุทธเจ้า ดิฉันได้ถวายบังคมพระบาทยุคลของพระสมณโคดมผู้เป็น พระอรหันต์ มีพระเกียรติยศอันงาม ครั้นได้ถวายบังคมพระบาทยุคล แล้ว เคลื่อนจากกำเนิดหญิงจัณฑาลไปบังเกิดในวิมาน อันเพรียบพร้อม ด้วยสมบัติทั้งปวงในเทวราชอุทยานมีนามว่านันทวัน นางเทพอัปสร ประมาณพันหนึ่งได้พากันมายืนห้อมล้อมดิฉัน ดิฉันเป็นผู้ประเสริฐเลิศ กว่านางเทพอัปสรเหล่านั้นโดยรัศมี เกียรติยศ และอายุ ดิฉันได้กระทำ กรรมอันงามมากมาย มีสติสัมปชัญญะ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกดิฉันพา กันมาครั้งนี้ เพื่อถวายนมัสการท่านผู้เป็นนักปราชญ์ ประกอบด้วยความ เอ็นดูในโลก. นางเทพธิดานั้น ครั้นกล่าวถ้อยคำนี้แล้ว เป็นผู้ประกอบด้วยความ กตัญญูกตเวที ไหว้เท้าทั้งสองของพระมหาโมคคัลลานเถระ องค์อรหันต์ แล้วก็อันตรธานไป ณ ที่นั้นนั่นเอง.
จบ จัณฑาลวิมานที่ ๔.
๕. ภัททิตถิกาวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในภัททิตถิกาวิมาน
[๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสถามถึงบุรพกรรมที่นางภัททาเทพธิดานั้นได้กระทำไว้ ว่าท่านผู้มีกายอันมีรัศมีสีสรรต่างๆ บ้างเขียว บ้างเหลือง บ้างดำ หงสบาท และแดง แวดล้อมด้วยกลีบเกสรดอกไม้ มีเกศเกล้าอันแพรวพราวด้วย พวงมณฑาทิพย์ ดูกรนางผู้มีปัญญาดี ต้นไม้เหล่านี้ย่อมไม่มีในหมู่เทวดา เหล่าอื่น ดูกรนางผู้เลอยศ ท่านได้บังเกิดในหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์ เพราะ กรรมอะไร ดูกรนางเทพธิดา ขอท่านจงแถลงข้อที่เราถาม ผลเช่นนี้แห่ง กรรมอะไร? นางเทพธิดา เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้แล้ว จึงกราบทูลพยากรณ์ด้วยคาถา เหล่านี้ว่า หม่อมฉันเป็นอุบาสิกาอยู่ในกิมพิลนคร ชนทั้งหลายรู้จักหม่อมฉันชื่อ ว่า ภัททิตถิกา หม่อมฉันเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศรัทธา และศีล ยินดีใน การจำแนกทานทุกเมื่อ มีจิตอันผ่องใส ได้ถวายผ้านุ่งห่ม ภัตตาหาร เสนาสนะ และประทีปพร้อมด้วยเครื่องอุปกรณ์ ในพระอริยเจ้าผู้ปฏิบัติ ซื่อตรง หม่อมฉันได้เข้ารักษาอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการใน ดิถีที่ ๑๔-๑๕ และดิถีที่ ๘ ของปักษ์ ตลอดปาฏิหาริยปักษ์ เป็น ผู้สำรวมแล้วด้วยดีในศีลทุกเมื่อ คือ งดเว้นจากปาณาติบาต เป็นผู้เว้น ขาดจากการถือเอาสิ่งของของผู้อื่นด้วยไถยจิต จากการประพฤติผิดในกาม สำรวมจากมุสาวาท และจากการดื่มน้ำเมา เป็นผู้ยินดีในสิกขาบททั้ง ๕ และเป็นผู้ฉลาดในอริยสัจ เป็นอุบาสิกาของพระพุทธเจ้าผู้มีพระสมันต- จักษุ มีปกติเป็นอยู่ด้วยความไม่ประมาท หม่อมฉันได้บำเพ็ญสุจริต ธรรมความชอบสำเร็จแล้ว จุติจากมนุษยโลกนั้นแล้ว เป็นนางเทพธิดา ผู้มีรัศมีกายอันรุ่งโรจน์ เที่ยวเชยชมอยู่ในสวนนันทวัน อนึ่ง หม่อมฉัน ได้เลี้ยงดูท่านภิกษุผู้เป็นอัครสาวกทั้งสอง ผู้อนุเคราะห์ชาวโลกด้วย ประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่ง ผู้เพรียบพร้อมด้วยตบะธรรม เป็นจอมปราชญ์ และได้บำเพ็ญสุจริตธรรมความชอบไว้มาก ครั้นจุติจากมนุษยโลกนั้น แล้ว ได้บังเกิดเป็นเทพธิดา ผู้มีรัศมีกายอันสว่างไสว เที่ยวเชยชม อยู่ในสวนนันทวัน หม่อมฉันได้เข้ารักษาอุโบสถ อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ มีคุณอันกำหนดมิได้ นำมาซึ่งความสุขเนืองนิตย์ และได้ สร้างกุศลธรรมความชอบไว้บริบูรณ์แล้ว ครั้นจุติจากมนุษยโลกนั้นแล้ว ได้บังเกิดเป็นนางเทพธิดาผู้มีรัศมีกายอันรุ่งเรือง เที่ยวเชยชมอยู่ในเทพ อุทยานนันทวัน.
จบ ภัททิตถิกาวิมานที่ ๕.
๖. โสณทินนาวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในโสณทินนาวิมาน
[๒๓] พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้สอบถามนางเทพธิดาตนหนึ่งด้วยคาถา ความว่า ดูกรแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไป ทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ เพราะทำบุญอะไรไว้ ท่านจึง มีผิวพรรณงามเช่นนี้ เพราะทำบุญอะไรไว้ อิฐผลสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้ และโภคทรัพย์อันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่างจึงเกิดขึ้นแก่ท่าน แน่ะ แม่เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน เมื่อท่านยังเป็นมนุษย์ ได้กระทำบุญสิ่งใดไว้ และเพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง ถึงเพียงนี้ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ? นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ดิฉันเป็นอุบาสิกาอยู่ใน พระนครนาลันทา ชนชาวนาลันทานครรู้จักดิฉันว่า โสณทินนาเป็น ผู้สมบูรณ์ด้วยศรัทธาและศีล ยินดีแล้วในทานบริจาคเสมอ ได้ถวายผ้า นุ่งห่ม ภัตตาหาร เสนาสนะ และประทีปพร้อมด้วยเชื้อ ในพระอริยเจ้า ผู้มีจิตเที่ยงธรรมเป็นอันมาก ด้วยจิตอันผ่องใส ดิฉันได้เข้ารักษา อุโบสถศีลอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ทุกวัน ๑๔-๑๕ ค่ำ และ วัน ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ และตลอดปาฏิหาริยปักษ์ด้วย เป็นผู้สำรวมด้วย ดีในองค์ศีลทุกเมื่อ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต เว้นห่างไกลจาก อทินนาทาน และการประพฤติผิดในกาม สำรวมจากมุสาวาท และจาก การดื่มน้ำเมา ดิฉันเป็นอุบาสิกาของพระสมณโคดมผู้มีพระจักษุ และ พระเกียรติยศ เป็นผู้ยินดีในสิกขาบททั้ง ๕ มีปัญญาเฉลียวฉลาดใน อริยสัจ ดิฉันจึงมีรัศมีงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญนั้น.
จบ โสณทินนาวิมานที่ ๖.
๗. อุโบสถวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในอุโบสถวิมาน
[๒๔] ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามถึงบุรพกรรมของนางเทพธิดานั้นว่า ดูกรแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีผิวพรรณ งามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรม อะไร? นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ดิฉันเป็นอุบาสิกาอยู่ในเมืองสาเกต ประชาชนเรียกดิฉันว่าแม่อุโบสถ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศรัทธาและศีล ... ได้เป็นอุบาสิกาของพระสมณโคดม ผู้มีพระจักษุ สมบูรณ์ด้วยพระเกียรติยศ เพราะบุญกรรมนั้น ดิฉันจึง มีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะ บุญนั้น. เมื่อจะแสดงโทษของตน นางเทพธิดานั้นจึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาอีกว่า ความพอใจได้เกิดมีแก่ดิฉัน เพราะได้ทราบถึงทิพสมบัติต่างๆ ใน นันทวันเนืองๆ เพราะเหตุที่ตั้งใจไว้ ดิฉันจึงได้บังเกิดในนันทวัน ชั้นดาวดึงสพิภพนั้น ดิฉันมิได้ใส่ใจถึง เพราะวาจาของพระพุทธเจ้า เหล่ากอแห่งพระอาทิตย์ ตั้งจิตไว้ในภพอันเลว จึงมีความเดือดร้อนใน ภายหลัง. เพื่อจะปลุกปลอบใจนางเทพธิดานั้น พระมหาโมคคัลลานเถระจึงกล่าวคาถานั้น ความว่า ดูกรแม่เทพธิดา อาตมาถามท่านแล้ว ถ้าทราบอายุของท่าน ผู้อยู่ใน อุโบสถวิมาน ในโลกนี้ จงบอกว่าสิ้นกาลนานเท่าไร? นางเทพธิดานั้นตอบว่า ข้าแต่ท่านจอมปราชญ์ดิฉันดำรงอยู่ในอุโบสถวิมานนี้ สิ้นกาลประมาณ หกหมื่นปีทิพย์ จุติจากที่นี้แล้ว จักไปบังเกิดเป็นมนุษย์. พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ยังนางเทพธิดานั้นให้อาจหาญร่าเริงด้วย คาถานี้ ความว่า ท่านอย่าสะทกสะท้านถึงการอยู่ในอุโบสถวิมานนี้เลย ท่านเป็นผู้อัน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้แล้ว ท่านจักถึงคุณวิเศษ คือ เป็น พระโสดาบัน ทุคติของท่านก็จักพลันเสื่อมไป.
จบ อุโบสถวิมานที่ ๗.
๘. สุนิททาวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในสุนิททาวิมาน
[๒๕] พระมหาโมคคัลลานเถระ เมื่อจะถามถึงบุรพกรรมของนางเทพธิดานั้น จึงกล่าวคาถานี้ความว่า ดูกรแม่เทพธิดา ท่านเป็นผู้มีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไป ทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ เพราะบุรพกรรมอะไร ท่านจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมอะไร? นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ดิฉันเป็นอุบาสิกาอยู่ใน พระนครราชคฤห์ ประชาชนเรียกว่า สุนิททา เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศรัทธา และศีล ... เป็นอุบาสิกาของพระสมณโคดมผู้มีพระจักษุ สมบูรณ์ด้วย พระเกียรติยศ เพราะบุญกรรมนั้น และจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ ดิฉันมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น
จบ สุนิททาวิมานที่ ๘.
๙. สุทินนาวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในสุทินนาวิมาน
[๒๖] พระมหาโมคคัลลานเถระ เมื่อจะถามถึงบุรพกรรมของนางเทพธิดานั้น จึงกล่าว คาถานี้ความว่า ดูกรแม่เทพธิดา ท่านเป็นผู้มีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไปทั่ว ทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ เพราะบุญกรรมอะไร? ท่านจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมอะไร? นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ดิฉันเป็นอุบาสิกาอยู่ในเมืองราชคฤห์ ประชาชนเรียกดิฉันว่า แม่สุทินนา เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศรัทธาและศีล ... เป็นอุบาสิกาของพระสมณโคดมผู้มี พระจักษุ สมบูรณ์ด้วยพระเกียรติยศ เพราะบุญกรรมนั้น ดิฉันจึงมี วรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญ กรรมนั้น.
จบ สุทินนาวิมานที่ ๙.
๑๐. ภิกษาทายิกาวิมานที่ ๑
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในภิกษาทายิกาวิมานที่ ๑
[๒๗] พระมหาโมคคัลลานเถระถามนางเทพธิดานั้น ด้วยคาถาเหล่านี้ ความว่า ดูกรแม่เทพธิดา ท่านเป็นผู้มีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไปทั่ว ทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึง มีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญ กรรมอะไร? นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่พระเถระถามนั้นว่า ในชาติก่อน ดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ในมนุษยโลก ได้พบเห็น พระพุทธเจ้าผู้ปราศจากกิเลสธุลี มีอินทรีย์ผ่องใสไม่ขุ่นมัว ดิฉันเกิด ความเลื่อมใส ได้ทูลถวายภิกษาแด่พระองค์ท่านด้วยมือของดิฉันเอง เพราะบุญกรรมอันนั้น ดิฉันจึงมีวรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่าง ไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น.
จบ ภิกษาทายิกาวิมานที่ ๑๐.
๑๑. ภิกษาทายิกาวิมานที่ ๒
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในภิกษาทายิกาวิมานที่ ๒
[๒๘] พระมหาโมคคัลลานเถระถามนางเทพธิดาตนนั้น ด้วยคาถานี้ความว่า. ดูกรแม่เทพธิดา ท่านเป็นผู้มีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสว ไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะ บุญกรรมอะไร? นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่พระเถระถามนั้นว่า ในชาติก่อน ดิฉันเกิดเป็นมนุษย์ในหมู่ในมนุษย์มนุษยโลก ได้พบเห็น พระพุทธเจ้าผู้ปราศจากกิเลสธุลี มีอินทรีย์ผ่องใสไม่ขุ่นมัว ดิฉันเกิดความ เลื่อมใส ได้ทูลถวายภิกษาแด่พระองค์ท่านด้วยมือของดิฉันเอง เพราะ บุญกรรมอันนั้น ดิฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสว ไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น.
จบ ทุติยภิกษาทายิกาวิมานที่ ๑๑.
-----------------------------------------------------
รวมวิมานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ทาสีวิมาน ๒. ลขุมาวิมาน ๓. อาจามทายิกาวิมาน ๔. จัณฑาลิวิมาน ๕. ภัททิต- *ถิกาวิมาน ๖. โสณทินนาวิมาน ๗. อุโปสถวิมาน ๘. สุนิททาวิมาน ๙. สุนินนาวิมาน ๑๐. ภิกษา ทายิกาวิมานที่ ๑ ๑๑. ภิกษาทายิกาวิมานที่ ๒.
จบ วรรคที่ ๒ ในอิตถีวิมาน.
จบ ปฐมภาณวาร.
ปาริฉัตตกวรรคที่ ๓
๑. อุฬารวิมาน
ว่าด้วยอุฬารวิมาน
[๒๙] พระมหาโมคคัลลานเถระ ถามนางเทพธิดาด้วยคาถาความว่า ดูกรนาง เทพธิดา ยศและวรรณะของท่านใหญ่ยิ่ง สว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เหล่า เทพนารีและเหล่าเทพบุตรทั้งหลายประดับประดาดีแล้ว ฟ้อนรำขับร้อง ทำให้ท่านร่าเริง ห้อมล้อมเพื่อบำเรอท่านอยู่ วิมานของท่านเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นวิมานทองคำ น่าดูน่าชมมาก ทั้งท่านเล่าก็เป็นใหญ่กว่า เทพเจ้า เหล่าที่สมบูรณ์ด้วยความปรารถนาทุกอย่าง มีความเป็นอยู่อัน ยิ่งใหญ่ ร่าเริงใจอยู่ในหมู่ทวยเทพ ดูกรนางเทพธิดา ท่านอันอาตมา ถามแล้ว ขอจงบอกผลนี้แห่งกรรมอะไร? นางเทพธิดาตอบว่า ดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก เป็นบุตรสะใภ้ในตระกูลของคน ทุศีล ซึ่งเป็นตระกูลที่มีพ่อผัวแม่ผัวไม่มีศรัทธา เป็นคนตระหนี่ ดิฉันถึงพร้อมด้วยศรัทธาและศีล ได้ถวายขนมเบื้องแก่ท่านซึ่งกำลังเที่ยว บิณฑบาตอยู่ แล้วจึงได้บอกแก่แม่ผัวว่า มีพระสมณะมาที่นี่ ดิฉัน เลื่อมใส ได้ถวายขนมเบื้องแก่ท่านด้วยมือของตน แม่ผัวด่าดิฉันว่า นางสู่รู้ ทำไมเธอจึงไม่ถามฉันเสียก่อนว่า จะถวายทานแก่สมณะดังนี้เล่า เพราะการถวายขนมเบื้องนั้น แม่ผัวเกรี้ยวกราดเอา ทุบตีดิฉันด้วยสาก ดิฉันไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้นานจึงสิ้นชีพลง พ้นจากการทรมานอย่างสาหัส จุติจากมนุษย์นั้นแล้วจึงได้มาเกิดบนสวรรค์ เป็นพวกเดียวกันกับเทพเจ้า ชั้นดาวดึงส์ เพราะบุญกรรมนั้น ดิฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และ มีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น.
จบ อุฬารวิมานที่ ๑.
๒. อุจฉุวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในอุจฉุวิมาน
[๓๐] พระมหาโมคคัลลานเถระ ถามนางเทพธิดานั้นด้วยคาถาความว่า ดูกรนางเทพธิดา ท่านมีศิริ มีผิวพรรณเปล่งปลั่ง มียศและเดช สว่าง ไสวไพโรจน์ทั่วแผ่นดินรวมทั้งเทวโลกเหมือนกับพระจันทร์และพระอาทิตย์ เป็นผู้ ประเสริฐเหมือนท้าวมหาพรหม รุ่งเรืองกว่าเทพเจ้าเหล่าไตรทศพร้อมทั้ง อินทร์ อาตมาขอถามท่านผู้ทัดทรงดอกอุบล ยินดีแต่พวงมาลัยประดับ เศียร มีผิวพรรณเปล่งปลั่งดั่งทองคำ ประดับประดาอาภรณ์สวยงาม นุ่งห่มผ้าอย่างดี ดูกรนางเทพธิดาผู้เลอโฉม ท่านเป็นใครมาไหว้อาตมา อยู่ เมื่อก่อน ครั้งเมื่อเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ท่านได้ทำกรรมอะไร ไว้ด้วยตน ได้ให้ทานหรือรักษาศีลอย่างไรไว้ ท่านได้เข้าถึงสุคติ มี เกียรติยศ เพราะกรรมอะไร ดูกรนางเทพธิดา อาตมาถามแล้วขอจงบอก ผลนี้แห่งกรรมอะไร? นางเทพธิดานั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว กล่าวตอบด้วยคาถาความว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระเถระรูปหนึ่งเข้ามายังบ้านของดิฉันเพื่อบิณฑบาต ในกรุงราชคฤห์นี้ ทันใดนั้น ดิฉันมีจิตเลื่อมใส เพราะปีติสุดที่จะหา สิ่งใดมาเทียมได้ จึงได้ถวายท่อนอ้อยแก่ท่าน ภายหลังแม่ผัวได้ถามถึง ท่อนอ้อยที่หายไปว่า ท่อนอ้อยหายไปไหน จึงตอบว่า ท่อนอ้อยนั้น ดิฉันไม่ได้ทิ้ง ทั้งไม่ได้รับประทาน แต่ดิฉันได้ถวายแก่ภิกษุผู้สงบระงับ ทันใดนั้นแม่ผัวได้บริภาษดิฉันว่า เธอหรือฉันเป็นเจ้าของท่อนอ้อยนั้น ว่าแล้วก็คว้าเอาตั่งฟาดดิฉันจนถึงตาย เมื่อดิฉันจุติจากมนุษยโลกนั้น แล้ว จึงมาเกิดเป็นนางเทพธิดา ดิฉันได้ทำกุศลกรรมนั้นไว้อย่างเดียว เพราะกรรมนั้นเป็นเหตุ ดิฉันจึงมาเสวยความสุขด้วยตนเอง เพียบ พร้อมด้วยเทพเจ้าผู้รับใช้ ร่าเริงบันเทิงใจอยู่ด้วยเบญจกามคุณ อนึ่ง ดิฉันได้ทำกุศลกรรมนั้นเท่านั้น เพราะกรรมนั้นเป็นเหตุ ดิฉันจึงมาเสวย ความสุขด้วยตนเอง เป็นผู้ที่ท้าวสักกะจอมเทพคุ้มครองแล้ว และเป็นผู้ อันเทพเจ้าชาวไตรทศอารักขาด้วย จึงเป็นผู้เพียบพร้อมไปด้วยเบญจ- กามคุณ ผลบุญเช่นนี้มิใช่น้อย การถวายท่อนอ้อยของดิฉันมีผลอัน ยิ่งใหญ่ ดิฉันเพียบพร้อมด้วยเทพเจ้าผู้รับใช้ ร่าเริงบันเทิงใจอยู่ด้วย เบญจกามคุณ ผลบุญเช่นนี้มิใช่น้อย การถวายท่อนอ้อยของดิฉันมีผล รุ่งเรืองมาก ดิฉันเป็นผู้ที่ท้าวสักกะจอมเทพทรงคุ้มครองแล้ว ทั้งเทพเจ้า ชาวไตรทศก็ให้อารักขาด้วย ดังท้าวสหัสสนัยน์ในสวนนันทวันฉะนั้น ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ดิฉันเข้ามานมัสการท่านผู้มีความกรุณา มีปัญญา รู้แจ้งและถามถึงความไม่มีโรคภัยด้วย เพราะฉะนั้น ดิฉันมีใจเลื่อมใส ด้วยปีติสุดที่จะหาสิ่งใดๆ มาเทียบเคียงได้ ได้ถวายท่อนอ้อยแก่ พระคุณเจ้าในครั้งนั้น.
จบ อุจฉุวิมานที่ ๒
๓. ปัลลังกวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในปัลลังกวิมาน
[๓๑] พระมหาโมคคัลลานเถระ ถามนางเทพธิดานั้นด้วยคาถาความว่า ดูกรนางเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก ท่านอยู่บนที่นอนใหญ่เป็นบัลลังก์ อันประเสริฐ อันบุญกรรมตกแต่งให้วิจิตรด้วยแก้วมณีและทองคำ โรย ดอกไม้ไว้เกลื่อนกล่น อนึ่ง รอบๆ ตัวท่าน เหล่านางเทพอัปสรมีร่าง สมทรงแผลฤทธิ์ได้ต่างๆ ฟ้อนรำ ขับร้อง ให้ท่านร่าเริงบันเทิงใจอยู่ เป็นนิจ ท่านเป็นนางเทพธิดาผู้ศักดิ์สิทธิ์มีฤทธิ์อานุภาพมากครั้ง เมื่อท่าน ยังเป็นมนุษย์อยู่ได้ทำบุญอะไรไว้ ท่านเป็นผู้มีอานุภาพอันรุ่งเรืองและ มีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่ว ทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญกรรมอะไร? นางเทพธิดานั้นตอบว่า ดิฉันเมื่อเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก เป็นบุตรสะใภ้ในตระกูลอัน มั่งคั่งตระกูลหนึ่ง ดิฉันเป็นผู้ไม่โกรธ เป็นผู้ประพฤติอยู่ใต้บังคับบัญชา ของสามี ไม่ประมาทในวันอุโบสถ เมื่อดิฉันยังเป็นสาวอยู่ เป็นผู้ภักดี ด้วยการไม่ประพฤตินอกใจสามีหนุ่ม ดิฉันเป็นที่โปรดปรานของสามี เป็นอย่างยิ่ง ก็เพราะดิฉันมีน้ำใจผ่องใส ดิฉันได้ประพฤติตนให้เป็นที่ ชื่นชอบใจของสามีทั้งกลางวันและกลางคืน ชาติก่อนดิฉันเป็นผู้มีศีล เป็นผู้บำเพ็ญในสิกขาบททั้งหลายอย่างครบถ้วน คือ เว้นขาดจากการ ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ มีการงานทางกายบริสุทธิ์ ประพฤติพรหมจรรย์ อย่างสะอาดไม่กล่าวคำเท็จ และเว้นขาดจากดื่มน้ำเมา ดิฉันมีใจเลื่อมใส ประพฤติตามธรรม ปลาบปลื้มใจ เข้ารักษาอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำแห่งปักษ์ และตลอด ปาฏิหาริยปักษ์ ครั้นดิฉันสมาทานกุศลธรรมอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการอย่างประเสริฐ เป็นอริยะ มีความสุขเป็นกำไร เช่นนี้แล้ว ชาติก่อนดิฉันได้เป็นสาวิกของพระสุคตเจ้า ได้เป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ของสามีเป็นอันดี ครั้นดิฉันทำกุศลกรรมเช่นนี้ ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ใน มนุษยโลก เป็นผู้มีส่วนแห่งภพอันวิเศษ พอสิ้นชีพลงแล้ว ดิฉัน จึงถึงความเป็นนางเทพธิดาผู้มีฤทธิ์ ในอภิสัมปรายภพ มาสู่สวรรค์ ห้อมล้อมด้วยหมู่นางเทพอัปสรในวิมานมีปราสาทอย่างประเสริฐ น่า รื่นรมย์ คณะเทพเจ้าและเหล่านางเทพธิดาทั้งหลาย ซึ่งมีรัศมีซ่านออก จากกายตน พากันมาชื่นชมยินดีกับดิฉันผู้มีอายุยืน มาสู่เทพวิมาน.
จบ ปัลลังกวิมานที่ ๓.
๔. ลตาวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในลตาวิมาน
[๓๒] นางเทพนารี ๕ องค์ มีความรุ่งเรือง มีปัญญา งดงามด้วยคุณธรรม เป็นธิดาของท้าวเวสสวัณมหาราช คือ นางลดาเทพธิดา ๑ นางสัชชาเทพ ธิดา ๑ นางปวราเทพธิดา ๑ นางอัจฉิมุตีเทพธิดา ๑ นางสุดาเทพธิดา ๑ ต่างเป็นนางบำเรอของท้าวสักกเทวราชผู้ประเสริฐ มีศิริ ได้พากันไปยัง แม่น้ำอันไหลมาจากสระอโนดาด มีน้ำเยือกเย็น มีดอกอุบลน่ารื่นรมย์ ในป่าหิมพานต์ เพื่อสรงสนาน ครั้นสรงสนาน ฟ้อนรำขับร้อง รื่นเริง สำราญใจในแม่น้ำแล้ว จึงนางสุดาเทพธิดาได้ถามนางลดาเทพธิดาผู้พี่ องค์ใหญ่ว่า เจ้าพี่จ๋าผู้มีดวงตาเหลืองปนแดง มีร่างประดับด้วยพวงมาลัย อุบล มี พวงมาลัยประดับเศียร ผิวพรรณก็งดงามเปล่งปลั่งดังทองคำ มีอวัยวะ ทุกส่วนงดงามผ่องใส เหมือนท้องฟ้าที่ปราศจากเมฆหมอก มีอายุยืน ดิฉันขอถามเจ้าพี่เพราะทำบุญอะไรไว้ เจ้าพี่จึงได้มียศมาก ทั้งเป็นที่รัก และโปรดปรานของพระภัสดา มีรูปงามสะสวยยิ่งนัก ทั้งฉลาดในการ ฟ้อนรำขับร้อง และบรรเลงเป็นเยี่ยม จนพวกเทพบุตรและเทพธิดา ไต่ถามถึงเสมอๆ ขอโปรดได้บอกแก่หม่อมฉันด้วยเถิด? นางเทพธิดาจึงตอบว่า ครั้นพี่ยังเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก เป็นบุตรสะใภ้ในตระกูลมั่งคั่ง ตระกูลหนึ่ง พี่มิได้เป็นคนมักโกรธ เป็นผู้ประพฤติอยู่ใต้บังคับบัญชา ของสามี ไม่ประมาทในวันอุโบสถ เมื่อพี่ยังเป็นสาวอยู่ เป็นผู้ภักดี ด้วยการไม่ประพฤตินอกใจสามีหนุ่ม พี่เป็นที่โปรดปรานของสามีเป็น อย่างยิ่ง ก็เพราะพี่มีน้ำใจผ่องใส ได้ทำตัวให้เป็นที่โปรดปรานของสามี พร้อมทั้งญาติชั้นผู้ใหญ่ และบิดามารดาของสามี ตลอดจนคนใช้ชาย หญิง พี่จึงได้มีบริวารยศอันบุญกรรมจัดมาให้ถึงอย่างนี้ เพราะกุศลกรรม นั้น พี่จึงได้เป็นผู้พิเศษกว่านางฟ้าพวกอื่น ในที่ ๔ สถาน คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ได้เสวยความยินดีมิใช่น้อย. เมื่อนางสุดาเทพธิดาได้ฟังดังนี้แล้ว จึงได้พูดกับพี่สาวทั้งสามว่า ข้าแต่เจ้าพี่ทั้งสาม เจ้าพี่ลดาได้แถลงถ้อยคำน่าฟังมากมิใช่หรือจ้ะ หม่อมฉันทูลถามถึงเรื่องที่พวกเราชอบสงสัยกันมาก ก็กล่าวแก้ได้อย่าง ไม่ผิดพลาด เจ้าพี่ลดาควรเป็นตัวอย่างอันดีเยี่ยมสำหรับเราทั้งสี่และ นารีทั้งหลาย มาเราทั้งปวงพึงประพฤติธรรมในสามีทั้งหลาย เราทั้งปวง พึงประพฤติในสามี เหมือนอย่างสตรีที่ดีประพฤติยำเกรงสามี ฉะนั้น ครั้นเราทั้งหลายปฏิบัติธรรม คือ การอนุเคราะห์ต่อสามีด้วยสภาพทั้ง ๕ อย่างแล้ว ก็จะได้สมบัติอย่างที่เจ้าพี่ลดาพูดถึงอยู่ประเดี๋ยวนี้ พระยา ราชสีห์ผู้สัญจรไปตามราวไพรใกล้เชิงเขา อาศัยอยู่บนบรรพตเขาหลวง แล้วก็เที่ยวตะครุบจับสัตว์ ๔ เท้าใหญ่น้อยทุกๆ ชนิดกัดกินเป็นอาหาร ได้ ฉันใด สตรีที่มีศรัทธาเป็นอริยสาวิกาในศาสนานี้ ก็ฉันนั้น เมื่อ ยังอาศัยภัสดาอยู่ ควรประพฤติยำเกรงสามี ฆ่าความโกรธเสีย กำจัด ความตระหนี่เสียได้แล้ว เขาผู้ประพฤติธรรมโดยชอบ จึงรื่นเริงบันเทิงใจ อยู่บนสวรรค์.
จบ ลตาวิมานที่ ๔.
๕. คุตติลวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในคุตติลวิมาน
[๓๓] พระมหาสัตว์นามว่าคุตติลบัณฑิต อันสมเด็จอัมรินทราธิราชทรงจำแลงองค์เป็น พราหมณ์โกสิยโคตร เสด็จเข้าไปหาทรงซักถามแล้ว ได้ทูลตอบแสดงความเจ็บใจของตนให้ ท้าวเธอทรงทราบ ด้วยคาถาความว่า ข้าแต่ท้าวโกสีย์ ข้าพระองค์ได้สอนวิชาดีดพิณ ๗ สาย อันมีเสียง ไพเราะมาก น่ารื่นรมย์ ให้แก่มุสิละผู้เป็นศิษย์ เขาตั้งใจจะดีดพิณ ประชันกับข้าพระองค์บนกลางเวที ขอพระองค์ทรงเป็นที่พึ่งของข้าพระ- องค์ด้วย. สมเด็จอัมรินทราธิราช ทรงสดับคำปรับทุกข์นั้นแล้ว เมื่อจะทรงปลอบอาจารย์ จึงตรัส ปลุกใจด้วยคาถาความว่า จะกลัวไปทำไมนะท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าจะเป็นที่พึ่งของท่านอาจารย์ เพราะข้าพเจ้าเป็นผู้บูชาท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าผู้เป็นศิษย์จะไม่ปล่อยให้ ท่านอาจารย์ปราชัย ท่านอาจารย์ต้องเป็นผู้ชนะนายมุสิละผู้เป็นศิษย์ แน่นอน. เมื่อสมเด็จอัมรินทราธิราชตรัสปลอบใจเช่นนี้ คุตติลบัณฑิตก็โล่งใจ คลายทุกข์ พอถึงวันนัดก็ไปประลองศิลป์กันบนเวทีหน้าพระโรง ในที่สุดคุตติลบัณฑิตผู้อาจารย์เป็นฝ่ายชนะ นายมุสิละผู้เป็นศิษย์เป็นฝ่ายแพ้ถึงแก่ความตายกลางเวที เพราะอาชญาของปวงชน สมเด็จ อัมรินทราธิราชทรงกล่าววาจาแสดงความยินดีด้วยคุตติลบัณฑิตแล้ว เสด็จกลับเทวสถาน ครั้น กาลต่อมา สมเด็จอัมรินทราธิราชตรัสใช้ให้พระมาตลีเทพสารถี นำเวชยันตราชรถลงมารับ คุตติลบัณฑิตไปยังเทวโลกเพื่อให้ดีดพิณถวาย คุตติลบัณฑิตจึงกราบทูลท้าวโกสีย์ในท่ามกลาง เทพบริษัท เพื่อไต่ถามถึงบุรพกรรมของเทพธิดาทั้งหลาย ณ ที่นั้น เป็นรางวัลแห่งการดีดพิณ เสียก่อน เมื่อได้รับพระอนุญาตแล้ว จึงไต่ถามถึงบุรพกรรมของเทพธิดาเหล่านั้นว่า ดูกรแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องแสงสว่างไปทั่ว ทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมี วรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรม อะไร? นางเทพธิดานั้น อันคุตติลบัณฑิตถามเหมือนท่านพระมหาโมคคัลลาน เถระถามแล้วมีใจยินดี ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ดิฉันเป็นสตรีผู้ประเสริฐในนระและนารีทั้งหลาย ได้ถวายผ้าอย่างดี ผืนหนึ่งแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ดิฉันได้ถวายผ้าอันน่ารักอย่างนี้ จึงมาได้ ทิพยวิมานอันน่าปลื้มใจถึงเช่นนี้ เชิญดูวิมานของดิฉันนั้นเถิด ยิ่งกว่า นั้น ดิฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศ กว่านางอัปสรตั้งพันนางอีกด้วย เชิญดูผลแห่งบุญ คือ การถวายผ้า อย่างดีทั้งหลายนั้นเถิด เพราะบุญกรรมนั้น ดิฉันจึงมีวรรณะงาม เช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น. ๔. วิมานที่จะกล่าวต่อไปนี้ มีความพิสดารเหมือนวัตถทายิกวิมาน. (๑) พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า ดูกรแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่ว ทุกทิศ เพราะบุญกรรมอะไร? นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ดิฉันเป็นสตรีผู้ประเสริฐในนระและนารีทั้งหลาย ได้ถวายดอกมะลิ อย่างดีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ดิฉันได้ถวายดอกมะลิอันน่ารักอย่างนี้ จึงมาได้ ทิพยวิมานน่าปลื้มใจถึงเช่นนี้ นิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้นเถิด ยิ่งกว่านั้น ดิฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็น ผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้งพันอีกด้วย นิมนต์พระคุณเจ้าดูผลแห่งบุญ คือ การถวายดอกมะลิอย่างดีทั้งหลายนั้นเถิด เพราะบุญกรรมนั้น ดิฉันจึงมี วรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะ บุญกรรมนั้น. (๒) พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า ดูกรแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไปทั่ว ทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์เพราะบุญกรรมอะไร ท่าน จึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะ บุญกรรมอะไร? นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ดิฉันเป็นสตรีผู้ประเสริฐในนระและนารีทั้งหลาย ได้ถวายจุรณของหอม อย่างดีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ดิฉันได้ถวายจุรณของหอมอันน่ารักอย่างนี้ จึง มาได้ทิพยวิมานอันน่าปลื้มใจเช่นนี้ นิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉัน นี้เถิด ยิ่งกว่านั้น ดิฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารัก ทั้ง ยังเป็นผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้งพันนางอีกด้วย นิมนต์พระคุณเจ้าดูผลแห่ง บุญ คือ การถวายจุรณของหอมอย่างดีทั้งหลายนั้นเถิด เพราะบุญกรรม นั้น ดิฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีส่องสว่างไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น. (๓) พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า ดูกรแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไปทั่ว ทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ เพราะบุญกรรมอะไร ท่าน จึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะ บุญกรรมอะไร? นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ดิฉันเป็นสตรีผู้ประเสริฐในนระและนารีทั้งหลาย ได้ถวายผลไม้อย่างดี แก่ภิกษุรูปหนึ่ง ดิฉันได้ถวายผลไม้อันน่ารักอย่างนี้ จึงมาได้ทิพยวิมาน อันน่าปลื้มใจถึงเช่นนี้ นิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้นเถิด ยิ่งกว่า นั้น ดิฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศ กว่านางอัปสรตั้งพันนางอีกด้วย นิมนต์พระคุณเจ้าดูผลแห่งบุญ คือ การถวายผลไม้อย่างดีทั้งหลายนั้นเถิด เพราะบุญกรรมนั้น ดิฉันจึงมี วรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะ บุญกรรมนั้น. (๔) พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า ดูกรแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะ งามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมอะไร? นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ดิฉันเป็นสตรีผู้ประเสริฐในนระและนารีทั้งหลาย ได้ถวายอาหารมีรส อย่างดีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ดิฉันได้ถวายอาหารอันน่ารักอย่างนี้ จึงมาได้ ทิพยวิมานอันน่าปลื้มใจถึงเช่นนี้ นิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้น เถิด ยิ่งกว่านั้น ดิฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารัก ทั้งยัง เป็นผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้งพันนางอีกด้วย นิมนต์พระคุณเจ้าดูผลแห่งบุญ คือการถวายอาหารมีรสอย่างดีทั้งหลายนั้นเถิด เพราะบุญกรรมนั้น ดิฉัน จึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะ บุญกรรมนั้น. พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า ดูกรแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะ งามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมอะไร? นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลื้มใจ ได้ พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ดิฉันได้นำของหอม ๕ อย่าง ไปประพรมที่องค์พระสถูปทองคำ สำหรับ บรรจุพระบรมธาตุของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า นิมนต์พระคุณเจ้า ดูวิมานของดิฉันนี้เถิด ยิ่งกว่านั้น ดิฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและ ผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้งพันนางอีกด้วย นิมนต์ พระคุณเจ้าดูผลแห่งบุญคือการถวายของหอม ๕ อย่างนั้นเถิด เพราะบุญ กรรมนั้น ดิฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่ว ทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น. ๔. วิมานที่จะกล่าวต่อไปนี้ มีเนื้อความพิสดารเหมือนกับคันธปัญจังคลิกวิมาน (๑) พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า ดูกรแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุก ทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมี วรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญ กรรมอะไร? นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ดิฉัน ภิกษุและภิกษุณี ทั้งหลาย พากันเดินทางไกล ได้ฟังธรรมเทศนาของท่านเหล่านั้น ได้ เข้ารักษาอุโบสถอยู่วันหนึ่ง คืนหนึ่ง นิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉัน นั้นเถิด ยิ่งกว่านั้น ดิฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้งพันนางอีกด้วย นิมนต์พระคุณเจ้าดูผล แห่งบุญทั้งหลายเถิด เพราะบุญกรรมนั้น ดิฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น. (๒) พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า ดูกรแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุก ทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมี วรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญ กรรมอะไร? นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามว่า ดิฉันยืนอยู่ในน้ำ มีจิต เลื่อมใส ได้ถวายน้ำใช้และน้ำฉันแก่ภิกษุรูปหนึ่ง นิมนต์พระคุณเจ้าดู วิมานของดิฉันนั้นเถิด ยิ่งกว่านั้น ดิฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและ ผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้งพันนางอีกด้วย นิมนต์ พระคุณเจ้าดูผลแห่งบุญทั้งหลายเถิด เพราะบุญกรรมนั้น ดิฉันจึงมี วรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญ กรรมนั้น. (๓) พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า ดูกรแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุก ทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมี วรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรม อะไร? นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ดิฉันไม่คิดมุ่งร้าย ตั้งใจ ปฏิบัติเป็นอย่างดี ซึ่งแม่ผัวและพ่อผัวผู้ดุร้าย ผู้มักโกรธง่ายและหยาบ คาย เป็นผู้ไม่ประมาทในการรักษาศีลของตน นิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมาน ของดิฉันนั้นเถิด ยิ่งกว่านั้น ดิฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและผิวพรรณ น่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้งพันนางอีกด้วย นิมนต์พระคุณเจ้า ดูผลแห่งบุญทั้งหลายเถิด เพราะบุญกรรมนั้น ดิฉันจึงมีวรรณะงาม เช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น. (๔) พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า ดูกรแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมี วรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะ บุญกรรมอะไร? นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้ม ใจ ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ดิฉันเป็นหญิง รับใช้ รับจ้างทำกิจการงานของคนอื่น ไม่เกียจคร้าน ไม่เป็นคน โกรธง่าย ไม่ถือตัว ชอบแบ่งปันสิ่งของ อันเป็นส่วนของตนที่ได้ มาแก่ปวงชนที่ต้องการ นิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้นเถิด ยิ่ง กว่านั้นดิฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศ กว่านางอัปสรตั้งพันนางอีกด้วย นิมนต์พระคุณเจ้าดูผลแห่งบุญทั้ง หลายเถิด เพราะบุญกรรมนั้น ดิฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น. พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า ดูกรแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมี วรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญ กรรมอะไร? นางเทพธิดานั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบ ปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ดิฉันได้ถวายข้าวสุกคลุกนมวัวสดแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ผู้กำลังเที่ยวบิณฑ- บาตอยู่ นิมนต์พระคุณเจ้าจงดูวิมานของดิฉันนั้นเถิด ยิ่งกว่านั้น ดิฉันเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศกว่านางอัปสร ตั้งพันนางอีกด้วย เพราะบุญกรรมนั้น ดิฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น. ในวิมานเหล่านั้น ๒๕ วิมานที่จะกล่าวต่อไปนี้ มีเนื้อความพิสดารเหมือนกับขีโรทนทา- *ยิกาวิมาน. พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า ดูกรแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสว ไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมอะไร? นางเทพธิดานั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบ ปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ดิฉันได้ถวาย (๑) น้ำอ้อยงบ ฯลฯ (๒) ผลมะพลับสุก ฯลฯ (๓) อ้อยท่อนหนึ่ง ฯลฯ (๔) แตงโมผลหนึ่ง ฯลฯ (๕) ฟักทองผลหนึ่ง ฯลฯ (๖) ยอดผักต้ม ฯลฯ (๗) ผลลิ้นจี่ ฯลฯ (๘) เชิงกราน ฯลฯ (๙) ผักดองกำหนึ่ง ฯลฯ (๑๐) ดอกไม้กำหนึ่ง ฯลฯ (๑๑) มัน ฯลฯ (๑๒) สะเดากำหนึ่ง ฯลฯ (๑๓) น้ำผักดอง ฯลฯ (๑๔) แป้งคลุกงาคั่ว ฯลฯ (๑๕) ประคตเอว ฯลฯ (๑๖) ผ้าอังสะ ฯลฯ (๑๗) พัด ฯลฯ (๑๘) พัดสี่เหลี่ยม ฯลฯ (๑๙) พัดใบตาล ฯลฯ (๒๐) หางนกยูงกำหนึ่ง ฯลฯ (๒๑) ร่ม ฯลฯ (๒๒) รองเท้า ฯลฯ (๒๓) ขนม ฯลฯ (๒๔) ขนมต้ม ฯลฯ (๒๕) น้ำตาลกรวด แก่ภิกษุรูปหนึ่งผู้กำลังบิณฑบาตอยู่ นิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉัน นั้นเถิด ยิ่งกว่านั้น ดิฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารัก ทั้งยัง เป็นผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้งพันนางอีกด้วย เพราะบุญกรรมนั้น ดิฉัน จึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะ บุญกรรมนั้น. เมื่อนางเทพธิดาเหล่านั้น เฉลยผลกรรมที่ได้ทำมาเป็นอันดีอย่างนี้แล้ว คุตติลบัณฑิต ร่าเริง บันเทิงใจ เมื่อจะแสดงความชื่นชมยินดีของตน จึงกล่าวว่า ข้าพเจ้ามาถึงเมืองสวรรค์วันนี้ เป็นการดีแท้ เป็นฤกษ์งามยามดีที่ ข้าพเจ้าได้เห็นนางเทพธิดาทั้งหลาย ที่เป็นนางฟ้ามีรูปร่างและผิวพรรณ น่ารักใคร่ ทั้งยังได้ฟังธรรมอันแนะนำทางบุญกุศลจากเธอเหล่านั้นด้วย แต่นี้ไป ข้าพเจ้าจักกระทำบุญกุศลให้มาก ด้วยการให้ทาน ด้วยการ ประพฤติธรรมสม่ำเสมอ ด้วยการรักษาศีลสังวร และด้วยการฝึก อินทรีย์ ข้าพเจ้าจักได้ไปสู่สถานที่ๆ ไปแล้วไม่เศร้าโศก.
จบ คุตติลวิมานที่ ๕.
๖. ทัททัลลวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในทัททัลลวิมาน
นางภัททาเทพธิดาผู้พี่สาว ได้ถามนางสุภัททาเทพธิดาผู้น้องสาวว่า [๓๔] ท่านรุ่งเรืองด้วยรัศมี ทั้งเป็นผู้เรืองยศ ย่อมรุ่งเรืองโรจน์ล่วงเทพเจ้าชาว ดาวดึงส์ทั้งหมด ด้วยรัศมี ดิฉันไม่เคยเห็นท่านเพิ่งจะมาเห็นในวันนี้ เป็นครั้งแรก ท่านมาจากเทวโลกชั้นไหน จึงมาเรียกดิฉันโดย ชื่อเดิมว่า ภัททา ดังนี้เล่า? นางสุภัททาเทพธิดาผู้น้องสาวตอบว่า ข้าแต่พี่ภัททา ฉันชื่อว่าสุภัททา ในภพก่อนครั้งเป็นมนุษย์อยู่ ดิฉัน ได้เป็นน้องสาวของพี่ ทั้งได้เคยเป็นภริยาร่วมสามีเดียวกับพี่มาด้วย ดิฉันตายจากมนุษยโลกนั้นมาแล้ว ได้มาเกิดเป็นเทพธิดาประจำสวรรค์ ชั้นนิมมานรดี. นางภัททเทพธิดาจึงถามต่อไปอีกว่า ดูกรแม่สุภัททา ขอเธอได้บอกการอุบัติของเธอในหมู่เทพเจ้า เหล่า นิมมานรดี ซึ่งเป็นที่ๆ สัตว์ได้สั่งสมบุญกุศลไว้มาก แล้วจึงได้มา บังเกิด เธอได้มาเกิดในที่นี้ เพราะทำบุญกุศลสิ่งใดไว้ และใครเป็นครู ผู้แนะนำสั่งสอนเธอ เธอเป็นผู้เรืองยศ และถึงความสุขพิเศษไพบูลย์ ถึงเช่นนี้ เพราะได้ให้ทานและรักษาศีลเช่นไรไว้ ดูกรแม่เทพธิดา ฉันถามเธอแล้ว นี่เป็นผลแห่งกรรมอะไร โปรดตอบฉันด้วย? นางสุภัททาเทพธิดาตอบว่า เมื่อชาติก่อน ดิฉันมีใจเลื่อมใส ได้ถวายบิณฑบาต ๘ ที่ แก่สงฆ์ ผู้เป็นทักขิไณยบุคคล ๘ รูป ด้วยมือของตน เพราะบุญกรรมนั้น ดิฉัน จึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะ บุญกรรมนั้น. นางภัททาเทพธิดาได้ถามต่อไปอีกว่า พี่ได้เลี้ยงดูพระภิกษุทั้งหลาย ผู้สำรวมดี ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ให้ อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวและน้ำ ด้วยมือของตนเอง มากกว่าเธอ ครั้น ให้ทานมากกว่าเธอแล้ว ก็ยังได้บังเกิดในเหล่าเทพเจ้าต่ำกว่าเธอ ส่วนเธอ ได้ถวายทานเพียงเล็กน้อย อย่างไรจึงมาได้ผลอย่างพิเศษไพบูลย์ถึงเช่นนี้ เล่า แน่ะแม่เทพธิดา ฉันถามเธอแล้ว นี่เป็นผลแห่งกรรมอะไร โปรด ตอบฉันด้วย? นางสุภัททาเทพธิดาตอบว่า เมื่อชาติก่อน ดิฉันได้เห็นพระภิกษุผู้อบรบทางจิตใจเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่ จึงได้นิมนต์ท่านรวม ๘ รูปด้วยกัน มีพระเรวตเถระเป็นประธานด้วย ภัตตาหาร ท่านพระเรวตเถระนั้นมุ่งจะให้เกิดประโยชน์ อนุเคราะห์แก่ ดิฉัน จึงบอกดิฉันว่า จงถวายสงฆ์เถิด ดิฉันได้ทำตามคำของท่าน ทักขิณาของดิฉันนั้น จึงเป็นสังฆทาน ดิฉันให้เข้าตั้งไว้ในสงฆ์เป็นทาน ที่ไม่อาจปริมาณผลได้ว่า มีอยู่เท่าไร ส่วนทานที่คุณพี่ได้ถวายแก่ภิกษุ ด้วยความเลื่อมใสเป็นรายบุคคล จึงมีผลไม่มาก. นางภัททาเทพธิดา เมื่อจะรับรองความข้อนั้นจึงกล่าวว่า พี่เพิ่งรู้เดี๋ยวนี้เองว่า การถวายสังฆทานนี้ มีผลมาก ถ้าว่าพี่ได้ไป บังเกิดเป็นมนุษย์อีก จักเป็นผู้รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความ ตระหนี่ ถวายสังฆทาน และไม่ประมาทเป็นนิตย์. เมื่อสนทนากันแล้ว นางสุภัททาเทพธิดาก็กลับไปสู่ทิพยวิมานของตนบนสวรรค์ชั้น นิมมานรดี ท้าวสักกเทวราชได้ทรงสดับการสนทนานั้น เมื่อนางสุภัททาเทพธิดากลับไปแล้ว จึงตรัสถามนางเทพธิดาว่า ดูกรนางภัททา เทพธิดาผู้นั้นเป็นใคร มาสนทนาอยู่กับเธอ ย่อมรุ่งโรจน์กว่าเทพเจ้าเหล่าดาวดึงส์ทั้งหมดด้วยรัศมี? นางภัททาเทพธิดา เมื่อจะบรรยายข้อที่สังฆทานของเทพธิดาผู้น้องสาวว่ามีผลมาก จึงทูลว่า ขอเดชะ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมเทพ เทพธิดาผู้นั้น เมื่อชาติ ก่อนยังเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก เป็นน้องสาวของหม่อมฉัน และ ได้เคยร่วมสามีเดียวกันกับหม่อมฉันด้วย เธอสั่งสมบุญกุศลคือถวาย สังฆทาน จึงได้ไพโรจน์ถึงอย่างนี้ เพคะ. สมเด็จอัมรินทราธิราช เมื่อจะทรงสรรเสริญสังฆทาน จึงตรัสว่า ดูกร นางภัททา น้องสาวของเธอไพโรจน์กว่าเธอ ก็เพราะเหตุในปางก่อน คือการถวายสังฆทานที่ไม่อาจจะปริมาณผลได้ อันที่จริง ฉันได้ทูลถาม พระพุทธเจ้า ครั้งประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ถึงผลแห่งไทยธรรม ที่ได้จัดแจงถวายในเขตที่มีผลมาก ของมนุษย์ทั้งหลายผู้มุ่งบุญให้ทาน อยู่ หรือทำบุญปรารภเหตุแห่งการเวียนเกิดเวียนตาย จะถวายใน บุคคลประเภทใดจึงจะมีผลมาก พระพุทธเจ้าตรัสตอบข้อความนั้น แก่ฉันอย่างแจ่มแจ้งว่า ท่านผู้ปฏิบัติเพื่ออริยมรรค ๔ จำพวก และ ท่านผู้ตั้งอยู่ในอริยมรรค ๔ จำพวก พระอริยบุคคล ๘ จำพวกนี้ ชื่อว่าสงฆ์ เป็นผู้ปฏิบัติตรงดำรงมั่นอยู่ในปัญญาและศีล เมื่อมนุษย์ ทั้งหลายผู้มุ่งบุญถวายทานในท่านเหล่านี้ หรือทำบุญปรารภการเวียน เกิดเวียนตาย ทานที่ถวายในสงฆ์ ย่อมมีผลมาก พระสงฆ์นี้เป็น ผู้มีคุณความดีอันยิ่งใหญ่ ยังผลให้เกิดแก่ผู้ถวายทานในท่านอย่างไพบูลย์ ยากที่ใครจะปริมาณว่าเท่านี้ๆ ได้ เหมือนทะเลยากที่จะคาดคะเน ได้ว่ามีน้ำเท่านี้ๆ ได้ ฉะนั้น พระสงฆ์เหล่านี้แล เป็นผู้ประ- เสริฐสุด เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้มีความเพียร เป็นเยี่ยมในหมู่ นรชนเป็นแหล่งสร้างแสงสว่าง คือ ญาณของชาวโลก ได้แก่ นำ เอาแสงสว่าง คือพระสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศไว้แล้วมาชี้ แจง ปวงชนที่ใคร่ต่อบุญเหล่าใด ถวายทานมุ่งตรงต่อสงฆ์ ทักขิณา ของเขาเหล่านั้นชื่อว่าเป็นทักขิณาที่ถวายดีแล้ว เป็นยัญวิธีที่เซ่นสรวงถูก ต้อง จัดเป็นบูชากรรมที่บูชาแล้วชอบ เพราะทักขิณานั้นจัดเป็นสังฆทาน มีผลมาก อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายผู้รู้แจ้งโลก ทรงสรรเสริญชน เหล่าใดยังท่องเที่ยวอยู่ในโลก มาหวนระลึกถึงบุญเช่นนี้ได้ เกิดปีติ โสมนัส ก็จะกำจัดมลทิน คือ ความตระหนี่พร้อมทั้งความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ความลังเลในใจ และการตีตนเสมอท่าน อันเป็นมูลฐานเสียได้ ทั้งจะไม่เป็นผู้ถูกผู้รู้ติเตียน แต่นั้นก็จะเข้าถึงสถานที่ๆ เป็นแดน สวรรค์.
จบ ทัททัลลวิมานที่ ๖.
๗. เสสวดีวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในเสสวดีวิมาน
เมื่อพระวังคีสเถระจะไต่ถามถึงบุรพกรรมของนางเทพธิดานั้น จึงสรรเสริญวิมานของ เธอเสียก่อนเป็นปฐม ด้วยคาถา ๗ คาถา ความว่า [๓๕] ดูกรแม่เทพธิดา อาตมาได้เห็นวิมานของท่านนี้ อันมุงและบังด้วย ข่ายแก้วผลึก ข่ายเงินและข่ายทองคำ มีพื้นที่เต็มไปด้วยต้นไม้มี ผลวิจิตรนานาพรรณเป็นระเบียบเรียบร้อย น่ารื่นรมย์ เป็นวิมาน ซึ่งเกิดกับสำหรับบุญ มีซุ้มประตูแล้วด้วยแก้ว ๗ ประการ ที่ลาน วิมานเรี่ยรายไปด้วยทรายทองงดงามมาก มีรัศมีส่องสว่างไปทั่วทุกทิศ เหมือนพระอาทิตย์มีรัศมีตั้งพัน ซึ่งกำจัดความมืดมนได้เป็นปกติใน ยามสรทกาล หรือเหมือนกับแสงเปลวเพลิงซึ่งกำลังลุกอยู่บนยอด ภูเขาในเวลากลางคืน หรือคล้ายกับการลืมตาขึ้นขณะที่ฟ้าแลบในโอกาส ฉะนั้น วิมานนี้เป็นวิมานลอยอยู่ในอากาศ ก้องกังวาลไปด้วยเสียง ดนตรี คือ พิณเครื่องใหญ่ กลอง และกังสดาล ประโคม อยู่มิได้ขาดระยะ สุทัสนะเทพนคร อันเป็นเมืองพระอินทร์ ซึ่ง มั่งคั่งไปด้วยสมบัติทิพย์ฉันใด วิมานของท่านนี้ก็ฉันนั้น วิมานของ ท่านนี้ฟุ้งไปด้วยกลิ่นหอมอย่างยอดเยี่ยมหลายอย่างต่างๆ กัน คือ กลิ่นดอกปทุม ดอกโกมุท ดอกอุบล ดอกจงกลณี ดอกคัดเค้า ดอกพุดซ้อน ดอกกุหลาบ ดอกอังกาบ ดอกรัง ดอกอโศก แย้มกลีบ ส่งกลิ่นหอมระรื่น ทั้งตั้งอยู่ริมฝั่งสระโบกขรณี น่า รื่นรมย์ เรียงรายไปด้วยไม้หูกวาง ขนุนสำมะลอ และต้นไม้ กลิ่นหอม มีทั้งไม้เลื้อยชูดอกออกช่อหอมระรื่น ห้อยย้อยเกาะก่ายลงมา จากปลายใบต้นตาล และมะพร้าว คล้ายกับข่ายแก้วมณี และ แก้วประพาฬจัดเป็นของทิพย์ มีขึ้นสำหรับท่านผู้เรืองยศ อนึ่ง ต้น ไม้และดอกไม้ผลทั้งหลายซึ่งเป็นต้นไม้เกิดอยู่ในน้ำและบนบก ทั้ง เป็นรุกขชาติมีอยู่ในเมืองมนุษย์ และไม่มีในเมืองมนุษย์ ตลอด จนพรรณไม้ทิพย์ประจำเมืองสวรรค์ ก็ได้มีพร้อมอยู่ใกล้วิมานของท่าน ท่านได้สมบัติทิพย์ทั้งนี้ เป็นผลแห่งการประพฤติทางกาย วาจา ใจ และการฝึกฝนอินทรีย์อย่างไร เพราะผลกรรมอะไร ท่านจึงมาเกิดในวิมานนี้ ดูกรนางเทพธิดาผู้มีขนตางอนงาม ขอท่านจงตอบถึงผลกรรม เป็นเหตุได้ วิมานที่ท่านได้แล้วนี้ เป็นไปตามที่อาตมาถามท่านแล้วตามลำดับด้วย เถิด? ลำดับนั้น นางเทพธิดาตอบว่า ก็วิมานที่ดิฉันได้แล้วนี้ มีฝูงหงส์ นกกระเรียน ไก่ฟ้า นกกด และนกเขาไฟ เที่ยวร่อนร้องไปมา ทั้งเต็มไปด้วยหมู่นกนางนวล นกกระทุง และพญาหงส์ทอง ซึ่งเป็นนกทิพย์ เที่ยวบินไปมา อยู่ตามลำน้ำ และอึงคะนึงไปด้วยฝูงนกประเภทอื่นๆ อีก คือ นก เป็ดน้ำ นกค้อนหอย นกดุเหว่าลาย นกดุเหว่าขาว มีทั้ง ต้นไม้ดอก ไม้ต้น ไม้ผล อันเกิดเองหลายอย่างต่างพรรณ คือ ต้นแคฝอย ต้นหว้า ต้นอโศก พระคุณเจ้าขา ดิฉันได้วิมาน เหตุนี้ด้วยเหตุผลอันใด ดิฉันจะเล่าเหตุผลอันนั้นถวายพระคุณเจ้า นิมนต์ฟังเถิด คือ มีหมู่บ้านหมู่หนึ่งชื่อนาฬกคาม ตั้งอยู่ทางทิศ ตะวันออกของพระนครราชคฤห์ ดิฉันเป็นบุตรสะใภ้ประจำตระกูล ของบ้านนั้นอันตั้งอยู่ภายในบุรี ชุมนุมในหมู่บ้านนั้นเรียกดิฉันว่า เสสวดี ดิฉันมีใจชื่นบาน ได้ก่อสร้างกุศลกรรมไว้ในชาตินั้น คือ ได้บูชาพระธาตุพระธรรมเสนาบดี นามว่า อุปติสสะ ซึ่งเป็นที่ บูชาของทวยเทพและมนุษย์ทั้งหลายผู้มากไปด้วยคุณความดีมีศีลเป็นต้น หาประมาณมิได้ ซึ่งนิพพานไปแล้ว ด้วยเครื่องสักการะหลาย อย่าง ล้วนแต่รัตนะและดอกคำ ก็แหละครั้นบูชาพระธาตุของพระผู้ แสวงหาซึ่งคุณอย่างยอดยิ่ง ผู้ถึงอนุปาทิเสสนิพพานธาตุแล้ว ซึ่ง ในที่สุดยังเหลืออยู่แต่พระธาตุเท่านั้น ครั้นดิฉันละกายมนุษย์นั้นแล้ว จึงได้มาเกิดในดาวดึงส์สวรรค์ชั้นไตรทศ อยู่ประจำวิมานในเทวโลก.
จบ เสสวดีวิมานที่ ๗.
๘. มัลลิกาวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในมัลกาวิมาน
พระนารทเถระไต่ถามนางมัลลิกาเทพธิดาว่า [๓๖] ดูกรนางเทพธิดา ผู้มีผ้านุ่งห่มและธงล้วนแต่สีเหลือง ประดับประดา ด้วยเครื่องก็ล้วนเหลือง เธอถึงจะไม่ประดับด้วยเครื่องประดับอันงดงาม เหลืองอร่ามเช่นนี้ ก็ยังงามโดยธรรมชาติ ดูกรนางเทพธิดา ผู้มีเครื่อง ประดับล้วนแต่ทองคำธรรมชาติ แก้วไพฑูรย์ จินดา มีกายาปกคลุม ไว้ด้วยร่างแหทองคำเหลืองอร่าม เป็นระเบียบงดงามด้วยสายแก้วสี ต่างๆ สายแก้วเหล่านั้น ล้วนแต่สำเร็จด้วยทองคำธรรมชาติ แก้วทับทิม แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์ บางสายก็ล้วนแล้วด้วยแก้วลาย คล้ายตาแมว บ้างก็สำเร็จด้วยแก้วแดงคล้ายสีเลือด บ้างก็สำเร็จด้วยแก้วอันสดใส สีตานกพิราบ เครื่องประดับทั้งหมดที่ตัวของท่านนี้ทุกๆ สาย ยามต้อง ลมพัด มีเสียงไพเราะเหมือนเสียงนกยูงพญาหงส์ทองหรือเสียงนก การะเวก หรือมิฉะนั้นก็เสียงเบญจางคดุริยดนตรี ที่พวกคนธรรพ์พากัน บรรเลงเป็นคู่ๆ อย่างไพเราะน่าฟังก็ปานกัน อนึ่ง รถของท่าน งดงามมาก หลากไปด้วยเนาวรัตนนานาพรรณ อันบุญกรรมจัดสรรมา ให้จากธาตุนานาชนิด ดูมูลมองพิจิตรจรัสจำรูญยามท่านยืนอยู่เหนือ สุพรรณรถขับไปถึงประเทศใด ที่ตรงนั้นก็สว่างไสวไปทั่วถึงกัน ดูกรนาง เทพธิดา อาตมาถามท่านแล้ว ท่านจงตอบอาตมาว่า นี้เป็นผลแห่ง กรรมอะไร? นางมัลลิกาเทพธิดาตอบว่า พระคุณเจ้าขา ดิฉันมีร่างกายซึ่งปกปิดไว้ด้วยร่างแหทองคำ วิจิตรไปด้วย แก้วแดงอ่อนๆ และแก้วมุกดา นับว่าดิฉันคลุมร่างไว้ด้วยตาข่าย ทองคำเช่นนี้ ก็เพราะดิฉันมีจิตผ่องใส ได้บูชาพระโคดมบรมครู ผู้ทรงพระคุณหาประมาณมิได้ ซึ่งเสด็จเข้าสู่นิพพานไปแล้ว ครั้นดิฉัน ทำกุศลธรรมที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายสรรเสริญแล้ว จึงสร่างโศก หมด โรคภัย ได้รับแต่ความสุขกาย สุขใจ รื่นเริงบันเทิงใจเป็นนิตย์.
จบ มัลลิกาวิมานที่ ๘.
๙. วิสาลักขิวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในวิสาลักขิวิมาน
สมเด็จอัมรินทราธิราชตรัสถามนางสุนันทาเทพธิดาว่า [๓๗] ดูกรแม่เทพธิดาผู้มีนัยน์ตางาม เธอชื่อไร ได้ทำกรรมอะไรไว้ จึงได้มีหมู่ นางฟ้าแวดล้อมเป็นบริวารเดินวนเวียนอยู่รอบๆ ในสวนจิตรลดาอันน่า รื่นรมย์ ในคราวที่พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ล้วนแต่ขึ้นม้า ขึ้นรถ ตบแต่งร่างกายวิจิตรงดงาม เข้าไปยังสวนนั้นแล้ว จึงมาในที่นี้ แต่เมื่อ เธอพอมาถึงในที่นี้ กำลังเที่ยวชมสวน รัศมีก็สว่างไสวไปทั่วจิตรลดาวัน โอภาสของสวนมิได้ปรากฏ รัศมีของท่านมาข่มเสีย ดูกรแม่เทพธิดา ฉันถามเธอแล้ว ขอเธอจงบอกว่า นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร? นางสุนันทาเทพธิดาผู้เป็นอัครชายาทูลตอบว่า ขอเดชะ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมเทพ ผู้ทรงบำเพ็ญทานมาแต่เก่าก่อน รูป อันสวยงาม คติ ฤทธิ์ และอานุภาพของหม่อมฉัน ย่อมมีได้ด้วยกรรม อันใด ขอพระองค์จงทรงสดับกรรมนั้น หม่อมฉันเป็นอุบาสิกามีนามว่า สุนันทาอยู่ในพระนครราชคฤห์อันน่ารื่นรมย์ ถึงพร้อมด้วยศรัทธา และ ศีล ยินดีในการจำแนกทานทุกเมื่อ คือหม่อมฉันมีจิตเลื่อมใส ได้ ถวายผ้านุ่งผ้าห่ม ภัตตาหาร เสนาสนะและเครื่องประทีป ในภิกษุ ทั้งหลายผู้เที่ยงตรง ทั้งได้รักษาอุโบสถ อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ วัน ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำแห่งปักษ์ และตลอด ปฏิหาริยปักษ์ เป็นผู้สำรวมอยู่ในศีลเป็นนิตย์ หม่อมฉันยินดีแล้วใน สิกขาบททั้ง ๕ คือ งดเว้นจากปาณาติบาต จากความเป็นขโมย จากการประพฤตินอกใจ ระมัดระวังจากการพูดเท็จ และเว้นไกล จากการดื่มน้ำเมา เป็นผู้ฉลาดในอริยสัจจธรรมทั้ง ๔ เป็นอุบาสิกาของพระสมณโคดมผู้มีพระจักษุ ผู้เรืองยศ บิดาของหม่อม ฉันใช้ให้หม่อมฉันนำดอกไม้มาทุกๆ วัน หม่อมฉันได้บูชาที่สถูป อันเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุของพระผู้มีพระภาคทุกๆ วัน ในวันอุโบสถ หม่อมฉันมีใจผ่องใส ได้ถือเอาพวงมาลัย ของหอมและเครื่องลูบไล้ ไปบูชาพระสถูปของพระผู้มีพระภาคนั้นด้วยมือของตน ข้าแต่พระองค์ ผู้จอมเทพ รูปอันสวยงาม คติ ฤทธิ์ และอานุภาพเช่นนี้ เกิดมีแก่ หม่อมฉันเพราะกรรมนั้น มิใช่ว่าผลที่หม่อมฉันได้บูชาพระสถูปด้วย พวงมาลัย และที่หม่อมฉันได้รักษาศีล จะให้ผลเท่านั้นก็หามิได้ ยังกลับ ให้หม่อมฉันพึงได้สกทาคามี ตามความปรารถนาของหม่อมฉันอีกด้วย.
จบ วิสาลักขิวิมานที่ ๙
๑๐. ปาริฉัตตกวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในปาริฉัตตกวิมาน
พระมหาโมคคัลลานเถระถามนางเทพธิดาตนหนึ่งว่า [๓๘] ดูนางเทพธิดา ท่านมาเก็บเอาดอกปาริกฉัตตกะ มีสีงามหอมหวนยวนใจ อันเป็นดอกไม้ทิพย์ มาร้อยกรองเป็นพวงมาลัยประดับกายขับร้องเล่น สำเริงอยู่ เมื่อท่านกำลังฟ้อนรำอยู่ เสียงอันเป็นทิพย์น่าฟังวังเวงใจ เปล่งจากอวัยวะใหญ่น้อยพร้อมๆ กัน ทั้งกลิ่นทิพย์อันหอมหวนยวนใจ ก็ฟุ้งขจรไปจากอวัยวะใหญ่น้อยทุกๆ ส่วน เมื่อท่านไหวกายผายผันกลับ ไปมา เสียงเครื่องประดับอันท่านประดับไว้ที่ช้องผมทุกๆ แห่ง เมื่อคราว ลมพัดพานมาต้องเข้า ก็เปล่งเสียงไพเราะ คล้ายกับเสียงดนตรีเครื่อง ๕ อนึ่ง เสียงแห่งมาลัย เครื่องประดับเศียร คือ มงกุฏ ที่ถูกลมพัดต้อง เข้าแล้วก็กังวานไพเราะ คล้ายกับเสียงดนตรีเครื่อง ๕ แม้กลิ่นแห้ง ดอกไม้ที่ท่านสอดแซมไว้บนเศียรเกล้า ก็มีกลิ่นหอมหวนชวนให้ชื่นใจ หอมฟุ้งไปทั่วสารทิศ ดังต้นอุโลกที่มีอยู่บนเขาคันธมาทน์ ฉะนั้น ท่าน ย่อมสูดดมกลิ่นอันหอมหวนนั้น ทั้งได้ชมรูปทิพย์ซึ่งมิใช่ของมนุษย์ ดูกรนางเทพธิดา อาตมาถามท่านแล้ว ขอท่านจงบอก นี้เป็นผลแห่ง กรรมอะไร? นางเทพธิดานั้นตอบว่า พระคุณเจ้าขา แต่ก่อน เมื่อดิฉันยังอยู่ในเมืองมนุษย์ ได้น้อมนำ เอาดอกอโศกซึ่งมีเกษรงามเลื่อมประภัสสร มีกลิ่นหอมฟุ้ง ไปบูชา พระพุทธเจ้า ครั้นดิฉันทำกุศลกรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญแล้ว จึงสร่างโศกหมดโรคภัย ได้รับแต่ความสุขกายสุขใจ รื่นเริงบันเทิงอยู่ เป็นนิตย์.
จบ ปาริฉัตตกวิมานที่ ๑๐
-----------------------------------------------------
รวมวิมานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อุฬารวิมาน ๒. อุจฉุวิมาน ๓. ปัลลังกวิมาน ๔. ลตาวิมาน ๕. คุตติลวิมาน ๖. ทัททัลลวิมาน ๗. เสสวดีวิมาน ๘. มัลลิกาวิมาน ๙. วิสาลักขิวิมาน ๑๐. ปาริฉัตตกวิมาน.
จบ ปาริฉัตตกวรรคที่ ๓.
-----------------------------------------------------
มัญชิฏฐกวรรคที่ ๔
๑. มัญชิฏฐกวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในมัญชิฏฐกวิมาน
พระมหาโมคคัลลานเถระถามนางเทพธิดาตนหนึ่งว่า [๓๙] ดูกรนางเทพธิดา ท่านยินดีรื่นรมย์อยู่ในวิมานแก้วผลึก มีภาคพื้น ดารดาษไปด้วยทรายทอง กึกก้องไปด้วยดนตรีเครื่อง ๕ เมื่อท่านลง จากวิมานแก้วผลึกอันบุญกรรมแต่งไว้ เข้าไปสู่ป่าไม้รังอันมีดอกบาน สะพรั่งตลอดกาลทั้งปวง ยืนอยู่ที่โคนต้นรังต้นใดๆ ต้นรังนั้นๆ ก็ น้อมกิ่งอันงาม โปรยปรายดอกลงถูกต้องอวัยวะของท่าน ป่ารังนั้น อันลมพัดพานแล้วกิ่งก้านสะบัดโบกไปมา เป็นที่อาศัยแห่งฝูงสกุณชาติ มีกลิ่นหอมฟุ้งไปทั่วทิศานุทิศ ดุจต้นอุโลก ฉะนั้น ท่านย่อมสูดดม กลิ่นอันหอมหวนนั้น ทั้งได้ชมรูปทิพย์อันมิใช่ของมนุษย์ ดูกรนาง เทพธิดา อาตมาถามแล้ว ขอท่านจงบอก นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร? นางเทพธิดาตอบว่า เมื่อชาติก่อน ดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก เป็นทาสีอยู่ใน ตระกูลเจ้า ได้เห็นพระพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่ มีจิตเลื่อมใส ได้โปรย ดอกรังถวายเป็นอาสนะ และได้น้อมนำพวงดอกรังอันร้อยกรองอย่าง งดงาม ถวายพระพุทธเจ้าด้วยมือของตน ครั้นดิฉันทำกุศลกรรม อัน พระพุทธเจ้าสรรเสริญแล้ว จึงสร่างโศกหมดโรคภัย ได้รับแต่ความสุข กายสุขใจ รื่นเริงบันเทิงอยู่เป็นนิตย์.
จบ มัญชิฏฐกวิมานที่ ๑.
๒. ปภัสสรวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในปภัสสรวิมาน
พระมหาโมคคัลลานเถระถามนางเทพธิดาตนหนึ่งว่า [๔๐] ดูกรนางเทพธิดา ผู้มีรัศมีงามผุดผ่องยิ่งนัก นุ่งผ้าสีแดงงาม มีฤทธิ์มาก ร่างกายสวยงาม ลูบไล้ด้วยจุณจันทน์ ท่านเป็นใครมาไหว้อาตมาอยู่ อนึ่ง ท่านนั่งบนบัลลังก์ใด ย่อมไพโรจน์ ดังท้าวสักกเทวราชใน นันทวโนทยาน บัลลังก์ของท่านนั้นมีค่ามาก งามวิจิตรด้วยรัตนะต่างๆ ดูกรนางเทพธิดาผู้เจริญ เมื่อชาติก่อน ท่านได้ประพฤติสุจริตอะไร จึง ได้มาเสวยผลแห่งกรรมเช่นนี้ในเทวโลก อาตมาถามแล้ว ขอท่านจง บอก นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร? นางเทพธิดาตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันได้ถวายพวงมาลัยและน้ำอ้อยแก่พระคุณเจ้าผู้ เที่ยวบิณฑบาตอยู่ ดิฉันจึงได้มาเสวยผลแห่งกรรมนั้นในเทวโลก ข้าแต่ ท่านผู้เจริญ แต่ดิฉันยังมีความเดือดร้อนกินแหนง เป็นทุกข์ เพราะ ดิฉันไม่ได้ฟังธรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นธรรมราชาทรงแสดงดีแล้ว ข้าแต่ ท่านผู้เจริญ เพราะเหตุนั้น ดิฉันจึงมากราบเรียนพระคุณเจ้า ซึ่งเป็น ผู้อนุเคราะห์แก่ดิฉัน ชักชวนดิฉันให้ตั้งมั่นในธรรมทั้งหลาย เทวดา พวกอื่นที่มีความเชื่อในพระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ และพระสังฆ- รัตนะ ได้ฟังธรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระธรรมราชาทรงแสดงดีแล้ว ย่อมรุ่งเรืองยิ่งกว่าดิฉันด้วยอายุ ยศ ศิริ อำนาจ วรรณะ และมีฤทธิ์ มากกว่าดิฉัน.
จบ ปภัสสรวิมานที่ ๒.
๓. นาควิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในนาควิมาน
พระวังคีสเถระถามนางเทพธิดาตนหนึ่งว่า [๔๑] ท่านประดับประดาแล้ว ขึ้นนั่งบนคชสารอันประเสริฐ ประดับไปด้วย แก้วและทอง มีกระพองปกคลุมด้วยข่ายทองอันวิจิตร ผูกสายรัด ประคนทองเรียบร้อย เลื่อนลอยไปในอากาศเวหา ที่งาทั้งสองของคชสาร มีสระโบกขรณี ๔ เหลี่ยม เต็มเปี่ยมด้วยน้ำใสสะอาด อันบุญกรรม เนรมิตให้แล้ว ดารดาษไปด้วยดอกปทุมบานสะพรั่ง ดอกปทุมทุกๆ ดอก มีหมู่นางเทพอัปสรพากันมาขับระบำรำฟ้อน ชวนให้เกิดความ รื่นเริงบันเทิงใจ ดูกรนางเทพธิดาผู้มีอานุภาพอันยิ่งใหญ่ ท่านถึงความ เป็นเทพธิดาผู้มีฤทธิ์อย่างนี้ ครั้งเมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ ได้ทำบุญอะไร ไว้ ท่านมีอานุภาพรุ่งเรือง และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญกรรมอะไร? นางเทพธิดานั้นตอบว่า ดิฉันได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่เมืองพาราณสี ได้ถวายผ้าคู่หนึ่งแด่ พระพุทธองค์ ถวายบังคมพระยุคลบาท แล้วนั่งอยู่ที่พื้นดิน ได้กระทำ อัญชลีด้วยจิตอันเลื่อมใส พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น มีพระฉวีวรรณดุจ ทองคำธรรมชาติ ได้ทรงแสดงทุกขสัจและสมุทัยสัจ ว่าเป็นของไม่ เที่ยง เป็นทุกข์ และทรงแสดงทุกขนิโรธสัจและมัคคสัจว่า อันปัจจัย อะไรๆ ปรุงแต่งไม่ได้ ให้ดิฉันฟัง เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงได้รู้แจ้งชัด ในอริยสัจ ๔ ดิฉันเป็นคนมีอายุน้อย ทำกาละจุติจากชาตินั้นแล้ว ไป บังเกิดในชั้นไตรทศ เป็นผู้เรืองยศ เป็นปชาบดีคนหนึ่งของท้าวสักกะ นามว่ายสุตตรา ปรากฏไปทั่วทุกทิศ.
จบ นาควิมานที่ ๓.
๔. อโลมวิมาน
ว่าด้วยผลที่บุญทำให้ไปเกิดในอโลมวิมาน
พระมหาโมคคัลลานเถระถามนางเทพธิดาตนหนึ่งว่า [๔๒] ดูกรแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก รัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะ งามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมอะไร? นางเทพธิดานั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบ ปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามว่า เมื่อชาติก่อน ดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในเมืองพาราณสี มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายขนมแห้งแด่พระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ด้วย มือของตน ขอพระคุณเจ้าจงดูผลแห่งก้อนขนมแห้งอันหารสเค็มมิได้ ใครได้เห็นความสุขของบุคคลผู้ถวายขนมแห้งอันหารสเค็มมิได้แล้ว ไฉน จักไม่กระทำบุญเล่า เพราะผลแห่งการถวายขนมแห้งอันหารสเค็มมิได้นั้น ดิฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะ บุญกรรมนั้น.
จบ อโลมวิมานที่ ๔.
๕. กัญชกทายิกาวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในกัญชิกทายิกาวิมาน
พระโมคคัลลานเถระถามนางเทพธิดาตนหนึ่งว่า [๔๓] ดูกรแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุก ทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมี วรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรม อะไร? นางเทพธิดานั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบ ปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า เมื่อชาติก่อน ฉันเกิดเป็นมนุษย์ มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายน้ำข้าวอันปรุง ด้วยพริกและใส่น้ำมันอันเจียวแล้ว และปรุงด้วยดีปลี กระเทียม ขิง ข่า กระชาย แด่พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ซึ่งประทับ อยู่ ณ พระนครอันธกวินทะ ดิฉันจึงได้เสวยทิพยสมบัติเช่นนี้ นางแก้ว ผู้งดงามทั่วสรรพางค์ สามีไม่จืดจางในการมองชม ได้รับอภิเษกเป็น เอกอัครมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิราช ก็ยังไม่เทียบเท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายน้ำข้าวนั้น ทองคำแท่งตั้งร้อยแท่ง ม้าอัสดรร้อยม้า รถ อันเทียมด้วยม้าอัสดรร้อยคัน นางราชกัญญาอันประดับประดาด้วยแก้ว มุกดาแก้วมณี และกุณฑลประมาณตั้งแสน ก็ยังไม่เทียบเท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายน้ำข้าวนั้น คชสารตัวประเสริฐอันเกิดแต่ป่าหิมพานต์เป็น ตระกูลคชสารมาตังคะ มีงาอันงอนงามดุจงอนรถ มีสายรัดแล้วด้วย ทองคำ ร้อยเชือก ก็ยังไม่เทียบเท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายน้ำข้าวนั้น ถึงแม้พระเจ้าจักรพรรดิผู้ได้เสวยราชสมบัติเป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ ก็ยัง ไม่เทียบเท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายน้ำข้าวนั้น.
จบ กัญชิกทายิกาวิมานที่ ๕.
๖. วิหารวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในวิหารวิมาน
ท่านพระอนุรุทธเถระได้ถามนางเทพธิดาตนหนึ่งว่า [๔๔] ดูกรนางเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุก ทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ เมื่อท่านฟ้อนอยู่ เสียงอันเป็น ทิพย์น่าฟัง รื่นรมย์ใจ ย่อมเปล่งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วน ทั้ง กลิ่นทิพย์อันหอมหวนยวนใจ ก็ฟุ้งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วน เมื่อท่านไหวกายกลับไปมา เสียงของเครื่องประดับช้องผมก็ดังเสียง ไพเราะ ดุจเสียงดนตรีเครื่อง ๕ อนึ่ง เสียงมงกุฎที่ถูกลมรำเพยพัดให้ หวั่นไหว ก็กังวานไพเราะดุจเสียงดนตรีเครื่อง ๕ แม้พวงมาลัยบน เศียรเกล้าของท่าน มีกลิ่นหอมชวนให้เบิกบานใจ หอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ดุจต้นอุโลก ฉะนั้น ดูกรนางเทพธิดา อาตมาถามท่านแล้ว ขอท่าน จงบอก นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร? นางเทพธิดาตอบว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ นางวิสาขามหาอุบาสิกา เป็นสหายของดิฉัน อยู่ในเมืองสาวัตถี ได้สร้างมหาวิหารถวายสงฆ์ ดิฉันเห็นมหาวิหารนั้น แล้ว มีจิตเลื่อมใสอนุโมทนา ก็วิมานอันเป็นที่รักนี้อันดิฉันได้แล้ว เพราะการอนุโมทนาด้วยจิตบริสุทธิ์แต่อย่างเดียวเท่านั้น วิมานนี้เป็น วิมานอัศจรรย์น่าดูน่าชม โดยรอบสูง ๑๖ โยชน์ เลื่อนลอยไปในอากาศ ได้ตามความปรารถนาของดิฉัน ดิฉันมีปราสาทเป็นที่อยู่อาศัย อันบุญ กรรมจัดแจงเนรมิตให้เป็นส่วนๆ งามรุ่งโรจน์ตลอดร้อยโยชน์โดยรอบ ทิศ อนึ่ง ที่วิมานของดิฉัน มีสระโบกขรณีเป็นที่อาศัยของหมู่มัจฉาชาติ มีน้ำใสสะอาด มีท่าอันลาดด้วยทรายทอง ดารดาษไปด้วยปทุมชาตินานา ชนิดพร้อมทั้งบัวขาว เกษรแห่งบัวทั้งหลายอันลมรำเพยพัด ย่อมหอม ฟุ้งเจริญใจ มีรุกขชาติต่างๆ อันบุญกรรมปลูกไว้ใกล้วิมาน คือ ไม้หว้า ขนุน ตาล มะพร้าว วิมานนี้กึกก้องไปด้วยเสียงดนตรีต่างๆ และ กึกก้องไปด้วยหมู่นางอัปสร แม้นรชนใดได้เห็นวิมานนี้ด้วยความฝัน นรชนนั้นก็พึงปลื้มใจ วิมานอันมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ น่าอัศจรรย์ น่าดูน่าชมเช่นนี้ เกิดแต่ดิฉันเพราะกุศลกรรมทั้งหลาย ควรทำบุญโดยแท้. พระอนุรุทธเถระ เมื่อจะให้นางเทพธิดาบอกที่เกิดของนางวิสาขามหาอุบาสิกา จึงกล่าว ถามด้วยคาถาความว่า วิมานอันอัศจรรย์น่าดูน่าชมนี้ ท่านได้แล้ว เพราะการอนุโมทนาด้วย จิตอันบริสุทธิ์อย่างเดียวเท่านั้น นางนารีอันมีนามว่าวิสาขา ได้ถวาย ทานและได้สร้างมหาวิหาร ไปเกิดที่ไหน ขอท่านจงบอกคติของนาง วิสาขานั้น แก่อาตมาด้วยเถิด? นางเทพธิดานั้นตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นางวิสาขามหาอุบาสิกา เป็นสหายของดิฉัน ได้สร้าง มหาวิหารถวายแด่สงฆ์และได้ถวายทานแด่สงฆ์ เป็นผู้รู้ธรรมแจ่มแจ้ง เธอได้บังเกิดในหมู่ทวยเทพชั้นนิมมานรดี เป็นประชาบดีของท้าวสุนิม- มิตวดี ผู้เป็นใหญ่ในชั้นนิมมานรดีนั้น วิบากแห่งกรรมของนางวิสาขา มหาอุบาสิกานั้น อันใครไม่ควรคิด ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันได้พยากรณ์ ที่เกิดของนางวิสาขาที่พระคุณเจ้าถามว่า นางวิสาขานั้นบังเกิด ณ ที่ไหน โดยถูกต้องแล้ว ถ้าอย่างนั้น ขอพระคุณเจ้าได้ชักชวนแม้ชนเหล่าอื่นว่า ท่านทั้งหลายจงปลื้มใจถวายทานแด่สงฆ์เถิด และจงมีใจเลื่อมใสฟัง ธรรม การได้อัตภาพมาเป็นมนุษย์เป็นการได้ด้วยแสนยาก อันพวกท่าน ได้แล้ว พระพุทธเจ้ามีพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม มีพระฉวีวรรณดุจ ทองคำ เป็นอธิบดีแห่งมรรคา ได้ทรงแสดงธรรมใดไว้ว่า เป็นทาง สวรรค์ ทางนั้นเป็นทางอันประเสริฐ ท่านทั้งหลายจงปลื้มใจถวายทาน แด่สงฆ์ ที่บุคคลถวายทักษิณาแล้วมีผลมาก บุคคลเหล่าใดอันพระ- พุทธเจ้าเป็นต้นสรรเสริญแล้วว่า คู่แห่งบุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ เหล่านี้ บุคคลเหล่านั้นเป็นพระทักขิไณยบุคคล สาวกแห่งพระสุคต ทานอัน บุคคลถวายแล้วในพระทักขิไณยบุคคลเหล่านั้น มีผลมาก ท่านผู้ปฏิบัติ เพื่ออริยมรรค ๔ จำพวก และท่านผู้ตั้งอยู่ในอริยผล ๔ จำพวก พระ- อริยบุคคล ๘ จำพวกนี้ ชื่อว่าสงฆ์ เป็นผู้ปฏิบัติซื่อตรง ดำรงมั่นอยู่ ในปัญญาและศีล เมื่อมนุษย์ทั้งหลายผู้มุ่งบุญ ถวายทานในท่านเหล่านี้ หรือทำบุญปรารภการเวียนเกิดเวียนตาย ทานที่ถวายในสงฆ์ย่อมมีผลมาก พระสงฆ์นี้ เป็นผู้มีคุณความดีอันยิ่งใหญ่ ยังผลให้เกิดแก่ผู้ถวายทาน ในท่านอย่างไพบูลย์ ยากที่จะปริมาณได้ว่าเท่านี้ๆ เหมือนทะเลยาก ที่จะคาดคะเนได้ว่ามีน้ำเท่านี้ๆ ฉะนั้น พระสงฆ์เหล่านี้แล เป็นผู้ ประเสริฐ เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้มีความเพียร เป็นเยี่ยมในหมู่ นรชน เป็นแหล่งสร้างแสงสว่าง คือ ญาณของชาวโลก ได้แก่ นำ เอาแสงสว่าง คือ พระสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศไว้แล้วมา ชี้แจง ปวงชนผู้ใคร่ต่อบุญเหล่าใด ถวายทานมุ่งตรงต่อสงฆ์ ทักษิณา ของเขาเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นทักษิณาที่ถวายดีแล้ว เป็นยัญวิธีที่เซ่นสรวง ถูกต้อง จัดเป็นบูชากรรมที่บูชาแล้วชอบ เพราะทักษิณานั้นจัดเป็น สังฆทาน มีผลมาก อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายผู้รู้แจ้งโลก ทรง สรรเสริญ ชนเหล่าใดยังท่องเที่ยวอยู่ในโลก มาหวนระลึกถึงบุญเช่นนี้ ได้ เกิดปีติโสมนัส ก็จะกำจัดมลทิน คือ ความตระหนี่ พร้อมทั้ง ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ความลังเลใจ และการตีตนเสมอท่าน อันเป็น มูลฐานเสียได้ ทั้งจะไม่เป็นผู้อันผู้รู้ติเตียน แต่นั้นก็จะเข้าถึงสถานที่ อันเป็นแดนสวรรค์.
จบ วิหารวิมานที่ ๖
จบ ภาณวารที่ ๒.
๗. จตุริตถีวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในจตุริตถีวิมาน
พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามนางเทพธิดาตนหนึ่งว่า [๔๕] ดูกรนางเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสว ไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมอะไร? นางเทพธิดานั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบ ปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามว่า เมื่อชาติก่อน ดิฉันได้ถวายดอกผักตบกำมือหนึ่ง แก่ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต ในปัญณกตนครอันประเสริฐ น่ารื่นรมย์ อันประดับแล้วด้วยเสาระเนียด เพราะบุญกรรมนั้น ดิฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสว ไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น. ดูกรนางเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไป ทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมอะไร? นางเทพธิดานั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้วมีความปลาบปลื้ม ใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามว่า เมื่อชาติก่อน ดิฉันได้ถวายดอกนิลอุบลกำมือหนึ่ง แก่ภิกษุผู้เที่ยว บิณฑบาต ในปัณณกตนครอันประเสริฐ น่ารื่นรมย์อันประดับแล้ว ด้วยเสาระเนียด เพราะบุญกรรมนั้น ดิฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และเป็นผู้มีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น. ดูกรนางเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไป ทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมอะไร? นางเทพธิดานั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบ ปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามว่า เมื่อชาติก่อน ดิฉันได้ถวายดอกบัวหลวงกำมือหนึ่ง ซึ่งมีโคนขาว กลีบขาว เกิดแล้วที่สระน้ำ แก่ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต ในปัณณกตนคร อันประเสริฐ น่ารื่นรมย์ ประดับด้วยเสาระเนียด เพราะบุญกรรมนั้น ดิฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะ บุญกรรมนั้น. ดูกรนางเทพธิดา ท่านมีวรรณงามยิ่งนัก ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไป ทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมอะไร? นางเทพธิดานั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบ ปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า เมื่อชาติก่อน ดิฉันได้ถวายพวงมาลัยอันร้อยด้วยดอกมะลิตูม มีสีขาว ดังงาช้าง แก่ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต ในปัณณกตนครอันประเสริฐ น่า รื่นรมย์ ประดับแล้วด้วยเสาระเนียด เพราะบุญกรรมนั้น ดิฉันจึงมี วรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญ กรรมนั้น.
จบ จตุริตถีวิมานที่ ๔.
๘. อัมพวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในอัมพวิมาน
พระมหาโมคคัลลานเถระถามนางเทพธิดาตนหนึ่งว่า [๔๖] สวนมะม่วงทิพย์ของท่านนี้น่ารื่นรมย์ ในสวนของท่านนั้นมีปราสาทใหญ่ กว้างขวาง กึกก้องไปด้วยดนตรีต่างๆ และกึกก้องด้วยหมู่นางอัปสร อนึ่ง ในปราสาทของท่านนี้มีประทีปทองดวงใหญ่ส่องสว่างรุ่งเรื่องเป็น นิตย์ ปราสาทของท่านแวดล้อมด้วยต้นไม้มีผลเป็นผ้าโดยรอบ สวน มะม่วงอันน่ารื่นรมย์ใจ และในสวนมะม่วงนั้น มีปราสาทสูงใหญ่กว้าง ขวางเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะบุญกรรมอะไร ท่านมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมอะไร? นางเทพธิดานั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบ ปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า เมื่อชาติก่อน ดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก มีจิตเลื่อมใส ได้ ให้สร้างวิหารถวายสงฆ์ แวดล้อมไปด้วยต้นมะม่วง เมื่อให้สร้างวิหาร สำเร็จเรียบร้อยแล้ว จึงทำการฉลอง แวดล้อมต้นมะม่วงด้วยผ้า เอา ผ้าทำเป็นผลมะม่วงตามประทีปไว้ที่ต้นมะม่วงนั้น อันอุดม และนิมนต์ พระสงฆ์ผู้เป็นหมู่อุดมสาวกของพระผู้มีพระภาคให้ฉัน แล้วมอบถวาย วิหารนั้นแก่สงฆ์ ด้วยมือของตน เพราะบุญกรรมนั้นดิฉันจึงมีสวน มะม่วงอันน่ารื่นรมย์ใจ และมีปราสาทสูงใหญ่กว้างขวางอยู่ในสวน มะม่วงนั้น กึกก้องไปด้วยดนตรีต่างๆ และกึกก้องไปด้วยหมู่นางอัปสร และที่ปราสาทของดิฉันนี้ มีประทีปทองดวงใหญ่ส่องสว่างเรืองเป็นนิตย์ ปราสาทของดิฉันแวดล้อมไปด้วยต้นมะม่วง มีผลเป็นผ้าโดยรอบ เพราะ บุญกรรมนั้น ดิฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไป ทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น.
จบ อัมพวิมานที่ ๘.
๙. ปีตวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในปีตวิมาน
สมเด็จอัมรินทราธิราชตรัสถามนางเทพธิดาตนหนึ่งว่า [๔๗] ดูกรนางเทพธิดาผู้เจริญ ผู้นุ่งห่มผ้าล้วนแล้วด้วยสีเหลือง มีธงก็เหลือง ตกแต่งด้วยเครื่องอลังการเหลือง มีกายอันลูบไล้ด้วยจุณจันทน์เหลือง ทัดทรงดอกบัวหลวง มีปราสาทอันแล้วด้วยทองคำ มีที่นอนและที่นั่งสี เหลือง ทั้งภาชนะที่รองรับขาทนียะและโภชนียะสีเหลือง มีฉัตรสีเหลือง รถสีเหลือง มีม้าและพัดล้วนแล้วสีเหลือง เมื่อชาติก่อนท่านเป็นมนุษย์ ได้กระทำบุญอะไรไว้ ฉันถามท่านแล้วขอท่านจงบอก นี้เป็นผล แห่งกรรมอะไร นางเทพธิดาตอบว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้น้อมนำเอาดอกบวบขมซึ่งมีรสขม ไม่มีใครชอบ จำนวน ๔ ดอก ไปบูชาพระสถูปตั้งจิตอุทิศต่อพระบรม ธาตุของพระบรมศาสดา ด้วยจิตอันเลื่อมใสกำลังส่งใจไปในพระบรมธาตุ ของพระศาสดานั้น ไม่ทันได้พิจารณาถึงหนทางที่มาแห่งแม่โค ทันใด นั้น แม่โคได้ขวิดหม่อมฉันผู้มีความปรารถนาแห่งใจยังไม่ถึงพระสถูป ถ้าหม่อมฉันได้สั่งสมบุญนั้นไซร้ หม่อมฉันพึงได้ทิพยสมบัติยิ่งกว่า นี้เป็นแน่ ข้าแต่ท้าวมัฆวานจอมเทพผู้เทพกุญชร เพราะบุญกรรมนั้น หม่อมฉันละอัตภาพมนุษย์แล้ว จึงได้มาอภิรมย์อยู่กับพระองค์ ท้าวมัฆวานผู้เป็นอธิบดีแห่งทศเทพผู้ทรงเทพกุญชร ได้ทรงสดับเนื้อความ นี้แล้ว เมื่อจะทรงยังทวยเทพเจ้าชาวดาวดึงส์สวรรค์ให้เลื่อมใส ได้ ตรัสกะมาตลีเทพบุตรว่า ดูกรมาตลี จงดูผลแห่งกรรมอันวิจิตรน่าอัศจรรย์ นี้ ทานวัตถุแม้มีประมาณน้อยอันนางเทพธิดานี้ทำแล้ว ย่อมเป็นบุญมีผล มาก เมื่อจิตเลื่อมใสในพระตถาคตสัมพุทธเจ้า ในพระปัจเจกพุทธเจ้า หรือในสาวกของพระตถาคต ทักษิณา ย่อมไม่ชื่อว่ามีผลน้อยเลย มา เถิดมาตลี แม้เราทั้งหลายพึงรีบเร่งบูชาพระบรมสารีริกธาตุของพระตถา- คตให้ยิ่งๆ ขึ้นเถิด เพราะการสั่งสมบุญย่อมนำสุขมาให้ เมื่อพระตถาคต จะยังทรงพระชนม์อยู่ หรือเสด็จปรินิพพานไปแล้วก็ตาม เมื่อจิตสม่ำ เสมอผลก็ย่อมสม่ำเสมอ เพราะเหตุที่ตั้งจิตไว้ชอบธรรม สัตว์ทั้งหลาย ย่อมไปสู่สุคติ ทายกทั้งหลายได้กระทำสักการะบูชาในพระตถาคตเหล่าใด ไว้แล้ว ย่อมไปสู่สวรรค์ พระตถาคตเหล่านั้นย่อมเสด็จอุบัติขึ้น เพื่อ ประโยชน์แก่ชนเป็นอันมากหนอ.
จบ ปีตวิมานที่ ๙.
๑๐. อุจฉุวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในอุจฉุวิมาน
พระมหาโมคคัลลานเถระถามนางเทพธิดาตนหนึ่งว่า [๔๘] ท่านมีศิริ วรรณะ ยศ และเดช มีรัศมีส่องสว่างไปทั่วพื้นปฐพี ตลอด ถึงเทวโลก งามไพโรจน์ ดังพระจันทร์และพระอาทิตย์และเหมือนท้าว มหาพรหม รวมทั้งสมเด็จอัมรินทราธิราช ผู้เป็นใหญ่กว่าทวยเทพชั้น ดาวดึงส์ อาตมาขอถามท่าน ดูกรนางเทพธิดาผู้งามทั่วสรรพรางค์ ทัด ทรงพวงมาลัยอุบล มีช้องผมอันล้วนแล้วด้วยทอง มีผิวพรรณงดงาม เปล่งปลั่งทอง ตกแต่งประดับประดาด้วยภูษาอันเป็นทิพย์ ท่านเป็นใคร ไหว้เราอยู่ ดูกรท่านผู้เรืองยศ ท่านได้บริจาคทาน หรือสำรวมในศีล อย่างไร จึงได้เข้าถึงสุคติ ดูกรนางเทพธิดา อาตมาถามท่านแล้วขอท่าน โปรดบอก นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร? นางเทพธิดานั้นตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ (เมื่อดิฉันอยู่ในมนุษยโลก) พระคุณเจ้าเข้าไป บิณฑบาตตามบ้านจนถึงเรือนของดิฉัน ขณะนั้นดิฉันมีจิตเลื่อมใส เต็มตื้น ด้วยปีติหาประมาณมิได้ ได้ถวายท่อนอ้อยแด่พระคุณเจ้า แต่ภายหลัง แม่ผัวมาซักถามดิฉันว่า นางใจร้าย เจ้าเอาอ้อยไปไว้ที่ไหน ดิฉันตอบ ว่า ฉันไม่ได้เอาไปทิ้งและไม่ได้รับประทาน ได้ถวายแก่ภิกษุผู้มีความ สงบด้วยตนเอง แม่ผัวได้บริภาษดิฉันว่า อ้อยนี้เป็นของข้าและข้าก็เป็น เจ้าของ ฉะนี้แล้ว คว้าได้ก้อนดินขว้างดิฉัน (จนตาย) เมื่อดิฉันตาย จากมนุษยโลกนั้นแล้ว มาบังเกิดเป็นเทพธิดา เพราะเหตุที่ดิฉันทำกุศล กรรมนั้นไว้ ดิฉันจึงได้มาเสวยความสุขด้วยตนเอง ได้ร่วมบำรุงบำเรอ อยู่กับเทวดาทั้งหลาย และร่าเริงบันเทิงใจอยู่ด้วยเบญจกามคุณอันเป็น ทิพย์ เพราะเหตุที่ดิฉันได้กระทำกุศลกรรมนั้น ดิฉันจึงมาเสวยสุขด้วย ตนเอง อันท้าวเทวราชจอมเทพทรงคุ้มครอง อันเทวดาชาวไตรทศรักษา เพียบพร้อมด้วยเบญจกามคุณอันเป็นทิพย์ โอ ผลแห่งบุญนี้มิใช่นิด หน่อย การถวายอ้อยของดิฉันมีวิบากมากมาย ดิฉันได้ร่วมบำรุงบำเรอ อยู่กับเทวดาทั้งหลาย ร่าเริงบันเทิงใจอยู่ด้วยเบญจกามคุณอันเป็นทิพย์ ผลบุญเช่นนี้มิใช่น้อย การถวายอ้อยของดิฉัน มีผลอันรุ่งโรจน์มาก ดิฉันอยู่ในความคุ้มครองรักษาของท้าวเทวราช และชาวไตรทศทั้งหลาย ดังหนึ่งท้าวสหัสนัยน์ในสวนนันทวัน ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันระลึกถึง พระคุณเจ้าผู้มีพระคุณอนุเคราะห์ดิฉัน จึงเข้ามาสู่ที่ใกล้ถวายนมัสการ ถามถึงสุขทุกข์ ดิฉันมีจิตเลื่อมใสเต็มตื้นด้วยปีติเป็นล้นพ้น ได้ถวาย ท่อนอ้อยแด่พระคุณเจ้าครั้งเป็นมนุษย์.
จบ อุจฉุวิมานที่ ๑๐
๑๑. วันทนวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในวันทนวิมาน
พระมหาโมคคัลลานเถระถามนางเทพธิดาตนหนึ่งว่า [๔๙] ดูกรนางเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีสว่างไสว ไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะ งามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรม อะไร? นางเทพธิดานั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้ม ใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า เมื่อชาติก่อน ดิฉัน เกิดเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก ได้เห็นพระสมณะทั้งหลายผู้มีศีล จึง นมัสการเท้าทั้งคู่แล้วทำใจให้เลื่อมใส มีความร่าเริงบันเทิงใจ ได้ถวาย นมัสการโดยเคารพ เพราะบุญกรรมนั้น ดิฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศเพราะบุญกรรมนั้น.
จบ วันทนวิมานที่ ๑๑
๑๒. รัชชุมาลาวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในรัชชุมาลาวิมาน
พระมหาโมคคัลลานเถระถามนางเทพธิดาตนหนึ่งว่า [๕๐] ดูกรนางเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก กรีดกรายร่ายรำอยู่ในวิมาน อันกึกก้องไปด้วยเสียงเพลงขับทิพย์ เมื่อท่านเยื้องย่างฟ้อนรำอยู่ เสียง ทิพย์อันไพเราะน่าฟังดังจับใจ ย่อมเปล่งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วน ทั้งกลิ่นทิพย์หอมระรื่นน่าชื่นใจ ย่อมฟุ้งขจรออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ ของท่านทุกส่วน เมื่อท่านไหวกายกลับกลอกไปมา เสียงของเครื่อง ประดับที่ท่านประดับบนช้องผม ย่อมเปล่งเสียงไพเราะกังวานปานดนตรี เครื่อง ๕ และเสียงมงกุฎของท่านที่ถูกลมรำเพยพัด ย่อมเปล่งเสียงดัง เสนาะ ดุจดนตรีเครื่อง ๕ แม้พวงดอกไม้บนเศียรเกล้าของท่าน ก็มีกลิ่น หอมระรื่นน่าชื่นใจ หอมตลบไปทั่วทุกทิศ ประดุจดอกอุโลกฉะนั้น ท่านย่อมสูดดมกลิ่นอันหอมระรื่น ทั้งได้เห็นรูปอันเป็นทิพย์ ดูกรนาง เทพธิดา อาตมาถามท่านแล้ว ขอท่านจงบอก นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร? นางเทพธิดานั้นตอบว่า เมื่อชาติก่อน ดิฉันเป็นหญิงรับใช้ของพราหมณ์อยู่ในบ้านคยา เป็นคนมี บุญน้อย ต่ำทราม ชนทั้งหลายเรียกดิฉันว่ารัชชุมาลา ดิฉันถูกเจ้านาย ลงโทษด้วยการด่าว่าเฆี่ยนตี และขู่เข็ญอย่างหนัก จึงถือเอาหม้อน้ำออก จากบ้านเพื่อตักน้ำแล้ววางหม้อน้ำไว้เสียข้างทางบ่ายหน้าสู่ป่าชัฏ ด้วยตั้ง ใจว่า เราจักตายเสียในที่นี้แหละ ความเป็นอยู่ของเราหาประโยชน์อะไร มิได้เลย ครั้นแล้วผูกเชือกให้เป็นบ่วงรัดคออย่างแน่น แล้วปล่อยห้อย ไปตามต้นไม้ คิดว่าจะโดดลงไปให้ตาย เหลียวไปดูรอบทิศ ด้วย เกรงว่า จะมีผู้ใดมาแอบดูอยู่บ้าง ได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็น ปราชญ์ ผู้ทรงเกื้อกูลแก่โลกทั้งปวง ผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ กำลังประทับ นั่งเข้าณานอยู่ที่โคนไม้ ดิฉันนั้นเกิดความสังเวช โลมชาติชูชันไม่เคยมี มาแต่ก่อน ด้วยคิดว่า ใครหนอจะเป็นมนุษย์หรือเทวดามานั่งอยู่ เพราะ ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้สมควรที่จะเกิดความเลื่อมใสโดยแท้จริง ผู้หลีก ออกจากป่า คือกิเลสแล้วมาสู่นิพพาน ใจของดิฉันก็เกิดความเลื่อมใส เพราะคิดว่าท่านผู้สำรวมอินทรีย์ ยินดีณาน มีใจคงที่เช่นนี้ คงไม่ใช่ผู้อื่น จักเป็นพระพุทธเจ้าผู้ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลกทั้งปวง ทรงหวาดกลัวต่อภัย ทรงหลีกเลี่ยงเสียห่างไกล ดังพญาราชสีห์ หลีกเลี่ยงจากภัย เข้าอาศัย อยู่ในถ้ำฉะนั้น การได้พบเห็นพระพุทธเจ้าเช่นนี้เป็นการยาก ดังดอก มะเดื่อ อันบุคคลเห็นได้ยากฉะนั้น (ขณะที่ดิฉันกำลังคิดอยู่อย่างนี้) พระตถาคตเจ้าพระองค์นั้น ได้ตรัสเรียกดิฉันด้วยพระวาจาอันอ่อนหวาน ว่า ดูกรนางรัชชุมาลา ดังนี้แล้ว มีพระดำรัสสืบต่อไปว่า ท่านจงถึง ตถาคตเป็นที่พึ่งเถิด ดิฉันได้สดับพระวาจาอันปราศจากโทษ ประกอบ ด้วยประโยชน์บริสุทธิ์สะอาด เป็นพระวาจาละเอียดอ่อนหวาน ไพเราะ น่าฟัง สามารถบรรเทาความโศกเศร้าทั้งปวงเสียได้นั้น จึงเข้าไปเฝ้าตาม รับสั่ง พระตถาคตเจ้าผู้ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลกทุกหมู่เหล่าทรงทราบ ว่า ดิฉันมีจิตอ่อนเลื่อมใส มีใจบริสุทธิ์แล้ว จึงตรัสสอนดิฉันต่อไปว่า นี้ทุกข์ นี้เป็นแดนเกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ทางให้ถึงความดับทุกข์ เป็นทางหยั่งลงสู่อมตธรรม ดิฉันตั้งอยู่ในพระโอวาทของพระตถาคต ผู้ทรงพระมหากรุณา ฉลาดในเทศนาสั่งสอนสัตว์ จึงได้บรรลุถึงทาง นิพพานเป็นธรรมอันไม่ตาย สงบระงับ ไม่มีจุติต่อไป ดิฉันเป็นผู้มี ความภักดีมั่น ไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัยด้วยความเชื่อมั่นเป็นราก ฐาน เพราะเห็นว่า พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติ ชอบ จึงถวายตัวเป็นสาวิกาผู้เกิดแต่พระอุระของพระพุทธเจ้า ดิฉันรื่น เริงบันเทิงอยู่เป็นผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ ทัดทรงทิพย์มาลา ดื่มน้ำผึ้งทิพย์อัน มีรสหวานสนิท มีนางฟ้าหกหมื่นบรรเลงดนตรี กระทำความปลาบปลื้ม ให้แก่ดิฉัน นางเทพอัปสร มีชื่อต่างๆ กัน คือ อาฬัมพา คัครา ภีมา สาธุวาที สังสยา โบกขรา สุผัสสา วีณา โมกขา นันทา สุนันทา โสณทินนา สุจิมหิตา อาลัมพุสา มิสสเกสี ปุณฑริกา เอณิปัสสา สุปัสสา สุภัททา มุทุกาวที เหล่านี้และเหล่าอื่น ล้วนประเสริฐกว่า นางเทพอัปสรทั้งหลาย ในทางบำเรอ ให้ปลาบปลื้ม นางเทพธิดา เหล่านั้น เมื่อถึงเวลา จะเข้ามาใกล้ชิด แล้วกล่าวประเล้าประลมดิฉัน ว่า เอาเถอะ พวกดิฉันจะฟ้อนรำ ขับร้อง บำเรอท่านให้รื่นรมย์ทีเดียว ก็เทพอุทยานชื่อว่านันทวัน อันหาความโศกเศร้ามิได้ มีแต่ความรื่นเริง บันเทิงใจ นับว่าเป็นเทพอุทยานอันใหญ่ยิ่งของเทวดาชาวไตรทศนี้ ไม่ เป็นที่อยู่ของผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ แต่เป็นที่อยู่ของผู้ทำบุญไว้เท่านั้น ความ ผาสุกย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ ทั้งในโลกนี้และโลกอื่น แต่ย่อมมี แก่ผู้ทำบุญไว้ ทั้งในโลกนี้และโลกอื่น นรชนผู้ปรารถนาจะอยู่กับเทวดา เหล่านั้น ควรทำกุศลไว้ให้มาก เพราะผู้ทำบุญไว้แล้ว ย่อมเพรียบพร้อม ด้วยโภคสมบัติบันเทิงใจอยู่ในสวรรค์ ทายกทั้งหลายได้กระทำสักการะ บูชาในพระตถาคตเจ้าเหล่าใดแล้ว ย่อมบันเทิงใจอยู่ในสวรรค์ พระ ตถาคตเจ้าเหล่านั้นเป็นทักขิไณยบุคคล และเป็นบ่อเกิดแห่งเนื้อนาบุญ ของมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมเสด็จอุบัติขึ้น เพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ เป็นอันมากหนอ.
จบ รัชชุมาลาวิมานที่ ๑๒
รวมวิมานที่มีในวรรค
รวมวิมานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. มัญชิฏฐกวิมาน ๒. ปภัสสรวิมาน ๓. นาควิมาน ๔. อโลมวิมาน ๕. กัญชิกทายิกาวิมาน ๖. วิหารวิมาน ๗. จตุริตถีวิมาน ๘. อัมพวิมาน ๙. ปีตวิมาน ๑๐. อุจฉุวิมาน ๑๑. วันทนวิมาน ๑๒. รัชชุมาลาวิมาน.
จบ วรรคที่ ๔ ในอิตถีวิมาน.
มหารถวรรคที่ ๕
มัณฑุกเทวปุตตวิมาน
ว่าด้วยบุญกรรมของมัณฑุกเทพบุตร
พระผู้มีพระภาคตรัสถามมัณฑุกเทพบุตรว่า [๕๑] ใครมีวรรณะงามยิ่งนัก รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์และยศ ยังทิศทั้งปวงให้สว่าง ไสว ไหว้เท้าทั้งสองของเราอยู่? มัณฑุกเทพบุตรกราบทูลว่า เมื่อชาติก่อน ข้าพระองค์เป็นกบเที่ยวหาอาหารอยู่ในน้ำ เมื่อข้าพระองค์ กำลังฟังธรรมของพระองค์อยู่ คนเลี้ยงโคได้ฆ่าข้าพระองค์ ขอพระองค์ ทรงดูฤทธิ์ ยศ อานุภาพ ผิวพรรณและความรุ่งเรืองของข้าพระองค์ ผู้มีจิตเลื่อมใสครู่หนึ่งเท่านั้น ข้าแต่พระโคดม ก็ผู้ใดได้ฟังธรรมของ พระองค์สิ้นกาลนาน ผู้นั้นพึงได้บรรลุนิพพานอันเป็นฐานะไม่หวั่นไหว เป็นสถานที่ที่ไปแล้วไม่เศร้าโศกเป็นแน่.
จบมัณฑุกเทวปุตตวิมานที่ ๑.
เรวดีวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในเรวดีวิมาน
พระผู้มีพระภาคตรัสกะท่านพระมหาโมคคัลลานเถระว่า [๕๒] ญาติ มิตร และสหายทั้งหลาย ย่อมพากันชื่นชมยินดีกะบุรุษผู้พลัด พรากจากกันไปนาน กลับมาโดยสวัสดีแต่ที่ไกลว่าเป็นผู้มาแล้ว ฉันใด บุญทั้งหลายย่อมต้อนรับบุคคลผู้ทำบุญไว้แล้ว จากโลกนี้ไปสู่ปรโลก ดุจญาติต้อนรับญาติที่รักผู้กลับมาแล้ว ฉันนั้น. ยักษ์ผู้เป็นทูตของพญายม ปรารถนาจะจับนางเรวดีโยนลงไปในอุสสทนรก เพราะฉะนั้น จึงได้กล่าวกะนางเรวดีว่า แน่ะนางเรวดีผู้แสนจะชั่วช้า ผู้ไม่ให้ทาน ประตูนรกได้เปิดไว้คอยให้ เจ้าเข้าไป เพราะเจ้าด่าว่าพระอริยเจ้า เพราะฉะนั้นเจ้าจงรีบลุกขึ้นเร็ว เถิด พวกเราจักพาเจ้าไปโยนลงในอุสสทนรก อันเป็นที่ทอดถอนใจ ของเหล่าสัตว์นรก พรั่งพร้อมอยู่ด้วยทุกข์. ยักษ์ ๒ ตนผู้เป็นทูตของพญายม ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว มีนัยน์ตาลุก แดงใหญ่โตน่าสะพรึงกลัว จับนางเรวดีที่แขนคนละข้าง หลีกไปใน สำนักแห่งหมู่เทวดาในดาวดึงส์. นางเรวดีอันยักษ์ ๒ ตนนั้นนำไปสู่ภพดาวดึงส์อย่างนี้แล้ว วางไว้ ณ ที่ใกล้วิมานของ นันทิยเทพบุตร ได้เห็นวิมานอันมีรัศมีเปล่งปลั่งยิ่งนัก ดุจรัศมีพระอาทิตย์ จึงถามยักษ์ทั้ง ๒ นั้นว่า นี่วิมานของใคร มีรัศมีจุดพระอาทิตย์ งามระยับเลื่อมประภัสสรปกคลุม ด้วยข่ายทองงามแพรวพราว เกลื่อนกล่นไปด้วยเทพบุตรและเทพธิดา มีรัศมีรุ่งเรืองดังรัศมีพระอาทิตย์ มีหมู่นางเทพนารีผู้มีสกลกายลูบไล้ ไป ด้วยจุรณจันทน์แดงอยู่ทั้งภายในและภายนอกวิมานทั้ง ๒ ข้าง ต่างก็พา กันเข้าไปขับกล่อมด้วยดุริยางค์ดนตรี วิมานนั้นปรากฏมีรัศมีดุจพระ อาทิตย์ ใครมาเกิดในสวรรค์บันเทิงอยู่ในวิมานนี้? ยักษ์ ๒ ตนจึงบอกแก่นางเรวดีว่า วิมานของนันทิยอุบาสกในเมืองพาราณสี ซึ่งเป็นผู้ไม่ตระหนี่เป็นทานา- ธิบดี มีใจโอบอ้อมอารี เป็นวิมานเกลื่อนกล่นไปด้วยเทพบุตรเทพธิดา มีรัศมีรุ่งเรือง ดุจรัศมีพระอาทิตย์ มีหมู่นางเทพนารีผู้มีสกลกายลูบไล้ ด้วยจุรณจันทน์แดง อยู่ทั้งภายในและภายนอกทั้งสองข้าง ต่างพากัน เข้าไปขับกล่อมดุริยางค์ดนตรี วิมานของนันทิยอุบาสกนั้น ปรากฏมี รัศมีดุจพระอาทิตย์ นันทิยอุบาสกนั้นมาเกิดในสวรรค์บันเทิงอยู่ใน วิมานนี้. ลำดับนั้น นางเรวดีกล่าวว่า ฉันเป็นภรรยาของนันทิยอุบาสก เป็นหญิงแม่เรือน เป็นใหญ่ในสกุล ทั้งปวง เพราะฉะนั้น บัดนี้ฉันจักรื่นรมย์อยู่ในวิมานของสามี ก็พวก ท่านปรารถนาจะนำฉันไปสู่นรก ฉันไม่ปรารถนาจะเห็นนรกนั้น. ยักษ์ ๒ ตนนั้นมิยอมอนุญาตให้ จึงพาตัวลงไปใกล้อุสสทนรก แล้วจึงกล่าวว่า แน่นางเรวดีแสนจะชั่วช้า นรกนี่แลเป็นของเจ้า เพราะเมื่อเจ้าอยู่ใน มนุษยโลก ไม่ได้ทำบุญไว้ ด้วยว่า บุคคลผู้มีความตระหนี่ขึ้งโกรธ มีธรรม อันเลวทราม ย่อมไม่ได้ความเป็นสหายแห่งเทวดาผู้เข้าถึงสวรรค์. ครั้นยักษ์ทั้งสองกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็หายไป ณ ที่นั่นเอง ก็วันนั้น นางเรวดีเห็นนาย นิรยบาล ๒ คนพากันมาฉุดคร่าตนเพื่อจะโยนลงในคูถนรก ชื่อว่าสังสวกะ จึงถามนายนิรยบาล นั้นว่า เหตุไรคูถนรกและมูตนรกจึงปรากฏมีกลิ่นเหม็น ไม่สะอาด ไฉนคูถนี้จึง มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไปเล่า? นายนิรยบาลตอบว่า แน่ะนางเรวดี นี่เป็นนรกชื่อสังสวกะ ลึกร้อยชั่วบุรุษ เจ้าจักหมกไหม้ อยู่ในนรกนั้นสิ้นพันปี. นางเรวดีจึงถามว่า ฉันทำชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา ใจ เพราะกรรมอะไรฉันจึงตกนรก สังสวกะอันลึกร้อยชั่วบุรุษเล่า? นายนิรยบาลตอบว่า เพราะเจ้าด่าว่าสมณพราหมณ์ และวณิพกเหล่าอื่น ด้วยคำมุสาวาท บาป นั้นเจ้าทำไว้แล้ว เพราะฉะนั้น เจ้าจึงต้องตกนรกสังสวกะลึกร้อยชั่ว บุรุษ แน่ะนางเรวดี เจ้าจักหมกไหม้อยู่ในนรกนั้นสิ้นพันปี ใช่แต่ เท่านั้น นายนิรยบาลทั้งหลายจะตัดมือ เท้า หู และแม้จมูกของเจ้า อนึ่ง ฝูงกา ปากเหล็กย่อมพากันมารุมจิกกินเนื้อของเจ้าให้ดิ้นรนอยู่. นางเรวดีจึงวิงวอนว่า ขอไหว้เถิดพ่อคุณ ขอจงได้นำฉันกลับไปส่งยังมนุษยโลกเถิด ฉันจักทำ บุญให้มากด้วยการให้ทาน การประพฤติธรรมสม่ำเสมอ ความสำรวม การฝึกฝนตน ชนทั้งหลายทำสิ่งใดแล้ว ย่อมได้รับความสุขและไม่ เดือดร้อนในภายหลัง ฉันจักทำแต่สิ่งนั้น. นายนิรยบาลกล่าวว่า เมื่อก่อนเจ้าประมาทมัวเมา เดี๋ยวนี้จะมาร่ำไรไปทำไมเล่า เจ้าจักต้อง เสวยผลแห่งกรรมทั้งหลายอันทำไว้เอง. นางเรวดีสั่งว่า ถ้าใครจากเทวโลกไปสู่มนุษยโลก พึงช่วยบอกแก่บุตรของฉันอย่างนี้ว่า จงให้ผ้านุ่ง ผ้าห่ม ที่นอน ที่นั่ง ข้าวและน้ำเป็นทานในสมณพราหมณ์ ทั้งหลาย ผู้มีอาญาอันวางแล้ว เพราะว่า บุคคลผู้ตระหนี่ ขึ้งโกรธ ด่าว่า มีธรรมอันเลวทราม ย่อมไม่ได้เป็นสหายของหมู่เทวดาผู้เข้าถึง สวรรค์. นางเรวดีได้กล่าวต่อไปว่า ถ้าฉันไปจากนรกนี้แล้ว ได้กำเนิดเป็นมนุษย์ จักเป็นผู้มีใจโอบอ้อม อารี สมบูรณ์ด้วยศีล ทำกุศลให้มาก โดยให้ทาน ประพฤติธรรม สม่ำเสมอ สำรวมกาย วาจา ใจ ฝึกฝนตน จักสร้างอารามและสะพาน ในที่ลุ่ม ขุดบ่อ ขุดสระน้ำให้เป็นทาน ด้วยจิตอันเลื่อมใส จักรักษา อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ และในวันปาฏิหาริยปักษ์ จักเป็นผู้สำรวมระวังในศีลทุกเมื่อ และจักไม่ประมาทในทาน เพราะผลแห่งกรรมนี้ฉันได้เห็นเองแล้ว. พระสังคีติกาจารย์กล่าวไว้ว่า นายนิรยบาลทั้งหลายพากันจับนางเรวดี ผู้ดิ้นรนรำพันอยู่อย่างนี้ เอาเท้า ขึ้นเบื้องบน เอาหัวลงเบื้องต่ำ โยนลงไปในนรกอันร้ายกาจ. เมื่อชาติก่อน เราเป็นคนตระหนี่ ด่าว่าสมณพราหมณ์ หลอกลวงสามี ด้วยเรื่องเท็จ จึงได้มาหมกไหม้อยู่ในนรกอันร้ายกาจนี้.
จบเรวดีวิมานที่ ๒.
ฉัตตมาณวกวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในฉัตตมาณวกวิมาน
พระผู้มีพระภาค เมื่อจะทรงแสดงวิธีเรียนไตรสรณคมน์แก่ฉัตตมาณพ จึงได้ตรัสว่า [๕๓] พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นโอรสแห่งศากยราช เป็นผู้จำแนกแจกธรรม มีกิจอันทำเสร็จแล้ว ผู้ถึงฝั่ง เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังและความเพียร ท่านจงถึงพระพุทธเจ้า พระองค์นั้นผู้เสด็จไปดีแล้ว เพื่อเป็นที่พึ่งของตนเถิด ท่านจงเข้าถึง พระธรรม อันเป็นธรรมคลายความกำหนัด เป็นธรรมไม่หวั่นไหว ไม่มี ความเศร้าโศก อันปัจจัยอะไรปรุงแต่งไม่ได้ ไม่ปฏิกูล เป็นธรรม ไพเราะคล่องแคล่ว เป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคทรงจำแนกดีแล้ว เพื่อเป็นที่พึ่งเถิด บัณฑิตทั้งหลายกล่าวทาน อันบุคคลให้แล้วในพระ อริยสงฆ์ผู้สะอาด เป็นคู่แห่งบุรุษทั้ง ๔ เป็นบุรุษบุคคล ๘ เพราะเหตุ ได้แสดงธรรมว่ามีผลมาก ท่านจงเข้าถึงพระสงฆ์นี้ เพื่อเป็นที่พึ่งเถิด. พระผู้มีพระภาค เพื่อจะทรงประกาศบุญกรรมอันฉัตตเทพบุตรนั้นทำแล้ว ให้ปรากฏ แก่มหาชน จึงได้ตรัสถามฉัตตเทพบุตรนั้นว่า. วิมานของท่านนี้ มีรัศมีรุ่งเรืองมากมายหาที่เปรียบเทียบมิได้ ฉันใด ถึงพระอาทิตย์ พระจันทร์ และดาวนักขัตฤกษ์ รุ่งเรืองอยู่ในท้องฟ้า ก็ไม่อาจจะเปรียบเทียบได้ ฉันนั้น ท่านเป็นใครหนอ มาเกิดใน วิมานนี้ อนึ่ง วิมานของท่านนี้มีรัศมีรุ่งเรืองตัดเสียซึ่งรัศมีแห่งพระจันทร์ และพระอาทิตย์ มีรัศมีแผ่ไปเกินกว่า ๒๐ โยชน์ และทำแม้กลางคืน ให้เป็นดุจกลางวัน วิมานของท่านนี้งามบริสุทธิ์ผุดผ่องไม่หม่นหมอง งดงามไปด้วยดอกปทุมแลบัวขาวเป็นอันมาก เกลื่อนกลาดไปด้วยดอก โกสุม งามวิจิตรด้วยมาลากรรมหลายอย่างต่างๆ กัน ปกคลุมไปด้วย ข่ายทองคำอันบริสุทธิ์ ปราศจากธุลี ดุจพระอาทิตย์แผดแสงสว่างอยู่ใน อากาศฉะนั้น อนึ่ง ท่านทรงผ้ากัมพลแดง ลางทีก็ทรงภูษาสีเหลือง สดใส มีสกลกาย ลูบไล้ด้วยกลิ่นกฤษณา ดอกประยงค์ และ แก่นจันทน์ คันธชาติ มีผิวพรรณเปล่งปลั่งด้วยทองคำ ท่านจะไปเที่ยว ในวิมานใด วิมานนี้ก็เต็มไปด้วยเทพบุตรและนางเทพธิดา อันเที่ยวไป ในที่นั้น ดุจท้องฟ้าอันดาดาษไปด้วยหมู่ดาว ฉะนั้น เทพบุตรเทพธิดา ในวิมานนั้นมากมายมีวรรณะต่างๆ กัน ทรงอาภรณ์ทิพย์อันประดับ ด้วยดอกโกสุมและดอกมะลิ สวมใส่เครื่องประดับผุดผ่อง มีกาย รุ่งเรืองวิจิตรปกปิดด้วยเครื่องทอง หอมฟุ้งไป นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร ท่านมาเกิดในวิมานนี้ เพราะผลแห่งกรรมอะไร ก็วิมานนี้อันท่าน ได้แล้วด้วยประการใด ตถาคตถามแล้ว ขอท่านจงบอกเหตุแห่งการ ได้วิมานนั้น ด้วยประการนั้นเถิด? ฉัตตเทพบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระองค์ได้พบกับมาณพคนหนึ่งชื่อฉัตตมาณพ ซึ่งเดินทางมาในทางนี้ พระองค์ทรงเป็นครู ทรงเอ็นดูพร่ำสอนธรรม แก่เขา ฉัตตมาณพนั้นคือข้าพระองค์ ได้ฟังธรรมของพระองค์ผู้เป็น รัตนะอันประเสริฐ แล้วได้ทูลรับรองว่า จักกระทำตามที่พระองค์ พร่ำสอน อนึ่ง พระองค์ได้ตรัสบอกแก่ข้าพระองค์ว่า ท่านจงเข้าถึง พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ กับทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งเถิด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ทูลปฏิเสธ ภายหลังได้ทำตาม พระดำรัสของพระองค์เหมือนอย่างนั้น อนึ่ง พระองค์ได้ตรัสบอกว่า ท่านอย่าได้ประพฤติฆ่าสัตว์มีประการต่างๆ อันเป็นความไม่สะอาด เพราะท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย ย่อมไม่สรรเสริญความไม่สำรวมในสัตว์ ทั้งหลาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ทูลปฏิเสธ แต่ภายหลัง ได้ทำตามพระดำรัสของพระองค์เหมือนอย่างนั้น อนึ่ง พระองค์ตรัส บอกว่า ท่านอย่าได้ถือเอาสิ่งของที่คนอื่นรักษาหวงแหน และอย่าได้ คบชู้กะภรรยาของผู้อื่น เพราะข้อนี้ไม่ประเสริฐ ข้าแต่พระองค์ผู้ เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ทูลปฏิเสธ แต่ภายหลังได้กระทำตามพระดำรัส ของพระองค์เหมือนอย่างนั้น อนึ่ง พระองค์ได้ตรัสบอกว่า ท่านอย่า ได้พูดให้คลาดเคลื่อนจากความจริง เพราะผู้มีปัญญาทั้งหลายมิได้ สรรเสริญการพูดเท็จ ทีแรกข้าพระองค์ทูลปฏิเสธ แต่ภายหลังได้ ทำตามพระราชดำรัสของพระองค์เหมือนอย่างนั้น อนึ่ง พระองค์ได้ตรัส บอกว่า สัญญาของบุรุษย่อมฟั่นเฟือนไป เพราะน้ำเมาอันได้ดื่มแล้ว ท่านจงงดเว้นน้ำเมาอันเป็นโทษทั้งหมด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรก ข้าพระองค์ได้ปฏิเสธ แต่ภายหลังได้ทำตามพระราชดำรัสของพระองค์ เหมือนอย่างนั้น ข้าพระองค์นั้นได้รักษาศีล ๕ ในศาสนาของพระองค์ และได้ปฏิบัติในธรรมของพระตถาคต ได้เดินทางไปถึงระหว่างเขตบ้าน ทั้งสอง ในท่ามกลางหมู่โจร โจรเหล่านั้นได้ฆ่าข้าพระองค์เพราะเหตุ แห่งโภคทรัพย์ ข้าพระองค์ระลึกถึงกุศลมีประมาณเท่านี้ สิ่งอื่นอัน ยิ่งไปกว่ากุศลตามที่กราบทูลแล้วนั้น มิได้มีแก่ข้าพระองค์ เพราะกรรม อันสุจริตนั้น ข้าพระองค์จึงได้เกิดในไตรทิพย์ พรั่งพร้อมด้วยกาม คุณตามปรารถนา ขอพระองค์ทรงดูผลแห่งการถึงสรณคมน์ สมาทานศีล และการปฏิบัติธรรมอันสมควร สิ้นกาลเพียงครู่หนึ่งเหมือนดังรุ่งเรือง อยู่ด้วยฤทธิ์และยศเกินจะประมาณ ชนทั้งหลายซึ่งมีโภคทรัพย์ด้อยกว่า สมบัติของข้าพระองค์เป็นอันมาก มาเห็นสมบัติอันมากของข้าพระองค์ ย่อมอยากได้ ขอพระองค์ทรงดูผลแห่งเทศนาอันเล็กน้อย อัน ข้าพระองค์ฟังแล้ว ข้าพระองค์ยังไปสู่สุคติและได้ประสบความสุข ชนเหล่าใดได้ฟังธรรมของพระองค์เนืองๆ ชนเหล่านั้นเห็นจะได้บรรลุ นิพพานอันเป็นธรรมไม่ตาย เป็นธรรมเกษม เพราะกุศลมีประมาณ ไม่น้อย อันชนเหล่านั้นทำแล้ว ขอพระองค์ทรงดูผลอันมากมาย ไพบูลย์ อันข้าพระองค์ตั้งอยู่ในธรรมของพระตถาคตทำไว้แล้ว ฉัตตเทพ- บุตรยังปฐพีให้สว่างไสวดุจพระอาทิตย์ เพราะเป็นผู้มีบุญอันทำไว้แล้ว ก็ชนบางพวกได้พบได้เห็นแล้วพากันคิดว่า พวกเราจักทำกุศลอย่างไร จะประพฤติอย่างไร จึงจะได้อย่างนี้ (คิดไปๆ เห็นว่าทำได้แสนยาก ดุจพลิกแผ่นดินและดุจยกเขาสิเนรุราช) ชนเหล่านั้นจึงคิดว่า พวกเรา ได้ความเป็นมนุษย์อีกแล้ว ควรเป็นผู้มีศีล ปฏิบัติ ประพฤติธรรม พระองค์เป็นครูของข้าพระองค์ ทรงมีอุปการะและอนุเคราะห์แก่ข้า พระองค์เป็นอันมาก เมื่อข้าพระองค์ได้พบพระองค์แล้วในวันนั้น ก็ได้ ถูกพวกโจรฆ่าตายในเวลาเช้า ข้าพระองค์เป็นฉัตตมาณพได้เข้าถึงสัจจนาม ขอพระองค์ทรงอนุเคราะห์แก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์จะขอฟังธรรมอีก ชนเหล่าใดในศาสนานี้ ละกามราคะ ภวราคะ อันเป็นอนุสัยและ โมหะแล้ว ชนเหล่านั้นย่อมไม่เข้าถึงการนอนในครรภ์ต่อไป เพราะว่า เป็นผู้บรรลุนิพพาน มีความเย็นเกิดแล้ว.
จบ ฉัตตมาณวกวิมานที่ ๓
กักกฏรสทายกวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในกักกฏรสทายกวิมาน
พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า [๕๔] วิมานของท่านนี้สูงมาก ทั้งยาวและกว้าง ๑๒ โยชน์ มียอด ๗๐๐ ยอด มีเสาล้วนแล้วด้วยแก้วมณีและแก้วไพฑูรย์ ปูลาดด้วยแผ่นทองคำงาม วิจิตรอย่างยิ่ง ท่านอยู่ กิน และดื่ม อยู่ในวิมานนี้ อนึ่ง ทวยเทพผู้มีเสียงอันไพเราะพากันมาบรรเลงพิณทิพย์ให้ท่านฟัง เบญจ- กามคุณมีรสอันเป็นทิพย์ ก็มีพร้อมอยู่ในวิมานนี้ อนึ่ง เหล่าเทพ นารีผู้ประดับประดาด้วยอาภรณ์ทองคำพากันมาฟ้อนรำอยู่ ท่านมีวรรณะ งามเช่นนี้เพราะบุญกรรมอะไร อิฐผลย่อมสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้ เพราะบุญกรรมอะไร อนึ่ง โภคสมบัติอันเป็นที่ชอบใจทุกสิ่งทุก อย่าง ย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านเพราะบุญกรรมอะไร ดูกรเทพเจ้าผู้มีอานุ- ภาพมาก อาตมาขอถามท่าน เมื่อท่านเป็นมนุษย์ ได้ทำบุญอะไร ไว้ ท่านมีอานุภาพรุ่งเรืองและมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญกรรมอะไร? เทพบุตรนั้นอันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้ม ใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ปูมี ๑๐ เท้า สำเร็จด้วยทองคำ ห้อมล้อมอยู่ที่ประตูวิมาน งามรุ่งเรือง เป็น การเตือนให้เกิดความระลึกว่า สมบัตินี้เราได้เพราะการถวายแกงปู ข้าพเจ้ามีวรรณะงามเช่นนี้เพราะบุญกรรมนั้น อิฐผลย่อมสำเร็จแก่ข้าพเจ้า ในวิมานนี้เพราะบุญกรรมนั้น อนึ่ง โภคสมบัติอันเป็นที่ชอบใจ ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเกิดแก่ข้าพเจ้าเพราะบุญกรรมนั้น ข้าพเจ้ามีอานุภาพ รุ่งเรืองและมีรัศมีกายสว่างไสว ไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญกรรม นั้น.
จบ กักกฏรสทายกวิมานที่ ๔.
อีก ๕ วิมานที่เหลือพึงให้พิสดารเหมือนกักกฏรสทายกวิมานนี้.
ทวารปาลกวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในทวารปาลกวิมาน
พระมหาโมคคัลลานเถระได้ถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า [๕๕] วิมานของท่านสูงมาก ทั้งยาวและกว้าง ๑๒ โยชน์ มียอด ๗๐๐ ยอด มีเสาล้วนแล้วด้วยแก้วมณี ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไป ทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญกรรมอะไร? เทพบุตรนั้นอันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า พันปีทิพย์เป็นอายุของ ข้าพเจ้า เพราะข้าพเจ้าได้ทำกุศลด้วยเหตุเพียงพูดอ่อนหวาน ประ พฤติด้วยใจ บุคคลผู้ทำบุญด้วยเหตุเพียงพูดอ่อนหวานและยังใจให้ เลื่อมใสเท่านี้ จักดำรงอยู่ในชั้นดาวดึงส์นี้สิ้นพันปี และพรั่งพร้อมไป ด้วยทิพยกามคุณ ข้าพเจ้ามีวรรณะงามเช่นนี้เพราะบุญกรรมนั้น ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญกรรมนั้น.
จบ ทวารปาลกวิมานที่ ๕.
กรณียวิมานที่ ๑
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในกรณียวิมาน
พระมหาโมคคัลลานเถระได้ถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า [๕๖] วิมานของท่านนี้สูงมาก ทั้งยาวและกว้าง ๑๒ โยชน์ มียอด ๗๐๐ ยอด มีเสาล้วนแล้วด้วยแก้วมณี ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่ว ทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญกรรมอะไร? เทพบุตรนั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบ ปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า บุญทั้งหลาย อันบัณฑิตผู้รู้แจ้ง พึงทำในพระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ปฏิบัติชอบ ซึ่งเป็น เขตที่บุคคลให้ทานแล้วมีผลมาก พระพุทธเจ้าเสด็จจากป่ามาสู่บ้าน เพื่อประโยชน์แก่ข้าพเจ้าโดยแท้ ข้าพเจ้ายังจิตให้เลื่อมใส ในพระ พุทธเจ้าพระองค์นั้น จึงได้เกิดในดาวดึงส์ ข้าพเจ้ามีวรรณะงาม เช่นนี้เพราะบุญกรรมนั้น ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญกรรมนั้น.
จบ กรณียวิมานที่ ๖.
กรณียวิมานที่ ๒
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในกรณียวิมาน
พระมหาโมคคัลลานเถระได้ถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า [๕๗] วิมานของท่านนี้สูงมาก ทั้งยาวและกว้าง ๑๒ โยชน์ มียอด ๗๐๐ ยอด มีเสาล้วนแล้วด้วยแก้วมณี ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่ว ทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญกรรมอะไร? เทพบุตรนั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบ ปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า บุญทั้งหลาย อันบัณฑิตรู้แจ้งพึงกระทำในภิกษุผู้ปฏิบัติชอบ ซึ่งเป็นเขตที่บุคคลให้ ทานแล้วมีผลมาก ภิกษุทั้งหลายจากป่ามาสู่บ้าน เพื่อประโยชน์ แก่ข้าพเจ้าโดยแท้ ข้าพเจ้ายังจิตให้เลื่อมใสในภิกษุเหล่านั้น จึงได้ เกิดในดาวดึงส์ ฯลฯ ข้าพเจ้ามีวรรณะงามเช่นนี้ เพราะบุญกรรมนั้น ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญกรรมนั้น.
จบ กรณียวิมานที่ ๗.
สูจิวิมานที่ ๑
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในสูจิวิมานที่ ๑
พระมหาโมคคัลลานเถระได้ถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า [๕๘] วิมานของท่านนี้สูงมาก ทั้งยาวและกว้าง ๑๒ โยชน์ มียอด ๗๐๐ ยอด มีเสาล้วนแล้วด้วยแก้วมณี ฯลฯ และมีรัศมีสว่าง ไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญกรรมอะไร? เทพบุตรนั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบ ปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า บุคคลให้ สิ่งใด ผลสิ่งนั้นย่อมไม่มี แต่ย่อมมีผลดีกว่าสิ่งที่ตนให้ ข้าพเจ้า ได้ถวายเข็ม ๒ เล่ม การถวายเข็มนั้นแล เป็นเหตุให้ข้าพเจ้าได้ สมบัติอันประเสริฐ ข้าพเจ้ามีวรรณะงามเช่นนี้ เพราะบุญกรรมนั้น ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญกรรมนั้น.
จบ สูจิวิมานที่ ๘.
สูจิวิมานที่ ๒
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในสูจิวิมานที่ ๒
พระมหาโมคคัลลานเถระได้ถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า [๕๙] วิมานของท่านนี้สูงมาก ทั้งยาวและกว้าง ๑๒ โยชน์ มียอด ๗๐๐ ยอด มีเสาล้วนแล้วด้วยแก้วมณี ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญกรรมอะไร? เทพบุตรนั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า เมื่อชาติก่อน ข้าพเจ้า เกิดเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก ได้เห็นภิกษุผู้ปราศจากกิเลสธุลี มี อินทรีย์อันผ่องใส ไม่ขุ่นมัว ข้าพเจ้ามีความเลื่อมใสได้ถวายเข็มแก่ภิกษุ นั้นด้วยมือทั้งสองของตน ข้าพเจ้ามีวรรณะงามเช่นนี้ เพราะ บุญกรรมนั้น ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะ บุญกรรมนั้น.
จบ สูจิวิมานที่ ๙
นาควิมานที่ ๑
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในนาควิมานที่ ๑
พระมหาโมคคัลลานเถระได้ถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า [๖๐] ท่านขึ้นนั่งบนคอเทพกุญชรเผือกผ่อง มีงางอนงาม ทั้งกำลังวังชา ว่องไวยิ่ง สมเป็นมิ่งคชสาร ยอดเยี่ยม ผูกสอดไปด้วยสายรัดประคน ทองอันเรียบร้อย เลื่อนลอยมาในอากาศเวหา ที่งาทั้งสองของคชสาร มี สระโบกขรณี ๔ เหลี่ยม เต็มเปี่ยมด้วยน้ำใสสะอาด อันบุญกรรม ธรรมชาติเนรมิตให้ดาดาษไปด้วยปทุมพุ่มสลอน มีดอกอ่อนตูมบาน แย้มเกสร ในดอกปทุมทุกดอกมีหมู่นางเทพอัปสร ออกมาบรรเลง ดนตรี ฟ้อนรำ นำให้เกิดความรื่นเริงใจ ท่านเกิดเป็นเทพบุตร มี ฤทธิ์อานุภาพอันยิ่งใหญ่ เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้ ท่านมี อานุภาพอันรุ่งเรือง และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะ บุญกรรมอะไร? เทพบุตรนั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้วมีความปลาบปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า เมื่อชาติก่อน ข้าพเจ้า มีจิตเลื่อมใส ได้นำเอาดอกไม้ ๘ กำ ไปบูชาที่พระสถูปของ ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสป ด้วยมือทั้งสองของตน ฯลฯ ข้าพเจ้ามีวรรณะงามเช่นนี้ เพราะบุญกรรมนั้น.
จบ นาควิมานที่ ๑๐
นาควิมานที่ ๒
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในนาควิมานที่ ๒
พระวังคีสเถระได้รับอนุญาตจากพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงได้ถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า [๖๑] ท่านขึ้นนั่งบนคอช้างใหญ่เผือกผ่อง มีกระพองประดับไปด้วยข่ายแก้ว เป็นคชสารอันอุดม แวดล้อมไปด้วยหมู่เทพนารียังทิศทั้ง ๔ ให้สว่าง ไสว ดังดาวประกายพฤกษ์ เที่ยวไปมาจากสวนโน้นสู่สวนนี้ ท่านมี วรรณะงามเช่นนี้ เพราะบุญกรรมอะไร ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่ว ทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญกรรมอะไร? เทพบุตรนั้น อันพระวังคีสเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ จึง พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า เมื่อชาติก่อน ข้าพเจ้าเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก เป็นอุบาสกของ พระผู้มีพระภาคผู้มีพระญาณจักษุเป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต อทินนาทาน ยินดีเฉพาะภริยาของตน ไม่พูดเท็จ ไม่ดื่มน้ำเมา มีจิตเลื่อมใส ได้ ถวายข้าวน้ำให้เป็นทานอันไพบูลย์ ด้วยความเคารพ ข้าพเจ้ามีวรรณะงาม เช่นนี้ เพราะบุญกรรมนั้น ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ อย่างนี้ เพราะบุญกรรมนั้น.
จบ นาควิมานที่ ๑๑
นาควิมานที่ ๓
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในนาควิมาน
บัณฑิตคนหนึ่งได้ถามบุพกรรมของเทพบุตรตนหนึ่งว่า [๖๒] ใครหนอมีเสียงกึกกล้องไปด้วยดุริยางค์และกังสดาล มีคชสาร เผือกผ่องเป็นทิพยยาน ลอยอยู่ในอากาศ อันบริวารเป็นอันมาก บูชาอยู่ ท่านเป็นเทวดา เป็นคนธรรพ์ หรือเป็นท้าวสักกะ จอมเทวันผู้ให้ทาน ในปางก่อน เราไม่รู้จักท่านจึงขอถาม ไฉนเราจะรู้จักท่านอย่างไร? เทพบุตรตอบว่า ข้าพเจ้าไม่ใช่เทวดา ไม่ใช่คนธรรพ์ และไม่ใช่ท้าวสักกะ ผู้ให้ทานใน ปางก่อน ข้าพเจ้าเป็นผู้หนึ่งในจำนวนเทพเจ้าชาวสุธรรมา. บัณฑิตถามว่า ดูกรท่านสุธรรมเทวัน เราขอทำอัญชลีแก่ท่านโดยเคารพ ขอถามท่านว่า ท่านได้ทำกรรมอะไรไว้ในมนุษยโลก จึงมาเกิดเป็น เทพบุตรชาวสุธรรมา? เทพบุตรตอบว่า ผู้ใดได้ถวายเรือนอันมุงบังด้วยใบอ้อย มุงบังด้วยหญ้า และมุงบังด้วยผ้า ผู้นั้นครั้นได้ถวายเรือนทั้งสามอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมบังเกิดเป็น เทพบุตรชาวสุธรรมา.
จบ นาควิมานที่ ๑๒
จูฬรถวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในจูฬรถวิมาน
พระมหากัจจายนเถระถามสุชาตกุมารว่า [๖๓] ท่านเป็นกษัตริย์ เป็นราชโอรส หรือเป็นพรานป่าพเนจร สะพายธนู อันทำด้วยไม้แก่นอันมั่นคง ยืนอยู่? สุชาตกุมารตรัสตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นราชโอรสของพระเจ้าอัสสกะ ผู้เป็นใหญ่ ในแคว้นอัสสกรัฐ เที่ยวไปในป่า ข้าแต่ภิกษุ ข้าพเจ้าจะขอบอกนามของ ข้าพเจ้าแก่ท่าน ชนทั้งหลายเรียกข้าพเจ้าว่า สุชาต ข้าพเจ้าเที่ยวลัดเลาะ ไปในป่าใหญ่แสวงหาหมู่เนื้อ ไม่ได้เห็นเนื้อ มาเห็นท่าน ข้าพเจ้าจึงได้ ยืนอยู่. พระมหากัจจายนเถระกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีบุญใหญ่ ท่านมาดีแล้ว อนึ่ง ถึงท่านมาไกลก็เหมือนมาใกล้ ขอท่านจงตักน้ำจากภาชนะนี้ล้างเท้าของท่านเสียเถิด น้ำนี้เย็นใสสะอาด อาตมภาพตักมาจากซอกเขา ดูกรพระราชบุตร ขอเชิญท่านดื่มน้ำจาก ภาชนะนี้แล้ว เชิญนั่งบนพื้นอันปูลาดเถิด. สุชาตกุมารตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นมหามุนี วาจาของท่านนี้ไพเราะเสนาะโสต ไม่มีโทษ มีแต่ประโยชน์ จับใจนัก ให้เกิดปัญญา และท่านรู้ว่ามีประโยชน์แล้ว จึงพูด ข้าแต่ท่านฤาษีผู้องอาจ อะไรเป็นความยินดีของท่านผู้อยู่ในป่า ข้าพเจ้าถามท่านแล้ว ขอท่านจงบอก ข้าพเจ้าฟังถ้อยคำของท่านแล้วจะ ประพฤติอรรถธรรมให้สม่ำเสมอ. พระมหากัจจายนเถระตอบว่า ดูกรพระราชกุมาร อาตมภาพชอบการไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง ชอบ การงดเว้นจากการลักขโมย จากการประพฤติล่วงละเมิดในหญิงที่เขา หวงห้าม จากการดื่มน้ำเมา และชอบความประพฤติชอบ ความเป็น พหูสูต ความกตัญญู เพราะธรรมเหล่านี้เป็นเหตุเกิดความสรรเสริญ วิญญูชนพึงสรรเสริญในปัจจุบันโดยแท้ ความตายของท่านใกล้เข้ามา แล้ว ท่านจักตายภายใน ๕ เดือน ดูกรพระราชบุตร ขอท่านจงรู้เถิด จงรีบปลดเปลื้องตนเสียเถิด. พระราชกุมารตรัสถามว่า ข้าพเจ้าพึงไปสู่ชนบทไหน ทำการงานอะไร ทำกิจอะไรของบุรุษ หรือ พึงเล่าเรียนวิชาอะไรหนอ จึงจะไม่แก่ไม่ตาย? พระมหากัจจายนเถระตอบว่า ดูกรพระราชกุมาร สัตว์พึงไปในประเทศใดแล้ว ประกอบการงานและ เล่าเรียนวิชา กระทำกิจของบุรุษ จะไม่แก่ไม่ตาย ประเทศเช่นนั้นจะ ไม่มีเลย แม้ชนทั้งหลายผู้มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก เป็นกษัตริย์ ปกครองแว่นแคว้น มีทรัพย์และข้าวเปลือกมากมาย จะไม่แก่ไม่ตาย ไม่มีเลย ถึงชนเหล่านั้นจะเป็นลูกอันธกเวณฑะ มีเพลงอาวุธอันได้ ศึกษาแล้ว แกล้วกล้า องอาจ สามารถจะต่อสู้ศัตรูได้ก็ตาม แต่ชน เหล่านั้นก็ถึงความสิ้นอายุ จะดำรงยั่งยืนเหมือนพระจันทร์พระอาทิตย์ ก็หาไม่ เหล่าชนที่เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล คนหยากเยื่อ และชนชาติอื่นที่จะไม่แก่ไม่ตายก็ไม่มี ชนเหล่าใด เล่าเรียนมนต์อันประกอบด้วยองค์ ๖ ที่เป็นพรหมลิขิตและพวกที่เรียน วิชาเหล่าอื่น แม้ชนเหล่านั้นที่จะไม่แก่ไม่ตายก็ไม่มี อนึ่ง ฤาษีทั้งหลาย ผู้สงบสำรวมตนบำเพ็ญตบะ ก็จำต้องละทิ้งสรีระไปตามกาล ถึงพระ- อรหันต์ผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้ว เสร็จกิจแล้ว ไม่มีอาสวะ สิ้นบุญ และบาปแล้ว ก็ยังต้องทอดทิ้งร่างกายนี้ไป. พระราชกุมารตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นมหามุนี คาถาของท่านเป็นสุภาษิตมีประโยชน์ ข้าพเจ้า โล่งใจเพราะวาจาอันท่านกล่าวดีแล้ว ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้าเถิด. พระเถระกล่าวว่า ท่านอย่าถึงอาตมภาพเป็นที่พึ่งเลย จงถึงพระพุทธเจ้าผู้เป็นศากยบุตร เป็นมหาวีรบุรุษ ที่อาตมภาพถึงเป็นที่พึ่ง ว่าเป็นที่พึ่งเถิด. พระราชกุมารตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระบรมครูของท่านพระองค์นั้น เวลานี้ประทับอยู่ในชนบทไหน แม้ข้าพเจ้าก็จักไปเฝ้าพระพุทธเจ้าพระ- องค์นั้น ผู้ชนะมาร หาบุคคลเปรียบปรานมิได้? พระเถระตอบว่า แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้เป็นบรมครู เป็นบุรุษอาชาไนย ทรง สมภพในวงศ์แห่งพระเจ้าโอกกากราช อยู่ในชนบทปุรัตถิมทิศ แต่ว่า พระองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว. พระราชกุมารตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ก็ถ้าพระพุทธเจ้าผู้เป็นบรมครูของท่านพึงยังดำรง พระชนม์อยู่ไซร้ ถึงจะประทับอยู่ไกลพันโยชน์ ข้าพเจ้าก็จะไปเฝ้าให้ จงได้ ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ก็เพราะพระพุทธเจ้า ผู้เป็นบรมครูของท่าน เสด็จปรินิพพานแล้ว ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าซึ่งเสด็จปรินิพพานแล้ว เป็นมหาวีรบุรุษ เป็นที่พึ่ง อนึ่ง ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้ากับทั้งพระ- ธรรมอันยอดเยี่ยม และพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐกว่า นรชน เป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าของดเว้นจากปาณาติบาต อทินนาทาน จะ ขอยินดีด้วยภรรยาของตนไม่พูดเท็จและไม่ดื่มน้ำเมา. พระเถระกล่าวว่า พระอาทิตย์มีรัศมีตั้งพัน โคจรไปในท้องฟ้าส่องแสงสว่างไปทั่วทิศ ฉันใด รถใหญ่ของท่านนี้ก็ฉันนั้น วัดโดยรอบยาวได้ร้อยโยชน์ หุ้ม ด้วยแผ่นทองคำรอบด้าน งอนรถนั้นวิจิตรด้วยแก้วมุกดา และแก้วมณี ลอยจำหลักเป็นรูปดอกไม้ลดาวัลย์ ตระการไปด้วยแก้วไพฑูรย์ อันบุญ กรรมตบแต่งแล้ว งามเพริดแพร้วด้วยทองคำและเงิน และปลายงอน รถนี้อันบุญกรรมตบแต่งด้วยแก้วไพฑูรย์ แอกรถวิจิตรไปด้วยแก้วทับทิม สายเชือกล้วนแล้วไปด้วยทองคำและเงิน อนึ่ง ม้าเหล่านี้ฝีเท้าว่องไว ดังใจ งามรุ่งเรือง ท่านยืนอยู่บนรถทองดูองอาจ ดุจท้าวสักกเทวราช ผู้เป็นใหญ่กว่าหมู่ทวยเทพ ผู้ทรงราชรถอันเทียมด้วยม้าอาชาไนยตั้งพัน ฉะนั้น อาตมภาพขอถามท่านผู้มียศ ผู้ฉลาด รถอันยิ่งใหญ่นี้ ท่านได้ มาอย่างไร? สุชาตเทพบุตรตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ชาติก่อน ข้าพเจ้าเป็นราชบุตรนามว่า สุชาตกุมาร พระคุณเจ้าอนุเคราะห์สั่งสอนข้าพเจ้าให้ตั้งอยู่ในความสำรวม และ พระคุณเจ้ารู้ว่าข้าพเจ้าจะสิ้นอายุได้ให้พระบรมสารีริกธาตุแก่ข้าพเจ้า โดย กล่าวว่า ดูกรสุชาตราชกุมาร ท่านจงบูชาพระบรมสารีริกธาตุนี้เถิด พระบรมสารีริกธาตุนี้ จักเป็นประโยชน์แก่ท่าน ข้าพเจ้าได้บูชาพระบรม สารีริกธาตุนั้น ด้วยของหอมและพวงมาลัย ขวนขวายในการทำบุญให้ ทาน ละร่างมนุษย์นั้นแล้ว ได้ไปบังเกิดในสวนนันทวัน เดี๋ยวนี้ ข้าพเจ้ามีหมู่นางเทพอัปสรฟ้อนรำ ขับร้องห้อมล้อม รื่นเริงอยู่ในสวน นันทวันอันประเสริฐ น่ารื่นรมย์ เกลื่อนกล่นไปด้วยหมู่สกุณชาติ นานาชนิด.
จบ จูฬรถวิมานที่ ๑๓.
มหารถวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในมหารถวิมาน
พระมหาโมคคัลลานเถระได้ถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า [๖๔] ท่านขึ้นรถม้าอันงามวิจิตรมิใช่น้อย เทียมด้วยม้าหนึ่งพันมาในที่ใกล้ภูมิ- สถานอุทยาน ย่อมรุ่งเรือง ดุจท้าววาสวปุรินททะผู้เป็นใหญ่กว่าเทวดา แม่แคร่รถทั้งสองของท่านก็ล้วนแล้วด้วยทองคำ ปูเรียบด้วยแผ่นกระ- ดานทองสนิทดี มีลูกกรงอันจัดไว้ได้ระเบียบเรียบร้อย ดังสำเร็จด้วย นายช่างผู้มีความเพียร งามไพโรจน์ดุจพระจันทร์ในวันเพ็ญ รถของท่าน นี้ปกคลุมด้วยข่ายทอง วิจิตรด้วยรตนะต่างๆ อย่างมากมาย มีเสียง กึกก้องไพเราะ น่าเพลิดเพลิน รุ่งเรืองไปด้วยหมู่เทพบุตรและเทพนารี ผู้ถือจามร อนึ่ง ดุมรถเหล่านี้วิจิตรไปด้วยลวดลายอย่างละร้อย ดุจว่า เนรมิตแล้วดังใจนึก สว่างไสวดังสายฟ้าแลบ นับได้ด้านละร้อย รถนี้ ปกคลุมด้วยมาลากรรมอันวิจิตรเป็นอเนก กงใหญ่อันมีรัศมีตั้งพัน เสียง แห่งกงเหล่านั้นดังไพเราะดุจดนตรีเครื่อง ๕ อันบุคคลบรรเลงแล้ว ที่ งอนรถร้อยด้วยแก้วมณีกลมดุจมณฑล พระจันทร์ งามวิจิตร แต่งด้วย ลายทองลายแก้วไพฑูรย์งามยิ่งนัก บริสุทธิ์ผุดผ่องทุกเมื่อ ม้าเหล่านี้ ผูกสอดแล้วด้วยแก้วมณี ทั้งสูงทั้งใหญ่ ว่องไว ดังพรหมพลีมีฤทธิ์ มาก อ้วนพี มีกำลังเร็วมาก รู้ใจของท่านวิ่งไปได้รวดเร็วดังใจนึก ม้า ทั้งหมดนี้อดทนไปด้วยเท้า ๔ รู้ใจของท่าน วิ่งไปได้รวดเร็วดังใจ นึก เป็นม้าอ่อนโยน ไม่ลำพอง วิ่งเรียบยังใจผู้ขับขี่ให้เบิกบาน เป็น ม้าอันอุดมกว่าม้าทั้งหลาย ผูกสอดเครื่องประดับอันนายช่างทองทำดีแล้ว สลัดขนหางอยู่ไปมา บางทีก็วิ่งยกย่างเท้าไป บางทีก็เหาะไป เสียง แห่งเครื่องประดับเหล่านั้น ดังไพเราะน่าฟัง ดังดนตรีเครื่อง ๕ อัน บุคคลบรรเลงแล้ว เสียงรถเสียงเครื่องประดับทั้งหลาย เสียงบันลือ แห่งกลีบม้า เสียงม้าคำรนร้อง และเสียงเทพเจ้าผู้บันเทิง ดังไพเราะ น่าฟัง ดังดนตรีแห่งคนธรรพ์ในสวนจิตรลดา มีนางเทพอัปสรทั้งหลาย ยืนอยู่บนรถ มีดวงตารุ่งเรืองดังตาลูกเนื้อทราย มีขนตาดก มีหน้ายิ้ม แย้มพูดจาอ่อนหวาน มีสรีระปกคลุมด้วยข่ายแก้วไพฑูรย์ มีผิวพรรณ อันละเอียดอ่อน ผู้อันคนธรรพ์เทวดาผู้เลิศบูชาแล้ว นุ่งห่มผ้าแดงและ ผ้าเหลืองอันน่ากำหนัดรักใคร่ มีตากว้างยาว มีดวงตางาม มีสรีระ งดงาม หัวเราะเพราะพริ้งเกิดแล้วในตระกูล นางอัปสรทั้งหลายยืน ประนมปรากฏอยู่บนรถ สอดสวมกำไลทองมีร่างส่วนกลางงดงาม มี ลำขาและถันอันสมบูรณ์ นิ้วมือกลม หน้างาม น่าดูน่าชม นางอัปสร บางพวกยืนประนมมืออยู่บนรถ มีช้องผมอันงาม ล้วนแต่เป็นสาวรุ่นๆ มีผมอันสอดแซมด้วยแก้วมาลา ลอนผมเรียบร้อย งดงาม แบ่งออก เท่าๆ กัน นางอัปสรเหล่านั้น มีกิริยาเรียบร้อย มีใจยินดีต่อท่าน นางอัปสรทั้งหลายยืนประนมมือปรากฏบนรถ บางเหล่าสวมพวงมาลัย ปกคลุมไปด้วยดอกประทุมและดอกอุบล ตบแต่งแล้วด้วยมาลามาลัย ลูบไล้ด้วยแก่นจันทน์ นางเทพอัปสรเหล่านั้นมีกิริยาเรียบร้อย มีใจ ยินดีต่อท่าน นางเทพอัปสรทั้งหลายยืนประนมมือปรากฏอยู่บนรถ บาง พวกสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ด้วยเครื่องประดับทั้งหลายที่ประดับแล้วที่คอ ที่มือ ที่เท้า ที่ศีรษะ ดุจพระอาทิตย์ส่องแสงอุทัยในสารทกาล ดอกไม้ และเครื่องประดับที่แขนทั้งสอง อันกำลังลมพัดพานแล้ว ย่อมเปล่ง เสียงกึกก้องไพเราะเจริญใจ เป็นเสียงอันเลิศ อันวิญญูชนทั้งปวงพึงฟัง ดูกรท่านผู้เป็นจอมเทพ ก็เสียงอันเกิดแล้วเพราะรถ ช้างและดุริยางค์ ดนตรีทั้งหลาย อันตั้งอยู่แล้วในภูมิสถานอุทยาน โดยสองข้างเหล่านั้น ย่อมยังท่านให้บันเทิงใจ ดุจพิณทิพย์ทั้งหลาย มีรางและคันถือประกอบ แล้วเรียบร้อย อันนักดีดพิณบรรเลงอยู่ ย่อมยังชนผู้ฟังให้บันเทิง ฉะนั้น เมื่อพิณเป็นอันมากนี้ มีเสียงไพเราะเจริญใจ อันนางอัปสร ทั้งหลายบรรเลงอยู่ แม้เสียงนั้นจับใจยิ่งนัก นางเทพกัญญาทั้งหลาย ผู้ได้ศึกษาแล้ว พากันฟ้อนรำขับร้องอยู่ในดอกปทุมทั้งหลายเปรียบ เหมือนการขับร้อง การฟ้อนรำ และการประโคม ย่อมประสานเสียง เป็นเสียงเดียวกัน ฉะนั้น นางเทพอัปสรบางพวกฟ้อนรำอยู่บนรถของ ท่านนี้ และนางเทพอัปสรบางพวกย่อมยังทศทิศให้สว่างไสว ในข้าง ทั้งสองในประเทศนั้น ด้วยสรีระของตนและด้วยรัศมีแห่งวัตถาภรณ์ ท่าน นั้นเป็นผู้อันหมู่ทิพยดนตรีปลุกปลื้ม บันเทิงใจ อันหมู่ทวยเทพทั้งหลาย บูชาอยู่ ดุจท้าววชิราวุธ เมื่อพิณทิพย์เป็นอันมากนี้ เสียงไพเราะ เจริญใจ อันนางอัปสรทั้งหลายบรรเลงอยู่ แม้เสียงนั้นก็จับใจอย่างยิ่ง เมื่อชาติก่อน ท่านได้ทำกรรมอะไรไว้ด้วยตนเอง ชาติก่อน ท่านเป็น มนุษย์ได้รักษาอุโบสถ หรือว่าได้ชอบใจการประพฤติธรรม และการ สมาทานวัตรอะไร การที่ท่านมีอิทธานุภาพอันไพบูลย์รุ่งโรจน์โชติช่วง ครอบงำซึ่งหมู่เทวดาอย่างยิ่ง นี้ไม่ใช่ผลแห่งกรรมอันท่านทำแล้ว หรือ แห่งอุโบสถอันท่านประพฤติแล้วในชาติก่อน มีประมาณนิดหน่อยเลย นี่เป็นผลแห่งทาน ศีลหรืออัญชลีกรรมของท่าน อาตมาถามแล้วขอท่าน จงบอกผลกรรมนั้นแก่อาตมา? เทพบุตรนั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า เมื่อชาติก่อน ข้าพเจ้า ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้มีอินทรีย์อันชนะแล้ว มีความก้าวหน้าไม่ต่ำทราม ผู้สูงสุดกว่านระ ทรงพระนามว่ากัสสปเป็นอัครบุคคล ผู้เปิดประตูแห่ง อมตธรรม เป็นเทวดายิ่งกว่าเทวดา มีมหาปุริสลักษณะอันเกิดแล้วด้วย อำนาจบุญตั้งร้อย ผู้เช่นกับกุญชรข้ามโอฆะได้แล้ว มีพระรูปงามดุจ ทองสิงคิวรรณและทองชมพูนุท ครั้นได้เห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นแล้ว ก็เกิดความเลื่อมใสทันที ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้เป็นธงชัยแห่ง พระธรรมได้ถวายข้าวและน้ำ อันประกอบด้วยรสอร่อย สะอาด ประณีต กับทั้งจีวร แก่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ในที่อยู่ของตนอันเกลื่อน กล่นไปด้วยดอกไม้ ข้าพเจ้ามีใจไม่ข้องอยู่ในอะไรๆ ได้อังคาสพระ- พุทธเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้สูงสุดกว่าหมู่สัตว์ ด้วยข้าว น้ำ จีวร ของเคี้ยว ของบริโภค และของควรลิ้ม จึงรื่นรมย์อยู่ในสวรรค์อันเป็น เทพบุรีโดยอุบายนี้ ข้าพเจ้าได้ถวายมหาทานที่ควรบูชาอันบริสุทธิ์ ๓ อย่างนี้เสมอๆ ละร่างมนุษย์แล้ว เป็นผู้เสมอด้วย พระอินทร์ รื่นรมย์ อยู่ในเทพบุรี. โคบาลเทพบุตร ครั้นบอกบุรพกรรมอันตนทำแล้วแก่พระเถระด้วยประการดังนี้แล้ว บัดนี้ มีความปรารถนาเพื่อยังชนแม้เหล่าอื่นให้ดำรงอยู่ในนิสสยสมบัติ เมื่อจะประกาศความเลื่อมใส ของตนในพระตถาคต จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาความว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นมุนี เมื่อใครๆ หวังซึ่งอายุ วรรณะ สุขะ พละ และ รูปอันประณีต อย่างพึงมีใจข้องอยู่ในสิ่งอื่น พึงยังข้าวและน้ำอันตน ตบแต่งดีแล้วเป็นอันมาก ให้ตั้งไว้ในพระพุทธเจ้า เพราะใครๆ ใน โลกนี้หรือโลกอื่น จะเป็นผู้ประเสริฐหรือเสมอด้วยพระพุทธเจ้า มิได้มี พระตถาคตเจ้านั้นถึงแล้วซึ่งความเป็นผู้ควรบูชาอย่างยิ่ง กว่าบุคคลผู้ควร บูชาทั้งหลาย ของชนผู้มีความต้องการบุญ แสวงหาผลอันไพบูลย์.
จบ มหารถวิมานที่ ๑๔.
-----------------------------------------------------
รวมวิมานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. มัณฑุกเทวปุตตวิมาน ๒. เรวดีวิมาน ๓. ฉัตตมาณวกวิมาน ๔. กักกฏรสทายกวิมาน ๕. ทวารปาลกวิมาน ๖. กรณียวิมานที่ ๑ ๗. กรณียวิมานที่ ๒ ๘. สูจิวิมานที่ ๑ ๙. สูจิวิมานที่ ๒ ๑๐. นาควิมานที่ ๑ ๑๑. นาควิมานที่ ๒ ๑๒. นาควิมานที่ ๓ ๑๓. จูฬรถวิมาน ๑๔. มหารถวิมาน.
จบ มหารถวรรคที่ ๕.
จบ ภาณวารที่ ๓.
-----------------------------------------------------
ปายาสิกวรรคที่ ๖
๑. อาคาริยวิมานที่ ๑
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในอาคาริยวิมานที่ ๑
พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า [๖๕] สวนจิตรลดา เป็นสวนประเสริฐสูงสุดของชาวไตรทศ ย่อมสว่างไสว ฉันใด วิมานของท่านนี้ก็มีอุปมาฉันนั้น มีรัศมีรุ่งเรืองลอยอยู่ในอากาศ และท่านถึงความเป็นเทพเจ้าผู้มีฤทธิ์มีอานุภาพมาก ครั้งท่านเกิดเป็น มนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้ ท่านมีอานุภาพรุ่งเรือง และมีรัศมีสว่างไสวไป ทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญกรรมอะไร? เทพบุตรนั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า เมื่อเราทั้งสอง คือ ข้าพเจ้าและภรรยา อยู่ครองเรือนในมนุษยโลก เป็นดุจอู่ข้าวอู่น้ำ มีจิต เลื่อมใส ได้ให้ข้าวและน้ำเป็นทานอันไพบูลย์โดยเคารพ ข้าพเจ้ามี วรรณะงามเช่นนี้เพราะบุญนั้น ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ อย่างนี้ เพราะบุญนั้น.
จบ อาคาริยวิมานที่ ๑.
๒. อาคาริยวิมานที่ ๒
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในอาคาริยวิมานที่ ๒
พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า [๖๖] สวนจิตรลดา เป็นสวนประเสริฐสูงสุดของชาวไตรทศ ย่อมสว่างไสว ฉันใด วิมานของท่านนี้ก็มีอุปมาฉันนั้น มีรัศมีรุ่งเรือง ลอยอยู่ใน อากาศ และท่านถึงความเป็นเทพเจ้าผู้มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก ครั้งท่าน เกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้ ท่านมีอานุภาพรุ่งเรือง และมีรัศมี สว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญกรรมอะไร? เทพบุตรนั้น อันพระมหาโมคคัลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า เมื่อเราทั้งสอง คือ ข้าพเจ้า และภรรยา อยู่ครองเรือนในมนุษยโลก เป็นดุจบ่อข้าวบ่อน้ำ มีจิต เลื่อมใส ได้ให้ข้าวน้ำเป็นทานอันไพบูลย์โดยเคารพ ข้าพเจ้ามีวรรณะ งามเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญนั้น.
จบ อาคาริยวิมานที่ ๒
๓. ผลทายกวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในผลทายกวิมาน
พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า [๖๗] วิมานแก้วมณีของท่านนี้สูง ๑๒ โยชน์ โดยรอบมีปราสาท ๗๐๐ มีเสา แล้วไปด้วยแก้วไพฑูรย์ ปูลาดด้วยเครื่องลาดอันงามยิ่ง ท่านอยู่ ดื่ม บริโภคสุธาโภชน์ในวิมานนั้น อนึ่ง เทพบุตรผู้มีเสียงไพเราะ พากัน มาบรรเลงพิณทิพย์ในปราสาทหลังหนึ่งๆ มีนางเทพอัปสร ๖ หมื่นคน ล้วนเคยศึกษามาแล้ว ทั้งรูปก็งามยิ่ง อยู่ในชั้นไตรทศ พากันมาฟ้อนรำ ขับร้องให้ท่านบันเทิงใจ ท่านถึงความเป็นเทพเจ้าผู้มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้ ท่านมีอานุภาพรุ่งเรืองและมี รัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญอะไร? เทพบุตรนั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ผู้ใดมีจิตเลื่อมใส ได้ถวาย ผลมะม่วงในภิกษุสงฆ์ผู้ปฏิบัติตรงย่อมได้ผลอันไพบูลย์ ผู้นั้นแลไปสู่ สวรรค์บันเทิงอยู่ในไตรทิพย์ เสวยผลบุญอันไพบูลย์ ฉันใด ข้าแต่ท่าน มหามุนี ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ ๔ ผล ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุ นั้นแล การถวายผลไม้จึงควรแท้ทีเดียว มนุษย์ผู้ต้องการความสุข ปรารถนาความสุขอันเป็นทิพย์ หรือปรารถนาความเป็นผู้มีส่วนดีงามใน มนุษย์ จงถวายทานเป็นนิตย์ทีเดียว ข้าพเจ้ามีวรรณะงามเช่นนี้เพราะ บุญนั้น ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญนั้น.
จบ ผลทายกวิมานที่ ๓
๔. อุปัสสยทายกวิมานที่ ๑
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในอุปัสสยทายกวิมานที่ ๑
พระมหาโมคคัลลานเถระ ถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า [๖๘] พระจันทร์ส่องแสงรุ่งเรือง ลอยอยู่ในนภากาศอันปราศจากเมฆหมอก ฉันใด วิมานของท่านนี้ก็ฉันนั้น ส่องแสงรุ่งเรืองอยู่ในอากาศ ท่านถึง ความเป็นเทพเจ้าผู้มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก เมื่อท่านเป็นมนุษย์ได้ทำบุญ อะไรไว้ ท่านมีอานุภาพรุ่งเรือง และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญอะไร? เทพบุตรนั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า เราทั้งสอง คือ ข้าพเจ้า และภรรยา เมื่อยังอยู่ในมนุษยโลกได้ถวายที่อยู่แก่พระอรหันต์และมี จิตเลื่อมใส ได้ถวายข้าวและน้ำเป็นทานอันไพบูลย์โดยเคารพ ข้าพเจ้า มีวรรณะงามเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญนั้น.
จบ อุปัสสยทายกวิมานที่ ๑
๕. อุปัสสยทายกวิมานที่ ๒
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในอุปัสสยทายกวิมานที่ ๒
พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามเทพบุตรคนหนึ่งว่า [๖๙] พระอาทิตย์ส่องแสงรุ่งเรืองลอยอยู่ในนภากาศ ปราศจากเมฆหมอก ฉันใด เราทั้งสอง คือ ข้าพเจ้าและภรรยา เมื่อยังอยู่ในมนุษยโลก ได้ ถวายที่อยู่แก่พระอรหันต์ และมีจิตเลื่อมใส ได้ถวายข้าวและน้ำเป็นทาน อันไพบูลย์โดยเคารพ ข้าพเจ้ามีวรรณะงามเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญนั้น.
จบ อุปัสสยทายกวิมานที่ ๕
(ข้อความพิสดารเหมือนกับวิมานก่อน)
๖. ภิกขาทายกวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในภิกขาทายกวิมาน
พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า [๗๐] วิมานแก้วมณีของท่านนี้สูง ๑๒ โยชน์ มีปราสาท ๗๐๐ ยอด มีเสาล้วน ด้วยแก้วไพฑูรย์ ปูลาดด้วยเครื่องลาดทองคำงามวิจิตรอย่างยิ่ง ท่านถึง ความเป็นเทพเจ้าผู้มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไป ทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญอะไร? เทพบุตรนั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า เมื่อชาติก่อนข้าพเจ้าเกิด เป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก ได้เห็นภิกษุลำบาก อดอยาก ในกาลนั้น ข้าพเจ้าได้มอบถวายภิกษาอย่างหนึ่ง พร้อมด้วยภัต ข้าพเจ้ามีวรรณะงาม เช่นนี้เพราะบุญนั้น ฯลฯ และรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญนั้น.
จบ ภิกขาทายกวิมานที่ ๖
๗. ยวปาลกวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในยวปาลกวิมาน
พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า [๗๑] วิมานแก้วมณีของท่านนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญอะไร? เทพบุตรนั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ข้าพเจ้าเกิดเป็นมนุษย์อยู่ใน หมู่มนุษยโลก เป็นคนเฝ้าข้าวได้เห็นภิกษุผู้ปราศจากกิเลสธุลี มีอินทรีย์ ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว มีความเลื่อมใสได้แบ่งขนมกุมมาสถวายท่านด้วยมือ ของตน ครั้นแล้วจึงบันเทิงใจอยู่ในสวนนันทวัน ข้าพเจ้ามีวรรณะงาม เช่นนี้ เพราะบุญนั้น ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศเพราะบุญนั้น.
จบ ยวปาลกวิมานที่ ๗
๘. กุณฑลีวิมานที่ ๑
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในกุณฑลีวิมาน
พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า [๗๒] ท่านประดับประดาแล้ว ทัดทรงดอกไม้ นุ่งห่มผ้าทิพย์ สอดใส่ต่างหู อันงาม มีผมและหนวดอันตัดเรียบร้อย มีมือสวมเครื่องประดับเรืองยศ อยู่ในวิมานทิพย์ งามดุจพระจันทร์ในวันเพ็ญ อนึ่ง เทพบุตรผู้มีเสียง ไพเราะพากันมาบรรเลงพิณทิพย์ ในปราสาทหลังหนึ่งๆ มีนางเทพอัปสร ๖ หมื่น คน ล้วนได้ศึกษามาแล้ว มีรูปงามยิ่ง อยู่ในชั้นไตรทศ พากัน มาฟ้อนรำขับร้องให้ท่านบันเทิงใจ ท่านถึงความเป็นเทพเจ้าผู้มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก เมื่อท่านเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้ ท่านมีอานุภาพ รุ่งเรือง และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญอะไร? เทพบุตรนั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ข้าพเจ้าเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่ มนุษย์ ได้เห็นสมณะทั้งหลายผู้มีศีล ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ มียศ เป็นพหูสูต บรรลุความสิ้นตัณหา มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายข้าวและ น้ำเป็นอันมากเป็นทาน โดยความเคารพ ข้าพเจ้ามีวรรณะงามเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญนั้น.
จบ กุณฑลีวิมานที่ ๘
๙. กุณฑลีวิมานที่ ๒
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในกุณฑลีวิมาน
พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า [๗๓] ท่านประดับประดาแล้ว ทัดทรงดอกไม้ นุ่งห่มผ้าทิพย์ ฯลฯ ท่านมี อานุภาพมาก รุ่งเรือง และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะ บุญอะไร? เทพบุตรนั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ข้าพเจ้าเป็นมนุษย์อยู่ใน หมู่มนุษย์ ได้เห็นสมณะมีรูปงาม ฯลฯ ข้าพเจ้ามีวรรณะงามเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญนั้น
จบ กุณฑลีวิมานที่ ๙
๑๐. อุตตรวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในอุตตรวิมาน
พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า [๗๔] สุธรรมสภาของท้าวสักกเทวราช เป็นที่นั่งประชุมของหมู่ทวยเทพ ฉันใด วิมานของท่านนี้ก็มีอุปมาฉันนั้น ส่องแสงสว่างไสว ลอยอยู่ในอากาศ ท่านถึงความเป็นเทพเจ้าผู้มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ ได้ทำบุญอะไรไว้ ท่านมีอานุภาพอันรุ่งเรืองและมีรัศมีสว่างไสวไปทั่ว ทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญอะไร? เทพบุตรนั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ข้าพเจ้าเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่ มนุษย์ เป็นมาณพรับใช้สอยของพระเจ้าปายาสิ ได้ทรัพย์มาแล้ว ได้ กระทำการแจกจ่าย อนึ่ง ท่านผู้มีศีลทั้งหลาย เป็นที่รักของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส ได้ถวายข้าวและน้ำเป็นทานอันไพบูลย์ โดยความ เคารพ ข้าพเจ้ามีวรรณะงามเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ฯลฯ และมีรัศมีสว่าง ไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญนั้น.
จบ อุตตรวิมานที่ ๑๐
รวมวิมานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อาคาริยวิมานที่ ๑ ๒. อาคาริยวิมานที่ ๒ ๓. ผลทายกวิมาน ๔. อุปัสสยทายกวิมานที่ ๑ ๕. อุปัสสยทายกวิมานที่ ๒ ๖. ภิกขาทายกวิมาน ๗. ยวปาลกวิมาน ๘. กุณฑลีวิมานที่ ๑ ๙. กุณฑลีวิมานที่ ๒ ๑๐. อุตตรวิมาน.
จบ วรรคที่ ๖
สุนิกขิตวรรคที่ ๗
๑. จิตตลดาวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในจิตตลดาวิมาน
พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า [๗๕] สวนจิตรลดา เป็นสวนประเสริฐสูงสุดของชาวไตรทศ ย่อมสว่างไสว ฉันใด วิมานของท่านนี้ก็มีอุปมาฉันนั้น ย่อมสว่างไสว ลอยอยู่ในอากาศ ท่านถึงความเป็นเทพเจ้าผู้มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก เมื่อครั้งท่านเป็นมนุษย์ ได้ทำบุญอะไรไว้ ท่านมีอานุภาพอันรุ่งเรือง และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่ว ทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญอะไร? เทพบุตรนั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ข้าพเจ้าเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่ มนุษย์ เป็นคนขัดสน ไม่มีที่พึ่ง เป็นคนกำพร้า เป็นกรรมกร เลี้ยงดู มารดาบิดาผู้แก่เฒ่า อนึ่ง ท่านผู้มีศีลเป็นที่รักของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีจิต เลื่อมใสได้ถวายข้าวและน้ำเป็นทานอันไพบูลย์ โดยความเคารพ ข้าพเจ้า มีวรรณะงามเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ อย่างนี้ เพราะบุญนั้น.
จบ จิตตลดาวิมานที่ ๑
๒. นันทนวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในนันทนวิมาน
พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า [๗๖] สวนจิตรลดา เป็นสวนประเสริฐสูงสุดของชาวไตรทศ ฯลฯ ท่านมีอานุภาพ อันรุ่งเรือง และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญอะไร? เทพบุตรนั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ข้าพเจ้าเป็นมนุษย์อยู่ใน หมู่มนุษย์ เป็นคนขัดสน ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญนั้น.
จบ นันทนวิมานที่ ๒
๓. มณิถูณวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในมณิถูณวิมาน
พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า [๗๗] วิมานแก้วมณีของท่านนี้สูง ๑๒ โยชน์ โดยรอบมีปราสาท ๗๐๐ มีเสา ล้วนแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ ปูลาดด้วยเครื่องลาดทองคำอันงามยิ่ง ท่านอยู่ ดื่ม และบริโภคสุธาโภชน์ในวิมานนั้น อนึ่ง เทพบุตรผู้มีเสียงไพเราะ ก็พากันมาบรรเลงพิณทิพย์ เบญจกามคุณมีรสอันเป็นทิพย์ก็มีอยู่ในวิมาน นี้ ทั้งเหล่าเทพนารีผู้ประดับประดาด้วยเครื่องทองคำ พากันมาฟ้อนรำอยู่ ท่านมีวรรณะงามเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่ว ทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญอะไร? เทพบุตรนั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ข้าพเจ้าเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่ มนุษย์ ได้สร้างที่จงกรมไว้ใกล้ทางในป่าใหญ่ และปลูกต้นไม้อันน่า รื่นรมย์ อนึ่ง ท่านผู้มีศีลเป็นที่น่ารักของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส ได้ถวายข้าวน้ำมากมายเป็นทานโดยความเคารพ ข้าพเจ้ามีวรรณะงามเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญนั้น.
จบ มณิถูณวิมานที่ ๓
๔. สุวรรณวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในสุวรรณวิมาน
พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า [๗๘] วิมานของท่านสว่างไสวทุกส่วน ปกคลุมด้วยข่ายทองคำ ผูกขึงข่ายกระดึง ตั้งอยู่บนภูเขาทอง เสาทุกต้นของวิมานนั้นแปดเหลี่ยม อันบุญกรรม ทำดีแล้ว สำเร็จด้วยแก้วไพฑูรย์ที่เหลี่ยมหนึ่งๆ มีรตนะ ๗ ประการ อันบุญกรรมเนรมิตแล้ว มีพื้นอันน่ารื่นรมย์ใจ วิจิตรด้วยแก้วไพฑูรย์ ทองคำ แก้วผลึก รูปิยะ มรกต มุกดา ทับทิม และแก้วมณี วิมาน นั้นไม่มีธุลีพุ่งขึ้น หมู่กลอนทั้งหลายมีสีเหลือง อันบุญกรรมเนรมิตแล้ว ทรงไว้ซึ่งช่อฟ้า บุญกรรมเนรมิตบันได ๔ บันไดในทิศทั้ง ๔ มีห้อง สำเร็จด้วยรตนะต่างๆ รุ่งเรืองสว่างไสวดุจพระอาทิตย์ มีอัฒจันท์ ๔ จำแนกออกเป็นส่วนๆ รุ่งเรืองสว่างไสวไปตลอดทั่วทิศทั้ง ๔ โดยรอบ ท่านมีรัศมีรุ่งเรืองล่วงเหล่าเทพบุตรผู้มีรัศมีมาก ในวิมานอันประเสริฐนั้น ดุจพระอาทิตย์อุทัย นี้เป็นผลแห่งทาน ศีล หรืออัญชลีกรรมของท่าน อาตมาถามแล้ว ขอท่านจงบอกผลกรรมนั้นแก่อาตมา? เทพบุตรนั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ข้าพเจ้าเป็นมนุษย์อยู่ใน เมืองอันธกวินทะ มีจิตเลื่อมใสได้สร้างวิหารถวายพระศาสดาผู้เป็น พระพุทธเจ้าเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ด้วยมือของตน ข้าพเจ้ามีใจผ่องใส ได้บูชาด้วยของหอม ดอกไม้ ปัจจัย และเครื่องลูบไล้ แด่พระศาสดา ผู้อยู่ในวิหารนั้น เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าจึงได้ผลนี้มีอำนาจปกครอง นันทนอุทยาน อันหมู่นางอัปสรฟ้อนรำขับร้องห้อมล้อม รื่นรมย์อยู่ใน สวนนันทวันอันประเสริฐ เป็นที่รื่นรมย์เกลื่อนไปด้วยหมู่นกต่างๆ พรรณ.
จบ สุวรรณวิมานที่ ๔
๕. อัมพวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในอัมพวิมาน
พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า [๗๙] วิมานแก้วมณีของท่านนี้สูง ๑๒ โยชน์ โดยรอบมีปราสาท ๗๐๐ มีเสา ล้วนแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ ปูลาดด้วยเครื่องลาดทองคำอันงามยิ่ง ตัวของ ท่านก็อยู่ ดื่ม และบริโภคสุธาโภชน์ในวิมานนั้น อนึ่ง เทพบุตรผู้มี เสียงอันไพเราะ พากันมาบรรเลงเพลงพิณทิพย์ให้ฟัง เบญจกามคุณซึ่งมี รสอันเป็นทิพย์มีอยู่พรั่งพร้อมในวิมานนี้ ทั้งเหล่าเทพนารีมีร่างอัน ประดับด้วยเครื่องทองคำ พากันมาฟ้อนรำอยู่ ท่านมีวรรณะงามเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญ อะไร? เทพบุตรนั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ข้าพเจ้าเป็นบุรุษรับจ้างของ ชนเหล่าอื่น เมื่อพระอาทิตย์กำลังแผดแสงในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน ได้ตักน้ำรดสวนมะม่วงอยู่ ครั้งนั้นภิกษุปรากฏชื่อว่า สารีบุตร ลำบากกาย ไม่ลำบากใจได้มาทางสวนมะม่วงนั้น ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นคนรดน้ำต้น มะม่วง ได้เห็นท่านพระสารีบุตรกำลังเดินมา จึงได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่าน ผู้เจริญ ขอโอกาสเถิด ขอนิมนต์ท่านสรงน้ำ ข้อนั้นจะพึงนำความสุข มาให้แก่ข้าพเจ้า ท่านพระสารีบุตรวางบาตรและจีวรไว้ เหลือแต่จีวร ตัวเดียวนั่งที่ร่มโคนต้นไม้ เพื่ออนุเคราะห์แก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีใจ เลื่อมใส เอาน้ำอันใสสรงพระเถระผู้มีจีวรตัวเดียว นั่งอยู่ที่ร่ม ณ โคน ต้นไม้ ต้นมะม่วง ข้าพเจ้าได้รดน้ำแล้ว และสมณะข้าพเจ้าได้สรงน้ำ แล้ว ข้าพเจ้าได้ประสบบุญมีประมาณมิใช่น้อย บุรุษนั้นย่อมซาบซ่าน ไปทั่วกายของตนด้วยความปีติด้วยคิดว่า เราได้ทำกรรมมีประมาณเท่านี้ ในชาตินั้น ละร่างมนุษย์แล้ว ได้มาบังเกิดในสวนนันทวัน ข้าพเจ้าอัน นางเทพอัปสรพากันฟ้อนรำขับร้องห้อมล้อม รื่นรมย์อยู่ในสวนนันทวัน อันประเสริฐ เป็นสถานอันรื่นรมย์เกลื่อนไปด้วยหมู่นกนานาพรรณ.
จบ อัมพวิมานที่ ๕.
๖. โคปาลวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในโคปาลวิมาน
พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า [๘๐] ภิกษุเห็นข้าพเจ้าแล้วได้ถามว่า ท่านมีมือสวมเครื่องประดับเรืองยศ รุ่งโรจน์อยู่ในวิมานอันสูง อันตั้งอยู่สิ้นกาลนาน ดุจพระจันทร์ รุ่งโรจน์ อยู่ในทิพยวิมานฉะนั้น อนึ่ง เทพบุตรผู้มีเสียงอันไพเราะพากันมาบรร- เลงพิณทิพย์ให้ฟัง ในปราสาทหลังหนึ่งๆ มีนางเทพอัปสร ๖ หมื่นนาง ล้วนได้ศึกษาแล้วมีรูปงามยิ่ง เที่ยวไปในไตรทศ พากันมาฟ้อนรำขับร้อง ให้ท่านบันเทิงใจ ท่านถึงความเป็นเทพเจ้าผู้มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก เมื่อ ท่านเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้ ท่านมีอานุภาพรุ่งเรือง และมีรัศมีสว่าง ไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญอะไร? เทพบุตรนั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ข้าพเจ้าเกิดเป็นมนุษย์อยู่ ในมนุษย์ ได้รับจ้างรักษาแม่โคนมของชนเหล่าอื่น ภายหลังมีสมณะ มายังสำนักของข้าพเจ้า แม่โคทั้งหลาย ได้ไปเพื่อจะกินถั่วราชมาส และ ข้าพเจ้าได้ทำกิจสองอย่างในวันนี้ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ครั้งนั้น ข้าพเจ้า ได้คิดอยู่อย่างนั้น ภายหลังกลับได้สัญญาโดยอุบายอันแยบคาย จึงวาง- ขนมกุมมาสลงในมือของพระเถระ พร้อมกับกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอจงให้โอกาส ข้าพเจ้าได้รีบเข้าไปสู่ไร่ถั่วราชมาสก่อนกว่าเจ้าของไร่ ที่หมู่โคหักรานทรัพย์นั้น งูเห่าที่มีพิษมากได้กัดเท้าของข้าพเจ้าผู้รีบไปใน ไร่ถั่วราชมาสนั้น ข้าพเจ้าผู้อันทุกข์บีบคั้นแล้ว เป็นผู้อึดอัดใจ ภิกษุฉัน ขนมกุมมาสนั้นเองแล้วได้ให้ขนมกุมมาสเพื่ออนุเคราะห์ข้าพเจ้า ข้าพเจ้า กระทำกาละ จุติจากอัตภาพนั้น แล้วไปบังเกิดเป็นเทวดา กุศลกรรม เพียงเท่านั้น อันข้าพเจ้ากระทำแล้ว ข้าพเจ้าได้เสวยกรรมอันเป็นสุข ด้วยตนเอง ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ข้าพเจ้าเป็นผู้อันพระคุณเจ้าอนุเคราะห์ แล้วอย่างยิ่ง ขออภิวาทพระคุณเจ้าด้วยความเป็นผู้กตัญญู มุนีอื่นในโลก พร้อมเทวโลก มารโลก เป็นผู้อนุเคราะห์ยิ่งกว่าพระคุณเจ้ามิได้มี ข้าแต่ ท่านผู้เจริญ ก็ข้าพเจ้าเป็นผู้อันพระคุณเจ้าอนุเคราะห์แล้วอย่างยิ่ง ขออภิ- วาทพระคุณเจ้าด้วยความเป็นผู้กตัญญู มุนีอื่นในโลกนี้หรือในโลกหน้า เป็นผู้อนุเคราะห์ยิ่งกว่าพระคุณเจ้า มิได้มี ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ข้าพเจ้าเป็น ผู้อันพระคุณเจ้าอนุเคราะห์แล้วอย่างยิ่ง ขออภิวาทพระคุณเจ้าด้วยความ เป็นผู้กตัญญู.
จบ โคปาลวิมานที่ ๖.
๗. กัณฐกวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในกัณฐกวิมาน
พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า [๘๑] พระจันทร์ในวันเพ็ญ อันหมู่ดาวนักษัตรแวดล้อมแล้ว เป็นใหญ่กว่า หมู่ดาว มีรูปกระต่าย ย่อมหมุนเวียนไปโดยรอบฉันใด วิมานของท่าน นี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น ย่อมไพโรจน์ยิ่งด้วยรัศมี อยู่ในเทพบุรี ดุจพระ- อาทิตย์อุทัยฉะนั้น พื้นวิมานของท่านน่ารื่นรมย์ใจ วิจิตรแล้วด้วยไพฑูรย์ ทองคำ แก้วผลึก รูปียะ มรกต มุกดา และแก้วทับทิม ลาดด้วยแก้ว ไพฑูรย์ ปราสาททั้งหลายของท่านงามน่ารื่นรมย์ ปราสาทของท่าน อันบุญกรรมเนรมิตดีแล้ว อนึ่ง สระโบกขรณีของท่าน เป็นสถานน่า รื่นรมย์กว้างขวาง อันหมู่ปลาเป็นอันมาก อาศัยแล้ว มีน้ำใสสะอาด พื้นลาดด้วยทรายทอง ดารดาษด้วยปทุมชาตินานา เป็นที่รวมอยู่แห่ง- บัวขาบ ครั้นลมรำเพยพัด กลิ่นหอมฟุ้งชื่นใจ ที่สองข้างแห่งสระโบก ขรณีของท่านนั้น มีพุ่มไม้อันบุญกรรมเนรมิตไว้ให้เป็นอย่างดี ประกอบ ด้วยหมู่ไม้ดอกและไม้ผล หมู่นางเทพอัปสรปกคลุมด้วยสรรพาภรณ์ ทัดทรงมาลาต่างๆ พากันมาบำรุง ท่านผู้มีฤทธิ์มาก ผู้นั่งบนบัลลังก์ เชิงทองคำ อ่อนนุ่ม อันบุญกรรมลาดแล้วด้วยผ้าโกเชาว์ ให้รื่นรมย์ใจ ดุจท้าววสวดีเทวราช ท่านสมบูรณ์ด้วยความยินดีในการฟ้อนรำ ขับร้อง และการประโคม รื่นเริงด้วยกลอง สังข์ ตะโพน พิณ และบัณเฑาะว์ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นทิพย์อันท่านประสงค์แล้ว น่ารื่นรมย์ใจ มีอยู่พร้อมในวิมานของท่าน ท่านมีรัศมีรุ่งเรืองยิ่งกว่า เทพบุตรผู้มีรัศมีรุ่งเรืองในวิมาน อันประเสริฐนั้น ดุจพระอาทิตย์อุทัย นี้เป็นผลแห่งทาน ศีลหรืออัญชลีกรรมของท่าน อาตมาถามแล้ว ขอจง บอกผลนั้น แก่อาตมา? เทพบุตรนั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญญาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ข้าพเจ้าเป็นพญาม้าชื่อ กัณฐกะ เป็นสหชาติของพระโอรส ของพระเจ้าสุทโธทนะ ผู้เป็นใหญ่ กว่าเจ้าศากยะทั้งหลายในกรุงกบิลพัสดุ์ เมื่อพระราชโอรสนั้น เสด็จออก มหาภิเนษกรมณ์ในมัชฌิมยามเพื่อความตรัสรู้ เอาฝ่าพระหัตถ์อันอ่อน เล็บแดงจางสุกใส ตบอกข้าพเจ้าเบาๆ แล้วตรัสกะข้าพเจ้าว่า จงพา ฉันไปเถิดสหาย ฉันได้บรรลุพระโพธิญาณอันอุดมแล้ว จักยังโลกให้ ข้ามพ้นจากห้วงน้ำใหญ่คือสงสาร เมื่อข้าพเจ้าฟังพระดำรัสนั้นแล้ว ได้ มีความร่าเริงยินดีเบิกบาน บันเทิงใจเป็นอันมาก ข้าพเจ้าจึงได้รับคำของ ท่านโดยความเคารพ ครั้นข้าพเจ้ารู้ว่า พระมหาบุรุษผู้เป็นพระโอรสแห่ง ศากยราชผู้เรืองยศ ประทับนั่งบนหลังของข้าพเจ้าแล้ว มีจิตเบิกบาน บันเทิงใจ นำพระมหาบุรุษออกไปจากพระนคร ไปจนถึงแว่นแคว้นของ กษัตริย์เหล่าอื่น เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นแล้ว พระมหาบุรุษมิได้มีความอาลัย ละทิ้งข้าพเจ้ากับฉันนะอำมาตย์ไว้ ทรงหลีกไป ข้าพเจ้าได้เลียพระบาท ทั้ง ๒ ของพระองค์ ซึ่งมีเล็บอันแดง ด้วยลิ้น ร้องไห้ แลดูพระลูกเจ้า ผู้มีความเพียรอันยิ่งใหญ่เสด็จไปอยู่ ข้าพเจ้าป่วยอย่างหนักเพราะมิได้เห็น พระมหาบุรุษศากโยรส ผู้มีศิริพระองค์นั้น ข้าพเจ้าได้ตายลงอย่างรวดเร็ว ด้วยอานุภาพแห่งปีติและโสมนัสนั้น ข้าพเจ้าจึงได้มาอยู่ยังวิมานนี้ อัน ประกอบด้วยกามคุณอันเป็นทิพย์ ดุจท้าวสักกเทวราชผู้เป็นใหญ่ในเทพบุรี ฉะนั้น ความยินดีและความร่าเริงได้เกิดมีแก่ข้าพเจ้า เพราะได้ฟังเสียง ว่า เพื่อพระโพธิญาณก่อนกว่าสิ่งอื่นๆ ฉันจักบรรลุความสิ้นไปแห่ง อาสวะ เพราะกุศลกรรมนั้นนั่นแล ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ถ้าพระคุณ เจ้าพึงไปในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ศาสดาไซร้ ขอพระคุณเจ้าจงทูลถึง การถวายบังคมด้วยเศียรเกล้ากะพระองค์ตามคำของข้าพเจ้า แม้ข้าพเจ้า ก็จักไปเฝ้าพระชินเจ้าผู้หาบุคคลอื่นเปรียบมิได้ การได้เห็นพระโลก- นาถเจ้าเช่นนั้น หาได้ยาก. พระสังคีติกาจารย์ได้รจนาคาถาไว้ ๒ คาถา ความว่า ก็กัณฐกเทพบุตรนั้น เป็นผู้กตัญญูกตเวที ได้เข้าเฝ้าพระศาสดาฟังพระ- ดำรัสของพระศาสดาผู้มีพระจักษุแล้ว ได้บรรลุธรรมจักษุกล่าวคือโสดา ปัตติผล ได้ชำระทิฏฐิและวิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสของตนให้บริสุทธิ์ ถวายบังคมพระบาททั้งสองของพระศาสดา แล้วอันตรธานไปในที่นั้น นั่นเอง.
จบ กัณฐกวิมานที่ ๗.
๘. อเนกวัณณวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในอเนกวัณณวิมาน
พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า [๘๒] ท่านอันหมู่นางเทพอัปสรแวดล้อมแล้ว ขึ้นสู่วิมานอันมีรัศมีต่างๆ เป็น ที่ระงับความกระวนกระวาย และความเศร้าโศกมีรูปอันวิจิตรต่างๆ อัน บุญกรรมตบแต่งดีแล้ว บันเทิงอยู่ดุจท้าวสุนิมมิตเทวราชผู้เป็นใหญ่กว่า เทวดา ไม่มีผู้จะเสมอเหมือนท่าน ไม่มีใครแม้ที่ไหนยิ่งไปกว่าท่านด้วยยศ บุญและฤทธิ์ เทพเจ้าทั้งหมด และเทพเจ้าชั้นไตรทศก็พากันมาประชุม ไหว้ท่าน ดุจมนุษย์และเทวดาไหว้พระจันทร์ ซึ่งปรากฏในวันเพ็ญ ฉะนั้น เทพบุตรและนางเทพอัปสรเหล่านี้ พากันมาฟ้อนรำขับร้องอยู่ โดยรอบเพื่อให้ท่านเบิกบานใจ ท่านเป็นผู้ถึงความเป็นเทพเจ้าผู้มีฤทธิ์ ท่านมีอานุภาพมาก เมื่อท่านเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้ ท่านมีอานุภาพ อันรุ่งเรือง และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญอะไร? เทพบุตรนั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อก่อน ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระชินเจ้าทรงพระนามว่าสุเมธ เป็นปุถุชนยังไม่ได้ ตรัสรู้มรรคผล บวชอยู่ ๗ พรรษา เมื่อพระศาสดาทรงพระนามว่าสุเมธ ผู้ชนะมาร มีโอฆะอันข้ามได้แล้ว ผู้คงที่ ปรินิพพานแล้ว ข้าพเจ้านั้นได้ ไหว้รัตนเจดีย์อันหุ้มด้วยข่ายทองคำ ยังใจให้เลื่อมใสในพระสถูปนั้น ข้าพเจ้าไม่มีการให้ทาน เพราะข้าพเจ้าไม่มีไทยวัตถุให้ แต่ได้ชักชวนชน เหล่าอื่นในการให้ทานนั้นว่า ท่านทั้งหลายจงบูชาพระธาตุของพระพุทธ- เจ้าผู้ควรบูชาเถิด ได้ยินว่าพวกท่านจักไปสู่สวรรค์ เพราะการบูชา พระบรมธาตุอย่างนี้ กุศลกรรมเท่านั้นอันข้าพเจ้าได้กระทำแล้ว ข้าพเจ้า จึงได้เสวยสุขอันเป็นทิพย์ด้วยตนเอง บันเทิงใจอยู่ในท่ามกลางหมู่เทพ- เจ้าชาวไตรทศ ข้าพเจ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งบุญนั้น.
จบ อเนกวัณณวิมานที่ ๘.
๙. มัฏฐกุณฑลีวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในมัฏฐกุณฑลีวิมาน
[๘๓] พราหมณ์ถามเทพบุตรนั้นว่า ท่านประดับแล้ว มีต่างหูอันเกลี้ยง ทัดทรงดอกไม้ มีตัวลูบไล้ด้วย จันทน์แดง ประคองแขนทั้งสองข้างคร่ำครวญอยู่ในป่าช้า ท่านเป็น ทุกข์ถึงอะไรเล่า? มัฏฐกุณฑลีเทพบุตรตอบว่า เรือนรถทำด้วยทองคำงามผุดผ่อง เกิดขึ้นแล้วแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าหาคู่ล้อ ของรถนั้นยังไม่ได้ ข้าพเจ้าจักสละชีวิตเพราะความทุกข์นั้น. พราหมณ์กล่าวว่า ดูกรมาณพผู้เจริญ ท่านอยากได้คู่ล้อทำด้วยทองคำ ทำด้วยแก้ว ทำด้วย ทองแดง หรือทำด้วยเงิน ขอจงบอกแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะให้ท่านได้คู่ ล้อนั้น. มาณพตอบแก่พราหมณ์นั้นว่า พระจันทร์อาทิตย์ ย่อมปรากฏในวิถีทั้งสอง รถของข้าพเจ้าทำด้วยทองคำ ย่อมงามด้วยคู่ล้อนั้น. พราหมณ์กล่าวว่า ดูกรมาณพ ท่านเป็นคนโง่ ที่ท่านมาปรารถนา สิ่งที่ไม่ควรปรารถนา ข้าพเจ้าเข้าใจว่าท่านจักตาย จักไม่ได้พระจันทร์ และพระอาทิตย์ทั้งสอง เลย. มาณพกล่าวว่า แม้การไปและการมาของพระจันทร์ และพระอาทิตย์ยังปรากฏอยู่ รัศมี ของพระจันทร์และพระอาทิตย์นั้น ยังปรากฏอยู่ในวิถีทั้งสอง ส่วนคน ที่ตายล่วงลับไปแล้วย่อมไม่ปรากฏ เราทั้งสองคร่ำครวญอยู่ในที่นี้ ใครจะ โง่กว่ากัน. พราหมณ์กล่าวว่า ดูกรมาณพ ท่านพูดจริง เราทั้งสองคนผู้คร่ำครวญอยู่ ข้าพเจ้าเองเป็น คนโง่กว่า เพราะข้าพเจ้าอยากได้บุตรที่ตายไปแล้ว เหมือนทารกร้องไห้ อยากได้พระจันทร์ฉะนั้น ท่านมารดข้าพเจ้าผู้เร่าร้อนให้สงบ ยังความกระ- วนกระวายทั้งปวงให้ดับเหมือนบุคคลดับไฟ ที่ลาดเปรียงด้วยน้ำฉะนั้น ลูกศรคือความโศกอันเสียบแทงหทัยของข้าพเจ้า อันท่านผู้บรรเทาความ โศกถึงบุตรแก่ข้าพเจ้า ผู้ถูกความโศกครอบงำแล้ว ถอนขึ้นแล้ว ดูกร- มาณพ ข้าพเจ้าเป็นผู้มีลูกศรคือความโศก อันท่านถอนขึ้นแล้ว เป็น ผู้เย็น ดับสนิท จะไม่เศร้าโศก ไม่ร้องไห้ เพราะฟังคำของท่าน ท่าน เป็นเทวดา เป็นคนธรรพ์ หรือเป็นท้าวสักกปุรินททะ ท่านเป็นใคร หรือเป็นบุตรของใคร ไฉนข้าพเจ้าจะรู้จักท่านเล่า? มาณพกล่าวว่า ท่านเผาบุตรที่ป่าช้าเองแล้ว คร่ำครวญร้องไห้ถึงบุตรคนใดบุตรคนนั้นคือ ข้าพเจ้า ทำกุศลกรรมแล้ว ถึงความเป็นสหายของเทพเจ้าชาวไตรทศ. พราหมณ์ถามว่า เมื่อท่านให้ทานน้อยหรือมากในเรือนของตน หรือรักษาอุโบสถกรรม- เช่นนั้น ข้าพเจ้าไม่เคยเห็น ท่านไปสู่เทวโลกได้เพราะกรรมอะไร? มาณพกล่าวว่า เมื่อข้าพเจ้าป่วยเป็นไข้ได้รับทุกข์ มีกายกระสับกระส่ายอยู่ในที่อยู่ของ- ตน ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากกิเลสธุลี ผู้ข้ามพ้นความสงสัย ผู้เสด็จไปดีแล้ว มีพระปัญญาไม่ทราม ข้าพเจ้ามีใจเบิกบานเลื่อมใส ได้ ทำอัญชลีแด่พระตถาคต ข้าพเจ้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชาวไตรทศ เพราะทำกุศลกรรมนั้น. พราหมณ์กล่าวว่า น่าอัศจรรย์หนอ ไม่เคยมีมาแล้วหนอ ผลของอัญชลีกรรมเป็นได้ถึงเช่นนี้ ถึงข้าพเจ้าก็มีใจเบิกบานเลื่อมใส ขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งในวันนี้ ทีเดียว. มาณพกล่าวว่า ขอท่านจงมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็น ที่พึ่งในวันนี้ทีเดียว อนึ่ง ท่านจงสมาทานสิกขาบท ๕ อย่าให้ขาดและ ด่างพร้อย คือ จงงดเว้นจากการฆ่าสัตว์โดยพลัน จงเว้นการถือเอาสิ่งของ ที่เขามิได้ให้ในโลก จงยินดีด้วยภรรยาของตน อย่ากล่าวเท็จ อย่าดื่ม น้ำเมา. พราหมณ์กล่าวว่า ดูกรเทวดาผู้ควรบูชา ท่านเป็นผู้ปรารถนาประโยชน์ ปรารถนาสิ่งเกื้อกูล แก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะทำตามคำของท่าน ท่านเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมอันยอดเยี่ยม และพระสงฆ์สาวก ของพระพุทธเจ้าผู้เป็นนรเทพว่าเป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าของดเว้นจากการฆ่าสัตว์ โดยพลัน ของดเว้นการถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ในโลก ยินดีในภรรยา ของตน ไม่กล่าวเท็จ และไม่ดื่มน้ำเมา.
จบ มัฏฐกุณฑลีวิมานที่ ๙.
๑๐. เสริสสกวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในเสริสสกวิมาน
[๘๔] ท่านพระควัมปติกล่าวว่า ขอท่านทั้งหลายจงฟังคำเทวดา และพวกพ่อค้ามาพบกัน ในเวลาที่พวก พ่อค้าหลงทางในทะเลทราย อนึ่ง ถ้อยคำที่พวกเทวดาและพวกพ่อค้า โต้ตอบกัน ฉันใด ขอท่านทั้งหลายจงฟังคำนั่น ฉันนั้นเถิด ยังมี พระราชาทรงพระนามว่าปายาสิ มียศ ถึงความเป็นสหายของภุมมเทวดา บันเทิงอยู่ในวิมานของตนเป็นเทวดาแต่ได้มาปราศรัยกับพวกมนุษย์. เสริสสกเทพบุตรถามพวกพ่อค้าด้วยคาถาว่า มนุษย์ทั้งหลายผู้กลัวทางคด หลงทางแล้วมาทำไมในป่าที่น่ารังเกียจ เป็น ที่สัญจรไปแห่งอมนุษย์ เป็นที่กันดารไม่มีน้ำ ไม่มีอาหาร เดินไป แสนยาก เป็นท่ามกลางแห่งทะเลทราย ในทะเลทรายนี้ ไม่มีผลไม้ ไม่มีเผือกมัน หาเชื้อมิได้ จักมีอาหารแต่ที่ไหน นอกจากฝุ่นและทราย อันร้อนทารุณดังไฟเผา ที่นี้มีภาคพื้นอันแข็ง ร้อนดังแผ่นเหล็กแดง หาความสุขมีได้ เท่ากับนรก สถานที่นี้เป็นที่อยู่ดั้งเดิมของพวกหยาบช้า มีปีศาจเป็นต้น เป็นเหมือนภูมิประเทศถูกสาปแช่งไว้ เออก็พวกท่าน หวังประโยชน์อะไร ไม่ทันพิจารณาคุณและโทษ พากันหลงทางเข้ามา ยังประเทศนี้ เพราะเหตุอะไร เพราะความโลภหรือความกลัวหรือเพราะ ความหลง. พวกพ่อค้าตอบว่า พวกข้าพเจ้าเป็นพ่อค้าเกวียนอยู่ในแคว้นมคธ และแคว้นอังคะ บรรทุก สินค้ามามาก ข้าพเจ้าทั้งหลายมีความต้องการทรัพย์ ปรารถนาอดิเรกลาภ เพิ่มพูน จึงพากันไปยังสินธุประเทศและโสวีระประเทศ ข้าพเจ้าทุกคน ไม่อาจจะอดกลั้นความกระหายในเวลากลางวัน และหมายจะอนุเคราะห์ โคทั้งหลาย จึงได้พากันรีบเดินทางมาในราตรี อันเป็นเวลาค่ำคืน ข้าพเจ้าทั้งหลายจึงได้พลัดจากทางไปสู่ทางผิดมืดมนดุจคนบอด หลงเข้า ไปในป่าที่ไปได้แสนยาก อันเป็นท่ามกลางทะเลทราย มีจิตงงงวย ไม่ อาจกำหนดทิศได้ ดูกรเทพเจ้าผู้ควรบูชา พวกข้าพเจ้าได้เห็นวิมานอัน ประเสริฐของท่านนี้กับตัวท่าน ซึ่งไม่เคยเห็นมาก่อนจึงหวังว่าจะรอด ชีวิตได้ยิ่งกว่าก่อน เพราะเห็นวิมานของท่าน กับตัวท่าน พวกข้าพเจ้ามี ความดีใจร่าเริง ขนลุกขนพอง. เสริสสกเทพบุตรกล่าวว่า ดูกรพ่อค้าทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเที่ยวไปสู่ฝั่งทะเลทรายข้างนี้ จดฝั่ง- ทะเลทรายข้างโน้น และไปสู่ทางอันเป็นทางไปยาก ประกอบด้วย เซิงหวายและหลักตอ ข้ามแม่น้ำและภูเขาทั้งหลายไปสู่ทิศต่างๆ เป็น อันมาก เพราะเหตุอยากได้โภคทรัพย์ เมื่อพวกท่านไปสู่แว่นแคว้นของ พระราชาเหล่าอื่น ท่านไปเห็นมนุษย์ในต่างประเทศ เราจะขอฟังสิ่ง อัศจรรย์ที่ท่านทั้งหลายได้ฟัง หรือได้เห็นแล้ว ในสำนักของท่าน ทั้งหลายฯ พวกพ่อค้าตอบว่า ดูกรกุมาร พวกข้าพเจ้าไม่เคยได้ยินหรือได้เห็นสมบัติมนุษย์ ในประเทศ อื่นทั้งหมด ที่น่าอัศจรรย์ยิ่งไปกว่าสมบัติในวิมานของท่านนี้ พวก ข้าพเจ้าได้เห็นวิมานของท่าน อันมีรัศมีไม่ทราม อันเลื่อนลอยไปได้ใน อากาศ จึงอิ่มใจนัก ในวิมานของท่านนี้ มีทั้งสระโบกขรณี พวงมาลา บัวขาบมากมาย มีหมู่รุกชาติอันเผล็ดดอกออกผลอยู่เป็นนิจนิรันดร ส่ง กลิ่นหอมฟุ้งขจรไป ในวิมานนี้ มีเสาแก้วไพฑูรย์สูงร้อยศอก ประดับ ด้วยแก้วผลึก แก้วประพาฬ บุษราคัม และแก้วมณีมีเหลี่ยมกว้าง มี รัศมีแผ่ซ่านไป วิมานของท่านนี้งามดีมีเสาพันหนึ่ง มีอานุภาพหาที่เปรียบ มิได้ เสาเหล่านั้นมีวิมานอันงาม แวดล้อมด้วยกำแพงทอง ด้วยแก้ว ต่างๆ มีหลังคาอันมุงแล้วด้วยแก้วต่างๆ ชนิด วิมานของท่านนี้มีแสง แห่งทองชมพูนุท ทอแสงขึ้นในเบื้องบน ประกอบด้วยปราสาท บันได และแผ่นกระดานอันเกลี้ยง งามดี มั่นคงและทรวดทรงงดงาม สม่ำเสมอ อันบุญกรรมปรุงดีแล้ว น่าดูน่าชม น่ารื่นรมย์ใจยิ่งนัก ภายในวิมาน แก้วนั้น มีข้าวและน้ำอันสมบูรณ์ ท่านเองก็แวดล้อมด้วยหมู่นางเทพ- อัปสรเสียงกึกก้องด้วยตะโพน เปิงมาง และดุริยางค์เป็นนิจ ท่านเป็นผู้ อันหมู่เทพยดานอบนบแล้วด้วยการชมเชย และกราบไหว้ ปลาบปลื้ม อยู่ด้วยหมู่เทพนารี บันเทิงใจอยู่ในวิมาน และปราสาทอันประเสริฐน่า รื่นรมย์ใจ มีอานุภาพเป็นอจินไตย ประกอบไปด้วยคุณทั้งปวง ดุจท้าว เวสสุวรรณผู้เป็นใหญ่ ท่านเป็นเทวดาหรือเป็นยักษ์ เป็นท้าวสักกะ จอมเทพหรือเป็นมนุษย์ พวกพ่อค้าเกวียนถามท่าน ขอท่านจงบอกว่า ท่านเป็นเทวดาชื่ออะไร? เสริสสกเทพบุตรตอบว่า ข้าพเจ้าเป็นเทวดาชื่อว่าเสริสสกะ เป็นผู้รักษาทางกันดารเป็นเจ้าทะเล- ทราย ทำตามคำสั่งของท้าวเวสสุวรรณ รักษาประเทศนี้อยู่. พวกพ่อค้าถามว่า วิมานนี้ท่านได้ตามความปรารถนา หรือเกิดในกาลบางคราว ท่านทำเอง หรือเทวดาทั้งหลายมอบให้ พ่อค้าเกวียนทั้งหลายถามท่าน วิมานอันเป็นที่ ชอบใจนี้ท่านได้มาอย่างไร? เสริสสกเทพบุตรตอบว่า วิมานอันเป็นที่ชอบใจนี้ มิใช่ข้าพเจ้าได้ตามความปรารถนา มิใช่เกิดขึ้น ในกาลบางคราว ข้าพเจ้ามิได้ทำเอง และเทวดาทั้งหลายก็มิได้มอบให้ วิมานอันเป็นที่ชอบใจนี้ ข้าพเจ้าได้มาเพราะบุญกรรมอันดีงามของตน. พวกพ่อค้าถามว่า อะไรเป็นวัตรและเป็นพรหมจรรย์ของท่าน นี้เป็นวิบากแห่งบุญอะไร ที่ท่านสั่งสมไว้แล้ว พ่อค้าเกวียนทั้งหลาย ถามท่าน วิมานนี้ท่านได้มา อย่างไร? เสริสสกเทพบุตรตอบว่า ข้าพเจ้ามีนามว่าปายาสิ เมื่อครั้งข้าพเจ้าเสวยสมบัติในแคว้นโกศล ข้าพเจ้ามีความเห็นผิดว่าไม่มี มีความตระหนี่เหนี่ยวแน่น มีธรรมอัน ลามกมีปรกติกล่าวว่าขาดสูญ มีสมณะนามว่า กุมารกัสสป เป็นพหูสูต เป็นผู้เลิศในทางมีถ้อยคำอันวิจิตร ครั้งนั้นท่านได้แสดงธรรมกถาแก่ ข้าพเจ้า ได้บรรเทาทิฏฐิผิดของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้ฟังธรรมกถาของ ท่านนั้นแล้ว ได้ประกาศตนเป็นอุบาสก งดเว้นจากปาณาติบาต จาก อทินนาทาน สันโดษยินดีด้วยภรรยาของตน ไม่พูดเท็จ ไม่ดื่มน้ำเมา ข้อนั้นเป็นวัตรและเป็นพรหมจรรย์ของข้าพเจ้า นี้เป็นวิบากแห่งบุญที่ ข้าพเจ้าได้สั่งสมไว้ วิมานนี้ข้าพเจ้าได้มาเพราะบุญกรรมอันดีงามนั้น นั่นแล. พวกพ่อค้าถามว่า ได้ยินว่า ถ้อยคำของนรชนผู้มีปัญญา เป็นบัณฑิต ที่ได้พูดไว้เป็นคำจริง ไม่กลับกลายเป็นอย่างอื่นว่า บุคคลผู้ทำบุญจะไปในที่ใดๆ ย่อมได้ตาม ความปรารถนา บันเทิงใจในที่นั้นๆ ความเศร้าโศก ความร่ำไร การ เบียดเบียน การจองจำ ความเศร้าหมอง มีอยู่ในที่ใดๆ คนทำบาป ย่อมไม่พ้นจากทุคติในกาลไหนๆ ดูกรกุมาร เพราะเหตุใดหนอ ความ โทมนัสจึงได้บังเกิดแก่เทวดาผู้เป็นบริวารของท่านนี้และแก่ท่าน ดุจคน ผู้หลงใหลฟั่นเฟือน และดุจน้ำอันขุ่นในครู่เดียวนี้. เสริสสกเทพบุตรตอบว่า แน่ะพ่อทั้งหลาย ป่าไม้ซึกเหล่านี้เป็นทิพย์มีกลิ่นหอมฟุ้งตลบไปทั่ว วิมานนี้ ใช่แต่เท่านั้น ป่าไม้ซึกนี้ยังกำจัดความมืดได้ทั้งกลางวันและ กลางคืน ล่วงไปร้อยปี เปลือกฝักแห่งต้นซึกนี้จึงจะสุกหล่นลงครั้งหนึ่งๆ เป็นอันรู้ว่าร้อยปีของมนุษย์ล่วงไปแล้ว ดูกรพ่อทั้งหลาย ตั้งแต่ข้าพเจ้า เกิดในเทพนิกายนี้จักตั้งอยู่ในวิมานนี้ตลอด ๕๐๐ ปีทิพย์ แล้วจึงจุติ เพราะสิ้นอายุ เพราะสิ้นบุญ ข้าพเจ้าสยบซบเซา เพราะความเศร้าโศก นั้นนั่นแล. พวกพ่อค้ากล่าวว่า ท่านได้วิมานนี้มานาน จะนับประมาณมิได้ เมื่อท่านเป็นเช่นนั้น จะเศร้าโศกไปทำไมเล่า ก็แหละคนที่มีบุญน้อย เข้าอยู่วิมานนี้นิดหน่อย ควรเศร้าโศกแน่แท้ แต่ท่านมีอายุถึง ๙ ล้านปีของมนุษย์ จะเศร้าโศก ไปทำไมเล่า ท่านอย่าเศร้าโศกไปเลย. เสริสสกเทพบุตรกล่าวว่า ดูกรท่านทั้งหลาย การที่ท่านทั้งหลายกล่าวตักเตือนข้าพเจ้าด้วยวาจาอัน เป็นที่รักนั้น สมควรแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะตามรักษาพวกท่าน ท่าน ทั้งหลายจงไปโดยสวัสดี ยังที่ที่ท่านทั้งหลายปรารถนาเถิด. พวกพ่อค้ากล่าวว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายมีความต้องการทรัพย์ปรารถนาอดิเรกลาภเพิ่มพูน จึงไป สู่สินธุประเทศและโสวีระประเทศ บัดนี้ พวกข้าพเจ้าขอบวงสรวงท่าน ขอให้ปฏิญาณไว้แก่ท่าน ถ้าพวกข้าพเจ้าได้ทรัพย์สมความปรารถนาแล้ว จักทำการบูชาเสริสสกเทพบุตรให้ยิ่ง. เสริสสกเทพบุตรกล่าวว่า ท่านทั้งหลายอย่าได้ทำการบูชาแก่เสริสสกเทพบุตรเลย สิ่งที่ท่านพูดถึง ทั้งหมด จักเป็นของท่าน ขอพวกท่านจงงดเว้นกรรมทั้งหลายอันเป็นบาป และจงอธิษฐานการประกอบตามซึ่งธรรม ในหมู่พ่อค้าเกวียนนี้ มีอุบาสก ผู้เป็นพหูสูต สมบูรณ์ด้วยศีลและวัตร มีศรัทธา มีปกติบริจาค มีศีลเป็น ที่รัก มีปัญญาเครื่องพิจารณา เป็นผู้สันโดษ เป็นผู้รู้ เมื่อรู้สึกอยู่ไม่ พูดมุสา ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่พึงกล่าวคำส่อเสียดให้เขาแตก กัน พูดแต่วาจาอ่อนหวานละมุนละม่อม มีความเคารพ ยำเกรง อ่อนน้อม ไม่เป็นคนทำบาป หมดจดในอธิศีล เป็นคนเลี้ยงมารดา และบิดาโดยธรรม มีความประพฤติบริสุทธิ์ แสวงหาโภคะทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งมารดาและบิดา ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งตน เมื่อมารดาบิดา ล่วงลับไปแล้ว มีจิตน้อมไปในเนกขัมมะ จักประพฤติพรหมจรรย์ เป็น คนตรง ไม่คดโกง ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ไม่พูดโยด้วยอ้างเลศ อุบาสกผู้ทำงานอันบริสุทธิ์ตั้งอยู่ในธรรม เช่นนี้ จะพึงได้ทุกข์อย่างไร เล่า เพราะอุบาสกนั้นเป็นเหตุข้าพเจ้าจึงมาแสดงตนให้ปรากฏ ดูกรพ่อ ค้าทั้งหลาย เพราะฉะนั้น พวกท่านจึงได้เห็นข้าพเจ้า ก็ถ้าเว้นอุบาสก นั้นเสีย พวกท่านก็จักมืดมน ดุจคนตาบอด หลงเข้าไปในป่า จักเป็น เถ้าถ่านไป อันคนอื่นเบียดเบียนคนอื่นนั้น เป็นการกระทำได้ง่าย การ สมาคมด้วยสัปบุรุษ นำมาซึ่งความสุข. พวกพ่อค้าถามว่า อุบาสกนั้นชื่ออะไร ทำกรรมอะไร มีชื่ออย่างไร มีโคตรอย่างไร ดูกร เทพเจ้าผู้ควรบูชา ท่านมาในที่นี้เพื่ออนุเคราะห์อุบาสกคนใด แม้พวก ข้าพเจ้าก็ต้องการจะเห็นอุบาสกนั้น แม้ท่านรักอุบาสกคนใด ก็เป็นลาภ ของอุบาสกคนนั้น. เสริสสกเทพบุตรกล่าวว่า บุรุษใดเป็นกัลบกมีชื่อว่า สัมภวะเป็นคนรับใช้สอยของพวกท่าน อาศัยการตัดผมเลี้ยงชีพ ท่านทั้งหลายจงรู้บุรุษนั้นว่าเป็นอุบาสก ท่าน ทั้งหลายอย่าได้ดูหมิ่นอุบาสกนั้น ด้วยว่าอุบาสกนั้นผู้มีศีลเป็นที่รัก. พวกพ่อค้ากล่าวว่า ดูกรเทพเจ้าผู้ควรบูชา ท่านพูดถึงช่างตัดผมคนใด ข้าพเจ้าทั้งหลายรู้จัก แล้ว แต่ก่อนข้าพเจ้าทั้งหลายไม่รู้จักว่าเป็นเช่นนี้เลย เพราะฟังคำ ของท่าน แม้ข้าพเจ้าทั้งหลายก็จักบูชาอุบาสกนั้นเป็นอย่างยิ่ง. เสริสสกเทพบุตรกล่าวว่า มนุษย์ทั้งหมดในโลกนี้ เป็นหนุ่ม แก่หรือปานกลาง มนุษย์เหล่านั้น ทั้งหมดจงขึ้นสู่วิมานนี้แล้ว จงดูผลบุญของคนตระหนี่. พระธรรมสังคีตีกาจารย์ได้รจนาคาถาเหล่านี้ไว้ในที่สุดว่า พวกพ่อค้าเหล่านั้นทั้งหมดในที่นั้น พากันห้อมล้อมช่างกัลบกนั้นขึ้นสู่ วิมาน ดุจวิมานแห่งท้าววาสะ ด้วยการกล่าวว่าเราก่อนๆ พวกพ่อค้า ทั้งหมดนั้น ได้ประกาศความเป็นอุบาสกว่า เราก่อนๆ ดังนี้ เป็นผู้งด เว้นจากปาณาติบาต จากอทินนาทาน ยินดีด้วยภรรยาของตน ไม่พูดเท็จ และไม่ดื่มน้ำเมา พวกพ่อค้าทั้งหมดนั้น ครั้นประกาศความเป็นอุบาสก แล้ว ผู้อันเสริสสกเทพบุตรบอกแล้ว บันเทิงอยู่ด้วยเทวฤทธิ์บ่อยๆ แล้วหลีกไป พวกพ่อค้าเหล่านั้นมีความต้องการด้วยทรัพย์ ปรารถนา อดิเรกลาภเพิ่มพูน ได้ไปยังสินธุประเทศและโสวีระประเทศ พยายาม ทำตามความปรารถนาของตน ได้ทรัพย์บริบูรณ์ตามความปรารถนา กลับ มาสู่ปาตลีบุตรดังเดิม หาอันตรายมิได้ มีความสวัสดี ไปสู่เรือนของตน พรั่งพร้อมด้วยบุตรและภรรยา มีจิตยินดีโสมนัสปลาบปลื้ม ได้ทำการ บูชาอย่างยิ่งแก่เสริสสกเทพบุตร ให้สร้างเทวาลัยชื่อว่าเสริสสกะ การ คบหาด้วยสัปบุรุษยังประโยชน์ให้สำเร็จอย่างนี้ การคบหาบุคคลผู้มี คุณธรรม มีประโยชน์มาก สัตว์ทั้งปวงย่อมได้รับประโยชน์ และมีความ สุข เพราะคบหาอุบาสกคนหนึ่งๆ
จบ เสริสสกวิมานที่ ๑๐
๑๑. สุนิกขิตตวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในสุนิกขิตตวิมาน
พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า [๘๕] วิมานแก้วมณีของท่านนี้ สูง ๑๒ โยชน์โดยรอบ มีปราสาท ๗๐๐ มีเสา ล้วนแล้วไปด้วยแก้วไพฑูรย์ ปูลาดด้วยเครื่องลาดอันงามยิ่ง ท่านอยู่ ดื่ม และบริโภคสุธาโภชน์ในวิมานนี้ อนึ่ง เทพบุตรผู้นี้มีเสียงอัน ไพเราะพากันมาบรรเลงพิณทิพย์ เบญจกามคุณซึ่งมีรสเป็นทิพย์ก็มีอยู่ พร้อมในวิมานนี้ ทั้งเหล่าเทพนารีปกคลุมด้วยเครื่องประดับทองคำ พากันมาฟ้อนรำอยู่ ท่านมีวรรณะเช่นนี้เพราะบุญอะไร อิฏฐผลย่อม สำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้ และโภคสมบัติอันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุก อย่าง ย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านเพราะบุญอะไร ดูกรเทพเจ้าผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน ท่านเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไร ท่านมีอานุภาพอันรุ่งเรือง และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญอะไร? เทพบุตรนั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ข้าพเจ้าได้จัดดอกไม้ อัน มหาชนจัดไว้แล้วไม่เรียบร้อย แล้วได้ประดิษฐานไว้ที่พระสถูปของพระ สุคตเจ้า จึงเป็นผู้มีฤทธิ์มากและมีอานุภาพมาก พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ อันเป็นทิพย์ ข้าพเจ้ามีวรรณะเช่นนี้เพราะบุญนั้น อิฏฐผลสมบัติอันเป็น ที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่าง ย่อมเกิดแก่ข้าพเจ้าเพราะบุญนั้น ข้าพเจ้ามี อานุภาพอันรุ่งเรือง และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะ บุญนั้นๆ.
จบ สุนิกขิตตวิมานที่ ๑๑
จบ สุนิกขิตตวรรคที่ ๗.
-----------------------------------------------------
รวมวิมานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. จิตตลดาวิมาน ๒. นันทนวิมาน ๓. มณิถูณวิมาน ๔. สุวรรณวิมาน ๕. อัมพวิมาน ๖. โคปาลวิมาน ๗. กัณฐกวิมาน ๘. อเนกวรรณวิมาน ๙. มัฏฐกุณฑลีวิมาน ๑๐. เสริสสกวิมาน ๑๑. สุนิกขิตตวิมาน.
จบ ภาณวารที่ ๔.
เปตวัตถุ
๑. เขตตูปมาเปตวัตถุ
ว่าด้วยพระอรหันต์เปรียบเหมือนนา
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ความว่า [๘๖] พระอรหันต์ทั้งหลายเปรียบด้วยนา ทายกทั้งหลายเปรียบด้วยชาวนา ไทยธรรมเปรียบด้วยพืช ผลทานย่อมเกิดแต่การบริจาคไทยธรรมของ ทายกและปฏิคคาหกผู้รับ พืชที่บุคคลหว่านลงในนานั้น ย่อมเกิดผลแก่ เปรตทั้งหลายและทายกเปรตทั้งหลายย่อมบริโภคผลนั้น ทายกย่อมเจริญ ด้วยบุญ ทายกทำกุศลในโลกนี้แล้ว อุทิศให้เปรตทั้งหลาย ครั้นทำกรรม ดีแล้วย่อมไปสวรรค์.
จบ เขตตูปมาวัตถุที่ ๑.
๒. สูกรเปตวัตถุ
ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตปากหมู
ท่านพระนารทะถามเปรตตนหนึ่งว่า [๘๗] กายของท่านมีสีเหมือนทองคำทั่วทั้งกาย รัศมีกายของท่านสว่างไสวไป ทั่วทุกทิศ แต่ปากของท่านเหมือนปากสุกร เมื่อก่อนท่านได้ทำกรรม อะไรไว้? เปรตนั้นตอบว่า ข้าแต่พระนารทะ เมื่อก่อนข้าพเจ้าได้สำรวมกาย แต่ไม่ได้สำรวมวาจา เพราะเหตุนั้นรัศมีกายของข้าพเจ้าจึงเป็นเช่นกับที่ท่านเห็นอยู่นั้น เพราะ เหตุนั้น ข้าพเจ้าขอกล่าวกะท่าน สรีระของข้าพเจ้าท่านเห็นเองแล้ว ขอ ท่านอย่าทำบาปด้วยปาก อย่าให้ปากสุกรเกิดมีแก่ท่าน.
จบ สูกรเปตวัตถุ.
๓. ปูตีมุขเปตวัตถุ
ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตปากเน่า
ท่านพระนารทะถามเปรตตนหนึ่งว่า [๘๘] ท่านมีผิวพรรณงามดังทิพย์ ยืนอยู่ในอากาศ แต่ปากของท่านมีกลิ่น เหม็น หมู่หนอนพากันมาไชชอนอยู่ เมื่อก่อนท่านทำกรรมอะไรไว้? เปรตนั้นตอบว่า เมื่อก่อนข้าพเจ้าเป็นสมณะลามก มีวาจาชั่ว สำรวมกายเป็นปกติ ไม่ สำรวมปาก ผิวพรรณดังทองข้าพเจ้าได้แล้ว เพราะพรหมจรรย์นั้น แต่ ปากของข้าพเจ้าเหม็นเน่าเพราะกล่าววาจาส่อเสียด ข้าแต่ท่านพระนารทะ รูปของข้าพเจ้านี้ท่านเห็นเองแล้ว ท่านผู้ฉลาดอนุเคราะห์กล่าวไว้ว่า ท่านอย่าพูดส่อเสียดและอย่าพูดมุสา ถ้าท่านละคำส่อเสียดและคำมุสา แล้ว สำรวมด้วยวาจา ท่านจักเป็นเทพเจ้าผู้สมบูรณ์ด้วยสิ่งที่น่าใคร่.
จบ ปูติมุขเปตวัตถุที่ ๓.
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ
ว่าด้วยการทำบุญอุทิศให้เปรต
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า [๘๙] บุคคลผู้ไม่ตระหนี่ ควรทำเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือปรารภถึงบุรพเปตชน เทวดาผู้สิงอยู่ในเรือน หรือท้าวมหาราชทั้ง ๔ ผู้รักษาโลก ผู้มียศ คือ ท้าวธตรัฐ ๑ ท้าววิรุฬหก ๑ ท้าววิรูปักษ์ ๑ ท้าวกุเวร ๑ ให้เป็นอารมณ์ และพึงให้ทาน ท่านเหล่านั้นเป็นผู้อันบุคคลได้บูชาแล้ว และทายกก็ไม่ ไร้ผล ความร้องไห้ ความเศร้าโศก หรือความร่ำไห้อย่างอื่น ไม่ควรทำ เลย เพราะความร้องไห้เป็นต้นนั้น ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ล่วงลับ ไปแล้ว ญาติทั้งหลายคงตั้งอยู่ตามธรรมดาของตนๆ อันทักษิณาทานนี้ ที่ท่านเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในสงฆ์ให้แล้ว ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่บุรพเปต- ชนโดยทันที สิ้นกาลนาน.
จบ ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุที่ ๔.
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ
ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตญาติพระเจ้าพิมพิสาร
พระผู้มีพระภาคตรัสกะพระเจ้าพิมพิสารว่า [๙๐] เปรตทั้งหลายพากันมาสู่เรือนของตนแล้ว ยืนอยู่ภายนอกฝาที่ตรอก กำแพง และทาง ๓ แพร่ง และยืนอยู่ที่ใกล้บานประตู เมื่อข้าว น้ำ ของกิน ของบริโภคเป็นอันมากเขาเข้าไปตั้งไว้แล้ว แต่ญาติไรๆ ของ สัตว์เหล่านั้นระลึกไม่ได้ เพราะกรรมเป็นปัจจัย เหล่าชนผู้อนุเคราะห์ ย่อมให้น้ำและโภชนะอันสะอาด ประณีตสมควรแก่ญาติทั้งหลายตามกาล ดุจทานที่มหาบพิตรทรงถวายแล้วฉะนั้น ด้วยเจตนาอุทิศว่า ขอทานนี้แล จงสำเร็จผลแก่ญาติทั้งหลายของเรา ขอญาติทั้งหลายของเราจงเป็นสุข เถิด ส่วนเปรตผู้เป็นญาติเหล่านั้น พากันมาชุมในที่นั้น เมื่อข้าว และน้ำมีอยู่บริบูรณ์ ย่อมอนุโมทนาโดยเคารพว่า เราได้สมบัติเพราะ เหตุแห่งญาติเหล่าใด ขอญาติของเราเหล่านั้น จงมีชีวิตอยู่ยืนนาน การบูชาเป็นอันพวกญาติได้ทำแล้วแก่เราทั้งหลาย และญาติทั้งหลายผู้ให้ ก็ไม่ไร้ผล เพราะในเปรตวิสัยนั้น ไม่มีกสิกรรม ไม่มีโครักขกรรม ไม่ มีการค้าขายเช่นนั้น ไม่มีการซื้อการขายด้วยเงิน เปรตทั้งหลายผู้ไปใน ปิตติวิสัย ย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยทานที่ญาติหรือมิตรให้แล้วแต่มนุษย- โลกนี้ น้ำฝนอันตกลงในที่ดอน ย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด ทานอัน ญาติหรือมิตรให้แล้วในมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่เปรตทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ห้วงน้ำใหญ่เต็มแล้ว ย่อมยังสาครให้เต็มเปี่ยม ฉันใด ทานอันญาติหรือมิตรให้แล้ว แต่มนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผล แก่เปรตทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน กุลบุตรเมื่อระลึกถึงอุปการะที่ท่าน ทำแล้วในกาลก่อนว่า ญาติมิตรและสหายได้ให้สิ่งของแก่เรา ได้ช่วย ทำกิจของเรา ดังนี้ พึงให้ทักษิณาแก่เปรตทั้งหลาย ความเศร้าโศก หรือความร่ำไรอย่างอื่น ไม่ควรทำเลย เพราะความร้องไห้เป็นต้นนั้น ไม่เป็นประโยชน์แก่เปรตทั้งหลาย ญาติทั้งหลายย่อมดำรงอยู่โดยปกติ ธรรมดา อันทักษิณานี้แลที่ท่านเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในสงฆ์ ให้แล้ว ย่อม สำเร็จประโยชน์แก่เปรตนั้นโดยพลัน สิ้นกาลนาน ญาติธรรมมหาพิตร ได้แสดงให้ปรากฏแล้ว การบูชาอันยิ่งเพื่อเปรตทั้งหลาย มหาพิตรทรง ทำแล้ว และกำลังกายมหาบพิตรได้เพิ่มให้แก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว บุญมี ประมาณไม่น้อยมหาบพิตรได้ทรงขวนขวายแล้ว.
จบ ติโรกุฑฑเปตวัตถุที่ ๕.
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปตวัตถุ
ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตกินลูกคราวละ ๕ คน
พระสังฆเถระถามว่า [๙๑] ท่านเปลือยกาย มีผิวพรรณเลวทราม มีกลิ่นเหม็นเน่าฟุ้งไป หมู่แมลง วันพากันตอมเกลื่อนกล่น ท่านเป็นใครหนอมายืนอยู่ในที่นี้? หญิงเปรตนั้นตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเป็นเปรต ถึงทุคติ เกิดในยมโลก เพราะทำ กรรมอันลามกจึงต้องจากโลกนี้ไปสู่เปตโลก เวลาเช้าคลอดบุตร ๕ คน เวลาเย็นอีก ๕ ตน แล้วกินลูกเหล่านั้นหมด ถึงบุตร ๑๐ คนเหล่านั้น ก็ยังไม่อาจบรรเทาความหิวของดิฉัน หัวใจของดิฉันเร่าร้อนอยู่เป็นนิจ เพราะความหิวดิฉันไม่ได้ดื่มน้ำที่ควรดื่ม ขอท่านจงดูดิฉันผู้ถึงความ พินาศเช่นนี้เถิด. พระเถระถามว่า เมื่อก่อน ท่านได้ทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา ใจ หรือท่านกินเนื้อ บุตรทั้งหลาย เพราะวิบากแห่งกรรมอะไร? หญิงเปรตนั้นตอบว่า เมื่อก่อน หญิงร่วมสามีของดิฉันคนหนึ่งมีครรภ์ ดิฉันคิดชั่วต่อเขา มีใจ ประทุษร้าย ได้ทำให้ครรภ์ตกไป เขามีครรภ์ ๒ เดือนเท่านั้น ไหลออก เป็นโลหิต ครั้งนั้น มารดาของเขาโกรธ เชิญพวกญาติของดิฉันมา ประชุมซักถาม ให้ดิฉันทำการสบถและขู่เข็ญให้กลัว ดิฉันได้กล่าวคำ สบถและมุสาวาทอย่างแรงว่า ถ้าดิฉันทำชั่วอย่างนี้ ขอให้ดิฉันกินเนื้อ บุตรเถิด ฉันมีกายอันเปื้อนด้วยหนองและโลหิต กินเนื้อบุตรทั้งหลาย เพราะวิบากแห่งกรรม คือ การทำให้ครรภ์ตกและการพูดมุสาทั้งสองนั้น
จบ ปัญจปุตตขาทิกเปตวัตถุที่ ๖.
๗. สัตตปุตตขาทิกเปตวัตถุ
ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตกินลูกคราวละ ๗ ตน
พระเถระถามหญิงเปรตตนหนึ่งว่า [๙๒] ท่านเปลือยกายมีผิวพรรณเลวทราม มีกลิ่นเหม็นเน่าฟุ้งไป หมู่แมลงวัน พากันตอมเกลื่อนกล่น ท่านเป็นใครหนอมายืนอยู่ที่นี้? หญิงเปรตนั้นตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเป็นเปรต ถึงทุคติ เกิดในยมโลก เพราะทำ กรรมอันลามกจึงต้องจากโลกนั้นไปสู่เปตโลก เวลาเช้าคลอดบุตร ๗ ตน เวลาเย็นอีก ๗ ตน แล้วกินบุตรเหล่านั้นหมด ถึงบุตร ๑๔ คนนั้นก็ยัง ไม่อาจบรรเทาความหิวของดิฉันได้ หัวใจของดิฉันย่อมเร่าร้อนอยู่เป็น นิจเพราะความหิว ดิฉันเป็นดุจถูกเผาด้วยไฟในที่อันร้อนยิ่ง ไม่ได้ ประสบความเย็นเลย. พระเถระถามว่า ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา ใจ หรือท่านกินเนื้อบุตรเพราะ วิบากแห่งกรรมอะไร? หญิงเปรตนั้นตอบว่า เมื่อก่อนดิฉันมีบุตร ๒ คน บุตร ๒ คนนั้นกำลังหนุ่มแน่น ดิฉันเป็น ผู้เข้าถึงกำลังคือบุตร (ถือตัวว่ามีบุตร) จึงได้ดูหมิ่นสามีของตน ภาย หลังสามีของดิฉันโกรธ จึงได้หาภรรยามาใหม่ ก็ภรรยาใหม่นั้นมีครรภ์ ดิฉันคิดชั่วต่อเขา มีใจประทุษร้าย ได้ทำให้ครรภ์ตกไป ภรรยาใหม่มี ครรภ์ ๓ เดือนเท่านั้น ตกเป็นโลหิตเน่า มารดาของเขาโกรธแล้วเชิญ พวกญาติของดิฉันมาประชุมซักถาม ให้ดิฉันทำการสบถและขู่เข็ญดิฉัน ให้กลัว ดิฉันได้กล่าวคำสบถและมุสาวาทอย่างแรงว่า ถ้าดิฉันทำชั่ว อย่างนี้ ขอให้ดิฉันกินเนื้อบุตรเถิด ดิฉันมีกายเปื้อนหนองและโลหิต กินเนื้อบุตรทั้งหลาย เพราะวิบากแห่งกรรม คือ การทำครรภ์ให้ตกไป และมุสาวาททั้งสองนั้น.
จบ สัตตปุตตขาทิกเปตวัตถุที่ ๗.
๘. โคณเปตวัตถุ
ว่าด้วยลูกสอนพ่อ
กุฎุมพีผู้เป็นบิดาถามสุชาตกุมารว่า [๙๓] เจ้าเป็นบ้าไปแล้วหรือ จึงเกี่ยวหญ้าอันเขียวสดแล้วบังคับโคแก่อันเป็น สัตว์ตายแล้วว่า จงกิน จงกิน อันโคตายแล้วย่อมไม่ลุกขึ้นกินหญ้า และน้ำมิใช่หรือ เจ้าเป็นทั้งคนพาลทั้งมีปัญญาทรามเหมือนคนอื่น ที่มี ปัญญาทรามฉะนั้น? สุชาตกุมารตอบว่า โคตัวนี้ยังมีเท้าทั้ง ๔ มีศีรษะ มีตัวพร้อมทั้งหาง นัยน์ตาก็มีอยู่ตามเดิม ข้าพเจ้าคิดว่าโคตัวนี้พึงลุกขึ้นกินหญ้าสักวันหนึ่ง ส่วนมือ เท้า กาย และศีรษะของปู่ไม่ปรากฏ แต่คุณพ่อมาร้องไห้ถึงกระดูกของปู่ที่บรรจุไว้ ในสถูปดิน ไม่เป็นคนโง่หรือ. กุฎุมพีได้ฟังคำนั้นแล้ว จึงกล่าวสรรเสริญสุชาตกุมารว่า เจ้าดับความกระวนกระวายทั้งปวงของเรา ผู้เร่าร้อนอยู่ให้หาย เหมือน บุคคลดับไฟอันลาดด้วยน้ำมัน ด้วยน้ำฉะนั้น ได้ถอนขึ้นแล้วหนอ ซึ่งลูกศรคือความโศก อันเสียบแล้วที่หทัยของบิดา บิดาผู้มีลูกศรอัน เจ้าถอนขึ้นแล้ว เป็นผู้เย็นสงบแล้ว ดูกรมาณพ ต่อไปนี้บิดาจะไม่ เศร้าโศกจะไม่ร้องไห้ เพราะฟังคำของเจ้า ชนเหล่าใดที่มีปัญญามีความ อนุเคราะห์ต่อมารดาบิดา ชนเหล่านั้นย่อมทำอย่างนี้ ย่อมยังมารดาบิดา ให้หายจากความเศร้าโศก ฉะนั้น.
จบ โคณเปตวัตถุที่ ๘.
๙. มหาเปสการเปตวัตถุ
ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตกินมูตรคูถ
ภิกษุรูปหนึ่งถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า [๙๔] หญิงเปรตนี้กินคูถ มูตร โลหิต และหนอง นี้เป็นวิบากแห่งกรรมอะไร หญิงเปรตนี้ เมื่อก่อนได้ทำกรรมอะไรไว้ จึงมีเลือดและหนองเป็นภักษา เป็นนิจ ผ้าทั้งหลายอันใหม่และงาม อ่อนนุ่ม บริสุทธิ์ มีขนอ่อน อันท่านให้แล้วแก่หญิงเปรตนี้ ย่อมกลายเป็นเหล็กไป เมื่อก่อนหญิง เปรตนี้ได้ทำกรรมอะไรไว้หนอ? เทพบุตรนั้นตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อก่อน หญิงเปรตนี้เป็นภรรยาของข้าพเจ้า มีความ ตระหนี่เหนียวแน่น ไม่ให้ทาน นางได้ด่าและบริภาษข้าพเจ้าผู้กำลังให้ ทานแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลายว่า จงกินคูถ มูตร เลือด และหนอง อันไม่สะอาดตลอดกาลทุกเมื่อ คูถ มูตร เลือด และหนอง จงเป็น อาหารของท่านในปรโลก แผ่นเหล็กจงเป็นผ้าของท่าน นางมาเกิดใน ที่นี้กินแต่คูถและมูตรเป็นต้นตลอดกาลนาน เพราะประพฤติชั่วเช่นนี้.
จบ มหาเปสการเปตวัตถุที่ ๙.
๑๐. ขลาตยเปตวัตถุ
ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตเปลือย
หัวหน้าพ่อค้าถามหญิงเปรตตนหนึ่งว่า [๙๕] ท่านเป็นใครหนออยู่ภายในวิมานนี้ ไม่ออกจากวิมานเลย ดูกรนางผู้เจริญ เชิญท่านออกมาเถิด ข้าพเจ้าจะขอดูท่านผู้มีฤทธิ์? นางเวมานิกเปรตฟังคำถามดังนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า ดิฉันเป็นหญิงเปลือยกาย มีแต่ผมปิดบังไว้ กระดากอายที่จะออกภายนอก ดิฉันได้ทำบุญไว้น้อยนัก. พ่อค้ากล่าวว่า ดูกรนางผู้มีรูปงาม เอาเถอะ ข้าพเจ้าจะให้ผ้าเนื้อดีแก่ท่าน เชิญท่าน นุ่งผ้านี้ แล้วจงออกมาภายนอก เชิญออกมาภายนอกวิมานเถิด ข้าพเจ้า จะขอดูผู้มีฤทธิ์มาก. นางเวนิกเปรตตอบว่า ผ้านั้นถึงท่านจะให้ที่มือของดิฉันเอง ก็ไม่สำเร็จแก่ดิฉัน ถ้าในหมู่ชนนี้ มีอุบาสกผู้มีศรัทธา เป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอท่านจงให้ อุบาสกนั้นนุ่งห่มผ้าที่ท่านจะให้ดิฉันแล้วอุทิศส่วนกุศลให้ดิฉัน เมื่อ ท่านทำอย่างนั้น ดิฉันจึงจะได้นุ่งห่มผ้านี้ตามปรารถนา ถึงซึ่งความสุข. พ่อค้าทั้งหลายได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงให้อุบาสกนั้นอาบน้ำ ลูบไล้แล้วให้นุ่งห่มผ้า แล้ว อุทิศส่วนกุศลให้นางเวมานิกเปรตนั้น พระสังคีติกาจารย์เมื่อจะประกาศเนื้อความนั้น ได้กล่าว คาถา ๓ คาถา ความว่า ก็พ่อค้าเหล่านั้นยังอุบาสกนั้นให้อาบน้ำ ลูบไล้ด้วยของหอมแล้วให้นุ่ง ห่มผ้า แล้วอุทิศส่วนกุศลไปให้นางเวมานิกเปรตนั้น ในทันตาเห็นนั้น เอง วิบากย่อมบังเกิดขึ้นแก่นางเวมานิกเปรตนั้น โภชนะ เครื่องนุ่งห่ม และน้ำดื่ม ย่อมบังเกิดขึ้น นี้เป็นผลแห่งทักษิณา ลำดับนั้น นางมี สรีระบริสุทธิ์ นุ่งห่มผ้าสะอาด งามดีกว่าแคว้นกาสี เดินยิ้มออกมาจาก วิมานประกาศว่า นี้เป็นผลแห่งทักษิณา. พ่อค้าเหล่านั้นถามว่า วิมานของท่านงดงาม มีรูปภาพวิจิตรดี สว่างไสว ดูกรนางเทพธิดา พวกข้าพเจ้าถามแล้วขอท่านจงบอก นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร? นางเทพธิดานั้นตอบว่า เมื่อดิฉันเป็นมนุษย์อยู่นั้น มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายแป้งคั่วอันเจือด้วย น้ำมัน แก่ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต มีจิตซื่อตรง ดิฉันเสวยวิบากแห่ง กุศลกรรมนั้นในวิมานนี้สิ้นกาลนาน ก็ผลบุญนั้น เดี๋ยวนี้ยังเหลือ นิดหน่อย พ้น ๔ เดือนไปแล้ว ดิฉันจักจุติจากวิมานนี้ จักไปตกนรก อันเร่าร้อนสาหัส มี ๔ เหลี่ยม มี ๔ ประตู จำแนกเป็นห้องๆ ล้อม ด้วยกำแพงเหล็ก ครอบด้วยแผ่นเหล็ก พื้นนรกนั้นล้วนเป็นเหล็กแดง ลุกเป็นเปลวเพลิง ประกอบด้วยความร้อน แผ่ไปตลอดร้อยโยชน์ โดยรอบ ตั้งอยู่ทุกเมื่อ ดิฉันจักต้องเสวยทุกขเวทนาในนรกนั้นตลอด กาลนาน ก็การเสวยทุกข์เช่นนี้เป็นผลแห่งกรรมชั่ว เพราะฉะนั้น ดิฉัน จึงเศร้าโศกที่จะไปเกิดในนรกนั้น.
จบ ขลาตยเปตวัตถุที่ ๑๐.
๑๑. นาคเปตวัตถุ
ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตกินน้ำเลือดน้ำหนอง
สามเณรถามว่า [๙๖] คนหนึ่งขี่ช้างเผือกไปข้างหน้า คนหนึ่งขี่รถเทียมด้วยม้าอัสดรไปท่ามกลาง นางสาวน้อยขึ้นวอไปข้างหลัง เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทศทิศ ส่วน ท่านทั้งหลายมือถือค้อนเดินร้องไห้ มีหน้าชุ่มไปด้วยน้ำตา มีตัวเป็น แผลแตกพัง ท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบาปอะไรไว้ ท่านทั้งหลายดื่มกิน โลหิตของกันและกัน เพราะกรรมอะไร? เปรตทั้งสองได้ฟังสามเณรถามจึงตอบว่า ผู้ใดขี่ช้างเผือกชาติกุญชรมี ๔ เท้าไปข้างหน้า คนนั้นเป็นบุตรหัวปีของ ข้าพเจ้าทั้งสอง เมื่อเป็นมนุษย์เขาได้ถวายทานแก่สงฆ์ จึงได้รับความสุข บันเทิงใจ ผู้ใดขี่รถเทียมด้วยม้าอัสดร ๔ ม้า แล่นเรียบไปท่ามกลาง ผู้นั้นเป็นบุตรคนกลางของข้าพเจ้าทั้งสอง เมื่อเขาเป็นมนุษย์เป็นคนไม่ ตระหนี่ เป็นทานบดีรุ่งโรจน์อยู่ นารีที่มีปัญญา ดวงตากลมงาม รุ่งเรืองดุจตาเนื้อ ขึ้นวอมาข้างหลัง ผู้นั้นเป็นธิดาคนสุดท้ายของข้าพเจ้า ทั้งสอง นางมีความสุขเบิกบานใจ เพราะส่วนแห่งทานกึ่งส่วน เมื่อ ก่อนเขาทั้งสามมีจิตเลื่อมใส ได้ให้ทานแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ส่วน ข้าพเจ้าทั้งสองเป็นคนตระหนี่ บริภาษสมณพราหมณ์ทั้งหลาย เขาทั้ง สามนี้ถวายทานแล้ว บำรุงบำเรอด้วยกามคุณอันเป็นทิพย์ ส่วนข้าพเจ้า ทั้งสองซูบซีดอยู่ ดุจไม้อ้ออันไฟไหม้ ฉะนั้น. สามเณรถามว่า อะไรเป็นโภชนะของท่าน อะไรเป็นที่นอนของท่าน และท่านมีบาปธรรม อย่างยิ่ง ยังอัตภาพให้เป็นไปอย่างไร เมื่อโภคะเป็นอันมากมีอยู่ไม่น้อย ท่านหน่ายสุข ได้เสวยทุกข์ในวันนี้? เปรตทั้งสองตอบว่า ข้าพเจ้าทั้งสองดีซึ่งกันและกัน แล้วกินหนองและเลือดของกันและกัน ได้ดื่มหนองและเลือดเป็นอันมาก ก็ยังไม่หายอยาก มีความหิวอยู่เป็น นิจ สัตว์ทั้งหลายไม่ให้ทาน ละไปแล้ว เกิดในยมโลก ย่อมร่ำไรอยู่ เหมือนข้าพเจ้าทั้งสองฉะนั้น สัตว์เหล่าใด ได้ประสบโภคะต่างๆ แล้ว ไม่ใช้สอยเอง ทั้งไม่ทำบุญ สัตว์เหล่านั้นจักต้องหิวกระหายในปรโลก ภายหลังถูกความหิวแผดเผาไหม้อยู่สิ้นกาลนาน ครั้นทำกรรมทั้งหลาย มีผลเผ็ดร้อน มีทุกข์เป็นกำไรแล้ว ย่อมได้เสวยทุกข์ ก็บัณฑิตทั้งหลาย รู้ทรัพย์และข้าวเปลือกเป็นอย่างหนึ่ง รู้ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายในมนุษย์ โลกนี้เป็นอย่างหนึ่ง รู้ทรัพย์และข้าวเปลือกและชีวิตมนุษย์เป็นอีกอย่าง หนึ่ง จากสิ่งนอกนี้แล้ว พึงทำที่พึ่งของตน ชนเหล่าใดเป็นผู้ฉลาด ในธรรม ฟังคำของพระอรหันต์ทั้งหลายแล้ว มารู้ชัดอย่างนี้ ชนเหล่า นั้นย่อมไม่ประมาทในทาน.
จบ นาคเปตวัตถุที่ ๑๑.
๑๒. อุรคเปตวัตถุ
ว่าด้วยการไม่ร้องไห้ถึงผู้ตาย
พราหมณ์ได้ฟังดังนั้นแล้ว เมื่อจะบอกเหตุแห่งการไม่เศร้าโศก จึงกล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า [๙๗] บุตรของเรา ละสรีระอันคร่ำคร่าของตนไป เหมือนงูลอกคราบฉะนั้น เมื่อสรีระแห่งบุตรของเรา ใช้สอยไม่ได้ ละไปแล้ว มีกาละอันกระทำ แล้วอย่างนี้ บุตรของเราเมื่อญาติเผาอยู่ ย่อมไม่รู้สึกถึงความร่ำไรของ ญาติทั้งหลาย เพราะฉะนั้น เราจึงไม่เศร้าโศกถึงเขา คติของเขามี อย่างไร เขาได้ไปสู่คตินั้น. นางพราหมณีกล่าวว่า บุตรของดิฉัน ดิฉันไม่ได้เชิญมา มาแล้วจากปรโลก ดิฉันไม่ได้อนุญาต ให้ไป ก็ไปแล้วจากมนุษยโลกนี้ เขามาอย่างไร เขาก็ไปอย่างนั้น ทำไมจะต้องไปร่ำไรในการไปจากโลกนี้ของเขาเล่า บุตรของดิฉันเมื่อ พวกญาติเผาอยู่ ย่อมไม่รู้สึกถึงความร่ำไรของหมู่ญาติ เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่ร้องไห้ถึงบุตรนั้น คติของเขามีอย่างไร เขาได้ไปสู่คตินั้นแล้ว. น้องสาวกล่าวว่า ถ้าดิฉันร้องไห้ ก็จะเป็นผู้ซูบผอม ผลอะไรจะพึงมีแก่ดิฉัน ในการ ร้องไห้นั้น ความไม่สบายใจก็จะพึงมีแก่ญาติและมิตรสหายทั้งหลายโดย ยิ่ง พี่ชายของดิฉันอันญาติเผาอยู่ ย่อมไม่รู้สึกถึงความร่ำไรของญาติ ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่ร้องไห้ถึงพี่ชายของดิฉันนั้น คติ ของเขามีอย่างไร เขาได้ไปสู่คตินั้นแล้ว. ส่วนภรรยาของเขากล่าวว่า ผู้ใดเศร้าโศกถึงคนที่ล่วงลับไปแล้ว ผู้นั้นก็เปรียบเหมือนทารกร้องไห้ถึง พระจันทร์ อันลอยอยู่ในอากาศฉะนั้น สามีของดิฉันอันญาติเผาอยู่ ย่อมไม่รู้สึกถึงความร่ำไรของพวกญาติ เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่ร้องไห้ ถึงเขา คติของเขามีอย่างไร เขาได้ไปแล้วสู่คตินั้น. ส่วนนางทาสีกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นว่านเครือแห่งพรหม หม้อน้ำอันแตกแล้วพึงประสานให้ ติดอีกไม่ได้ ฉันใด ผู้ใดเศร้าโศกถึงผู้ล่วงลับไปแล้ว ผู้นั้นก็เปรียบ เหมือนฉันนั้น นายของดิฉันอันพวกญาติเผาอยู่ ย่อมไม่รู้สึกถึงความ ร่ำไรของญาติทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่ร้องไห้ถึงท่าน คติของ ท่านมีอย่างไร ท่านได้ไปสู่คตินั้นแล้ว.
จบ อุรคเปตวัตถุที่ ๑๒.
-----------------------------------------------------
รวมเรื่องในอุรควรรค คือ
๑. เขตตูปมาเปตวัตถุ ๒. สูกรเปตวัตถุ ๓. ปูติมุขเปตวัตถุ ๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ ๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ ๖. ปัญจปุตตขาทิกเปตวัตถุ ๗. สัตตปุตตขาทิกเปตวัตถุ ๘. โคณเปตวัตถุ ๙. มหาเปสการเปตวัตถุ ๑๐. ขลาตยเปตวัตถุ ๑๑. นาคเปตวัตถุ ๑๒. อุรคเปตวัตถุ.
จบ อุรควรรคที่ ๑.
-----------------------------------------------------
อุพพรีวรรคที่ ๒
๑. สังสารโมจกเปตวัตถุ
ว่าด้วยไม่ทำบุญไปเป็นนางเปรต
ท่านพระสารีบุตรเถระถามนางเปรตตนหนึ่งว่า [๙๘] ท่านเป็นผู้เปลือยกาย มีรูปร่างน่าเกลียด ซูบผอม สะพรั่งไปด้วย เส้นเอ็น ดูกรนางผู้ซูบผอมมีแต่ซี่โครง ท่านเป็นใครเล่ามายืนอยู่ในที่นี้? นางเปรตนั้นตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเป็นเปรต เข้าถึงทุคติเกิดในยมโลก ได้ทำกรรม อันชั่วไว้ จึงไปจากมนุษยโลกสู่เปตโลก. พระเถระถามว่า ท่านทำกรรมชั่วอะไรด้วยกาย วาจา ใจ เล่า ท่านไปจากมนุษยโลกนี้ สู่เปตโลก เพราะวิบากแห่งกรรมอะไร? นางเปรตนั้นตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ชนเหล่าใดเป็นบิดาก็ดี มารดาก็ดี หรือแม้เป็นญาติ ผู้มีจิตเลื่อมใส พึงชักชวนดิฉันว่า จงให้ทานแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ชนผู้อนุเคราะห์แก่ดิฉันเช่นนั้นมิได้มี เพราะไม่ได้ทำกุศลกรรมมีทาน เป็นต้น ดิฉันจึงเป็นเปรตเปลือยกาย ถูกความหิวและความกระหาย เบียดเบียนเที่ยวไปเช่นนี้ตลอด ๕๐๐ ปี นี่เป็นผลแห่งบาปกรรมของ ดิฉัน ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ดิฉันมีจิตเลื่อมใสจะขอไหว้ท่าน ข้าแต่ ท่านผู้แกล้วกล้า มีอานุภาพมาก ขอท่านจงอนุเคราะห์แก่ดิฉันเถิด ขอ ท่านจงให้ทานอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วจงอุทิศกุศลมาให้ดิฉันบ้าง ขอ ท่านจงเปลื้องดิฉันจากทุคติด้วยเถิด. ท่านพระสารีบุตรเถระผู้มีใจอนุเคราะห์ รับคำของนางเปรตนั้นแล้ว จึง ถวายข้าวคำหนึ่ง ผ้าประมาณเท่าฝ่ามือผืนหนึ่ง และน้ำดื่มขันหนึ่ง แก่ ภิกษุรูปหนึ่งแล้ว อุทิศส่วนบุญไปให้นางเปรตนั้น พอท่านพระสารีบุตร เถระอุทิศส่วนบุญให้ ข้าวน้ำและเครื่องนุ่งห่ม ก็บังเกิดขึ้นทันที นี่ เป็นผลแห่งทักษิณา ภายหลังนางเปรตนั้นมีร่างกายบริสุทธิ์ นุ่งห่มผ้า อันสะอาด มีค่ามากยิ่งกว่าผ้าแคว้นกาสี มีวัตถาภรณ์อันวิจิตรงดงาม เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรเถระ. พระสารีบุตรเถระถามว่า ดูกรนางเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก ส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่ดุจดาวประกายพฤกษ์ ท่านมีวรรณะเช่นนี้ เพราะกรรมอะไร อิฏฐผลย่อมสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้ เพราะกรรมอะไร และโภคะทุกสิ่ง ทุกอย่างอันเป็นที่รักแห่งใจ ย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านเพราะกรรมอะไร ดูกร นางเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก เราขอถามท่าน ท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำ บุญอะไรไว้ อนึ่ง ท่านมีอานุภาพอันรุ่งเรือง และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่ว ทุกทิศอย่างนี้ เพราะกรรมอะไร? นางเทพธิดานั้นตอบว่า เมื่อก่อนดิฉันเป็นเปรต พระคุณเจ้าเป็นมุนีมีความกรุณาในโลก ได้เห็น ดิฉันซูบผอม ถูกความหิวแผดเผา เปลือยกาย มีหนังแตกเป็นริ้วรอย เสวยทุกขเวทนา ได้ให้ข้าวคำหนึ่ง ผ้าประมาณเท่าฝ่ามือผืนหนึ่ง น้ำ ขันหนึ่ง แก่ภิกษุ แล้วอุทิศส่วนกุศลไปให้ดิฉัน ขอท่านจงดูผลแห่ง ข้าวคำหนึ่งที่พระคุณเจ้าให้แล้ว ดิฉันเป็นผู้ประกอบด้วยกามที่น่า ปรารถนา บริโภคอาหารมีกับข้าวมีรสหลายอย่าง ตั้งพันๆ ปี ขอพระ คุณท่านจงดูผลแห่งการให้ผ้าประมาณเท่าฝ่ามือ ดิฉันได้รับนี้เถิด ข้าแต่ พระคุณเจ้าผู้เจริญ ผ้าในแว่นแคว้นของพระเจ้านันทราชมีประมาณ เท่าใด ผ้านุ่งผ้าห่มของดิฉันมีมากกว่านั้นอีก คือ ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าฝ้าย ผ้าแม้เหล่านั้น ทั้งกว้างทั้งยาว ทั้งมีค่ามาก ห้อยอยู่ ในอากาศ ดิฉันเลือกเอาแต่ผืนที่พอใจนุ่งห่ม ขอพระคุณท่านจงดูผล แห่งการให้น้ำขันหนึ่งซึ่งดิฉันได้รับอยู่นี้ สระโบกขรณี ๔ เหลี่ยมลึก อันบุญกรรมสร้างให้ดีแล้ว มีน้ำใส มีท่าราบเรียบ มีน้ำเย็น มีกลิ่นหอม หาสิ่งเปรียบมิได้ ดาดาษไปด้วยดอกปทุมและดอกอุบล เต็มไปด้วยน้ำ อันดาดาษไปด้วยเกษรบัว ดิฉันปราศจากภัย ย่อมรื่นรมย์ ชื่นชม บันเทิงใจ ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ดิฉันมาเพื่อจะไหว้พระคุณเจ้าผู้เป็น ปราชญ์ มีความกรุณาในโลก.
จบ สังสารโมจกเปตวัตถุที่ ๑.
๒. สารีปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ
ว่าด้วยนางเปรตเคยเป็นมารดาพระสารีบุตร
พระสารีบุตรเถระถามหญิงเปรตตนหนึ่งว่า [๙๙] ดูกรนางเปรตผู้ผอมมีแต่ซี่โครง ท่านเป็นผู้เปลือยกาย มีรูปร่างน่าเกลียด ซูบผอม มีตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ท่านเป็นใครหรือ มายืนอยู่ในที่นี้? นางเปรตนั้นตอบว่า เมื่อก่อนดิฉันเป็นมารดาของท่าน ในชาติเหล่าอื่น ดิฉันเข้าถึงเปรตวิสัย เพรียบพร้อมไปด้วยความหิวและความกระหาย เมื่อถูกความหิวครอบงำ แล้ว ย่อมกินน้ำลาย น้ำมูก เสมหะอันเขาถ่มทิ้งแล้ว และกินมันเหลว แห่งซากศพที่เขาเผาอยู่ที่เชิงตะกอน กินโลหิตของหญิงทั้งหลายที่คลอด บุตรและโลหิตแห่งบุรุษทั้งหลายที่ถูกตัดมือ เท้า และศีรษะที่เป็นแผล กินเนื้อ เอ็น และข้อมือข้อเท้าเป็นต้นของชายหญิง กินหนองและ และเลือดแห่งปศุสัตว์และมนุษย์ทั้งหลาย ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่อยู่อาศัย นอนบนเตียงของผู้ตาย ซึ่งเขาทิ้งไว้ในป่าช้า ลูกเอ๋ย ขอลูกจงให้ทาน แล้วอุทิศส่วนบุญมาให้แม่บ้าง ไฉนหนอ แม่จึงจะพ้นจากการกินหนอง และเลือด. ท่านพระสารีบุตรเถระผู้มีจิตอนุเคราะห์ ได้ฟังคำของมารดาแล้ว จึง ปรึกษากับท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ ท่านพระอนุรุทธะ และท่าน พระกัปปินะ แล้วให้สร้างกุฎี ๔ หลัง ในทิศทั้ง ๔ แล้วถวายกุฎี เหล่านั้น ข้าวและน้ำแก่สงฆ์ อุทิศส่วนกุศลไปให้มารดา ในทันใด นั้นเอง ข้าว น้ำและผ้า ก็บังเกิดเป็นวิบาก นี้เป็นผลแห่งทักษิณา ภายหลังนางมีร่างกายบริสุทธิ์สะอาด นุ่งห่มผ้าอันมีค่ายิ่งกว่าผ้าแคว้นกาสี ประดับด้วยวัตถาภรณ์อันวิจิตรเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ. ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระจึงถามว่า ดูกรนางเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก ส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่ดุจดาวประกายพฤกษ์ ท่านมีวรรณะเช่นนี้ เพราะกรรมอะไร อิฐผลย่อมสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้ เพราะกรรมอะไร และโภคะทุกสิ่ง ทุกอย่างอันเป็นที่รักแห่งใจ ย่อมบังเกิดแก่ท่านเพราะกรรมอะไร ดูกร นางเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน เมื่อท่านเป็นมนุษย์ ได้ทำบุญอะไรไว้ อนึ่ง ท่านมีอานุภาพรุ่งเรืองและมีรัศมีกายสว่างไสว ไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญอะไร? นางเทพธิดานั้นตอบว่า เมื่อก่อน ดิฉันเป็นมารดาของท่านพระสารีบุตรเถระ ในชาติอื่นๆ เกิด ในเปตวิสัย เพรียบพร้อมไปด้วยความหิวและความกระหาย เมื่อถูก ความหิวครอบงำแล้ว จึงกินน้ำลาย น้ำมูก เสมหะอันเขาถ่มทิ้งไว้ และกินมันเหลวแห่งซากศพที่เขาเผาอยู่บนเชิงตะกอน กินโลหิตของ หญิงที่คลอดบุตรและโลหิตแห่งบุรุษทั้งหลายซึ่งถูกตัดมือ เท้า และศีรษะ ที่เป็นแผล กินเนื้อ เอ็น ข้อมือและข้อเท้าของชายหญิง กินหนอง และเลือดของปศุสัตว์และมนุษย์ ดิฉันไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่อยู่อาศัย นอนบนเตียงของคนตาย ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ดิฉันเป็นผู้ไม่มีภัยแต่ ที่ไหนๆ บันเทิงอยู่ เพราะทานของท่านพระสารีบุตร ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันมาครั้งนี้ เพื่อจะไหว้ท่านสารีบุตรผู้เป็นนักปราชญ์ มีความกรุณา ในโลก.
จบ สารีปุตตเถรมาตุเปติวัตถุที่ ๒.
๓. มัตตาเปติวัตถุ
ว่าด้วยบุญกรรมของนางมัตตาเปรต
นางติสสาถามหญิงเปรตคนหนึ่งว่า [๑๐๐] ดูกรนางเปรตผู้ซูบผอมมีแต่ซี่โครง ท่านเป็นผู้เปลือยกาย มีรูปร่าง น่าเกลียด ซูบผอม มีตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ท่านเป็นใคร มายืนอยู่ ในที่นี้? นางเปรตนั้นตอบว่า เมื่อก่อน ท่านชื่อติสสา ส่วนฉันชื่อมัตตาเป็นหญิงร่วมสามีกับท่าน ได้ทำกรรมอันลามกไว้ จึงไปจากมนุษยโลกนี้สู่เปตโลก. นางติสสาถามว่า ท่านได้ทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา ใจ หรือเพราะวิบากแห่งกรรม อะไร ท่านจึงไปจากมนุษยโลกนี้สู่เปตโลก? นางเปรตนั้นตอบว่า ฉันเป็นหญิงดุร้ายและหยาบคาย มักหึงหวง มีความตระหนี่ เป็นคน โอ้อวด ได้กล่าววาจาชั่วกะท่าน จึงไปจากโลกนี้สู่เปตโลก. นางติสสากล่าวว่า เรื่องนี้เป็นความจริง แม้ฉันก็รู้ว่า ท่านเป็นหญิงดุร้ายอย่างไร แต่อยาก จะถามท่านอย่างอื่น ท่านมีสรีระเปื้อนฝุ่น เพราะกรรมอะไร? นางเปรตนั้นตอบว่า ท่านกับฉันพากันอาบน้ำแล้ว นุ่งห่มผ้าอันสะอาด ตบแต่งร่างกายแล้ว แต่ฉันแต่งร่างกายเรียบร้อยยิ่งกว่าท่าน เมื่อฉันแลดูท่านคุยอยู่กับสามี ลำดับนั้น ความริษยาและความโกรธได้เกิดแก่ฉันเป็นอันมาก ทันใด นั้นฉันจึงกวาดเอาฝุ่นโปรยลงรดท่าน ฉันมีสรีระเปื้อนด้วยฝุ่น เพราะ วิบากแห่งกรรมนั้น. นางติสสากล่าวว่า เรื่องนี้เป็นความจริง แม้ฉันก็รู้ว่า ท่านเอาฝุ่นโปรยใส่ฉัน แต่ฉันอยากจะ ถามท่านอย่างอื่น ท่านเป็นหิดคันไปทั่วตัว เพราะกรรมอะไร? นางเปรตนั้นตอบว่า เราทั้งสองเป็นคนหายา ได้พากันไปป่า ส่วนท่านหายามาได้ แต่ฉัน นำเอาผลหมามุ้ยมา เมื่อท่านเผลอ ฉันได้โปรยหมามุ้ยลงบนที่นอน ของท่าน ฉันเป็นหิดคันไปทั่วทั้งตัวเพราะวิบากแห่งกรรมนั้น. นางติสสากล่าวว่า เรื่องนี้เป็นความจริง แม้ฉันก็รู้ว่า ท่านโปรยผลหมามุ้ยลงบนที่นอน ของฉัน แต่ฉันอยากจะถามท่านอย่างอื่น ท่านเป็นผู้เปลือยกายเพราะ กรรมอะไร? นางเปรตนั้นตอบว่า วันหนึ่ง ได้มีการประชุมพวกมิตรสหายและญาติทั้งหลาย ส่วนท่าน ได้รับเชิญ แต่ฉันซึ่งร่วมสามีกับท่านไม่มีใครเชิญ เมื่อท่านเผลอฉันได้ ลักผ้าของท่านซ่อนเสีย ฉันเป็นผู้เปลือยกายเพราะวิบากแห่งกรรมนั้น. นางติสสากล่าวว่า เรื่องนี้เป็นความจริง แม้ฉันก็รู้ว่า ท่านได้ลักผ้าของฉันไปซ่อน แต่ฉัน อยากจะถามท่านอย่างอื่น ท่านมีกลิ่นกายเหม็นดังคูถ เพราะ กรรมอะไร? นางเปรตนั้นตอบว่า ฉันได้ลักของหอม ดอกไม้ และเครื่องลูบไล้ อันมีค่ามากของท่าน ท่านทิ้งลงในหลุมคูถ บาปนั้นฉันได้ทำไว้แล้ว ฉันมีกลิ่นกายเหม็น ดังคูถ เพราะวิบากแห่งกรรมนั้น. นางติสสากล่าวว่า เรื่องนี้เป็นความจริง แม้ฉันก็รู้ว่า บาปนั้นท่านทำไว้แล้ว แต่ฉันอยาก จะถามท่านอย่างอื่น ท่านเป็นคนยากจนเพราะกรรมอะไร? นางเปรตนั้นตอบว่า ทรัพย์สิ่งใดมีอยู่ในเรือน ทรัพย์นั้นของเราทั้งสองมีเท่าๆ กัน เมื่อ ไทยธรรมมีอยู่ แต่ฉันไม่ได้ทำที่พึ่งแก่ตน ฉันเป็นคนยากจนเพราะวิบาก แห่งกรรมนั้น ครั้งนั้น ท่านได้ว่ากล่าวตักเตือนฉัน ห้ามไม่ให้ทำบาป กรรมว่า ท่านจะไม่ได้สุคติเพราะกรรมอันลามก. นางติสสากล่าวว่า ท่านไม่เชื่อถือเราและริษยาเรา ขอท่านจงดูวิบากแห่งกรรมอันลามกเช่นนี้ เมื่อก่อนนางทาสีและเครื่องอาภรณ์ทั้งหลาย ได้มีแล้วในเรือนของท่าน แต่เดี๋ยวนี้ นางทาสีเหล่านั้นพากันห้อมล้อมคนอื่น โภคะทั้งหลายย่อม ไม่มีแก่ท่านแน่แท้ เดี๋ยวนี้ กุฎุมพีผู้เป็นบิดาของบุตรเรา ยังไปในตลาด อยู่ ท่านอย่าเพิ่งไปจากที่นี้เสียก่อน บางทีเขาจะให้อะไรแก่ท่านบ้าง. นางเปรตนั้นกล่าวว่า ฉันเป็นผู้เปลือยกาย มีรูปร่างน่าเกลียดซูบผอม สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น การเปลือยกายและมีรูปร่างน่าเกลียดเป็นต้นนี้ เป็นการยังความละอาย ของหญิงทั้งหลายให้กำเริบ ขออย่าให้กุฎุมพีได้เห็นฉันเลย. นางติสสากล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น จะให้ฉันให้ทานสิ่งไร หรือทำบุญอะไรให้แก่ท่าน ท่านจึงจะ ได้ความสุขสำเร็จความปรารถนาทั้งปวง. นางเปรตนั้นกล่าวว่า ขอท่านจงนิมนต์ภิกษุจากสงฆ์ ๔ รูป และจากบุคคล ๔ รูป รวมเป็น ๘ รูป ให้ฉันภัตตาหารแล้วอุทิศส่วนบุญให้ฉัน เมื่อทำอย่างนั้นฉันจึง จะได้ความสุข สำเร็จความปรารถนาทั้งปวง. นางติสสารับคำแล้ว นิมนต์ภิกษุ ๘ รูป ให้ฉันภัตตาหาร ให้ครองไตร จีวรแล้ว อุทิศส่วนกุศลไปให้นางเปรต ข้าวน้ำและเครื่องนุ่งห่มอันเป็น วิบาก ได้บังเกิดขึ้นในทันใดนั้นนั่นเอง นี้เป็นผลแห่งทักษิณา ใน ขณะนั้นนั่นเอง นางเปรตมีร่างกายบริสุทธิ์สะอาด นุ่งผ้าห่มอันมีค่า ยิ่งกว่าผ้าแคว้นกาสี ประดับด้วยผ้าและอาภรณ์อันวิจิตร เข้าไปหานาง ติสสาผู้ร่วมสามี. นางติสสาจึงถามว่า ดูกรนางเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก ส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่ดุจดาวประกายพฤกษ์ ท่านมีวรรณะเช่นนี้ อิฐผลย่อมสำเร็จ แก่ท่านในวิมานนี้ และโภคะทุกสิ่งทุกอย่าง อันเป็นที่รักแห่งใจ ย่อมบังเกิดขึ้นแก่ท่านเพราะกรรมอะไร ดูกรนางเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก ฉันขอถามท่าน เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้ อนึ่ง ท่านมี อานุภาพอันรุ่งเรือง และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะ กรรมอะไร? นางมัตตาเทพธิดาตอบว่า เมื่อก่อน ท่านชื่อติสสา ฉันชื่อมัตตา เป็นหญิงร่วมสามีกันกับท่าน ฉันได้ทำกรรมอันลามกไว้ จึงไปจากโลกนี้สู่เปตโลก ฉันอนุโมทนาทาน ที่ท่านให้แล้ว จึงไม่มีภัยแต่ที่ไหน คุณพี่ ขอท่านพร้อมด้วยญาติทุกคน จงมีอายุยืนนานเถิด คุณพี่ผู้งดงามพร้อมด้วยญาติทั้งปวงจงมีอายุยืนนาน เถิด คุณพี่ประพฤติธรรมและให้ทานในโลกนี้แล้ว จักเข้าถึงฐานะอัน ไม่เศร้าโศก ปราศจากธุลี อันเป็นที่อยู่แห่งท้าววสวัสดี ท่านกำจัดมลทิน คือความตระหนี่พร้อมด้วยรากแล้ว อันใครๆ ไม่ติเตียนได้ จักเข้าถึง โลกสวรรค์
จบ มัตตาเปติวัตถุที่ ๓
๔. นันทาเปตวัตถุ
ว่าด้วยบุพกรรมของนางนันทาเปรต
นันทเสนอุบาสกถามว่า [๑๐๑] ท่านมีผิวพรรณดำ มีรูปร่างน่าเกลียด ตัวขรุขระดูน่ากลัว มีตาเหลือง เขี้ยวงอกออกเหมือนหมู เราไม่เข้าใจว่าท่านเป็นมนุษย์? นางเปรตตอบว่า ข้าแต่ท่านนันทเสน เมื่อก่อน ฉันชื่อนันทา เป็นภรรยาของท่าน ได้ ทำกรรมอันลามกไว้จึงจากโลกนี้ไปสู่เปตโลก. นันทเสนถามว่า ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา ใจ เพราะวิบากแห่งกรรมอะไร ท่านจึงไปจากโลกนี้สู่เปตโลก? นางเปรตนั้นตอบว่า เมื่อก่อนฉันเป็นหญิงดุร้าย หยาบคาย ไม่เคารพท่าน พูดคำชั่วหยาบ กะท่าน จึงไปจากโลกนี้สู่เปตโลก. นันทเสนถามว่า เอาละ เราจะให้ผ้านุ่งแก่ท่าน ขอท่านจงนุ่งผ้านี้แล้วจงมา เราจักนำท่าน ไปสู่เรือน ท่านไปเรือนแล้วจักได้ผ้า ข้าวและน้ำ ทั้งจักได้ชมบุตร และลูกสะใภ้ของท่าน. นางเปรตนั้นตอบว่า ผ้านั้นถึงท่านจะให้ที่มือของฉัน ด้วยมือของท่าน ก็ย่อมไม่สำเร็จ ประโยชน์แก่ฉัน ขอท่านจงเลี้ยงดูภิกษุทั้งหลายผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ปราศจากราคะ เป็นพหูสูต ให้อิ่มหนำด้วยข้าวและน้ำ แล้วอุทิศส่วน กุศลไปให้ฉัน เมื่อท่านทำอย่างนั้น ฉันจักมีความสุข สำเร็จความ ปรารถนาทั้งปวง. เมื่อนันทเสนอุบาสกรับคำแล้ว ได้ให้ทานเป็นอันมาก คือ ข้าว น้ำ ของกิน ของเคี้ยว ผ้า เสนาสนะ ร่ม ของหอม ดอกไม้ และ รองเท้าต่างๆ และเลี้ยงดูภิกษุทั้งหลายผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ปราศจากราคะ เป็นพหูสูตให้อิ่มหนำด้วยข้าวและน้ำ แล้วอุทิศส่วนกุศลไปให้นาง นันทา ข้าว น้ำ และเครื่องนุ่งห่มอันเป็นวิบาก ย่อมบังเกิดในทันตา นั้นนั่นเอง นี้เป็นผลแห่งทักษิณา ในขณะนั้นนั่นเอง นางเปรตนั้นมี ร่างกายบริสุทธิ์สะอาด นุ่งห่มผ้าอันดีมีค่ายิ่งกว่าผ้าแคว้นกาสี ประดับ ด้วยวัตถาภรณ์อันวิจิตร เข้าไปหาสามี. นันทเสนอุบาสกจึงถามว่า ดูกรนางเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนักส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่ดุจดาวประกายพฤกษ์ ท่านมีวรรณะงามเช่นนี้ อิฐผลย่อม สำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้ และโภคะทุกสิ่งทุกอย่างอันเป็นที่รักแห่งใจ ย่อมเกิดแก่ท่านเพราะกรรมอะไร ดูกรนางเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก ฉันขอถามท่าน เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไร อนึ่ง ท่านมีอานุภาพ รุ่งเรืองและมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะกรรมอะไร? นางนันทาเทพธิดาตอบว่า ข้าแต่ท่านนันทเสน เมื่อก่อน ฉันชื่อนันทาเป็นภรรยาของท่าน ได้ทำ กรรมชั่วช้าจึงไปจากมนุษยโลกนี้สู่เปตโลก ฉันอนุโมทนาทานที่ท่านให้ แล้วจึงเป็นผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ ดูกรคฤหบดี ขอท่านพร้อมด้วยญาติทั้งปวง จงมีอายุยืนนานเถิด ดูกรคฤหบดี ท่านประพฤติธรรมและให้ทาน ในโลกนี้แล้ว จะเข้าถึงถิ่นฐานอันไม่เศร้าโศก ปราศจากธุลี อันเป็น ที่อยู่ของท้าววสวัสดี ท่านกำจัดมลทิน คือ ความตระหนี่พร้อมด้วย รากแล้ว อันใครๆ ไม่ติเตียนได้ จักเข้าถึงโลกสวรรค์.
จบ นันทาเปตวัตถุที่ ๔.
๕. มัฏฐกุณฑลิเปตวัตถุ
ว่าด้วยบุพกรรมของมัฏฐกุณฑลิเปรต
พราหมณ์ถามว่า [๑๐๒] ท่านตกแต่งร่างกาย ใส่ต่างหูเกลี้ยง ฯลฯ (เหมือนในมัฏฐกุณฑลีวิมานที่ ๙ สุนิกขิตตวรรคที่ ๗ ในวิมานวัตถุ)
จบ มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุที่ ๕
๖. กัณหเปตวัตถุ
ว่าด้วยบัณฑิตถวายโอวาทแก่กษัตริย์
โรหิไณยอำมาตย์กราบทูลว่า [๑๐๓] ข้าแต่พระองค์ผู้กัณหโคตร ขอพระองค์จงลุกขึ้นเถิด จะมัวทรง บรรทมอยู่ทำไม จะมีประโยชน์อะไรแก่พระองค์ด้วยการทรงบรรทมอยู่ เล่า ข้าแต่พระเกสวะ บัดนี้พระภาดาร่วมพระอุทรของพระองค์ ซึ่งเป็น ดุจพระหทัยและนัยน์เนตรเบื้องขวาของพระองค์ มีลมกำเริบคลั่งเพ้อ ไปเสียแล้ว. พระเจ้าเกสวะ ได้ทรงฟังคำของโรหิไณยอำมาตย์แล้ว ถูกความโศกถึง พระภาดาครอบงำ รีบเสด็จลุกขึ้นทันที จับพระหัตถ์ทั้งสองของฆฏ- บัณฑิตไว้มั่นแล้ว เมื่อจะทรงปราศรัยจึงตรัสพระคาถา มีความว่า เหตุไรหนอ เธอจึงทำดุจเป็นคนบ้าเที่ยวไปทั่วนครทวารกะนี้ เพ้ออยู่ว่า กระต่ายๆ เธอปรารถนากระต่ายเช่นไร ฉันจักให้นายช่างทำกระต่ายทอง กระต่ายแก้วมณี กระต่ายโลหะ กระต่ายรูปิยะ กระต่ายสังข์ กระต่าย หิน กระต่ายแก้วประพาฬ ให้แก่เธอ หรือว่ากระต่ายอื่นๆ ที่เที่ยว หากินอยู่ในป่ามีอยู่ ฉันจักให้เขานำกระต่ายเหล่านั้นมาให้เธอ เธอ ปรารถนากระต่ายเช่นไร? ฆฏบัณฑิตกราบทูลว่า ข้าพระองค์ไม่ปรารถนากระต่ายที่อาศัยแผ่นดิน ข้าพระองค์ปรารถนา กระต่ายจากพระจันทร์ ข้าแต่พระเจ้าเกสวะ ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณา นำกระต่ายนั้นลงมาประทานแก่ข้าพระองค์เถิด. พระเจ้าวาสุเทพตรัสว่า ดูกรพระญาติ เธอจักละชีวิตที่สดชื่นไปเสียเป็นแน่ เพราะเธอปรารถนา กระต่ายจากดวงจันทร์ ชื่อว่าปรารถนาสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา. ฆฏบัณฑิตกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้กัณหโคตร ถ้าพระองค์ทรงพร่ำสอนผู้อื่น ฉันใด ขอให้ พระองค์ทรงทราบฉันนั้นเถิด เพราะเหตุไฉน พระองค์จึงทรง พระกรรแสงถึงราชโอรสที่ทิวงคตแล้ว แต่ก่อนมา แม้จนวันนี้เล่า มนุษย์หรืออมนุษย์ไม่พึงได้ตามปรารถนาว่า ขอบุตรของเราที่เกิดมาแล้ว จงอย่าตาย พระองค์จะทรงได้โอรสที่ทิวงคตแล้วซึ่งไม่ควรได้แต่ที่ไหน ข้าแต่พระองค์ผู้กัณหโคตร พระองค์ทรงกรรแสงถึงราชโอรสที่ทิวงคต แล้วไม่สามารถจะนำคืนมาด้วยมนต์ รากยาโอสถ หรือทรัพย์ได้ แม้กษัตริย์ทั้งหลายมีแว่นแคว้นมาก มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทรัพย์และข้าวเปลือกมาก จะไม่ทรงชราและไม่สวรรคต ไม่มีเลย แม้กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล คนเทหยากเยื่อ จะไม่แก่และไม่ตาย เพราะชาติของตน ก็ไม่มีเลย ชนเหล่าใดร่ายมนต์ อันประกอบด้วยองค์ ๖ ๑- อันพราหมณ์คิดแล้ว ชนเหล่านั้นจะไม่แก่ และไม่ตายเพราะวิชาของตน ก็ไม่มีเลย แม้พวกฤาษีเหล่าใดเป็นผู้สงบ มีตนอันสำรวมแล้ว มีตบะ แม้พวกฤาษีผู้มีตบะเหล่านั้น ย่อมละร่างกาย ไปตามกาล พระอรหันต์ทั้งหลายมีตนอันอบรมแล้ว ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ สิ้นบุญและบาป ย่อมทอดทิ้งร่างกายนี้ไว้. พระเจ้าวาสุเทพตรัสว่า เธอดับความกระวนกระวายทั้งปวงของเรา ผู้เร่าร้อนอยู่ให้หายเหมือน บุคคลดับไฟที่ราดน้ำมันด้วยน้ำนั้น ฉะนั้น เธอบรรเทาความโศกถึงบุตร ของเราผู้ถูกความโศกครอบงำ ได้ถอนขึ้นแล้วหนอซึ่งลูกศร คือ ความโศกอันเสียบแทงแล้วที่หทัยของเรา เราเป็นผู้มีลูกศร คือ ความ @๑. มนต์อันประกอบด้วยองค์ ๖ คือ กาพย์ ๑ นิรุตติ ๑ พยากรณ์ ๑ โชติศาสตร์ ๑ สัททศาสตร์ ๑ @ฉันทศาสตร์ ๑ โศกอันถอนขึ้นแล้วเป็นผู้เย็น สงบแล้ว เราจะไม่เศร้าโศก ไม่ร้อง ไห้อีก เพราะได้ฟังคำของเธอ ชนเหล่าใดผู้มีปัญญา ผู้อนุเคราะห์ กันและกัน ชนเหล่านั้นย่อมทำอย่างนี้ ย่อมยังกันและกันให้หายโศก เหมือนเจ้าชายฆฏะยังพระเชฏฐาให้หายโศก ฉะนั้น พวกอำมาตย์ผู้เป็น บริจาริกาของพระราชาใด ย่อมมีเช่นนี้ ย่อมแนะนำด้วยสุภาษิต เหมือนเจ้าชายฆฏะแนะนำพระเชฏฐาของตน ฉะนั้น.
จบ กัณหเปตวัตถุที่ ๖.
๗. ธนปาลเปตวัตถุ
ว่าด้วยบุพกรรมของธนปาลเปรต
พวกพ่อค้าถามเปรตตนหนึ่งว่า [๑๐๔] ท่านเปลือยกาย มีรูปร่างน่าเกลียด ซูบผอม สะพรั่งไปด้วย เส้นเอ็น เห็นกระดูกซี่โครง แน่ะเพื่อนยาก ท่านเป็นใครหนอ? เปรตนั้นตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าเป็นเปรต ทุกข์ยาก เกิดอยู่ใน ยมโลก ได้ทำกรรมอันลามกไว้ จึงจากโลกนี้ไปสู่เปตโลก. พวกพ่อค้าถามว่า ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา ใจ หรือ เพราะวิบากแห่งอะไร ท่านจึงจากโลกนี้ไปสู่เปตโลก? เปรตนั้นตอบว่า มีพระนครของพระเจ้าทสันนราช ปรากฏนามว่า เอรกัจฉะ เมื่อก่อน ข้าพเจ้าเป็นเศรษฐีอยู่ในนครนั้น ประชาชนเรียกข้าพเจ้าว่า ธนปาล- เศรษฐี ข้าพเจ้ามีเงิน ๘๐ เล่มเกวียน ทองคำ แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์ ก็มีมากมายเหลือที่จะนับ แม้ข้าพเจ้าจะมีทรัพย์มากมายถึงเพียงนั้น ก็ไม่ รักที่จะให้ทาน ปิดประตูแล้วจึงบริโภคอาหารด้วยคิดว่า พวกยาจก อย่าได้เห็นเรา ข้าพเจ้าไม่มีศรัทธา เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น ได้ด่า ว่าพวกยาจก และห้ามปรามมหาชนผู้ให้ทานทำบุญ เป็นต้น ด้วยคำว่า ผลแห่งทานไม่มี ผลแห่งการสำรวม จักไม่มีแต่ที่ไหน ได้ทำลายสระน้ำ บ่อน้ำที่เขาขุดไว้ สวนดอกไม้ สวนผลไม้ ศาลาน้ำ และสะพานใน ที่เดินลำบาก ที่เขาปลูกสร้างให้พินาศ ข้าพเจ้านั้นไม่ได้ทำความดีไว้เลย ทำแต่ความชั่วไว้ จุติจากชาตินั้นแล้ว บังเกิดในปิตติวิสัย เพรียบพร้อม ไปด้วยความหิวกระหายตลอด ๕๕ ปี ตั้งแต่ตายแล้ว ข้าพเจ้ายังไม่ได้ กินข้าวและน้ำเลยแม้แต่น้อย การสงวนทรัพย์ คือ ไม่ให้แก่ใครๆ เป็นความพินาศของสัตว์ทั้งหลาย ความฉิบหายก็คือการสงวนทรัพย์ ได้ ยินว่าเปรตทั้งหลายรู้ว่า การสงวนทรัพย์คือการไม่ให้แก่ใครๆ เป็น ความพินาศ เมื่อก่อนข้าพเจ้าสงวนทรัพย์ไว้ เมื่อทรัพย์มีอยู่เป็นอันมาก ไม่ให้ทาน เมื่อไทยธรรมมีอยู่ ไม่ทำที่พึ่งแก่ตน ข้าพเจ้าได้รับผลแห่ง กรรมของตนจึงเดือดร้อนในภายหลัง พ้นจาก ๔ เดือนไปแล้ว ข้าพเจ้า จักตาย จักไปตกนรกอันเผ็ดร้อนสาหัส มี ๔ เหลี่ยม ๔ ประตู จำแนก เป็นห้องๆ ล้อมด้วยกำแพงเหล็ก พร้อมด้วยแผ่นเหล็ก พื้นของนรก นั้น ล้วนแล้วด้วยทองแดงลุกเป็นเปลวเพลิง ประกอบด้วยความร้อน แผ่ไปตลอดร้อยโยชน์โดยรอบ ตั้งอยู่ทุกเมื่อ ข้าพเจ้าจักต้องเสวย ทุกขเวทนาในนรกนั้นตลอดกาลนาน ก็การเสวยทุกขเวทนาเช่นนี้ เป็น ผลแห่งกรรมอันชั่ว เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงเศร้าโศกที่จะไปเกิดในนรก อันเร่าร้อนนั้น ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอเตือนท่านทั้งหลาย ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลายผู้มาประชุมกันในที่นี้ พวกท่านอย่าได้ ทำบาปกรรมในที่ไหนๆ คือ ในที่แจ้งหรือในที่ลับ ถ้าพวกท่านจักกระทำ หรือกระทำบาปกรรมนั้นไว้ แม้พวกท่านจะเหาะหนีไปอยู่ที่ไหน ก็ย่อม ไม่พ้นไปจากทุกข์ ขอท่านทั้งหลายจงเลี้ยงมารดา จงเลี้ยงบิดา ประพฤติ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล เป็นผู้เกื้อกูลแก่สมณะและพราหมณ์ ท่าน ทั้งหลายจักไปสวรรค์ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ บุคคลจะอยู่ในอากาศใน ท่ามกลางมหาสมุทร หรือเข้าไปสู่ช่องภูเขา พึงพ้นจากบาปกรรมไม่มี หรือบุคคลอยู่ในส่วนแห่งภาคพื้นใด พึงพ้นจากบาปกรรม ส่วนแห่งภาค พื้นนั้นไม่มี.
จบ ธนปาลเปตวัตถุที่ ๗
๘. จูฬเสฏฐีเปตวัตถุ
ว่าด้วยบุพกรรมของจูฬเสฏฐีเปตวัตถุ
พระเจ้าอชาตศัตรูตรัสถามเศรษฐีเปรตว่า [๑๐๕] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านเป็นบรรพชิตเปลือยกายซูบผอม เพราะเหตุ แห่งกรรมอะไร ท่านจะไปที่ไหนในราตรีเช่นนี้ ขอท่านจงบอกการที่ท่าน จะไปแก่เราเถิด เราสามารถจะให้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแก่ท่านด้วยความ อุตสาหะทั้งปวง? จูฬเศรษฐีเปรตกราบทูลว่า เมื่อก่อนพระนครพาราณสีมีกิตติคุณเลื่องลือไปไกล ข้าพระองค์เป็น คฤหบดีผู้มั่งคั่งอยู่ในพระนครนั้น แต่เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่นไม่เคย ให้สิ่งของแก่ใครๆ มีใจข้องอยู่ในอามิส ได้ถึงวิสัยแห่งพญายมเพราะ เป็นผู้ทุศีล ข้าพระองค์ลำบากแล้วเพราะความหิวเสียดแทงเพราะ บาปกรรมเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์ปรารถนาอามิส จึงได้ มาหาหมู่ญาติ มนุษย์แม้เหล่าอื่นมีปกติไม่ให้ทาน และไม่เชื่อว่าผลแห่ง ทานมีอยู่ในโลกหน้า มนุษย์แม้เหล่านั้นจักเกิดเป็นเปรตเสวยทุกข์ใหญ่ เหมือนข้าพระองค์ ฉะนั้น ธิดาของข้าพระองค์บ่นอยู่เนืองๆ ว่า เรา จักให้ทานอุทิศให้มารดา บิดา ลุง ป้า น้า อา ปู่ ย่า ตา ยาย พวกพราหมณ์ กำลังบริโภคทานอันธิดาของข้าพระองค์ตกแต่งแล้ว ข้าพระองค์จะไปยังเมืองอันธกาวินทนคร เพื่อบริโภคอาหาร พระราชาจึง ตรัสสั่งเขาว่า ถ้าท่านไปได้เสวยผลทานนั้น พึงรีบกลับมาบอกเหตุที่มี จริงแก่เรา เราฟังคำอันมีเหตุผลควรเชื่อถือได้แล้ว จักทำสักการบูชาบ้าง จูฬเศรษฐีเปรตทูลรับพระราชดำรัสแล้ว ได้ไปยังอันธกาวินทนครนั้น แต่ไม่ได้รับผลแห่งทานนั้นเพราะพราหมณ์ทั้งหลายที่บริโภคภัต เป็นผู้ ไม่มีศีล ไม่สมควรแก่ทักษิณา ภายหลังจูฬเศรษฐีเปรตกลับมาสู่นคร ราชคฤห์อีก ได้ไปแสดงกายให้ปรากฏ เฉพาะพระพักตร์ของพระเจ้า อชาตศัตรูผู้เป็นใหญ่กว่าหมู่ชน พระราชาทอดพระเนตรเห็นเปรตนั้น กลับมาอีก จึงตรัสถามว่า เราจะให้ทานอะไร ถ้าเหตุที่จะให้ท่าน อิ่มหนำตลอดกาลมีอยู่ไซร้ ขอท่านจงบอกเหตุนั้นแก่เรา. จูฬเศรษฐีเปรตกราบทูลว่า ข้าแต่พระราชา ขอพระองค์จงทรงอังคาสพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ ด้วยข้าวและน้ำ และจงทรงถวายจีวร แล้วทรงอุทิศกุศลนั้นเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูลข้าพระองค์ ด้วยการทรงบำเพ็ญกิจอย่างนี้ ข้าพระองค์ จงพึงอิ่มหนำตลอดกาลนาน. ลำดับนั้น พระราชาเสด็จออกจาก ปราสาททันที ทรงถวายทานอันประณีตยิ่งแก่สงฆ์ ด้วยพระหัตถ์ของ พระองค์ แล้วทรงกราบทูลเรื่องราวแด่พระตถาคต ทรงอุทิศส่วนกุศลให้ จูฬเศรษฐีเปรต จูฬเศรษฐีเปรตนั้นอันพระราชาทรงบูชาแล้ว เป็นผู้ งดงามยิ่งนัก ได้มาปรากฏเฉพาะพักตร์ของพระราชาผู้เป็นใหญ่กว่าชน แล้วกราบทูลว่า ข้าพระองค์เป็นเทวดา มีฤทธิ์อย่างยอดเยี่ยมแล้ว มนุษย์ทั้งหลายผู้มีฤทธิ์เสมอด้วยข้าพระองค์ไม่มี ขอพระองค์ทรงทอด พระเนตรดูอานุภาพอันหาประมาณมิได้ของข้าพระองค์นี้เถิด ซึ่งเกิดจาก ผลที่พระองค์ทรงถวายทานอันจะนับมิได้แก่สงฆ์ อุทิศส่วนพระราชกุศล ให้แก่ข้าพระองค์ด้วยทรงอนุเคราะห์ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเทพแห่งมนุษย์ ข้าพระองค์เป็นผู้อันพระองค์ ยังพระอริยสงฆ์ให้อิ่มหนำด้วยไทยธรรม มีข้าวและน้ำ และผ้าผ่อนเป็นต้นเป็นอันมาก จึงได้อิ่มหนำแล้วเนืองๆ บัดนี้ ข้าพระองค์มีความสุขแล้ว ขอทูลลาพระองค์ไป.
จบ จูฬเสฏฐีเปตวัตถุที่ ๘
๙. อังกุรเปตวัตถุ
ว่าด้วยบุพกรรมของอังกุรเปรต
พราหมณ์พ่อค้าคนหนึ่ง เห็นของทิพย์ออกจากมือรุกขเทวดาจึงเกิดความโลภขึ้น ได้ บอกแก่อังกุรพาณิชว่า [๑๐๖] เราทั้งหลายเที่ยวหาทรัพย์ ไปสู่แคว้นกัมโพชเพื่อประโยชน์สิ่งใด เทพ- บุตรนี้เป็นผู้ให้สิ่งที่เราอยากได้นั้น พวกเราจักนำเทพบุตรนี้ไปหรือจักจับ เทพบุตรนี้ ข่มขี่เอาด้วยการวิงวอนหรืออุ้มใส่ยานรีบนำไปสู่ทวารกนคร โดยเร็ว. อังกุรพาณิชเมื่อจะห้ามพราหมณ์พ่อค้านั้น จึงได้กล่าวคาถาความว่า บุคคลอาศัยนั่งนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด ไม่ควรหักรานกิ่งของต้นไม้นั้น เพราะการประทุษร้ายมิตร เป็นความเลวทราม. พราหมณ์พ่อค้ากล่าวว่า บุคคลอาศัยนั่งนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด พึงตัดแม้ลำต้นของต้นไม้นั้นได้ ถ้ามีความต้องการเช่นนั้น. อังกุรพาณิชกล่าวว่า บุคคลอาศัยนั่งนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด ไม่พึงทำลายแม้ใบของต้นไม้นั้น เพราะการประทุษร้ายมิตร เป็นความเลวทราม. พราหมณ์พ่อค้ากล่าวว่า บุคคลอาศัยนั่งนอนที่ร่มเงาของต้นไม้เหล่าใด พึงถอนต้นไม้นั้นพร้อม ทั้งรากได้ ถ้าพึงประสงค์เช่นนั้น. อังกุรพาณิชกล่าวว่า ก็บุรุษพึงพักอยู่ในเรือนของบุคคลใดตลอดราตรีหนึ่ง หรือพึงได้ข้าวน้ำ ในที่ใด ไม่ควรคิดชั่วต่อบุคคลนั้น แม้ด้วยใจความเป็นผู้กตัญญู สัปบุรุษ สรรเสริญ บุคคลพึงพักอาศัยในเรือนของบุคคลใดแม้เพียงคืนหนึ่ง พึง ได้รับบำรุงด้วยข้าวและน้ำ ก็ไม่พึงคิดชั่วต่อบุคคลนั้นแม้ด้วยใจ บุคคล ผู้มีมืออันไม่เบียดเบียน ย่อมแผดเผาบุคคลผู้ประทุษร้ายมิตร ผู้ใดทำ ความดีไว้ในก่อน ภายหลังเบียดเบียนด้วยความชั่ว ผู้นั้น ชื่อว่าเป็นคน อกตัญญู ย่อมไม่พบเห็นความเจริญทั้งหลาย ผู้ใดประทุษร้ายต่อนระผู้ ไม่ประทุษร้าย ผู้เป็นบุรุษบริสุทธิ์ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน บาปย่อมกลับ มาถึงผู้นั้นซึ่งเป็นคนพาลแน่แท้ เหมือนธุลีอันละเอียดที่บุคคลซัดไป ทวนลมฉะนั้น. เมื่อรุกขเทวดาได้ฟังดังนั้นแล้ว เกิดความโกรธต่อพราหมณ์นั้น จึงกล่าวว่า ไม่เคยมีเทวดาหรือมนุษย์ หรืออิสรชนคนใดจะมาข่มเหงเราได้โดยง่าย เราเป็นเทพเจ้าผู้มีมหิทธิฤทธิ์อย่างยอดเยี่ยม เป็นผู้ไปได้ไกลสมบูรณ์ด้วย รัศมีและกำลัง. อังกุรพานิชจึงถามรุกขเทวดานั้นว่า ฝ่ามือของท่านมีสีดังทองคำทั่วไป ทรงไว้ซึ่งวัตถุที่บุคคลอื่นปรารถนาด้วย นิ้วทั้ง ๕ เป็นที่ไหลออกแห่งวัตถุมีรสอร่อย วัตถุมีรสต่างๆ ย่อมไหล ออกจากฝ่ามือของท่าน ข้าพเจ้าเข้าใจว่าท่านเป็นท้าวสักกะ. รุกขเทวดาตอบว่า เราไม่ใช่เทพเจ้า ไม่ใช่คนธรรพ์ ไม่ใช่ท้าวสักกปุรินททะ ดูกรอังกุระ ท่านจงทราบว่าเราเป็นเปรต จุติจากโรรุวนครมาอยู่ที่ต้นไทรนี้. อังกุรพาณิชถามว่า เมื่อก่อน ท่านอยู่ในโรรุวนคร ท่านมีปกติอย่างไร มีความประพฤติ อย่างไร ผลบุญสำเร็จที่ฝ่ามือของท่าน เพราะพรหมจรรย์อะไร? รุกขเทวดาตอบว่า เมื่อก่อน เราเป็นช่างหูกอยู่ในโรรุวนคร เป็นคนกำพร้าเลี้ยงชีวิตโดย ความลำบากนัก เราไม่มีอะไรจะให้ทาน เรือนของเราอยู่ใกล้เรือนของ อสัยหเศรษฐี ซึ่งเป็นคนมีศรัทธาเป็นทานาธิบดี มีบุญอันทำแล้ว เป็น ผู้ละอายต่อบาป พวกยาจกวณิพกมีนามแลโคตรต่างๆ กัน ไปที่บ้านของ เรานั้น พากันถามถึงเรือนของอสัยหเศรษฐีกะเราว่า ขอความเจริญจงมี แก่ท่านทั้งหลาย พวกเราจะไปทางไหน ทานเขาให้ที่ไหน เราถูกพวก ยาจกวณิพกถามแล้ว ได้ยกมือเบื้องขวาชี้บอกเรือนของอสัยหเศรษฐีแก่ ยาจกวณิพกเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลายจงไปทางนี้ ความเจริญจักมีแก่ท่าน ทั้งหลาย ทานเขาให้อยู่ที่นั่น เพราะเหตุนั้น ฝ่ามือของเราจึงให้สิ่งที่น่า ปรารถนาเป็นที่ไหลออกแห่งวัตถุมีรสอร่อย ผลบุญย่อมสำเร็จที่ฝ่ามือ ของเราเพราะพรหมจรรย์นั้น. อังกุรพาณิชถามว่า ได้ยินว่า ท่านไม่ได้ให้ทานแก่ใครๆ ด้วยมือทั้งสองของตนเป็นแต่ เพียงอนุโมทนาทานของคนอื่น ยกมือชี้บอกทางให้ เพราะเหตุนั้นฝ่ามือ ของท่านจึงให้สิ่งที่น่าใคร่ เป็นที่ไหลออกแห่งวัตถุมีรสอร่อย ผลบุญ ย่อมสำเร็จที่ฝ่ามือของท่านเพราะพรหมจรรย์นั้น ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อสัยหเศรษฐีผู้เลื่อมใส ได้ให้ทานด้วยมือทั้งสองของตน ละร่างกาย มนุษย์แล้ว ไปทางทิศไหนหนอ? รุกขเทวดาตอบว่า เราไม่รู้ทางไปหรือทางมาของอสัยหเศรษฐี ผู้เป็นเจ้าของแห่งทาน ผู้มี- รัศมีซ่านออกจากตน แต่เราได้ฟังมาในสำนัก ของท้าวเวสสุวัณว่า อสัยหเศรษฐี ถึงความเป็นสหายแห่งท้าวสักกะ. อังกุรพาณิชกล่าวว่า บุคคลควรทำความดีแท้ ควรให้ทานตามสมควร ใครได้เห็นฝ่ามืออันให้ สิ่งที่น่าใคร่แล้ว จักไม่ทำบุญเล่า เราไปจากที่นี้ถึงทวารกนครแล้ว จัก รีบให้ทานอันจักนำความสุขมาให้เราแน่แท้ เราจักให้ข้าว น้ำ ผ้า เสนาสนะ บ่อน้ำ และสะพานในที่เดินยากเป็นทาน. อังกุรพาณิชถามว่า เพราะเหตุไร นิ้วมือของท่านจึงงอหงิก ปากของท่านจึงเบี้ยวและนัยน์ตา ทะเล้นออก ท่านได้ทำบาปกรรมอะไรไว้? เปรตนั้นตอบว่า เราอันคฤหบดีตั้งไว้ในการให้ทาน ในโรงทานของคฤหบดี ผู้มีอังคีรส ผู้มีศรัทธา เป็นฆราวาส ผู้ครอบครองเรือนเห็นยาจกผู้มีความประสงค์ ด้วยโภชนะ มาที่โรงทานนั้น ได้หลีกไปทำการบุ้ยปากอยู่ ณ ที่ข้างหนึ่ง เพราะกรรมนั้น นิ้วของเราจึงงอหงิก ปากของเราจึงเบี้ยว นัยน์ตาทะเล้น ออกมา เราได้ทำบาปกรรมนั้นไว้. อังกุรพาณิชถามว่า แน่ะบุรุษเลวทราม การที่ท่านมีปากเบี้ยว ตาทั้ง ๒ ทะเล้นเป็นการชอบ แล้ว เพราะท่านได้ทำการบุ้ยปากต่อทานของผู้อื่น ก็ไฉน อสัยหเศรษฐี เมื่อจะให้ทานจึงได้มอบข้าว น้ำของเคี้ยว ผ้า และเสนาสนะ ให้ผู้อื่น จัดแจง ก็เราไปจากที่นี่ถึงทวารกะนครแล้ว จักเริ่มให้ทานที่นำความสุข มาให้แก่เราแน่แท้ เราจักให้ข้าว น้ำ ผ้า เสนาสนะ บ่อน้ำสระน้ำ และสะพานทั้งหลายในที่เดินลำบาก เป็นทาน ก็อังกุรพาณิชกลับจาก ทะเลทราย ไปถึงทวารกะนครแล้วได้เริ่มให้ทาน อันจะนำความสุขมาให้ ตนได้ให้ข้าว น้ำ ผ้า เสนาสนะ บ่อน้ำ สระน้ำ ด้วยจิตอันเลื่อมใส. ช่างกัลบก พ่อครัว ชาวมคธ พากันป่าวร้องในเรือนของอังกุรพาณิช นั้น ทั้งในเวลาเย็น ทั้งในเวลาเช้าทุกเมื่อว่า ใครหิวจงมากินตามชอบ ใจ ใครกระหายจงมาดื่มตามชอบใจ ใครจักนุ่งห่มผ้าจงนุ่งห่ม ใครต้อง การพาหนะสำหรับเทียมรถ จงเทียมพาหนะในคู่แอกนี้ ใครต้องการร่ม จงเอาร่มไป ใครต้องการของหอม จงมาเอาของหอมไป ใครต้องการ ดอกไม้จงมาเอาดอกไม้ไป ใครต้องการรองเท้า จงมาเอารองเท้าไป มหาชนย่อมรู้เราว่า อังกุระนอนเป็นสุข ดูกรสินธุมาณพ เรานอนเป็น ทุกข์ เพราะไม่ได้เห็นพวกยาจก มหาชนรู้เราว่า อังกุระนอนเป็นสุข ดูกรสินธุกมาณพ เรานอนเป็นทุกข์ ในเมื่อวณิพกมีน้อย. สินธุมาณพได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาความว่า ถ้าท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าชาวดาวดึงส์ และเป็นใหญ่กว่าโลกทั้งปวง พึงให้พรท่าน ท่านเมื่อจะเลือก พึงเลือกเอาพรเช่นไร? อังกุรพาณิชกล่าวว่า ถ้าท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าชาวดาวดึงส์ พึงให้พรแก่เราจะพึงขอพรว่า เมื่อเราลุกขึ้นแต่เช้า ในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น ขอภักษาหารอันเป็นทิพย์ และพวกยาจกผู้มีศีลพึงปรากฏ เมื่อเราให้อยู่ ไทยธรรมไม่พึงสิ้นไป ครั้นเราให้ทานนั้นแล้ว ไม่พึงเดือดร้อนในภายหลัง เมื่อกำลังให้พึงยัง จิตให้เลื่อมใส ข้าแต่ท้าวสักกะ ข้าพเจ้าพึงเลือกเอาพรอย่างนี้. โสณกบุรุษกล่าวเตือนอังกุรพาณิชว่า บุคคลไม่พึงให้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจทั้งหมดแก่บุคคลอื่น ควรให้ทานและ ควรรักษาทรัพย์ไว้ เพราะว่าทรัพย์เท่านั้นประเสริฐกว่าทาน สกุลทั้ง- หลายย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะการให้ทานเกินประมาณไป บัณฑิตย่อมไม่ สรรเสริญการไม่ให้ทานและการให้เกินควร เพราะเหตุผลนั้นแล ทรัพย์ เท่านั้นประเสริฐกว่าทาน บุคคลผู้เป็นปราชญ์ สมบูรณ์ด้วยธรรม ควร ประพฤติโดยพอเหมาะ. อังกุรพาณิชกล่าวว่า ดูกรชาวเราทั้งหลาย ดีหนอ เราพึงให้ทานแล ด้วยว่าสัปบุรุษผู้สงบ ระงับพึงคบหาเรา เราพึงยังความประสงค์ของวณิพกทั้งปวงให้เต็ม เลี้ยง ดูให้อิ่มหนำ เปรียบเหมือนฝนยังที่ลุ่มทั้งหลายให้เต็มฉะนั้น สีหน้าของ บุคคลใดย่อมผ่องใส เพราะเห็นพวกยาจก บุคคลนั้นครั้นให้ทานแล้วมี ใจเบิกบาน ข้อนั้นเป็นความสุขของบุคคลผู้อยู่ครองเรือน สีหน้าของ บุคคลใดย่อมผ่องใสเพราะเห็นพวกยาจก บุคคลนั้นครั้นให้ทานแล้ว ย่อมปลาบปลื้มใจ นี้เป็นความถึงพร้อมแห่งยัญบุคคล ก่อนแต่ให้ก็มีใจ เบิกบาน เมื่อกำลังให้ก็ยังจิตให้ผ่องใส ครั้นให้แล้ว ก็มีใจเบิกบาน นี้ เป็นความถึงพร้อมแห่งยัญ. พระสังคีติกาจารย์กล่าวคาถาทั้งหลายความว่า ในเรือนของอังกุรพาณิชผู้มุ่งบุญ โภชนะอันเขาให้แก่หมู่ชนวันละ ๖ หมื่นเล่มเกวียนเป็นนิตย์ พ่อครัว ๓๐๐๐ คน ประดับด้วยต่างหูอันวิจิตร ด้วยมุกดาและแก้วมณี เป็นผู้ขวนขวายในการให้ทาน พากันเข้าไปอาศัย อังกุรพาณิชเลี้ยงชีวิต มาณพ ๖ หมื่นคน ประดับด้วยต่างหูอันวิจิตร ด้วยแก้วมุกดา และแก้วมณี ช่วยกันผ่าฟืนสำหรับหุงอาหาร ในมหา- ทานของอังกุรพาณิชนั้น พวกนารี ๑๖๐๐๐ คนประดับด้วยอลังการทั้งปวง ช่วยกันบดเครื่องเทศสำหรับปรุงอาหาร ในมหาทานของอังกุรพาณิชนั้น นารีอีก ๑๖๐๐๐ คน ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง ถือทัพพีเข้ายืน คอยรับใช้ในมหาทานของอังกุรพาณิชนั้น อังกุรพาณิชนั้น ได้ให้ของ เป็นอันมากแก่มหาชนโดยประการต่างๆ ได้ทำความเคารพ และความ ยำเกรงในกษัตริย์ด้วยมือของตนเองบ่อยๆ ให้ทานโดยประการต่างๆ สิ้นกาลนานอังกุรพาณิช ยังมหาทานให้เป็นไปแล้วสิ้นเดือน สิ้นปักษ์ สิ้นฤดู และปีเป็นอันมากตลอดกาลนาน อังกุรพาณิชได้ให้ทานและทำ การบูชาแล้วอย่างนี้ ตลอดกาลนาน ละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปบังเกิด ในดาวดึงส์ อินทกมาณพได้ถวายภิกษาทัพพีหนึ่ง แก่พระอนุรุทธเถระ ละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปบังเกิดในดาวดึงส์เหมือนกัน แต่อินทกเทพบุตร- รุ่งเรืองยิ่งกว่าอังกุรเทพบุตรโดยฐานะ ๑๐ อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่ารื่นรมย์ใจ อายุ ยศ วรรณะ สุข และความเป็นใหญ่. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรอังกุระ มหาทานท่านได้ให้แล้วสิ้นกาลนาน ท่านมาในสำนักของเรา ไฉนจึงนั่งอยู่ไกลนัก? เมื่อพระพุทธเจ้าผู้เป็นอุดมบุรุษ ประทับอยู่ที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ภายใต้ต้นปาริฉัตตกพฤกษ์ ณ ดาวดึงส์ ครั้งนั้น เทวดาในหมื่นโลกธาตุ พากันมานั่งประชุมเฝ้าพระสัมพุทธเจ้าซึ่งประทับบนยอดเขา เทวดาไรๆ ไม่รุ่งโรจน์เกินกว่าพระสัมพุทธเจ้าด้วยรัศมี พระสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ย่อม รุ่งโรจน์ ล่วงหมู่เทวดาทั้งปวง ครั้งนั้น อังกุรเทพบุตรนี้นั่งอยู่ไกล ๑๒ โยชน์ จากที่พระพุทธเจ้าประทับ ส่วนอินทกเทพบุตรนั่งในที่ใกล้พระผู้มี- พระภาค รุ่งเรืองกว่าอังกุรเทพบุตร พระสัมพุทธเจ้า ทอดพระเนตรเห็น อังกุรเทพบุตรกับอินทกเทพบุตรอยู่แล้ว เมื่อจะทรงประกาศทักขิไณย- บุคคลจึงได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ความว่า ดูกรอังกุรเทพบุตร มหาทาน ท่านให้แล้วสิ้นกาลนาน ท่านมาสู่สำนักของเรา ไฉนจึงนั่งอยู่ไกลนัก. อังกุรเทพบุตร อันพระผู้มีพระภาคผู้มีพระองค์อันอบรมแล้วทรงตักเตือน แล้ว ได้กราบทูลว่า จะทรงประสงค์อะไรด้วยทานของข้าพระองค์นั้น อัน ว่างเปล่าจากทักขิไณยบุคคล อินทกเทพบุตรนี้ให้ทานนิดหน่อย รุ่งเรือง ยิ่งกว่าข้าพระองค์ดุจพระจันทร์ในหมู่ดาวฉะนั้น. อินทกเทพบุตรทูลว่า พืชแม้มากที่บุคคลหว่านแล้วในนาดอน ผลย่อมไม่ไพบูลย์ทั้งไม่ยังชาวนา ให้ปลื้มใจ ฉันใด ทานมากมายอันบุคคลเข้าไปตั้งไว้ในบุคคลผู้ทุศีล ก็ฉัน นั้นเหมือนกัน ย่อมไม่มีผลไพบูลย์ ทั้งไม่ยังทายกให้ปลาบปลื้ม พืชแม้ น้อยอันบุคคลหว่านแล้วในนาดี เมื่อฝนหลั่งสายน้ำโดยสม่ำเสมอ ผลย่อม ยังชาวนาให้ปลาบปลื้มใจ แม้ฉันใด ทานแม้น้อยอันบุคคลบริจาคแล้ว ในท่านผู้มีศีล มีคุณความดี ผู้คงที่ บุญย่อมมีผลมาก ฉันนั้นเหมือนกัน ทานอันบุคคลให้แล้วในเขตใด มีผลมาก ควรเลือกให้ในเขตนั้น ทายก เลือกให้ทานแล้ว ย่อมไปสู่สวรรค์ ทานที่เลือกให้ พระสุคตทรงสรร เสริญ ทักขิไณยบุคคลเหล่าใดมีอยู่ในโลกนี้ ทานที่ทายกให้แล้วในทักขิ ไณยบุคคลเหล่านั้น ย่อมมีผลมากเหมือนพืชที่หว่านแล้วในนาดีฉะนั้น.
จบ อังกุรเปตวัตถุที่ ๙.
๑๐. อุตตรมาตุเปตวัตถุ
ว่าด้วยบุพกรรมของอุตตรมาตุเปรต
[๑๐๗] นางเปรตมีผิวพรรณน่าเกลียดน่ากลัว มีผมยาวห้อยลงมาจดพื้นดิน คลุมตัวด้วยผม เข้าไปหาภิกษุอยู่ในที่พักในกลางวันนั่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ คงคา ได้กล่าวกะภิกษุนั้นดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันตั้งแต่ตายมา จากมนุษยโลก ยังไม่ได้บริโภคข้าวหรือดื่มน้ำเลย ตลอดเวลา ๕๕ ปี แล้ว ขอท่านจงให้น้ำดื่มแก่ดิฉันผู้กระหายน้ำด้วยเถิด. ภิกษุนั้นกล่าวว่า แม่น้ำคงคามีน้ำเย็นใสสะอาด ไหลมาแต่ป่าหิมพานต์ ท่านจงตักเอาน้ำ จากแม่น้ำคงคานั้นดื่มเถิด จะมาขอน้ำกะเราทำไม. นางเปตรกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าดิฉันตักน้ำในแม่น้ำคงคานี้เองไซร้ น้ำนั้นย่อมกลับ กลายเป็นเลือดปรากฏแก่ดิฉัน เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงขอน้ำแก่ท่าน. ภิกษุนั้นถามว่า ท่านได้ทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา ใจ หรือ น้ำในแม่น้ำคงคาจึง กลายเป็นเลือดปรากฏแก่ท่าน? นางเปรตนั้นกล่าวว่า ดิฉันมีบุตรคนหนึ่งชื่ออุตตระ เป็นอุบาสกมีศรัทธา เขาได้ถวายจีวร บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่งและคิลานปัจจัย แก่สมณะทั้งหลายด้วยความ ไม่พอใจของดิฉัน ดิฉันถูกความตระหนี่ครอบงำแล้ว ด่าเขาว่า เจ้าอุตตระ เจ้าถวายจีวร บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่งและคิลานปัจจัย แก่สมณะทั้งหลาย ด้วยความไม่พอใจของเรา นั้น จงกลายเป็นเลือด ปรากฏแก่เจ้าใน ปรโลก เพราะวิบากแห่งกรรมนั้น น้ำในแม่น้ำคงคาจึงกลายเป็นเลือด ปรากฏแก่ดิฉัน.
จบ อุตตรมาตุเปตวัตถุที่ ๑๐.
๑๑. สุตตเปตวัตถุ
ว่าด้วยคนไปอยู่กับเปรต
หญิงคนหนึ่งไปอยู่กับเวมานิกเปรตตลอด ๗๐๐ ปี เกิดความเบื่อหน่ายจึงกล่าว กะเวมานิกเปรตนั้นว่า [๑๐๘] เมื่อก่อน ฉันได้ถวายด้ายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าซึ่งเข้าไป ขอถึงเรือน ของฉัน วิบากแห่งการถวายด้ายนั้น ฉันจึงได้เสวยผลอันไพบูลย์อย่างนี้ ประการหนึ่ง ผ้ามากมายหลายโกฏิบังเกิดแก่ฉัน วิมานของฉันเกลื่อน กล่นไปด้วยดอกไม้ น่ารื่นรมย์ วิจิตรด้วยรูปภาพต่างๆ เพรียบพร้อม ไปด้วยเทพบุตรเทพธิดาผู้เป็นบริวาร ฉันเลือกใช้สอยนุ่งห่มตามชอบใจ ถึงเพียงนี้ สรรพวัตถุอันปลื้มใจมากมายก็ไม่หมดสิ้นไป ฉันได้รับความ สุขความสำราญในวิมานนี้ เพราะอาศัยวิบากแห่งกรรมนั้น ฉันกลับไป สู่มนุษยโลกแล้ว จักทำบุญให้มากขึ้น ข้าแต่ลูกเจ้า ขอท่านจงนำฉันไป สู่ถิ่นมนุษย์เถิด. เวมานิกเปรตนั้นกล่าวว่า ท่านมาอยู่ในวิมานนี้ถึง ๗๐๐ ปี เป็นคนแก่เฒ่าแล้ว จักไปอยู่ใน มนุษยโลกทำไม อนึ่ง ญาติของท่านตายไปหมดแล้ว ท่านไปจากเทวโลก นี้สู่มนุษยโลกนั้นแล้ว จักกระทำอย่างไร? หญิงนั้นกล่าวว่า เมื่อฉันมาอยู่ในวิมานนี้ ๗๐๐ ปี ได้เสวยทิพยสมบัติ และความสุขอิ่ม หนำแล้ว ฉันกลับไปสู่ถิ่นมนุษย์แล้ว จักทำบุญให้มากขึ้น ข้าแต่ลูกเจ้า ขอท่านจงนำฉันไปส่งถิ่นมนุษย์เถิด. เวมานิกเปรตนั้น จับหญิงนั้นที่แขน นำกลับไปสู่บ้านที่นางเกิด แล้วพูด กะหญิงนั้นซึ่งกลับเป็นคนแก่ มีกำลังน้อยที่สุดว่า ท่านพึงบอกชนแม้ อื่นที่มาสู่ที่นี้ว่า ท่านทั้งหลายจงทำบุญเถิด ท่านทั้งหลายจะได้รับความสุข เราได้เห็นเปรตทั้งหลาย ผู้ไม่ได้ทำความดีไว้เดือดร้อนอยู่ ฉันใด มนุษย์ ทั้งหลายก็ฉันนั้น ก็หมู่สัตว์คือเทวดาและมนุษย์กระทำกรรม อันมีสุข เป็นวิบากแล้ว ย่อมเป็นผู้ดำรงอยู่ในความสุข.
จบ สุตตเปตวัตถุที่ ๑๑.
๑๒. กรรณมุณฑเปตวัตถุ
ว่าด้วยบุพกรรมของนางเวมานิกเปรต
พระเจ้าพาราณสีตรัสถามนางเวมานิกเปตรว่า [๑๐๙] สระโบกขรณีมีน้ำใสสะอาด มีบันไดทองคำลาดด้วยทรายทองโดยรอบ ในสระนั้นมีกลิ่นหอมฟุ้งน่ารื่นรมย์ใจ ดาดดื่นไปด้วยหมู่ไม้นานา มีกลิ่น ต่างๆ หอมตลบไปด้วยลมรำเพยพัด ดารดาษด้วยบัวต่างๆ เกลื่อนกล่น ด้วยบัวขาวมีกลิ่นหอมเจริญใจ อันลมรำเพยพัดฟุ้งขจร เสียงระงมไปด้วย หงส์และนกกระเรียน นกจักพรากมาร่ำร้องไพเราะจับใจ เกลื่อนกล่น ไปด้วยฝูงนกต่างๆ ส่งเสียงร้องอยู่อึงมี่ มีหมู่รุกขชาติอันมีดอกและผล นานาพรรณ ไม่มีเมืองใดในมนุษย์เหมือนเมืองของท่านนี้ ปราสาทเป็น อันมากของท่าน ล้วนแล้วด้วยทองคำและเงิน รุ่งเรืองงามสง่าไปทั่วทั้ง ๔ ทิศโดยรอบ นางทาสี ๕๐๐ คอยบำเรอท่านประดับด้วยกำไรทอง นุ่งห่มผ้าทองคำบัลลังก์ของท่านมีมาก ซึ่งสำเร็จด้วยทองคำและเงิน ปูลาด ด้วยหนังชะมด และผ้าโกเชาว์อันบุคคลจัดแจงไว้แล้ว ท่านจะเข้านอน บนบัลลังก์ใด ก็สำเร็จดังความปรารถนาทุกอย่าง เมื่อถึงเที่ยงคืน ท่าน ลุกจากบัลลังก์นั้นลงไปสู่สวนใกล้สระโบกขรณี ยืนอยู่ที่ฝั่งสระนั้นอันมี หญ้าเขียวอ่อน งดงาม ลำดับนั้น สุนัขหูด้วนก็ขึ้นมาจากสระนั้น กัดอวัยวะน้อยใหญ่ของท่านเมื่อใด ท่านถูกสุนัขกัดกินแล้วเหลือแต่ กระดูกเมื่อนั้น ท่านจึงลงสู่สระโบกขรณี ร่างกายก็กลับมีเหมือนเดิม ภายหลังจากเวลาลงสระโบกขรณี ท่านกลับมีอวัยวะน้อยใหญ่เต็มบริบูรณ์ งดงามดูน่ารัก นุ่งห่มแล้ว มาสู่สำนักของเรา ท่านได้ทำกรรมชั่วอะไรไว้ ด้วยกาย วาจา ใจ หรือและเพราะวิบากแห่งกรรมอะไร สุนัขหูด้วน จึงกัดกินอวัยวะน้อยใหญ่ของท่าน? นางเวมานิกเปรตกราบทูลว่า มีคฤหบดีคนหนึ่ง เป็นอุบาสกผู้มีศรัทธา อยู่ในเมืองกิมพิละ หม่อมฉัน เป็นภรรยาของอุบาสกนั้น เป็นคนทุศีล ประพฤตินอกใจเขา เมื่อหม่อม ฉันนอกใจเขาอย่างนั้น สามีหม่อมฉันจึงพูดว่า การที่เธอประพฤตินอก ใจฉันนั้นเป็นการไม่เหมาะไม่สมควร และหม่อมฉันได้กล่าวมุสาวาท- สบถอย่างร้างแรงว่า ฉันไม่ได้ประพฤตินอกใจท่านด้วยกายหรือด้วยใจ ถ้าฉันประพฤตินอกใจท่านด้วยกายหรือด้วยใจ ขอให้สุนัขหูด้วนตัวนี้ กัดกินอวัยวะน้อยใหญ่ของฉันเถิด วิบากแห่งกรรมอันลามก คือ การ ประพฤตินอกใจสามี และมุสาวาททั้งสอง อันหม่อมฉันได้เสวยแล้ว ตลอด ๗๐๐ ปี เพราะกรรมอันลามกนั้น สุนัขหูด้วนกัดกินอวัยวะน้อย ใหญ่ของหม่อมฉัน ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ พระองค์มีอุปการะแก่ หม่อมฉันมาก พระองค์เสด็จมาที่นี้ เพื่อประโยชน์แก่หม่อมฉัน หม่อมฉัน พ้นดีแล้วจากสุนัขหูด้วน ไม่มีความโศก ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ ขอเดชะ หม่อมฉันขอถวายบังคมพระองค์ หม่อมฉันขอประนมอัญชลีวิงวอนว่า ขอพระองค์จงเสวยกามสุขอันเป็นทิพย์ รื่นรมย์อยู่กับหม่อมฉันเถิด. พระราชาตรัสว่า กามสุขอันเป็นทิพย์เราเสวยแล้ว และรื่นรมย์แล้วกับท่าน ดูกรนางผู้ ประกอบด้วยความงาม เราขออ้อนวอนท่าน ขอท่านจงรีบนำฉันกลับ เสียเถิด.
จบ กรรณมุณฑเปตวัตถุที่ ๑๒.
๑๓. อุพพรีเปตวัตถุ
ว่าด้วยดาบสถวายโอวาทแก่พระนางอุพพรี
[๑๑๐] พระเจ้าพรหมทัตต์ผู้เป็นใหญ่ ได้เสวยราชสมบัติในแคว้นปัญจาลราช พระองค์เสด็จสวรรคตโดยกาลอันล่วงไปแห่งวัน และราตรีทั้งหลาย พระนางเจ้าอุพพรีมเหสีเสด็จไปยังพระเมรุมาศ แล้วทรงกรรแสงอยู่ เมื่อพระนางไม่เห็นพระเจ้าพรหมทัตต์ ก็กรรแสงว่า พรหมทัตต์ๆ ก็ดาบสผู้เป็นมุนีสมบูรณ์ด้วยจรณญาณ ได้มาที่พระนางอุพพรีประทับอยู่ นั้น ท่านได้ถามชนทั้งหลายที่มาประชุมกันในที่นั้นว่า นี่เป็นพระเมรุมาศ ของใครมีกลิ่นหอมต่างๆ ฟุ้งตลบไป หญิงนี้เป็นภรรยาของใคร เมื่อไม่ เห็นพระเจ้าพรหมทัตต์ผู้เป็นใหญ่ ซึ่งเสด็จไปแล้วไกลจากโลกนี้ คร่ำ- ครวญอยู่ว่า พรหมทัตต์ๆ ชนที่มาประชุมกันอยู่ในที่นั้น กล่าวตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญนี่เป็นพระเมรุมาศของพระเจ้าพรหมทัตต์ ข้าแต่ท่านผู้ นิรทุกข์ นี่เป็นพระเมรุมาศของพระเจ้าพรหมทัตต์ มีกลิ่นหอมฟุ้งตลบไป หญิงนี้เป็นพระมเหสีของท้าวเธอ เมื่อไม่เห็นพระเจ้าพรหมทัตต์พระราช- สวามี ซึ่งเสด็จไปไกลจากโลกนี้ ทรงพระกรรแสงอยู่ว่า พรหมทัตต์ๆ ดาบสจึงถามว่า พระราชามีพระนามว่าพรหมทัตต์ ถูกเผาในป่าช้านี้ ๘๖,๐๐๐ พระองค์ แล้ว บรรดาพระเจ้าพรหมทัตต์เหล่านั้น พระนางทรงกรรแสงถึงพระเจ้า พรหมทัตต์พระองค์ไหน? พระนางอุพพรีตรัสตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระราชาพระองค์ใด เป็นพระราชโอรสของพระเจ้า- จุฬนี ทรงเป็นใหญ่อยู่ในแคว้นปัญจาลราช ดิฉันเศร้าโศกถึงพระราชา พระองค์นั้น ผู้เป็นพระราชสวามี ทรงประทานสิ่งของที่น่าใคร่ทุกอย่าง. ดาบสกล่าวว่า พระราชาทุกพระองค์ทรงพระนามว่า พรหมทัตต์เหมือนกันทั้งหมดเป็น พระราชโอรสของพระเจ้าจุฬนี เป็นใหญ่อยู่ในแคว้นปัญจาลราช พระนาง เป็นพระมเหสีของพระราชาเหล่านั้น ทั้งหมดโดยลำดับกันมา เหตุไร พระนางจึงเว้นพระราชาองค์ก่อนๆ มาทรงกรรแสงถึงแต่พระราชาองค์ หลังเล่า? พระนางอุพพรีตรัสตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ดิฉันเกิดเป็นแต่หญิงตลอดกาลนานเท่านั้นหรือ หรือเกิดเป็นบุรุษ ท่านพูดถึงแต่การที่ดิฉันเป็นหญิงในสงสารเป็นอันมาก. ดาบสตอบว่า บางคราวพระนางเกิดเป็นหญิง บางคราวก็เกิดเป็นบุรุษ บางคราวก็เข้าถึง กำเนิดปศุสัตว์ ที่สุดแห่งอัตภาพทั้งหลายอันเป็นอดีต ย่อมไม่ปรากฏ อย่างนี้. พระนางอุพพรีตรัสว่า ท่านดับความกระวนกระวายทั้งปวงของดิฉัน ผู้เร่าร้อนอยู่ให้หายเหมือน บุคคลดับไฟที่ราดน้ำมันด้วยน้ำ ฉะนั้น ท่านได้บรรเทาความโศกถึง พระสวามีของดิฉันผู้ถูกความโศกครอบงำแล้ว ถอนขึ้นแล้วหนอซึ่งลูกศร คือความโศกอันเสียบแทงที่หทัยของดิฉัน ข้าแต่ท่านผู้เป็นมหามุนี ดิฉัน เป็นผู้มีลูกศรคือ ความโศกอันท่านถอนขึ้นได้แล้ว เป็นผู้เย็นสงบแล้ว ดิฉันจะไม่เศร้าโศก ไม่ร้องไห้อีกเพราะได้ฟังคำของท่าน. พระนางอุพพรี ฟังคำสุภาษิตของดาบสผู้เป็นสมณะนั้นแล้ว ถือบาตร และจีวรออกบวชเป็นบรรพชิต ครั้นออกบวชแล้วเจริญเมตตาจิต เพื่อเข้าถึงพรหมโลก พระนางอุพพรีนั้น เมื่อท่องเที่ยวไปสู่บ้านหนึ่ง จากบ้านหนึ่ง สู่นิคมและราชธานีทั้งหลาย ได้เสด็จสวรรคตที่บ้านอุรุเวลา พระนางเบื่อหน่ายความเป็นหญิง เจริญเมตตาจิตเพื่อบังเกิดในพรหมโลก จึงได้เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก.
จบ อุพพรีเปตวัตถุที่ ๑๓.
รวมเรื่องที่มีในอุพพรีวรรคนี้ คือ
๑. สังสารโมจกเปตวัตถุ ๒. สารีปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ ๓. มัตตาเปติวัตถุ ๔. นันทาเปตวัตถุ ๕. มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุ ๖. กัณหเปตวัตถุ ๗. ธนปาลเปตวัตถุ ๘. จูฬเสฏฐี เปตวัตถุ ๙. อังกุรเปตวัตถุ ๑๐. อุตตรมาตุเปตวัตถุ ๑๑. สุตตเปตวัตถุ ๑๒. กรรณมุณฑ- *เปตวัตถุ ๑๓. อุพพรีเปตวัตถุ.
จบอุพพรีวรรคที่ ๒.
-----------------------------------------------------
จูฬวรรคที่ ๓
๑. อภิชชมานเปตวัตถุ
ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตเปลือย
โกสิยมหาอำมาตย์ของพระเจ้าพิมพิสาร ถามเปรตตนหนึ่งว่า [๑๑๑] ดูกรเปรต ท่านเป็นผู้เปลือยกาย มีร่างกายเป็นเปรตกึ่งหนึ่งทัดทรง ดอกไม้ ตกแต่งร่างกาย เดินไปในน้ำอันไม่ขาดสายในแม่น้ำคงคานี้ ท่านจักไปไหน ที่อยู่ของท่านอยู่ที่ไหน? เพื่อจะแสดงเนื้อความที่เปรตนั้น และโกสิยมหาอำมาตย์กล่าวแล้ว พระสังคีติกาจารย์ จึงกล่าวคาถาความว่า เปรตนั้นกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักไปยังบ้านจุนทัฏฐิละ อันอยู่ในระหว่าง แห่งวาสภคามกับเมืองพาราณสี แต่บ้านนั้นอยู่ใกล้เมืองพาราณสี ก็มหา อำมาตย์อันปรากฏชื่อว่าโกลิยะเห็นเปรตนั้นแล้ว ได้ให้ข้าวสัตตูและคู่ ผ้าสีเหลืองแก่เปรตนั้น เมื่อเรือหยุดเดิน ได้ให้ข้าวสัตตูและคู่ผ้าแก่ อุบาสกเมื่อคู่ผ้าอันโกลิยะอำมาตย์ให้ช่างกัลบกแล้ว ผ้านุ่งผ้าห่มก็ปรากฏ แก่เปรตทันที ภายหลัง เปรตนั้นนุ่งห่มผ้าดีแล้ว ทัดทรงดอกไม้ตบแต่ง ร่างกายด้วยอาภรณ์ ทักษิณาย่อมเข้าไปสำเร็จแก่เปรตนั้น ผู้อยู่แล้วใน ที่นั้น เพราะฉะนั้น บัณฑิตผู้มีปัญญา พึงให้ทักษิณาบ่อยๆ เพื่อ อนุเคราะห์แก่เปรตทั้งหลาย เปรตเหล่าอื่น บางพวกนุ่งผ้าขี้ริ้วขาดรุ่งริ่ง บางพวกนุ่งผม หลีกไปสู่ทิศน้อยใหญ่เพื่อหาอาหาร บางพวกวิ่งไปแม้ ในที่ไกลไม่ได้แล้วกลับมา บางพวกสลบแล้วเพราะความหิวกระหาย นอนกลิ้งไปบนพื้นดิน บางพวกล้มลงที่แผ่นดินในที่ตนวิ่งไปนั้นร้อง ไห้ร่ำไรว่า เมื่อก่อน เราทั้งหลายไม่ได้ทำกุศลไว้จึงได้ถูกไฟคือความหิว และความกระหายเผาอยู่ ดุจถูกไฟเผาแล้วในที่ร้อน เมื่อก่อน พวก เรามีธรรมอันลามก เป็นหญิงแม่เรือนมารดาทารกในตระกูล เมื่อ ไทยธรรมทั้งหลายมีอยู่ไม่กระทำพึงแก่ตน เออ ก็ข้าวและน้ำมีมาก แต่ เราไม่กระทำการแจกจ่ายให้ทาน และไม่ได้ให้อะไรในบรรพชิตทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติชอบ อยากทำแต่กรรมที่คนดีไม่พึงทำ เป็นคนเกียจคร้านใคร่แต่ ความสำราญและของที่อร่อย กินมาก ให้แต่เพียงโภชนะก้อนหนึ่ง ด่าตัดพ้อปฏิคาหกผู้รับอาหาร เรือน พวกทาสีทาสาและผ้าอาภรณ์ของ เราเหล่านั้น ไม่สำเร็จประโยชน์แก่พวกเรา กลายเป็นของคนอื่นไป หมด เรามีแต่ส่วนแห่งทุกข์ เราจุติจากเปรตนี้แล้ว จักไปเกิดในตระกูล อันต่ำช้าเลวทราม คือ ตระกูลจักสาน ตระกูลช่างรถ ตระกูลนายพราน ตระกูลคนจัณฑาล ตระกูลคนกำพร้า ตระกูลช่างกัลบก นี้เป็นคติแห่ง ความตระหนี่ ส่วนทายกทั้งหลายผู้มีกุศลอันทำไว้แล้วในชาติก่อน ปราศจากความตระหนี่ ย่อมยังสวรรค์ให้บริบูรณ์ และย่อมยังนันทนวัน ให้สว่างไสวรื่นรมย์แล้วในเวชยันตปราสาทสำเร็จความปรารถนา ครั้น จุติจากเทวโลกแล้ว ย่อมเกิดในตระกูลสูง มีโภคะมาก คือ ในตระกูล แห่งบุคคลมีเรือนยอดและปราสาทราชมนเทียรมีบัลลังก์อันลาดแล้วด้วย ผ้าโกเชาว์ มีเหล่าบุรุษและสตรีถือพัดอันประดับแล้วด้วยแววหางนกยูง คอยพัดอยู่ ในเวลาเป็นทารกก็ทัดทรงดอกไม้ ตบแต่งร่างกาย หมู่ ญาติและพี่เลี้ยงนางนมผลัดกันอุ้ม ไม่ต้องลงสู่พื้นดิน อันชนทั้งหลาย ผู้ปรารถนาความสุขเข้าไปบำรุงอยู่ทั้งเช้าและเย็นตลอดชาติ สวนใหญ่ แห่งเทวดาชาวไตรทศเทพชื่อว่านันทนวัน อันเป็นสถานไม่เศร้าโศก น่ารื่นรมย์นี้ย่อมไม่มีแก่ชนทั้งหลายผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ ย่อมมีแต่เฉพาะ เหล่าชนผู้มีบุญอันทำไว้แล้วเท่านั้น ความสุขในโลกนี้และในปรโลก ย่อมไม่มีแก่เหล่าชนผู้ไม่ทำบุญ ความสุขในโลกนี้และโลกหน้า ย่อมมี เฉพาะแก่เหล่าชนผู้ทำบุญไว้ ผู้ปรารถนาความเป็นสหายแห่งเทวดาชาว ไตรทศเทพ พึงทำบุญกุศลไว้ให้มาก เพราะว่าบุคคลผู้ทำบุญไว้แล้ว ย่อมบันเทิงใจอยู่ในสวรรค์เพรียบพร้อมไปด้วยโภคสมบัติ.
จบ อภิชชมานเปตวัตถุที่ ๑
๒. สานุวาสีเถรเปตวัตถุ
ว่าด้วยเปรตญาติพระสานุวาสีเถระ
[๑๑๒] พระเถระชาวกุณฑินครรูปหนึ่ง อยู่ที่ภูเขาสานุวาสี มีนามว่า โปฏฐ ปาทะ เป็นสมณะผู้มีอินทรีย์ อันอบรมดีแล้ว มารดาบิดาและพี่ชายของ ท่านเกิดในยมโลก เสวยทุกขเวทนาเพราะทำกรรมลามก จึงไปจาก โลกนี้สู่เปตโลก เปรตเหล่านั้นถึงทุคติ มีช่องปากเท่ารูเข็ม ลำบากยิ่ง นัก เปลือยกายซูบผอม มีความเกรงกลัวสะดุ้งหวาดเสียวมาก มีการ งานทารุณ ไม่อาจแสดงตนแก่พระเถระได้ เปรตผู้เป็นพี่ชายของท่าน ตนเดียว เปลือยกายรีบไปนั่งคุกเข่าประนมมือแสดงตนแก่พระเถระ พระเถระไม่ใส่ใจถึง เป็นผู้นิ่งเดินเลยไป เปรตนั้นจึงบอกให้พระเถระ รู้ว่า ข้าพเจ้าพี่ชายของท่านไปแล้วสู่เปตโลก ข้าแต่ท่านผู้เจริญ มารดา บิดาของท่านเกิดในยมโลกเสวยทุกข์ เพราะทำบาปกรรม จึงไปจาก โลกนี้สู่เปตโลก เปรตผู้เป็นมารดาบิดาของท่านทั้งสองนั้น มีช่องปาก เท่ารูเข็ม ลำบากมาก เปลือยกาย ซูบผอม มีความเกรงกลัวสะดุ้ง หวาดเสียวมาก มีการงานทารุณ ไม่อาจแสดงตนแก่ท่าน ขอท่านจง เป็นผู้มีความกรุณา อนุเคราะห์แก่มารดาบิดา จงให้ทานแล้วอุทิศส่วน กุศลไปให้พวกเรา พวกเราผู้มีการงานอันทารุณ จักยังอัตภาพให้ เป็นไปได้เพราะทานอันท่านให้แล้ว พระเถระกับภิกษุอื่นอีก ๑๒ รูป เที่ยวไปบิณฑบาตแล้ว กลับมาประชุมในที่เดียวกัน เพราะเหตุแห่ง ภัตกิจ พระเถระจึงกล่าวกะภิกษุทั้งหมดนั้นว่า ขอท่านทั้งหลายจงให้ ภัตตาหารที่ท่านได้แล้วแก่ผมเถิด ผมจักทำสังฆทานเพื่ออนุเคราะห์ญาติ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นจึงมอบถวายพระเถระ พระเถระนิมนต์สงฆ์ ถวายสังฆทานแล้วอุทิศส่วนกุศลไปให้มารดาบิดาและพี่ชาย ด้วยอุทิศ เจตนาว่า ขอทานนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของเรา ขอญาติทั้งหลาย จงมีความสุขเถิด ในลำดับที่อุทิศให้นั่นเอง โภชนะอันประณีต สมบูรณ์ มีแกงและกับหลายอย่าง เกิดขึ้นแก่เปรตเหล่านั้น ภายหลัง เปรต ผู้เป็นพี่ชายมีผิวพรรณดี มีกำลัง มีความสุข ได้ไปแสดงตนแก่พระเถระ แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โภชนะอันมากมายที่พวกข้าพเจ้าได้แล้ว แต่ขอท่านจงดูข้าพเจ้าทั้งหลายยังเป็นคนเปลือยกายอยู่ ขอท่านจง พยายามให้ข้าพเจ้าทั้งหลายได้ผ้านุ่งผ้าห่มด้วยเถิด พระเถระเลือกเก็บ ผ้าจากกองหยากเยื่อเอามาทำจีวรแล้ว ถวายสงฆ์อันมาแล้วจากจาตุรทิศ ครั้นถวายแล้วได้อุทิศส่วนกุศลให้มารดาบิดาและพี่ชาย ด้วยอุทิศเจตนา ว่า ขอทานนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลาย ขอพวกญาติของเราจงมีความ สุขเถิด ในลำดับแห่งการอุทิศนั่นเอง ผ้าทั้งหลายได้เกิดขึ้นแก่เปรตเหล่า นั้น ภายหลัง เปรตเหล่านั้นนุ่งห่มผ้าเรียบร้อยแล้วได้มาแสดงตนแก่ พระเถระกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายมีผิวพรรณดี มีกำลัง มีความสุข มีผ้านุ่งผ้าห่มมากกว่าผ้าที่มีในแคว้นของพระเจ้านันทราช ผ้านุ่งผ้าห่มทั้งหลายของพวกเรา ไพบูลย์และมีค่ามาก คือ ผ้าไหม ผ้า ขนสัตว์ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าป่าน ผ้าด้ายแกมไหม ผ้าเหล่านั้น แขวนอยู่ในอากาศ ข้าพเจ้าทั้งหลายเลือกนุ่งห่มแต่ผืนที่พอใจ (แต่ว่า พวกข้าพเจ้ายังไม่มีบ้านเรือนอยู่) ขอท่านจงพยายามให้พวกข้าพเจ้าได้ บ้านเรือนเถิด พระเถระสร้างกุฎีอันมุงด้วยใบไม้ แล้วได้ถวายสงฆ์ซึ่ง มาแต่จาตุรทิศครั้นแล้วได้อุทิศส่วนกุศลให้มารดาบิดาและพี่ชาย ด้วย อุทิศเจตนาว่า ขอผลแห่งการถวายกุฎีนี้ จงสำเร็จแก่พวกญาติของเรา ขอพวกญาติของเราจงมีความสุขเถิด ในลำดับแห่งการอุทิศนั่นเอง เรือน ทั้งหลาย คือ ปราสาทและเรือนอย่างอื่นๆ อันบุญกรรมกำหนด แบ่งไว้เป็นส่วนๆ เกิดขึ้นแล้วแก่เปรตเหล่านั้น เรือนของพวกเรา ในเปตโลกนี้ ไม่เป็นเช่นกับเรือนในมนุษยโลก เรือนของพวกเราใน เปตโลกนี้งามรุ่งเรืองสว่างไสวไปทั่วทั้ง ๘ ทิศ เหมือนเรือนในเทว โลกแต่พวกเรายังไม่มีน้ำดื่ม ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงพยายามให้ พวกข้าพเจ้าได้ดื่มน้ำด้วยเถิด พระเถระจึงตักน้ำเต็มธรรมกรก แล้ว ถวายสงฆ์ซึ่งมาแต่จาตุรทิศ ครั้นแล้วได้อุทิศส่วนกุศลให้มารดาบิดาและ พี่ชาย ด้วยอุทิศเจตนาว่า ขอผลทานนี้จงสำเร็จแก่พวกญาติของเรา ขอพวกญาติของเราจงมีความสุขเถิด ในลำดับแห่งการอุทิศนั่นเอง น้ำ ดื่มคือสระโบกขรณี กว้าง ๔ เหลี่ยม ลึก มีน้ำเย็น มีท่าราบเรียบดี น้ำเย็นมีกลิ่นหอมหาที่เปรียบมิได้ ดารดาษด้วยกอปทุมและอุบล เต็ม ด้วยละอองเกสรบัวอันล่วงบนวารี ได้เกิดขึ้น เปรตเหล่านั้นอาบและ ดื่มกินในสระนั้นแล้ว ไปแสดงตนแก่พระเถระแล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่าน ผู้เจริญ น้ำดื่มของพวกข้าพเจ้ามากเพียงพอแล้ว บาปย่อมเผล็ดผลเป็น ทุกข์แก่พวกข้าพเจ้า พวกข้าพเจ้าพากันเที่ยวไปลำบากในภูมิภาคอันมี ก้อนกรวดและหน่อหญ้าคา ขอท่านพยายามให้พวกข้าพเจ้าได้ยานอย่าง ใดอย่างหนึ่งเถิด พระเถระได้รองเท้าแล้ว ถวายสงฆ์ซึ่งมาแต่จาตุรทิศ ครั้นแล้วอุทิศส่วนกุศลให้มารดาบิดาและพี่ชาย ด้วยอุทิศเจตนาว่า ขอ ผลทานนี้จงสำเร็จแก่พวกญาติของเรา ขอพวกญาติของเราจงมีความสุข เถิด ในลำดับแห่งการอุทิศนั่นเอง เปรตทั้งหลายได้พากันมาแสดงตน ให้ปรากฏด้วยรถ แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าเป็นผู้อัน ท่านอนุเคราะห์แล้ว ด้วยการให้ข้าว ผ้านุ่งผ้าห่ม เรือน น้ำดื่ม และ ยาน เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าทั้งหลายจึงมาเพื่อจะไหว้ท่านผู้เป็นมุนีมี ความกรุณาในโลก.
จบ สานุวาสีเถรเปตวัตถุที่ ๒.
๓. รถการีเปตวัตถุ
ว่าด้วยผลกรรมทำให้ได้อยู่ร่วมกับนางเวมานิกเปรต
มาณพคนหนึ่งถามนางเวมานิกเปรตตนหนึ่งว่า [๑๑๓] ดูกรนางเทวีผู้มีอานุภาพมาก ท่านขึ้นสู่วิมานมีเสาเป็นวิการแก้วไพฑูรย์ งามผุดผ่อง มีรูปภาพอันวิจิตรต่างๆ อยู่ในวิมานนั้น ดุจพระจันทร์ ในวันเพ็ญ งามโชติช่วงในท้องฟ้า ฉะนั้น อนึ่ง รัศมีของท่านมีสีดัง ทองคำ ท่านมีรูปร่างอันอุดมน่าดูน่าชมยิ่งนัก นั่งอยู่แต่ผู้เดียวบนบัลลังก์ อันประเสริฐมีค่ามาก สามีของท่านไม่มีหรือ ก็สระโบกขรณีของท่าน เหล่านี้มีอยู่โดยรอบ มีกอบัวต่างๆ เป็นอันมาก มีบัวขาวมาก เกลื่อน กล่นด้วยทรายทองโดยรอบ ในสระโบกขรณีนั้น หาเปือกตมและ จอกแหนมิได้ มีหงส์น่าดูน่าชมน่ารื่นรมย์ใจเที่ยวเลาะเวียนไปในน้ำ ทุกเมื่อ หงส์ทั้งปวงนั้นมีเสียงไพเราะพากันมาประชุมร่ำร้องอยู่ เสียง ร่ำร้องแห่งหงส์ในสระโบกขรณีของท่าน มิได้ขาดเสียง ดุจเสียง กลอง ท่านมียศงามรุ่งเรือง ลงนั่งอยู่ในเรือ ท่านมีคิ้วโก่งดำดี มีหน้า ยิ้มแย้มพูดจาน่ารักใคร่ มีอวัยวะทั้งปวงงามรุ่งเรืองยิ่งนัก วิมานของ ท่านนี้ปราศจากละอองธุลี ตั้งอยู่ที่ภาคพื้นอันราบเรียบ มีสวนนันทวัน อันให้เกิดความยินดีเพลิดเพลินเจริญใจ ดูกรนารีผู้มีรูปร่างน่าดูน่าชม เราปรารถนาเพื่อจะอยู่บันเทิงกับท่านในสวนนันทวันของท่านนี้. นางเวมานิกาเปรตกล่าวว่า ท่านจงทำกรรมอันจะให้ท่านได้เสวยผลในวิมานของเรานี้ และจิตของ ท่านจงน้อมมาในวิมานนี้ด้วย ท่านทำกรรมอันบันเทิงในที่นี้แล้วจักได้ อยู่รวมกับเราสมความประสงค์ มาณพนั้นรับคำนางเวมานิกเปรตนั้นแล้ว จึงได้ทำกรรมอันเป็นกุศล อันส่งผลให้เกิดในวิมานนั้น ครั้นแล้วได้ เข้าถึงความเป็นสหายของนางเวมานิกเปรตนั้น.
จบ รถการีเปตวัตถุที่ ๓.
จบ ภาณวารที่ ๒.
๔. ภุสเปตวัตถุ
ว่าด้วยบุพกรรมของเปรต ๔ ตน
พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามบุพกรรมของเปรตทั้ง ๔ ด้วยคาถานี้ความว่า [๑๑๔] ท่านทั้ง ๔ นี้ คนหนึ่งกอบเอาแกลบข้าวสาลีที่ไฟลุกโชนโปรยใส่ ศีรษะของตนเอง อีกคนหนึ่งทุบศีรษะของตนด้วยค้อนเหล็ก ส่วน คนที่เป็นหญิงเอาเล็บจิกหลังกินเนื้อและเลือดของตนเอง ส่วนท่านกิน คูถอันเป็นของไม่สะอาดไม่น่าปรารถนา นี้เป็นวิบากแห่งกรรมอะไร? ภรรยาของพ่อค้าโกงตอบว่า เมื่อชาติก่อน ผู้นี้เป็นบุตรของดิฉัน ได้ตีศีรษะของฉันผู้เป็นมารดา ผู้นี้เป็นสามีของดิฉัน เป็นพ่อค้าโกงข้าวเปลือกปนแกลบ ผู้นี้เป็นลูก สะใภ้ของดิฉัน ลักกินเนื้อแล้วกลับหลอกลวงด้วยมุสาวาท ดิฉันเมื่อ เกิดเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก เป็นหญิงแม่เรือน เป็นใหญ่กว่าสกุล ทั้งปวง เมื่อสิ่งของมีอยู่ เหล่ายาจกขอแล้ว เก็บซ่อนไว้เสีย ไม่ได้ให้ อะไรจากของที่มีอยู่ ปกปิดไว้ด้วยมุสาวาทว่า ของนี้ไม่มีในเรือนของเรา ถ้าเราปกปิดของที่มีไว้ ขอคูถจงเป็นอาหารของเรา ภัตแห่งข้าวสาลีอัน มีกลิ่นหอม ย่อมกลับกลายเป็นคูถเพราะวิบากแห่งกรรม คือ มุสาวาท ของดิฉัน ก็กรรมทั้งหลายไม่ไร้ผล กรรมนั้นย่อมไม่สาบสูญ เพราะ ฉะนั้นดิฉันจึงกินและดื่มแต่มูตรคูถอันมีกลิ่นเหม็น มีหนอน.
จบ ภุสเปตวัตถุที่ ๔.
๕. กุมารเปตวัตถุ
ว่าด้วยบุพกรรมของกุมารเปรต
เมื่อจะประกาศเนื้อความนั้น พระสังคีติกาจารย์ได้กล่าวคาถา ๗ คาถา ความว่า [๑๑๕] พระญาณของพระสุคตศาสดาน่าอัศจรรย์ เป็นเหตุให้พระองค์ทรง พยากรณ์บุคคลว่า บุคคลบางคนมีบุญมาก บางคนมีบุญน้อย ได้ถูก ต้องคฤหบดีผู้นี้เมื่อยังเป็นเด็ก ถูกเขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นอยู่ได้ด้วยน้ำ นมจากนิ้วมือตลอดราตรี ยักษ์และภูตปีศาจ หรืองูเล็กงูใหญ่ ก็ไม่ เบียดเบียนเด็กผู้มีบุญอันได้ทำไว้แล้ว แม้สุนัขทั้งหลายก็พากันมาเลีย เท้าทั้งสองของเด็กนี้ ฝูงกาและสุนัขจิ้งจอก ก็พากันมาเดินเวียนรักษา ฝูงนกก็พากันมาคาบเอามลทินครรภ์ไปทิ้ง ส่วนฝูงกาพากันมานำเอาขี้ตา ไปทิ้ง มนุษย์และอมนุษย์ไรๆ มิได้จัดแจงรักษาเด็กนี้ หรือใครๆ ที่ จะทำเมล็ดพรรณผักกาดให้เป็นยามิได้มี และไม่ได้ถือเอาการประกอบ ฤกษ์ยามทั้งไม่ได้เรี่ยรายซึ่งข้าวเปลือกทั้งปวง พระผู้มีพระภาคผู้อันเทวดา และมนุษย์บูชาแล้ว มีพระปัญญากว้างขวาง ได้ทอดพระเนตรเห็นเด็ก อันบุคคลนำมาทิ้งไว้ในป่าช้าในราตรี ผู้ถึงแล้วซึ่งความทุกข์อย่างยิ่งเช่น นี้ เหมือนก้อนแห่งเนยใสหวั่นไหวอยู่ มีความสงสัยว่ารอดหรือไม่รอด หนอ เหลืออยู่แต่สักว่าชีวิต ครั้นแล้วได้ทรงพยากรณ์ว่า เด็กคนนี้จัก เป็นผู้มีตระกูลสูง มีโภคสมบัติในพระนครนี้. พวกอุบาสกผู้ยืนอยู่ในที่ใกล้พระศาสดาทูลถามว่า อะไรเป็นวัตรเป็นพรหมจรรย์ของเขา นี้เป็นวิบากแห่งวัตร หรือพรหมจรรย์ที่เขาประพฤติแล้วเช่นไร เขาถึงความพินาศเช่นนี้แล้ว จักเสวยความสำเร็จเช่นนั้น เพราะกรรมอะไร? พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า เมื่อก่อน มหาชนทำการบูชาอย่างโอฬารแก่ภิกษุสงฆ์ผู้มีพระพุทธเจ้าเป็น เป็นประธาน เด็กนั้นมิได้มีจิตเอื้อเฟื้อในการบูชา ได้กล่าววาจาหยาบ คายอันมิใช่สัตบุรุษ ภายหลังเด็กนั้นถามมารดาตักเตือนให้กลับความวิตก อันลามกนั้นแล้ว กลับได้ปีติและความเลื่อมใส ได้บำรุงพระตถาคตซึ่ง ประทับอยู่ ณ วิหารเชตวัน ด้วยข้าวยาคู ๗ วัน ข้อนั้นเป็นวัตรเป็น พรหมจรรย์ของเขา นี้เป็นวิบากแห่งวัตรและพรหมจรรย์ที่เขาประพฤติ แล้วนั้น เขาถึงความพินาศเช่นนั้นแล้ว จักได้ความสำเร็จเช่นนั้น เขา ตั้งอยู่ในมนุษย์โลกนี้สิ้นร้อยปี เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยกามคุณทั้งปวง เมื่อตายไปจักเข้าถึงความเป็นสหายแห่งท้าววาสวะ ในสัมปรายภพ.
จบ กุมารเปตวัตถุที่ ๕.
๖. เสรินีเปตวัตถุ
ว่าด้วยบุพกรรมของเสรินีเปรต
อุบาสกคนหนึ่งถามนางเปรตเสรินีว่า [๑๑๖] ท่านเปลือยกาย มีผิวพรรณน่าเกลียด ซูบผอม สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ผอมยิ่งนักจนเห็นแต่ซี่โครง ท่านเป็นใครมายืนอยู่ที่นี้? นางเปรตเสรินีตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเป็นเปรต ตกทุกข์ เกิดในยมโลก ทำกรรม อันลามกไว้ จึงไปจากโลกนี้สู่เปตโลก. อุบาสกถามว่า ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา ใจ หรือเพราะวิบากแห่งกรรม อะไร ท่านจึงไปจากโลกนี้สู่เปตโลก? นางเปรตเสรินีตอบว่า เมื่อสมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้เป็นที่พึ่งอันหาโทษมิได้ มีอยู่ ดิฉันถูกความ ตระหนี่ครอบงำ จึงไม่สั่งสมบุญแม้เพียงกึ่งมาสก เมื่อไทยธรรมมีอยู่ ไม่ทำที่พึ่งแก่ตน ดิฉันหิวน้ำเข้าไปใกล้แม่น้ำ แม่น้ำกลับว่างเปล่าไป ในเวลาร้อน ดิฉันเข้าไปสู่ร่มไม้ ร่มไม้กลับกลายเป็นแดดไป ทั้งลมก็ กลับกลายเป็นเปลวไฟเผาร่างกายของดิฉันฟุ้งไป ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันควรจะเสวยทุกข์มีความกระหายเป็นต้น ตามที่กล่าวมาแล้วนี้ และ ทุกข์อย่างอื่นอันชั่วช้าทารุณกว่านั้น ท่านไปถึงหัตถินีนครแล้ว ขอช่วย บอกแก่มารดาของดิฉันว่า เราเห็นธิดาของท่านตกทุกข์ เกิดในยมโลก เขาไปจากโลกนี้สู่เปตโลก เพราะทำบาปกรรมไว้ ทรัพย์ของดิฉันมีอยู่ ๔ แสน ดิฉันซ่อนไว้ภายใต้เตียง ไม่ได้บอกใครๆ ขอมารดาของดิฉัน จงถือเอาทรัพย์จากที่ซ่อนไว้นั้น ให้ทานบ้าง เลี้ยงชีวิตบ้าง ครั้นให้ทาน แล้ว ขอจงอุทิศส่วนบุญมาให้แก่ดิฉันบ้าง เมื่อนั้นจะมีความสุข สำเร็จ ความประสงค์ทั้งปวง อุบาสกนั้นรับคำของนางเปรตเสรินีแล้วกลับไปสู่ หัตถินีนคร บอกแก่มารดาของนางว่า ข้าพเจ้าเห็นนางเสรินีธิดาของ ท่าน เขาตกทุกข์ เกิดในยมโลก เพราะได้ทำกรรมชั่วไว้ จึงไปจากโลกนี้ สู่เปตโลก นางได้สั่งฉันในที่นั้นว่า ท่านไปถึงหัตถินีนครแล้ว จงบอก แก่มารดาของดิฉันด้วยว่า ธิดาของท่านเราเห็นแล้ว ตกทุกข์ เกิดอยู่ ในยมโลก เพราะทำกรรมชั่วไว้จึงไปจากโลกนี้สู่เปตโลก ทรัพย์ของดิฉัน มีอยู่ ๔ แสน ดิฉันซ่อนไว้ภายในใต้เตียงไม่ได้บอกแก่ใครๆ ขอมารดา ของดิฉัน จงถือเอาทรัพย์จากที่ซ่อนนั้นมาให้ทานบ้าง เลี้ยงชีวิตบ้าง ครั้นให้ทานแล้ว ขอจงอุทิศส่วนบุญไปให้แก่ดิฉัน เมื่อนั้น ดิฉันจักมี ความสุขสำเร็จความประสงค์ทั้งปวง ก็มารดาของนางเปรตเสรินีนั้น ถือ เอาทรัพย์ที่นางเปรตเสรินีซ่อนไว้นั้นมาให้ทาน ครั้นแล้วอุทิศส่วนบุญ ไปให้นางเปรตเสรินี นางเปรตเสรินีเป็นผู้มีความสุข แม้มารดาของนาง ก็เป็นอยู่สบาย.
จบ เสรินีเปตวัตถุที่ ๖.
๗. มิคลุททกเปตวัตถุที่ ๑
ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตพรานเนื้อที่ ๑
พระนารทเถระถามเปรตตนหนึ่งว่า [๑๑๗] ท่านเป็นคนหนุ่มแน่น ห้อมล้อมด้วยเทพบุตรและเทพธิดารุ่งเรืองอยู่ด้วย กามคุณ อันให้เกิดความกำหนัดยินดีในราตรี เสวยทุกข์ในกลางวัน ท่านได้ทำกรรมอะไรไว้ในชาติก่อน? เปรตนั้นตอบว่า เมื่อก่อน กระผมเป็นพรานเนื้อ อยู่ที่ภูเขาวงกตอันเป็นที่รื่นรมย์ ใกล้ กรุงราชคฤห์ เป็นผู้มีฝ่ามือเปื้อนโลหิต เป็นคนหยาบช้าทารุณมีใจประ ทุษร้ายในสัตว์เป็นอันมาก ผู้ไม่กระทำความโกรธเคือง ยินดีแต่ในการ เบียดเบียนสัตว์อื่น เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยกาย วาจา ใจ เป็นนิตย์ อุบาสกคนหนึ่งผู้เป็นสหายของกระผม เป็นคนใจดีมีศรัทธา ก็อุบาสก คนนั้น เป็นคนเอ็นดูกระผม ห้ามกระผมอยู่เนืองๆ ว่า อย่าทำบาปกรรม เลย พ่อเอ๋ย อย่าไปทุคติเลย ถ้าท่านปรารถนาความสุขในโลกหน้า จงงดเว้นการฆ่าสัตว์ อันเป็นการไม่สำรวมเสียเถิด กระผมฟังคำของ สหายผู้หวังดีมีความอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์นั้นแล้ว ไม่ทำตามคำ สั่งสอนทั้งสิ้น เพราะกระผมเป็นคนไม่มีปัญญา ยินดีแล้วในบาปตลอด กาลนาน สหายผู้มีปัญญาดีนั้น แนะนำกระผมให้ตั้งอยู่ในความสำรวม ด้วยความอนุเคราะห์ว่า ถ้าท่านฆ่าสัตว์ในกลางวันส่วนกลางคืนจงงดเว้น เสียกระผมจึงฆ่าสัตว์แต่เฉพาะกลางวัน กลางคืนเป็นผู้สำรวมงดเว้น เพราะฉะนั้นกลางคืนกระผมจึงได้รับความสุข กลางวันได้เสวยทุกข์ ถูก สุนัขรุมกัดกิน คือ กลางคืนได้เสวยทิพยสมบัติ ด้วยผลแห่งกุศลกรรม นั้น ส่วนกลางวันฝูงสุนัขมีจิตเดือดดาล พากันห้อมล้อมกัดกินกระผม รอบด้าน ก็ชนเหล่าใดผู้มีความเพียรเนืองๆ บากบั่นมั่นในศาสนาของ พระสุคต กระผมเข้าใจว่าชนเหล่านั้นจักได้บรรลุอมตบทอันปัจจัยอะไรๆ ปรุงแต่งไม่ได้อย่างแน่นอน.
จบ มิคลุททกเปตวัตถุที่ ๗.
๘. มิคลุททกเปตวัตถุที่ ๒
ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตพรานเนื้อที่ ๒
พระนารทเถระถามเปรตตนหนึ่งว่า [๑๑๘] ท่านรื่นรมย์อยู่ในเรือนยอดและปราสาท บนบัลลังก์อันปูลาดด้วยผ้าขน สัตว์ ด้วยดนตรีเครื่อง ๕ อันบุคคลประโคมแล้ว ภายหลังเมื่อสิ้นราตรี พระอาทิตย์ขึ้นแล้ว ท่านเข้าไปเสวยทุกข์เป็นอันมากอยู่ในป่าช้า ท่านทำ กรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา ใจหรือ เพราะวิบากแห่งกรรมอะไร ท่านจึงได้เสวยทุกข์เช่นนี้? เปรตนั้นตอบว่า เมื่อก่อน กระผมเป็นพรานเนื้อ อยู่ที่ภูเขาวงกตอันเป็นที่รื่นรมย์ ใกล้ กรุงราชคฤห์เป็นคนหยาบช้าทารุณ ไม่สำรวมกาย วาจา ใจ อุบาสก คนหนึ่งผู้เป็นสหายของกระผมเป็นคนใจดีมีศรัทธา มีภิกษุผู้คุ้นเคยของ เขาเป็นสาวกของพระโคดม ก็อุบาสกนั้นเอ็นดูกระผม ห้ามกระผม เนืองๆ ว่าอย่าทำบาปกรรมเลย พ่อเอ๋ย อย่าไปทุคติเลย ถ้าสหาย ปรารถนาความสุขในโลกหน้า จงงดเว้นการฆ่าสัตว์อันเป็นการไม่สำรวม เสียเถิด ... กระผมเข้าใจว่า ชนเหล่านั้นจักได้บรรลุอมตบทอันปัจจัย อะไรๆ ปรุงแต่งไม่ได้เป็นแน่.
จบ มิคลุททกเปตวัตถุที่ ๘.
๙. กูฏวินิจฉยกเปตวัตถุ
ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตผู้พิพากษาโกง
พระนารทเถระถามเปรตตนหนึ่งว่า [๑๑๙] ตัวท่านทัดทรงดอกไม้ ใส่ชฎา สวมกำไลทอง ลูบไล้ด้วยจุรณจันทร์ มีสีหน้าผ่องใส งดงามดุจสีพระอาทิตย์อุทัยขึ้นมาบนอากาศ มีนางฟ้า หมื่นหนึ่งเป็นบริวารบำรุงบำเรอท่าน นางฟ้าเหล่านั้นล้วนสวมกำไลทอง นุ่งห่มผ้าอันขลิบด้วยทองคำ ท่านเป็นผู้มีอานุภาพมาก มีรูปเป็นที่ให้ เกิดขนชูชันแก่ผู้พบเห็น แต่ท่านจิกเนื้อที่หลังของตนกินเป็นอาหาร ท่านได้ทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา ใจ หรือเพราะวิบากแห่งกรรม อะไร ท่านจึงจิกเนื้อหลังของตนเองกินเป็นอาหาร? เปรตนั้นตอบว่า กระผมได้ประพฤติทุจริตด้วยการส่อเสียด พูดเท็จและหลอกลวง เพื่อ ความฉิบหายแก่ตนในมนุษยโลก กระผมไปแล้วสู่บริษัทในมนุษยโลกนั้น เมื่อเวลาควรจะพูดความจริงปรากฏแล้ว ละเหตุละผลเสีย ประพฤติ คล้อยตามอธรรม ผู้ใดประพฤติทุจริตมีคำส่อเสียดเป็นต้น ผู้นั้นต้อง จิกเนื้อหลังของตนกิน เหมือนกระผมจิกเนื้อหลังของตนกินในวันนี้ ฉะนั้น ข้าแต่พระนารทะ ทุกข์ที่กระผมได้รับอยู่นี้ท่านได้เห็นเอง แล้ว ชนใดเป็นคนฉลาด มีความอนุเคราะห์ ชนเหล่านั้นพึงกล่าว ตักเตือนว่า ท่านอย่าพูดส่อเสียด อย่าพูดเท็จ อย่าเป็นผู้มีเนื้อหลัง ของตนเป็นอาหารเลย.
จบ กูฏวินิจฉยกเปตวัตถุที่ ๙.
๑๐. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ
ว่าด้วยบุพกรรมของธาตุวิวัณณเปรต
พระมหากัสสปเถระถามเปรตตนหนึ่งว่า [๑๒๐] ท่านยืนอยู่ในอากาศ มีกลิ่นเน่าเหม็นฟุ้งไปและหมู่หนอนพากันบ่อน ฟอนกินปาก อันมีกลิ่นเหม็นเน่าของท่าน เมื่อก่อนท่านทำกรรมอะไร ไว้ เพราะการฟุ้งไปแห่งกลิ่นเหม็นนั้นนายนิรยบาลถือเอาศาตรามาเฉือน ปากของท่านเนืองๆ รดท่านด้วยน้ำแสบแล้วเชื่อดเนื้อไปพลาง ท่านทำ กรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา ใจหรือ เพราะวิบากแห่งกรรมอะไร ท่านจึงได้ประสบความทุกข์อย่างนี้? เปรตนั้นตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ เมื่อก่อน กระผมเป็นอิสรชนอยู่ที่ภูเขาวงกตอัน เป็นที่รื่นรมย์ ใกล้กรุงราชคฤห์ เป็นผู้มั่งคั่งด้วยทรัพย์และข้าวเปลือก มากมาย แต่กระผมได้ห้ามปรามภรรยาธิดา และลูกสะใภ้ของกระผม ซึ่งพากันนำพวงมาลาดอกอุบลและเครื่องลูบไล้อันหาค่ามิได้ ไปสู่สถูป เพื่อบูชา บาปนั้นกระผมได้ทำไว้แล้ว จึงได้เสวยทุกขเวทนาเห็นประจักษ์ และจักหมกไหม้อยู่ในนรกอันหยาบช้าทารุณ ๘๖,๐๐๐ ปี เพราะติเตียน การบูชาพระสถูป ก็เมื่อการบูชาและการฉลองพระสถูปของพระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า อันมหาชนให้เป็นไปอยู่ ชนเหล่าใดมาประกาศโทษ แห่งการบูชาพระสถูปนั้น เหมือนกระผม ชนเหล่านั้นพึงห่างเหินจากบุญ ขอท่านจงดู ชนทั้งหลายซึ่งทัดทรงดอกไม้ตบแต่งร่างกายเหาะมาทาง อากาศเหล่านี้เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นผู้มั่งคั่งมียศเสวยอยู่ซึ่งวิบาก แห่งการบูชาด้วยดอกไม้ ชนทั้งหลายผู้มีปัญญา ได้เห็นผลอันน่าอัศจรรย์ น่าขนพองสยองเกล้าอันไม่เคยมีนั้นแล้ว ย่อมทำการนอบน้อมวันทาพระ มหามุนีนั้น กระผมไปจากเปตโลกนี้แล้ว ได้กำเนิดเป็นมนุษย์จักเป็นผู้ ไม่ประมาท ทำการบูชาพระสถูปเนืองๆ เป็นแน่แท้.
จบ ธาตุวิวัณณเปตวัตถุที่ ๑๐.
-----------------------------------------------------
รวมเรื่องที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อภิชชมานเปตวัตถุ ๒. สานุวาสีเถรเปตวัตถุ ๓. รถการีเปตวัตถุ ๔. ภุสเปตวัตถุ ๕. กุมารเปตวัตถุ ๖. เสรินีเปตวัตถุ ๗. มิคลุททกเปตวัตถุที่ ๑ ๘. มิคลุททกเปตวัตถุที่ ๒ ๙. กูฏวินิจฉยกเปตวัตถุ ๑๐. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ.
จบ จูฬวรรคที่ ๓.
-----------------------------------------------------
มหาวรรคที่ ๔.
๑. อัมพสักขรเปตวัตถุ
ว่าด้วยพระเจ้าอัมพสักขระทรงสนทนากับเปรตเปลือย
[๑๒๑] มีนครของชาววัชชีนครหนึ่งนามว่าเวสาลี ในนครเวสาลีนั้นมีกษัตริย์ ลิจฉวีทรงพระนามว่าอัมพสักขระ ได้ทอดพระเนตรเห็นเปรตตนหนึ่ง ที่ภายนอกพระนคร มีพระประสงค์จะทรงทราบเหตุ จึงตรัสถามเปรต นั้นในที่นั้นนั่นเองว่า การนอน การนั่ง การเดินไปเดินมา การลิ้ม การดื่ม การเคี้ยว การนุ่งห่ม แม้หญิงบำเรอของบุคคลผู้ถูกเสียบไว้บน หลาวนี้ ย่อมไม่มี ชนเหล่าใดผู้เป็นญาติ เป็นมิตรสหาย เคยเห็น เคยฟังร่วมกันมา เคยมีความเอ็นดูกรุณา ของบุคคลใดมีอยู่ในกาลก่อน เดี๋ยวนี้ชนเหล่านั้นแม้จะเยี่ยมเยียนบุคคลนั้นก็ไม่ได้ บุรุษนี้มีตนอันญาติ เป็นต้นสละแล้ว มิตรสหายย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ตกยาก พวกมิตรสหาย ทราบว่าผู้ใดขาดแคลน ย่อมละทิ้งผู้นั้น และเห็นใครมั่งคั่งบริบูรณ์ก็พา กันไปห้อมล้อม คนที่มั่งคั่งด้วยสมบัติ ย่อมมีมิตรสหายมาก ส่วน บุคคลผู้เสื่อมจากทรัพย์สมบัติ เป็นผู้ฝืดเคืองด้วยโภคะ ย่อมหามิตร สหายยาก [นี้เป็นธรรมดาของโลก] บุรุษผู้ถูกหลาวเสียบนี้ มีร่างกาย เปื้อนด้วยเลือดตัวทะลุเป็นช่องๆ ชีวิตของบุรุษนี้จักดับไปในวันนี้พรุ่งนี้ เหมือนหยาดน้ำค้างอันติดอยู่บนปลายหญ้า ฉะนั้น เมื่อเป็นอย่างนี้ เพราะเหตุไร ท่านจึงพูดกะบุรุษผู้ถึงความลำบากอย่างยิ่ง นอนหงายอยู่ บนหลาวไม้สะเดาเช่นนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ขอท่านจงมีชีวิตอยู่เถิด การ ที่มีชีวิตอยู่เท่านั้นเป็นของประเสริฐ. เปรตนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระราชา บุรุษนี้เป็นสายโลหิตของข้าพระองค์ ข้าพระองค์ระลึกชาติ ก่อนข้าพระองค์เห็นแล้วมีความกรุณาแก่เขาว่าขออย่าให้บุรุษผู้เลวทรามนี้ ไปตกนรกเลย ข้าแต่กษัตริย์ลิจฉวี บุรุษผู้ทำกรรมชั่วนี้ จุติจากอัตภาพนี้ แล้ว จักเข้าถึงนรกอันยัดเยียดไปด้วยสัตว์ผู้ทำบาป เป็นสถานร้ายกาจ มีความเร่าร้อนมาก เผ็ดร้อนให้เกิดความน่ากลัว หลาวนี้ประเสริฐกว่า นรกนั้นตั้งหลายพันเท่า ขออย่าให้บุรุษนี้ไปตกนรกอันมีแต่ความทุกข์ โดยส่วนเดียว เผ็ดร้อน ให้เกิดความน่ากลัวมีความทุกข์กล้าแข็งอย่าง เดียว บุรุษนี้ฟังคำของข้าพระองค์อย่างนี้แล้ว ประหนึ่งว่าข้าพระองค์ น้อมเข้าไปสู่ทุกข์ในนรกนั้น จะพึงสละชีวิตของตนเสีย เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จะไม่พูดในที่ใกล้เขา ด้วยหวังว่า ชีวิตของบุรุษนี้อย่าได้ดับ ไปเสียเพราะคำของข้าพระองค์เลย เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงพูดว่า ขอท่านจงมีชีวิตอยู่เถิด การมีชีวิตอยู่เป็นของประเสริฐ. เมื่อเปรตแสดงความประสงค์ของตนอย่างนี้แล้ว พระราชาทรงขอโอกาสเพื่อจะ ตรัสถามความเป็นไปของนางเปรตนั้นอีก จึงได้ตรัสพระคาถานี้ความว่า เรื่องของบุรุษนี้เรารู้แล้ว แต่เราปรารถนาจะถามท่านถึงเรื่องอื่น ถ้าท่าน ให้โอกาสแก่เรา เราจะขอถามท่าน และท่านไม่ควรโกรธเรา. เปรตนั้นกราบทูลว่า ข้าพระองค์ได้ให้ปฏิญาณไว้ในกาลนั้นแน่นอนแล้ว การไม่บอกย่อมมีแก่ ผู้ไม่เลื่อมใส บัดนี้ข้าพระองค์มีวาจาที่ควรเชื่อถือได้ แม้โดยพระองค์ จะไม่ทรงเลื่อมใส เพราะเหตุนั้น ขอเชิญพระองค์ตรัสถามข้าพระองค์ ตามพระประสงค์เถิด ข้าพระองค์จะกราบทูลตามที่สามารถจะกราบทูล ได้. เมื่อเปรตให้โอกาสเช่นนั้นแล้ว พระเจ้าอัมพสักขระจึงตรัสถามว่า เราเห็น สิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยจักษุ เราควรเชื่อสิ่งนั้นแม้ทั้งสิ้น ถ้าเราเห็นสิ่งนั้น แล้วไม่เชื่อ ก็ขอให้ลงโทษถอดยศเราเถิดท่าน. เปรตนั้นทูลว่า ขอสัจจปฏิญาณของพระองค์นี้จงมีแก่ข้าพระองค์ พระองค์ได้ทรงฟังธรรม ที่ข้าพระองค์กล่าวแล้ว จงทรงได้ความเลื่อมใส ข้าพระองค์มีความ ต้องการอย่างอื่น ไม่ได้มีจิตประทุษร้ายข้าพระองค์จะกราบทูลธรรมทั้งหมด ที่ข้าพระองค์ได้สดับแล้วบ้าง หรือไม่สดับแล้วบ้าง แก่พระองค์ ตามที่ ข้าพระองค์รู้. พระเจ้าอัมพสักขระตรัสว่า ท่านขี่ม้าขาวอันประดับประดาแล้ว เข้าไปยังสำนักของบุรุษที่ถูกเสียบ หลาว ม้าขาวตัวนี้เป็นม้าน่าอัศจรรย์ น่าดูน่าชม นี้เป็นผลแห่งกรรม อะไร? เปรตนั้นกราบทูลว่า ที่กลางเมืองเวสาลีนั้น มีหลุมที่หนทางลื่น ข้าพระองค์มีจิตเลื่อมใส เอาศีรษะโคศีรษะหนึ่งวางทอดที่หลุมให้เป็นสะพาน ข้าพระองค์และ บุคคลอื่นเหยียบบนศีรษะโคนั้นเดินไปได้สะดวก ม้านี้เป็นม้าน่าอัศจรรย์ น่าดูน่าชม นี้เป็นผลแห่งกรรมนั้น. พระเจ้าอัมพสักขระตรัสถามว่า ท่านมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ และมีกลิ่นหอมฟุ้งไป ท่านได้สำเร็จฤทธิ์ แห่งเทวดาเป็นผู้มีอานุภาพมาก แต่ท่านเปลือยกาย นี้เป็นผลแห่งกรรม อะไร? เปรตนั้นกราบทูลว่า เมื่อก่อน ข้าพระองค์เป็นคนไม่มักโกรธ แต่มีใจเลื่อมใสเป็นนิตย์ พูดกับ คนทั้งหลายด้วยวาจาอ่อนหวาน ข้าพระองค์มีรัศมีทิพย์สว่างไสวอยู่เนือง นิตย์ นี้เป็นผลแห่งกรรมนั้น ข้าพระองค์เห็นยศ และชื่อเสียงของบุคคล ผู้ตั้งอยู่ในธรรมมีจิตเลื่อมใสกล่าวสรรเสริญ ข้าพระองค์มีกลิ่นทิพย์หอม ฟุ้งไปเนืองนิตย์ นี้เป็นผลแห่งกรรมนั้น เมื่อพวกสหายของข้าพระองค์ อาบน้ำที่ท่าน้ำ ข้าพระองค์ลักเอาผ้าซ่อนไว้บนบกไม่มีความประสงค์จะ ลักขโมยและไม่มีจิตคิดประทุษร้าย เพราะกรรมนั้น ข้าพระองค์จึงเป็นคน เปลือยกายเป็นอยู่อย่างฝืดเคือง. พระเจ้าอัมพสักขระตรัสถามว่า ผู้ใดทำบาปเล่นๆ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า ผู้นั้นได้รับผลกรรมเช่นนี้ ส่วนผู้ใดตั้งใจทำบาปจริงๆ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวผลกรรมของผู้นั้นว่า เป็นอย่างไร? เปรตนั้นกราบทูลว่า มนุษย์เหล่าใดมีความดำริชั่วร้าย เป็นผู้เศร้าหมองด้วยกายและวาจา เมื่อ ตายไป มนุษย์เหล่านั้นย่อมเข้าถึงนรกในสัมปรายภพโดยไม่ต้องสงสัย ส่วนชนเหล่าอื่นปรารถนาสุคติยินดียิ่งในทาน มีอัตภาพอันสงเคราะห์ แล้ว เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติในสัมปรายภพโดยไม่ต้องสงสัย. เมื่อเปรตนั้น ชี้แจงจำแนกผลกรรมแต่โดยย่ออย่างนี้ พระราชาไม่ทรงเชื่อ จึง ตรัสถามเปรตนั้นว่า เราจะพึงรู้เรื่องนั้นได้อย่างไรว่า นี้เป็นผลแห่งกรรมดีและกรรมชั่ว หรือ เราจะพึงเห็นอย่างไร จึงจะเชื่อถือได้ หรือแม้ใครจะพึงทำให้เราเชื่อถือ เรื่องนั้นได้? เปรตนั้นกราบทูลว่า พระองค์ได้ทรงเห็นแล้วและได้ทรงสดับมาแล้ว ก็จงทรงเชื่อเถิดว่า นี้ เป็นผลแห่งกรรมดีและกรรมชั่ว เมื่อมีกรรมดีและกรรมชั่วทั้งสอง ก็พึงมีสัตว์ไปสู่สุคติและทุคติ ถ้าสัตว์ทั้งหลายในมนุษยโลกนี้ ไม่พึงทำ กรรมดีและกรรมชั่ว สัตว์ผู้ไปสู่สุคติ ทุคติ เลว และประณีต ก็ไม่มี ในมนุษยโลกนี้ แต่เพราะสัตว์ทั้งหลาย ในมนุษยโลกทำกรรมดีและ กรรมชั่วไว้ ฉะนั้น จึงไปสู่สุคติ ไปสู่ทุคติ เลวบ้าง ประณีตบ้าง นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าววิบากแห่งกรรมทั้งสองนั้นว่า เป็นที่ตั้งแห่งการ เสวยสุขและทุกข์ เทวดาย่อมพากันห้อมล้อมพวกชน ผู้ได้เสวยผล อันเป็นสุข คนพาลผู้ไม่เห็นบาปและบุญทั้งสอง ย่อมเดือดร้อน กรรมที่ข้าพระองค์เองทำไว้ในชาติก่อน ซึ่งจะเป็นเหตุให้ได้เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้นในบัดนี้ มิได้มีแก่ข้าพระองค์ และบุคคลผู้ที่ให้ผ้านุ่งผ้าห่ม ที่นอนที่นั่งข้าวและน้ำ แก่สมณพราหมณ์ทั้งหลายแล้วพึงอุทิศส่วนบุญมา ให้ข้าพระองค์มิได้มี เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงเป็นคนเปลือยกาย มีความเป็นอยู่อย่างฝืดเคือง. พระเจ้าอัมพสักขระตรัสถามว่า ดูกรยักษ์ เหตุอะไรๆ ที่จะให้ท่านได้เครื่องนุ่งห่มพึงมีอยู่หรือ ถ้าเหตุ ที่ควรเชื่อพอจะฟังเป็นเหตุได้มีอยู่ ขอท่านจงบอกเหตุนั้นแก่เรา? เปรตนั้นกราบทูลว่า ในเมืองเวสาลีนี้ มีภิกษุรูปหนึ่งนามว่ากัปปิตกะเป็นผู้ได้ฌานมีศีลบริสุทธิ์ เป็นพระอรหันต์ผู้หลุดพ้น มีอินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว สำรวมในพระ ปาติโมกข์ เยือกเย็น บรรลุผลอันสูงสุด มีวาจาสละสลวย รู้ความ ประสงค์ของผู้ขอ ว่าง่าย มีหน้าเบิกบาน เป็นผู้มาดีไปดี พูดจาโต้ตอบดี เป็นเนื้อนาบุญของโลก มีปกติอยู่ด้วยเมตตา เป็นทักขิไณยบุคคลของ เทวดาและมนุษย์ สงบระงับ กำจัดมิจฉาวิตกได้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีตัณหา หลุดพ้นแล้ว ปราศจากลูกศร ไม่ถือเราถือเขา ไม่คดกายวาจาใจ ไม่มีอุปธิ สิ้นกิเลสเป็นเครื่องเนิ่นช้าทั้งปวง ได้บรรลุวิชชา ๓ มีความ รุ่งเรือง ไม่มีชื่อเสียงปรากฏเพราะความเป็นผู้มีคุณวิเศษอันปกปิดไว้ แม้ใครๆ เห็นก็ไม่รู้ว่าเป็นคนดีในหมู่ชนชาววัชชี เขาพากันเรียกท่านว่า มุนี รู้กันว่าท่านเป็นผู้ประเสริฐ หนักแน่น ไม่หวั่นไหว มีธรรมอันดีงาม เที่ยวไปในโลก ถ้าพระองค์ทรงถวายผ้าคู่หนึ่งหรือสองคู่แก่ภิกษุนั้น แล้วทรงอุทิศส่วนกุศลให้ข้าพระองค์ เมื่อพระองค์ทรงถวายแล้ว และ ท่านรับผ้านั้นแล้ว พระองค์ก็จะทรงเห็นข้าพระองค์นุ่งห่มผ้าเรียบร้อย. พระเจ้าอัมพสักขระตรัสถามว่า บัดนี้ สมณะนั้นอยู่ที่ประเทศไหน เราจักไปพบท่านที่ไหนใครจะพึง แก้ไขความสงสัยสนเท่ห์ อันเป็นเสี้ยนหนามแห่งความเห็นของเราได้ ในวันนี้? เปรตนั้นกราบทูลว่า ท่านอยู่ที่เมืองกปินัจจนา มีหมู่เทวดาเป็นอันมากห้อมล้อม เป็นผู้มีนาม จริงแท้ และเป็นผู้ไม่ประมาท แสดงธรรมีกถาอยู่ในหมู่ของตน. พระเจ้าอัมพสักขระตรัสว่า เราจักไปแล้วจักทำตามที่ท่านสั่งนั้นเดี๋ยวนี้ จักให้สมณะนั้นนุ่งห่มผ้า ขอท่านจงดูคู่ผ้าเหล่านั้น อันสมณะนั้นรับประเคนแล้ว และเราจักคอย ดูท่านนุ่งห่มผ้าเป็นอันดี. เปรตนั้นกราบทูลว่า ขอรับประทานพระวโรกาส ขอพระองค์อย่าเสด็จเข้าไปหาบรรพชิตใน เวลาไม่ควร การเสด็จเข้าไปหาบรรพชิตในเวลาไม่ควรนี้ ไม่เป็นธรรม เนียมที่ดีของกษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลาย ก็เมื่อพระองค์เสด็จเข้าไปหาในเวลา สมควร ก็จักทรงเห็นภิกษุนั้นนั่งอยู่ในที่สงัดในที่นั้นเอง. พระเจ้าลิจฉวีตรัสอย่างนั้นแล้ว ก็แวดล้อมด้วยหมู่ข้าราชบริพาร เสด็จ ไปในนครนั้น ครั้นเสด็จเข้าไปยังนครนั้นแล้ว จึงเสด็จเข้าไปยังที่ประทับ ในนิเวสน์ของพระองค์ ทรงกระทำกิจของคฤหัสถ์ทั้งหลาย ทรงสรง สนาน และทรงดื่มน้ำแล้วได้เวลาอันควร จึงทรงเลือกผ้า ๘ คู่จากหีบ รับสั่งให้หมู่ข้าราชบริพารถือไป พระราชาครั้นเสด็จเข้าไปในประเทศนั้น แล้ว ได้ทอดพระเนตรเห็นสมณะรูปหนึ่งผู้มีจิตสงบระงับกลับจากที่โคจร เป็นผู้เยือกเย็นนั่งอยู่ที่โคนต้นไม้ ครั้นแล้วได้ตรัสถามสมณะนั้นถึงความ เป็นผู้มีอาพาธน้อย การอยู่สำราญและตรัสบอกนามของพระองค์ให้ ทรงทราบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โยมเป็นกษัตริย์ลิจฉวีอยู่ในเมืองเวสาลี ชาวลิจฉวีเรียกโยมว่าอัมพสักขระ ขอท่านจงรับผ้า ๘ คู่นี้ของดิฉัน โยมขอถวายท่าน โยมมาในที่นี้ด้วยความประสงค์เพียงเท่านี้ โยมมีความ ปลื้มใจนัก. พระเถระทูลถามว่า สมณพราหมณ์ทั้งหลาย พากันละเว้นพระราชนิเวสน์ของมหาบพิตรแต่ที่ ไกลทีเดียว เพราะในพระราชนิเวสน์ของมหาบพิตร บาตรย่อมแตก แม้สังฆาฏิก็ถูกเขาฉีก เมื่อก่อนสมณะทั้งหลายมีศีรษะห้อยลง ตกลงไป จากเขียงเท้า มหาบพิตรได้เบียดเบียนบรรพชิตเช่นนี้ สมณะทั้งหลายเคย ถูกมหาบพิตรทำการเบียดเบียนแล้ว มหาบพิตรไม่เคยพระราชทานแม้แต่ น้ำมันสักหยดหนึ่งเลย ไม่ตรัสบอกทางให้คนหลงทาง ชิงเอาไม้เท้า จากมือคนตาบอดเสียเอง มหาบพิตรเป็นคนตระหนี่ ไม่สำรวมเช่นนี้ แต่บัดนี้ เพราะเหตุอะไร มหาบพิตรทรงเห็นผลอะไร จึงทรงจำแนกแจก จ่ายกับอาตมภาพทั้งหลายเล่า? พระราชาตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โยมขอรับผิด โยมได้เบียดเบียนสมณะทั้งหลาย ดังคำ ที่ท่านพูด ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โยมมีความประสงค์จะล้อเล่น ไม่ได้มีจิต ประทุษร้าย แต่กรรมอันชั่วช้านั้นโยมทำแล้ว เด็กหนุ่มเปลือยกาย มีโภคะ น้อย ได้สั่งสมบาปเพื่อจะล้อเล่น จึงต้องเสวยทุกข์ ก็ทุกข์อะไรเล่าที่ เป็นทุกข์กว่าความเปลือยกาย ย่อมมีแก่เปรตนั้น ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โยมเห็นเหตุอันน่าสังเวชและเศร้าหมองนั้นแล้วจึงให้ทาน เพราะเหตุ นั้นเป็นปัจจัย ขอท่านจงรับผ้า ๘ คู่นี้ ทักษิณาที่โยมถวายนี้ จงสำเร็จผล แก่เปรตนั้น เพราะการให้ทาน นักปราชญ์มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น สรรเสริญแล้วโดยมากแน่แท้. พระเถระทูลว่า อาตมภาพจะรับผ้า ๘ คู่ของมหาบพิตร ขอทักษิณาทานเหล่านี้ จงสำเร็จ ผลแก่เปรตนั้น ลำดับนั้น พระเจ้าลิจฉวีทรงชำระพระหัตถ์และพระบาท แล้ว ทรงถวายผ้า ๘ คู่แก่พระเถระ พอพระเถระรับประเคนผ้าเหล่านั้น แล้ว พระราชาทรงเห็นเปรตนุ่งห่มผ้าเรียบร้อย ลูบไล้ด้วยจรุณจันทน์ แดง มีผิวพรรณเปล่งปลั่งประดับประดา นุ่งผ้าดี ขี่ม้าอาชาไนย มีบริวาร ห้อมล้อม สำเร็จมหิทธิฤทธิ์ของเทวดา ครั้นทรงเห็นเช่นนั้นแล้ว ทรง ปลื้มพระทัย เกิดปีติปราโมทย์ มีพระทัยร่าเริงเบิกบาน พระเจ้าลิจฉวี ได้ทรงเห็นกรรมและวิบากแห่งกรรม แจ้งประจักษ์ด้วยพระองค์เองแล้ว จึงเสด็จเข้าไปใกล้ แล้วตรัสกะเปรตนั้นว่า เราจักให้ทานแก่สมณ- พราหมณ์ทั้งหลาย เราควรให้ทานทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ ดูกรเปรตท่านมี อุปการะแก่เรามาก. เปรตนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่กษัตริย์ลิจฉวี ก็พระองค์ได้พระราชทานเพื่อข้าพระองค์ส่วนหนึ่ง แต่การพระราชทานนั้นมิได้ไร้ผล ข้าพระองค์เป็นเทวดา จักทำความเป็น สหายกับพระองค์ผู้เป็นมนุษย์. พระราชาตรัสว่า ท่านเป็นคติ เป็นเผ่าพันธุ์ เป็นที่ยึดเหนี่ยว เป็นมิตร และเป็นเทวดา ของเรา ดูกรเปรต เราขอทำอัญชลีท่าน ปรารถนาเพื่อจะเห็นท่านแม้อีก เปรตกราบทูลว่า ถ้าพระองค์จักเป็นผู้ไม่มีศรัทธา มีความตระหนี่ มีจิตไม่เลื่อมใส พระองค์จักไม่ได้เห็นข้าพระองค์ และข้าพระองค์ก็จักไม่ได้เห็นไม่ได้ เจรจากะพระองค์อีก ถ้าพระองค์จะทรงเคารพธรรม ทรงยินดีในการ บริจาคทาน ทรงสงเคราะห์ ทรงเป็นดังบ่อน้ำของสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้พระองค์ก็จักได้ทรงเห็นข้าพระองค์ และข้าพระองค์จัก ได้เห็น ได้เจรจากะพระองค์ ขอพระองค์โปรดทรงปล่อยบุรุษนี้จากหลาว โดยเร็วเถิด เพราะการปล่อยบุรุษนี้ เราทั้งสองจักได้เป็นสหายกัน ข้าพระองค์เข้าใจว่า เราทั้งสองจักได้เป็นสหายกันและกัน เพราะเหตุ แห่งบุรุษถูกหลาวเสียบ ก็บุรุษถูกหลาวเสียบนี้ อันพระองค์ทรงรีบ ปล่อยแล้ว พึงเป็นผู้ประพฤติธรรมโดยเคารพ พึงพ้นจากนรกนั้นแน่นอน พึงพ้นจากกรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา พระองค์เสด็จเข้าไปหากัปปิตก- ภิกษุแล้ว ทรงจำแนกทานกับท่าน ในเวลาที่ควร จงเสด็จเข้าไปหาแล้ว ตรัสถามด้วยพระองค์เอง ท่านจักกราบทูลเนื้อความนั้นแก่พระองค์ ก็พระองค์ทรงประสงค์บุญ มีจิตไม่ประทุษร้ายก็เชิญเสด็จเข้าไปหาภิกษุ นั้นเถิด ท่านจักแสดงธรรมทั้งปวงที่ทรงสดับแล้ว และยังไม่ได้ทรงสดับ แก่พระองค์ ตามความรู้เห็น พระองค์ได้ทรงฟังธรรมนั้นแล้วจักทรงเห็น สุคติ. พระเจ้ารหัส ทรงเจรจาทำความเป็นสหายกับเทวดานั้นแล้วเสด็จไป ส่วนเปรตนั้นได้กล่าวกะบริษัทแห่งกษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลาย พร้อมกับบุตร ของตน ซึ่งนั่งประชุมกันอยู่ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอจงฟังคำอย่างหนึ่ง ของเรา เราจักเลือกพร จักได้ประโยชน์ บุรุษที่ถูกเสียบหลาว มีกรรม อันหยาบช้า มีอาชญาอันตั้งไว้แล้ว ถูกหลาวร้อยจะตายหรือไม่ตาย ประมาณ ๒๐ ราตรีเท่านี้ เดี๋ยวนี้ เราจักปล่อยเขาตามความชอบใจของเรา ขอหมู่ท่านจงอนุญาต จงรีบปล่อยบุรุษนั้นและบุรุษอื่นที่พระราชารับสั่ง ให้ลงอาชญาโดยเร็วเถิด ใครพึงบอกท่านผู้ทำกรรมอย่างนั้น ท่านรู้อย่างไร จึงทำอย่างนั้น หมู่ท่านย่อมอนุญาตตามชอบใจ พระเจ้าลิจฉวีเสด็จเข้า ไปสู่ประเทศนั้นแล้ว รีบปล่อยบุรุษที่ถูกเสียบหลาวโดยเร็วและได้ตรัส กะบุรุษนั้นว่า อย่ากลัวเลยเพื่อนและรับสั่งให้หมอพยาบาล แล้วเสด็จ เข้าไปหากัปปิตกภิกษุ แล้วทรงถวายทานกับท่านในเวลาอันควร มีพระ ประสงค์จะทรงทราบเหตุ จึงเสด็จเข้าไปใกล้แล้วตรัสถามด้วยพระองค์ เองว่า บุรุษผู้ถูกเสียบหลาว มีกรรมอันหยาบช้า มีอาชญาอันตั้งไว้แล้ว ถูกหลาวร้อยจะตายหรือไม่ตายประมาณ ๒๐ ราตรีเท่านี้ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ ดิฉันปล่อยเขาไปแล้ว เขาไปบอกเปรตนั้น เหตุอะไรๆ ที่จะ ไม่ต้องไปสู่นรกนั้น พึงมีหรือหนอ ถ้ามี ขอท่านโปรดบอกแก่ดิฉัน ดิฉันรอฟังเหตุที่ควรเชื่อถือจากท่าน. กัปปิตกภิกษุทูลว่า ความพินาศแห่งกรรมเหล่านั้นย่อมไม่มี ความพินาศในโลกนี้เกิดขึ้น เพราะความไม่รู้แจ้ง ถ้าเขาพึงเป็นผู้ไม่ประมาท ประพฤติธรรมทั้งหลาย โดยเคารพตลอดคืนและวัน เขาพึงพ้นจากนรกนั้นได้แน่ กรรมอันเว้น จากการให้ผลพึงมี. พระราชาตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ผู้มีปัญญากว้างขวาง ประโยชน์ของบุรุษผู้นี้ดิฉันรู้ทั่วถึง แล้ว บัดนี้ ขอท่านอนุเคราะห์ดิฉันบ้าง ขอท่านได้กล่าวตักเตือนพร่ำสอน ดิฉัน โดยวิธีที่ดิฉันจะไม่พึงไปสู่นรกด้วยเถิด. กัปปิตกภิกษุทูลว่า วันนี้ ขอมหาบพิตรทรงมีพระทัยเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและ สงฆ์ เป็นสรณะ จงทรงสิกขาบท ๕ อย่าให้ขาดและด่างพร้อย จงทรง งดเว้นจาการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ทรงยินดีด้วยพระมเหสีของพระองค์ ไม่ทรงพูดเท็จ ไม่ทรงดื่มน้ำจัณฑ์ และทรงสมาทานอุโบสถศีลอันประ- กอบด้วยองค์ ๘ ประการอันประเสริฐ เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร จงทรง พระราชทานจีวร บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง คิลานปัจจัย ข้าว น้ำ ของกิน ของเคี้ยว ผ้า เสนาสนะ ในภิกษุผู้มีจิตซื่อตรงทั้งหลาย บุญย่อมเจริญ ทุกเมื่อ ทรงอังคาสภิกษุทั้งหลายผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ปราศจากราคะ เป็น พหูสูต ให้อิ่มหนำด้วยข้าวและน้ำ บุญย่อมเพิ่มพูนทุกเมื่อ เมื่อบุคคล เป็นผู้ไม่ประมาท ประพฤติธรรมโดยเคารพตลอดคืนและวันอย่างนี้ พึงพ้นจากนรกนั้น กรรมที่เว้นจากการให้ผลพึงมี. พระราชาตรัสว่า วันนี้ ดิฉันมีจิตเลื่อมใส ขอถึงพระพุทธเจ้าพระธรรมและพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอสมาทานสิกขาบท ๕ ไม่ให้ขาดและด่างพร้อย ของด เว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ยินดีด้วยภรรยาของตน ไม่กล่าวเท็จ ไม่ดื่มน้ำเมา และจักสมาทานอุโบสถศีล อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ อันประเสริฐ เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร จักถวายจีวร บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง คิลานปัจจัย ข้าว น้ำ ของกิน ของเคี้ยว ผ้า และเสนาสนะ แก่ภิกษุทั้งหลายผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ปราศจากราคะ เป็นพหูสูต จักไม่ กำหนัด ยินดีแล้วในศาสนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. พระเจ้าลิจฉวีทรงพระนามว่าอัมพสักขระ ได้เป็นอุบาสกคนหนึ่งในเมือง เวสาลี ทรงมีศรัทธามีพระหฤทัยอ่อนโยนทรงทำอุปการะแก่ภิกษุ ทรงบำรุง สงฆ์โดยความเคารพ ในกาลนั้นบุรุษผู้ถูกเสียบหลาว หายโรค เป็นสุข สบายดี ได้เข้าถึงบรรพชา แม้ชนทั้งสองอาศัยกัปปีตกภิกษุผู้ประเสริฐ ได้บรรลุสามัญผล การคบหาสัปบุรุษเช่นนี้ย่อมมีผลมากตั้งร้อยแก่วิญญูชน ผู้รู้แจ้ง บุรุษผู้ถูกเสียบหลาวได้บรรลุผลอันยอดเยี่ยม ส่วนพระเจ้า อัมพสักขระได้บรรลุโสดาปัตติผล.
จบอัมพสักขรเปตวัตถุที่ ๑
๒. เสริสสกเปตวัตถุ
[๑๒๒] ขอท่านทั้งหลายจงฟังคำเจรจาของเทวดา และพวกพ่อค้า ฯลฯ (พึงดูใน เรื่องที่ ๑๐ แห่งสุนิกขิตตวรรคที่ ๗ ในวิมานวัตถุ)
จบ เสริสสกเปตวัตถุที่ ๒
๓. นันทิกาเปตวัตถุ
ว่าด้วยบุพกรรมของนางนันทิกาเปรต
[๑๒๓] มีพระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่าปิงคละเป็นใหญ่ในสุรัฏฐประเทศ เสด็จไปเฝ้าเจ้าพระโมริยะแล้ว กลับมาสู่สุรัฏฐประเทศ เสด็จมาถึงที่มี เปือกตม ในเวลาเที่ยงซึ่งเป็นเวลาร้อนทอดพระเนตรเห็นทางอันรื่นรมย์ เป็นทางที่เปรตเนรมิตไว้ จึงตรัสบอกนายสารถีว่า ทางนี้น่ารื่นรมย์ เป็น ทางปลอดภัย มีความสวัสดี ไม่มีอุปัทวันตราย ดูกรนายสารถี ท่านจง ตรงไปทางนี้แหละ เมื่อเราไปโดยทางนี้ จักถึงเขตเมืองสุรัฏฐะเร็วทีเดียว พระเจ้าสุรัฏฐะได้เสด็จไปโดยทางนั้น พร้อมด้วยจตุรงคเสนา บุรุษคน หนึ่งสะดุ้งตกใจกลัวได้กราบทูลพระเจ้าสุรัฏฐ์ว่า พวกเราเดินทางผิด เป็นทางน่ากลัวขนพองสยองเกล้า เพราะทางปรากฏเฉพาะข้างหน้า แต่ข้างหลังไม่ปรากฏ พวกเราเดินทางผิดเสียแล้ว พวกเราเห็นจะเดิน มาใกล้สำนักพวกอมนุษย์ กลิ่นอมนุษย์ฟุ้งไป ข้าพระองค์ได้ยินเสียงอัน พิลึกน่าสะพึงกลัว พระเจ้าสุรัฏฐ์ทรงสะดุ้งพระทัย ตรัสกะนายสารถีว่า พวกเราเดินทางผิดเสียแล้ว เป็นทางน่ากลัวขนพองสยองเกล้า เพราะทาง ปรากฏเฉพาะข้างหน้า แต่ข้างหลังไม่ปรากฏ พวกเราเดินทางผิด พวก เราเห็นจะเดินมาใกล้สำนักพวกอมนุษย์ กลิ่นอมนุษย์ย่อมฟุ้งไป เราได้ ยินเสียงอันน่าสะพึงกลัว แล้วเสด็จขึ้นสู่คอช้าง ทอดพระเนตรไปใน ทิศทั้ง ๔ ได้ทรงเห็นต้นไทรต้นหนึ่ง มีร่มเงาชิดสนิทดี เขียวชอุ่มดุจสี เมฆมีสีและสัณฐานคล้ายเมฆรับสั่งกะนายสารถีว่า ป่าใหญ่เขียวชอุ่มดุจ สีเมฆ มีสีและสัณฐาณคล้ายเมฆปรากฏอยู่นั่นใช่ไหม? นายสารถีกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชา นั่นเป็นต้นไทร มีร่มเงาชิดสนิทดี เขียวชอุ่ม มีสีและ สัณฐานคล้ายเมฆ. พระเจ้าสุรัฏฐเสด็จเข้าไปจนถึงต้นไทรใหญ่ที่ปรากฏอยู่ แล้วเสด็จลง จากคอช้าง เสด็จเข้าไปสู่ต้นไทร ประทับนั่งที่โคนต้น พร้อมด้วยหมู่ อำมาตย์ราชบริพาร ได้ทอดพระเนตรเห็นขันน้ำมีน้ำเต็ม และขนมอัน หวานอร่อย บุรุษมีเพศดังเทวดา ประดับด้วยสรรพาภรณ์ เข้าไปเฝ้า พระเจ้าสุรัฏฐแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชา พระองค์เสด็จมา ดีแล้วและพระองค์ไม่ได้เสด็จมาร้าย ข้าแต่พระองค์ผู้กำจัดศัตรู เชิญ พระองค์เสวยน้ำและขนมเถิด พระเจ้าข้า. พระเจ้าสุรัฏฐพร้อมด้วยอำมาตย์และข้าราชบริพาร พากันดื่มน้ำและกิน ขนมแล้ว จึงถามว่า ท่านเป็นเทวดา เป็นคนธรรพ์ หรือเป็นท้าว สักกปุรินททะ พวกเราไม่รู้จักท่าน จึงถามว่า พวกเราพึงรู้จักท่าน อย่างไร? นันทิกาเปรตกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระองค์ไม่ใช่เทวดา ไม่ใช่คนธรรพ์ ไม่ใช่ท้าว สักกปุรินททะ ข้าพระองค์เป็นเปรต จากประเทศสุรัฏฐ์มาอยู่ที่นี้. พระราชาตรัสถามว่า เมื่อก่อน ท่านอยู่ในประเทศสุรัฏฐ์ มีปกติอย่างไร มีความประพฤติ อย่างไร ท่านมีอานุภาพอย่างนี้ เพราะพรหมจรรย์อะไร? นันทิกาเปรตตอบว่า ข้าแต่พระมหาราชาผู้กำจัดหมู่ศัตรู ผู้ผดุงรัฐให้เจริญ ขอพระองค์อำมาตย์ ราชบริพารและพราหมณ์ปุโรหิต จงสดับฟัง ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ เมื่อก่อน ข้าแต่พระองค์เป็นบุรุษอยู่ในเมืองสุรัฏฐ์ เป็นคนใจบาป เป็น มิจฉาทิฏฐิ เป็นคนทุศีลตระหนี่ บริภาษสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ห้าม ปรามมหาชน ซึ่งพากันทำบุญให้ทาน ทำอันตรายแก่หมู่ชนเหล่าอื่นผู้กำลัง ให้ทานได้ห้ามว่า ผลแห่งทานไม่มีผล ผลแห่งการสำรวม จักมีแต่ที่ไหน ใครๆ ผู้ชื่อว่า เป็นอาจารย์ไม่มี ใครจักฝึกฝนบุคคลผู้ไม่เคยฝึกฝนแล้วเล่า สัตว์ทั้งหลายเป็นสัตว์เสมอกันทั้งสิ้น การเคารพอ่อนน้อมต่อผู้เจริญใน ตระกูล จักมีแต่ที่ไหน กำลังหรือความเพียรไม่มี ความพากเพียรของบุรุษ จักมีแต่ที่ไหน ผลทานไม่มี ทานและศีลไม่ทำบุคคลผู้มีเวรให้หมดจดได้ สัตว์ย่อมได้ของที่ควรได้ สัตว์เมื่อจะได้สุขหรือทุกข์ ย่อมได้สุขหรือทุกข์ อันเกิดแต่ที่น้อมมาเอง มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย ไม่มี โลกอื่น จากโลกนี้ ก็ไม่มี ทานอันบุคคลให้แล้วย่อมไม่มีผล พลีกรรมไม่มีผล แม้ทานอันบุคคลตั้งไว้ดีแล้วก็ไม่มีผล บุรุษใดฆ่าบุรุษอื่นและตัดศีรษะ บุรุษอื่น จะจัดว่าบุรุษนั้นทำลายชีวิตของผู้อื่นหาไม่ได้ ไม่มีใครฆ่าใคร เป็นแต่ศาตราย่อมเข้าไปในระหว่างอันเป็นช่องกาย ๗ ช่องเท่านั้น ชีพ ของสัตว์ทั้งหลายไม่ขาดสูญ ไม่แตกทำลาย บางคราวมี ๘ เหลี่ยม บางคราวกลมเหมือนงบน้ำอ้อย บางคราวสูงตั้ง ๕๐๐ โยชน์ ใครเล่า สามารถตัดชีพให้ขาดได้ เหมือนหลอดด้ายอันบุคคลซัดไปแล้ว หลอด ด้ายนั้นอันด้ายพันอยู่ ย่อมกลิ้งไปได้ ฉันใด ชีพนั้นก็ฉันนั้น ย่อม แหวกหนีไปจากร่างได้ บุคคลผู้ออกจากบ้านนี้ไปเข้าบ้านอื่น ฉันใด ชีพนั้นก็ออกจากร่างนี้แล้วไปเข้าร่างอื่นฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลออกจาก เรือนหลังนี้แล้วไปเข้าเรือนหลังอื่น ฉันใด แม้ชีพนั้นก็ออกจากร่างนี้ แล้วเข้าไปอาศัยร่างอื่นฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสิ้นกำหนด ๘ ล้าน ๔ แสน มหากัป สัตว์ทั้งหลายทั้งที่เป็นพาล ทั้งที่เป็นบัณฑิตจักยังสงสารให้สิ้น ไป แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้เอง สุขทุกข์เหมือนตักตวงได้ด้วย ทะนานและกะเช้า พระชินเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงสุขทุกข์ทั้งปวง สัตว์นอกนี้ ล้วนเป็นผู้ลุ่มหลง เมื่อชาติก่อน ข้าพระองค์มีความเห็นอย่างนี้จึงได้ เป็นคนหลงถูกโมหะครอบงำ เป็นมิจฉาทิฏฐิ ทุศีล ตระหนี่ บริภาษ สมณพราหมณ์ภายใน ๖ เดือน ข้าพระองค์จักทำกาลกิริยา จักตกไป นรกอันเผ็ดร้อน ร้ายกาจโดยส่วนเดียว นรกนั้นมี ๔ เหลี่ยม ๔ ประตู จำแนกออกเป็นส่วนๆ ล้อมด้วยกำแพงเหล็กครอบด้วยแผ่นเหล็ก พื้น นรกนั้นเป็นเหล็กแดงลุกเป็นเปลวเพลิงโชติช่วง แผ่ไปร้อยโยชน์โดย รอบตั้งอยู่ทุกเมื่อ ล่วงไปแสนปี ในกาลนั้นข้าพระองค์จึงจะได้ยินเสียง ในนรกนั้นว่า แน่ะเพื่อนยาก เมื่อพวกเราไหม้อยู่ในนรกนี้ กาล ประมาณแสนปีล่วงไปแล้ว ข้าแต่พระมหาราชา แสนโกฏิปีเป็นกำหนด อายุของสัตว์ผู้หมกไหม้อยู่ในนรก ชนทั้งหลายเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นคน ทุศีล ติเตียนพระอริยเจ้า ย่อมหมกไหม้อยู่ในนรกแสนโกฏิปี ข้าพระ- องค์จักเสวยทุกขเวทนาอยู่ในนรกนั้นตลอดกาลนาน นี้เป็นผลแห่ง กรรมชั่วของข้าพระองค์ เพราะฉะนั้นข้าพระองค์จึงเศร้าโศกนัก ข้าแต่ พระมหาราชาผู้กำจัดศัตรู เป็นที่เจริญใจของชาวแว่นแคว้น ขอพระองค์ จงทรงสดับคำของข้าพระองค์ ขอความเจริญจงมีแด่พระองค์ ธิดาของ ข้าพระองค์ชื่ออุตตราทำแต่กรรมดี ยินดีแล้วในนิจศีลและอุโบสถศีล ยินดีในทานจำแนกแจกทาน รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความ ตระหนี่ มีปกติทำไม่ให้ขาดในสิกขา เป็นสะใภ้อยู่ในตระกูลอื่น เป็นอุบาสิกาของพระศากยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงศิริ ข้าแต่พระมหา ราชา ขอความเจริญจงมีแด่พระองค์ นางอุตตราได้เห็นภิกษุผู้สมบูรณ์ ด้วยศีล เข้าไปบิณฑบาตในบ้าน มีจักษุอันทอดลงแล้ว มีสติคุ้มครอง ทวาร สำรวมดีแล้ว เที่ยวไปตามลำดับตรอก เข้าไปสู่บ้านนั้น นางได้ ถวายน้ำขันหนึ่งและขนมมีรสหวานอร่อย แล้วอุทิศส่วนกุศลให้ข้าพระ องค์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอผลทานที่ดิฉันถวายนี้ จงพลันสำเร็จแก่ บิดาของดิฉันที่ตายไปแล้วเถิด ในทันใดนั้น ผลแห่งทานก็บังเกิดมีแก่ ข้าพระองค์ ข้าพระองค์มีความประสงค์สำเร็จได้ดังความปรารถนา บริโภค กามสุขเหมือนดังท้าวเวสสวรรณมหาราช ข้าแต่พระมหาราชาผู้กำจัดศัตรู เป็นที่เจริญใจของชาวแว่นแคว้น ขอพระองค์จงทรงสดับคำของข้าพระ- องค์ พระพุทธเจ้าบัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้เลิศกว่าโลกพร้อมทั้งเทวโลก ขอพระองค์พร้อมทั้งพระโอรสและพระอัครมเหสี จงถึงพระพุทธเจ้า พระองค์นั้นเป็นสรณะเถิด ชนทั้งหลายย่อมบรรลุอมตบทด้วยมรรคอัน ประกอบด้วยองค์ ๘ ขอพระองค์พร้อมด้วยพระโอรสและพระอัครมเหสี จงถึงมรรคมีองค์ ๘ และอมตบทเป็นสรณะเถิด พระอริยบุคคลผู้ปฏิบัติ อยู่ในมรรค ๔ จำพวก และผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ จำพวกนี้เป็นพระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติซื่อตรง ประกอบด้วยปัญญาและศีล ขอพระองค์พร้อมทั้ง พระโอรสและพระอัครมเหสี จงถึงพระสงฆ์นั้นเป็นสรณะเถิด ขอพระ- องค์จงรีบงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ทรงยินดีด้วยพระมเหสีของ พระองค์ ไม่ตรัสเท็จ ไม่ทรงดื่มน้ำจัณฑ์เถิด. พระราชาตรัสว่า ดูกรเทวดา ท่านเป็นผู้ปรารถนาความเจริญแก่เรา ปรารถนาเกื้อกูลเรา เราจะทำตามคำของท่าน ท่านเป็นอาจารย์ของเรา เราจักเข้าถึงพระพุทธ- เจ้า พระธรรมและพระสงฆ์อันยอดเยี่ยมกว่าเทวดาและมนุษย์ว่าเป็น สรณะ เราจะรีบงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ จะยินดีด้วยพระมเหสี ของตน จะไม่พูดเท็จ ไม่ดื่มน้ำเมา เราจะคลายความเห็นอันชั่วช้า เหมือนโปรยแกรบลอยไปในลมอันแรง เหมือนทิ้งหญ้าและใบไม้ลอย ไปในแม่น้ำมีกระแสอันเชี่ยว จักเป็นผู้ยินดีแล้วในพระพุทธศาสนา พระเจ้าสุรัฏฐ์ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ทรงงดความเห็นอันชั่วช้า ทรงนอบน้อม ต่อพระผู้มีพระภาค เสด็จขึ้นทรงรถพระที่นั่ง บ่ายพระพักตร์ไปทางทิศ ปราจีน กลับคืนสู่พระนคร.
จบ นันทิกาเปตวัตถุที่ ๓.
๔. เรวดีเปตวัตถุ
ว่าด้วยบุพกรรมของนางเรวดีเปรต
[๑๒๔] บุรุษคนใช้ของพระยายมราช จะจับนางเรวดีโยนลงไปในอุสสทนรก จึงได้กล่าวว่า แน่ะแม่เรวดีผู้มีธรรมอันแสนจะชั่วช้า จงลุกขึ้น ฯลฯ (พึงดูในเรื่องที่ ๒ แห่งมหารถวรรคที่ ๕ ในวิมานวัตถุ).
จบ เรวดีเปตวัตถุที่ ๔.
๕. อุจฉุเปตวัตถุ
ว่าด้วยบุพกรรมของอุจฉุเปรต
เปรตตนหนึ่งถามพระมหาโมคคัลลานเถระว่า [๑๒๕] ไร่อ้อยใหญ่นี้เกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า เป็นผลบุญไม่น้อย แต่เดี๋ยวนี้ ข้าพเจ้ากินอ้อยนั้นไม่ได้ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านโปรดบอก นี้เป็น ผลแห่งกรรมอะไร ข้าพเจ้าย่อมเดือดร้อนจะกัดกินพยายามตะเกียก ตะกายเพื่อจะบริโภคสักหน่อยก็ไม่สมหวัง กำลังก็สิ้นลง บ่นเพ้อนัก นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร อนึ่ง ข้าพเจ้าถูกความหิวและความกระหาย เบียดเบียน แล้วหมุนล้มไปที่แผ่นดิน กลิ้งเกลือกไปมา ดุจปลาดิ้นรน อยู่ในที่ร้อน เมื่อข้าพเจ้าร้องไห้อยู่สัตว์ทั้งหลายย่อมพากันมากินน้ำตา ของข้าพเจ้า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านโปรดบอก นี้เป็นผลแห่งกรรม อะไร ข้าพเจ้าเป็นผู้หิวกระหายลำบาก ดิ้นรนไปว่า ย่อมไม่ประสบ ความสุขที่น่ายินดี ข้าแต่ท่านผู้เจริญข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนั้นกะท่าน ข้าพเจ้าจะพึงบริโภคอ้อยได้อย่างไร? พระมหาโมคคัลลานเถระกล่าวว่า เมื่อชาติก่อน ท่านเกิดเป็นมนุษย์ ได้ทำกรรมไว้ด้วยตนเอง เราจะบอก เนื้อความนั้นกะท่าน ขอท่านจงฟังแล้วจำเนื้อความข้อนั้นไว้ ท่านเดิน กัดกินอ้อยไป และมีบุรุษคนหนึ่งเดินตามหลังท่านไป เขาหวังจะกิน อ้อย จึงบอกแก่ท่าน ท่านก็มิได้พูดอะไรๆ แก่เขา เขาจึงได้พูดวิงวอน ท่านผู้ไม่พูดตอบว่า ขอท่านพึงให้อ้อยเถิด ท่านได้ให้อ้อยแก่บุรุษนั้น โดยข้างหลัง นี้เป็นผลแห่งกรรมนั้น เชิญท่านพึงไปถือเอาอ้อยข้างหลัง ซิ ครั้นถือเอาได้แล้ว จงกินให้อิ่มหนำเถิด เพราะเหตุนั้นแหละ ท่าน จักเป็นผู้เบิกบานร่าเริงบันเทิงใจ เปรตนั้นได้ไปถือเอาโดยข้างหลัง ครั้นแล้วจึงได้กินอ้อยนั้นจนอิ่มหนำ เพราะเหตุนั้นแล เปรตนั้นได้เป็น ผู้เบิกบานร่าเริงบันเทิงใจ.
จบ อุจฉุเปตวัตถุ.
๖. กุมารเปตวัตถุ
ว่าด้วยบุพกรรมของกุมารเปรต
[๑๒๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้ว่า มีพระกุมาร ๒ องค์เป็นพระราชโอรสอยู่ใน พระนครสาวัตถี ข้างประเทศหิมพานต์ พระราชกุมารทั้ง ๒ องค์นั้นเป็น ผู้มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ทรงเพลิดเพลินด้วยอำนาจ ความยินดีในกาม ทรงติดอยู่ในความสุขปัจจุบัน ไม่ทรงเห็นสุขใน อนาคต ครั้นจุติจากความเป็นมนุษย์ไปจากโลกนี้สู่เปตโลกแล้ว เกิดเป็น เปรตไม่แสดงกายให้ปรากฏ ร้องประกาศกรรมชั่วของตนที่ได้กระทำไว้ ในกาลก่อนว่า เมื่อพระทักขิไณยบุคคลมีอยู่เป็นอันมาก และไทยธรรม อันเขาเข้าไปตั้งไว้ก็มีอยู่ พวกเราไม่อาจทำบุญอันนำมาซึ่งความสุขต่อไป แม้เล็กน้อย และทำตนให้มีความสวัสดีได้ อะไรจะพึงลามกกว่ากามนั้น พวกเราจุติจากราชกุลแล้วไปบังเกิดในเปตวิสัย พรั่งพร้อมไปด้วยความ หิวและความกระหาย เมื่อก่อน เคยเป็นเจ้าของในที่ใดในโลก ย่อม ไม่ได้เป็นเจ้าของในที่นั้นอีก มนุษย์ทั้งหลายเจริญขึ้นแล้วเสื่อมลง ย่อม ตายเพราะความหิวและความกระหาย นรชนรู้โทษอันเกิดด้วยอำนาจ ความถือตัวว่าเป็นใหญ่อย่างนี้แล้ว ละความเมาในความเป็นใหญ่ได้แล้ว พึงไปสู่สวรรค์ นรชนผู้มีปัญญาเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสวรรค์.
จบ กุมารเปตวัตถุที่ ๖.
๗. ราชปุตตเปตวัตถุ
ว่าด้วยบุพกรรมเปรตราชบุตร
[๑๒๗] ผลแห่งกรรมทั้งหลาย ที่พระราชโอรสทำไว้ในชาติก่อนพึงย่ำยีหัวใจ พระราชโอรสได้เสวยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่ารื่นรมย์ ใจ และการฟ้อนรำขับร้อง ความยินดี ความสนุกสนานเป็นอันมาก เสด็จเที่ยวไปในสวนแล้วเข้าไปสู่เมืองราชคฤห์ ได้ทรงเห็นพระปัจเจก- พุทธเจ้านามว่าสุเนตตะ ผู้มีตนอันฝึกแล้วมีจิตตั้งมั่น มักน้อย สมบูรณ์ ด้วยหิริ ยินดีในอาหารเฉพาะที่มีอยู่ในบาตร เสด็จลงจากคอช้างแล้ว ตรัสถามว่า ได้อะไรบ้าง พระผู้เป็นเจ้า แล้วทรงจับบาตรของพระปัจเจก- พุทธเจ้ายกขึ้นสูง แล้วทุ่มลงที่พื้นดินให้แตก ทรงพระสรวล หลีกไป หน่อยหนึ่งได้ตรัสกะพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้แลดูอยู่ด้วยอำนาจความกรุณา ว่า เราเป็นพระราชโอรสของพระเจ้ากิตวัสสะ แน่ะภิกษุ ท่านจักทำอะไร เรา พระราชโอรสได้เสวยผลอันเผ็ดร้อนแห่งกรรมอันหยาบช้านั้นเพรียบ พร้อมแล้วในนรก พระราชโอรสผู้เป็นพาลทำบาปหยาบช้าไว้ จึงได้ ประสบทุกข์อันกล้าแข็งอยู่ในนรก ๘๔,๐๐๐ ปี นอนหงายบ้าง นอน คว่ำบ้าง นอนตะแคงซ้ายบ้าง นอนตะแคงขวาบ้าง เท้าชี้ขึ้นข้างบนบ้าง หมกไหม้อยู่สิ้นกาลนาน ทำบาปหยาบช้าไว้ จึงได้ประสบทุกข์อันกล้า แข็งในนรกหลายหมื่นปีเป็นอันมาก บุคคลผู้มีการงานอันลามก พากัน ประทุษร้ายฤาษีผู้ไม่ประทุษร้ายต่อผู้ประทุษร้ายมีวัตรอันงาม ย่อมได้เสวย ทุกข์อันเผ็ดร้อนอย่างยิ่งเห็นปานนี้แล เปรตผู้เป็นพระราชบุตรเสวยทุกข์ เป็นอันมากในนรกนั้นสิ้นปีเป็นอันมาก จุติจากนรกแล้วมาเกิดเป็นเปรต อดอยากอีก บุคคลรู้โทษอันเกิดเพราะอำนาจแห่งความมัวเมาในความ เป็นใหญ่อย่างนี้แล้ว พึงละความมัวเมาในความเป็นใหญ่เสีย แล้วพึง ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ควรอ่อนน้อม ผู้ใดมีความเคารพในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ ผู้นั้นอันบุคคลพึงสรรเสริญในปัจจุบัน ผู้นั้น เป็นคนมีปัญญา เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสวรรค์.
จบ ราชปุตตเปตวัตถุที่ ๗.
๘. คูถขาทิกเปตวัตถุที่ ๑
ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตกินคูถที่ ๑
พระมหาโมคคัลลานเถระได้ถามเปรตตนหนึ่งว่า [๑๒๘] ท่านเป็นใครหนอ โผล่ขึ้นจากหลุมคูถให้เราเห็นเช่นนี้ ท่านร้องครวญ ครางอื้ออึงไปทำไมเล่า ท่านมีการงานอันลามกเป็นแน่? เปรตนั้นตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นเปรตเสวยทุกข์เกิดในยมโลก เพราะได้ ทำกรรมอันลามกไว้ จึงไปจากโลกนี้สู่เปตโลก. พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา ใจหรือ เพราะผลแห่งกรรมอะไร ท่านจึงได้ประสบทุกข์เช่นนี้? เปรตนั้นตอบว่า ชาติก่อน มีภิกษุรูปหนึ่งเป็นเจ้าอาวาส อยู่ในอาวาสของข้าพเจ้า ท่านมี ปกติริษยา ตระหนี่ตระกูล มีใจกระด้าง มักด่าบริภาษ ได้ยกโทษ ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายที่เรือนของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าฟังคำของภิกษุนั้นแล้ว ได้ด่าพวกภิกษุทั้งหลาย เพราะผลแห่งกรรมนั้น ข้าพเจ้าจึงไปจากโลกนี้ สู่เปตโลก. พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า ภิกษุที่เข้าไปสู่ตระกูลของท่าน ไม่ใช่มิตรแท้เป็นมิตรเทียม เป็นคน ปัญญาทราม ทำลายขันธ์ละไปแล้ว ไปสู่คติไหนหนอ? เปรตนั้นตอบว่า ข้าพเจ้ายืนอยู่บนศีรษะของภิกษุผู้มีกรรมอันลามกนั้น กุลุปกภิกษุไปเกิด เป็นเปรตบริวารของข้าพเจ้า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ชนเหล่าอื่นถ่ายมูตรคูถ ลงในเว็จนี้ มูตรคูถนั้นเป็นอาหารของข้าพเจ้าและข้าพเจ้ากินมูตรคูถ นั้นแล้ว ถ่ายมูตรคูถสิ่งใดลงไป กุลุปกเปรตนั้นก็เลี้ยงชีพด้วยมูตรคูถนั้น.
จบ คูถขาทิกเปตวัตถุที่ ๘.
๙. คูถขาทิกเปตวัตถุที่ ๒
ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตกินคูถที่ ๒
พระมหาโมคคัลลานเถระได้ถามเปรตตนหนึ่งว่า [๑๒๙] ท่านเป็นใครหนอ โผล่ขึ้นมาจากหลุมคูถให้เราเห็นเช่นนี้ ท่านมาร้อง ครวญครางอื้ออึงไปทำไมเล่า ท่านมีกรรมอันลามกเป็นแน่? นางเปรตนั้นตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเป็นนางเปรตได้เสวยทุกข์ เกิดในยมโลก เพราะ ได้กรรมชั่วไว้ จึงไปจากโลกนี้สู่เปตโลก.
(เหมือนข้อ ๑๒๘)
จบ คูถขาทิกเปตวัตถุที่ ๙.
๑๐. คณเปตวัตถุ
ว่าด้วยบุพกรรมของนางเปรตผอม
พระมหาโมคคัลลานเถระได้ถามนางเปรตทั้งหลายว่า [๑๓๐] ท่านทั้งหลายเปลือยกาย มีรูปร่างผิวพรรณน่าเกลียด ซูบผอมมีตัว สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ผอมจนแลเห็นแต่ซี่โครงเช่นนี้ แน่ะท่าน ผู้นิรทุกข์ ท่านทั้งหลายเป็นอะไรหนอ? เปรตทั้งหลายตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าเป็นเปรตเสวยทุกข์ เกิดในยมโลก เพราะ ทำกรรมชั่วไว้ จึงไปจากมนุษยโลกมาสู่เปตโลก. พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า ท่านทั้งหลายทำกรรมชั่วอะไรด้วยกาย วาจา ใจหรือ เพราะผลแห่งกรรม อะไร ท่านทั้งหลายจึงไปจากมนุษยโลกสู่เปตโลก? เปรตเหล่านั้นตอบว่า เมื่อสมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้เป็นที่พึ่ง อันหาโทษมิได้มีอยู่ ข้าพเจ้า ทั้งหลายมิได้ก่อสร้างกุศลไว้แม้เพียงกึ่งมาสก เมื่อไทยธรรมมีอยู่ก็ไม่ได้ ทำที่พึ่งแก่ตน พวกข้าพเจ้าหิวน้ำ จึงเข้าไปใกล้แม่น้ำ แม่น้ำกลับกลาย เป็นว่างเปล่าไป เมื่อเวลาร้อนข้าพเจ้าทั้งหลายเข้าไปสู่ร่มไม้ ร่มไม้กลับ กลายเป็นแดดแผดเผาไป ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายควรที่จะ เสวยทุกข์อันมีความกระหายเป็นต้นนี้ และทุกข์อย่างอื่นอันชั่วช้ากว่าทุกข์ นั้น อนึ่ง ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ถูกความหิวแผดเผาแล้ว อยากอาหาร พากันไปสิ้นทางหลายโยชน์ ก็ไม่ได้อาหารอะไรๆ เลย จึงพากันกลับ มา ข้าพเจ้าทั้งหลายนี้หาบุญมิได้หนอ เมื่อมีความหิวโหยอิดโรยมากขึ้น ก็พากันล้มสลบลงที่พื้นดิน บางคราวก็ล้มนอนหงาย บางคราวก็ล้มคว่ำ ดิ้นรนไปมา ก็ข้าพเจ้าเหล่านั้นสลบอยู่ที่พื้นดินที่ล้มอยู่นั่นเอง เอาศีรษะ ชนหน้าอกกันและกัน ข้าพเจ้าเหล่านี้หาบุญมิได้หนอ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายควรที่จะเสวยทุกข์ อันมีความกระหายเป็นต้นนี้ และ ทุกข์อย่างอื่นอันชั่วช้ากว่าทุกข์นั้น เพราะเมื่อไทยธรรมมีอยู่ ข้าพเจ้า ทั้งหลายก็ไม่ได้ทำที่พึ่งแก่ตน ก็ข้าพเจ้าเหล่านั้นไปจากที่นี้ ได้กำเนิด เป็นมนุษย์แล้ว จักเป็นผู้รู้ความประสงค์ของผู้ขอ สมบูรณ์ด้วยศีล กระทำกุศลให้มาก.
จบ คณเปตวัตถุที่ ๑๐.
๑๑. ปาฏลีปุตตเปตวัตถุ
ว่าด้วยหญิงชาวเมืองปาฏลีบุตรสนทนากับนางเปรต
เวมานิกเปรตตนหนึ่งได้กล่าวกะหญิงมนุษย์คนหนึ่งว่า [๑๓๑] สัตว์นรกบางพวกท่านก็เห็นแล้ว สัตว์เดียรัจฉาน เปรต อสูร มนุษย์ หรือเทวดาบางพวก ท่านก็เห็นแล้ว ผลกรรมของตนท่านก็เห็นประจักษ์ ด้วยตนเองแล้ว เราจักนำท่านไปส่งยังเมืองปาฏลีบุตร ท่านไปถึงเมือง ปาฏลีบุตรแล้ว จงทำกรรมอันเป็นกุศลให้มาก. เมื่อหญิงนั้นได้ฟังดังนั้นแล้ว มีความปลื้มใจ จึงกล่าวตอบว่า ข้าแต่ เทพเจ้าผู้อันบุคคลพึงบูชา ท่านปรารถนาความเจริญแก่ดิฉัน ปรารถนา ประโยชน์เกื้อกูลแก่ดิฉัน ดิฉันจักทำตามคำของท่าน ท่านเป็นอาจารย์ ของดิฉัน สัตว์นรกบางพวก ดิฉันก็เห็นแล้ว สัตว์เดียรัจฉาน เปรต อสูร มนุษย์หรือเทวดาบางพวก ดิฉันก็เห็นแล้ว ผลกรรมของตนดิฉัน ก็ได้เห็นเองแล้ว ดิฉันจักทำบุญให้มาก.
จบ ปาฏลิปุตตเปตวัตถุที่ ๑๑
๑๒. อัมพวนเปตวัตถุ
ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตเฝ้าสวนมะม่วง
พวกพ่อค้าได้ถามเวมานิกเปรตตนหนึ่งว่า [๑๓๒] สระโบกขรณีของท่านนี้น่ารื่นรมย์ดี มีพื้นราบเรียบ มีท่าอันงดงาม มีน้ำมาก ดารดาษไปด้วยปทุมชาติต่างๆ มีดอกอันบานดีเกลื่อนกล่น ด้วยหมู่ภมร ท่านได้สระโบกขรณีอันเป็นที่ฟูใจนี้อย่างไร สวนมะม่วง ของท่านนี้น่ารื่นรมย์ดีเผล็ดผลทุกฤดู มีดอกบานเป็นนิตย์นิรันดร์ เกลื่อนหล่นด้วยหมู่ภมร ท่านได้วิมานนี้อย่างไร? เวมานิกเปรตนั้นตอบว่า สระโบกขรณีมีร่มเงาอันเยือกเย็น น่ารื่นรมย์ใจ ข้าพเจ้าได้ในที่นี้ เพราะทานที่ธิดาของข้าพเจ้าถวายมะม่วงสุก น้ำข้าวยาคู แด่พระผู้มี พระภาคและพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย. เวมานิกเปรตนั้น ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงนำพวกพ่อค้าไปดูทรัพย์ ๕๐๐ กหาปณะ แล้วสั่งว่า พวกท่านจงถือเอาเป็นส่วนตัวกึ่งหนึ่งจากทรัพย์นี้ แล้วให้ธิดาขอเราใช้หนี้ที่เรายืมเขา มากึ่งหนึ่งเถิด. พวกพ่อค้ากลับมาถึงเมืองสาวัตถีแล้ว ได้บอกแก่ธิดาของเปรตนั้น แล้วได้ให้ทรัพย์ ส่วนที่เปรตนั้นให้แก่ตนแก่เทพธิดานั้น นางได้ให้กหาปณะร้อยกหาปณะแก่เจ้าหนี้ แล้วให้ทรัพย์ที่ เหลือแก่สหายของบิดา ส่วนตนรับทำการใช้สอยกุฎุมพีนั้นอยู่ กุฎุมพีนั้นกลับคืนทรัพย์นั้นให้แก่ นาง แล้วยกนางให้เป็นภรรยาของบุตรชายคนหัวปี ต่อมาภายหลัง นางมีบุตรคนหนึ่ง ได้กล่าวคาถาเป็นเชิงกล่อมบุตรว่า ขอท่านทั้งหลาย จงดูผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง และผลของความ ข่มใจ ความสำรวม เราเป็นทาสีอยู่ในตระกูลของลูกเจ้า บัดนี้ มาเป็น ลูกสะใภ้เป็นใหญ่ในเรือน. ภายหลัง พระศาสดาทรงเห็นนางมีญาณแก่เกล้าจึงทรงแผ่พระรัศมีไปแสดง พระองค์ให้ปรากฏ ดุจประทับอยู่เฉพาะหน้าแล้วได้ตรัสพระคาถานี้ความว่า ความประมาท ย่อมครอบงำบุคคลผู้ติดอยู่ในความยินดียินร้าย ในความรักความชังในทุกข์และสุข.
จบ อัมพวนเปรตวัตถุที่ ๑๒
๑๓. อักขรุกขเปตวัตถุ
ว่าด้วยเทวดาเตือนอุบาสก
ภุมมเทวดาตนหนึ่งได้กล่าวเตือนอุบาสกคนหนึ่งว่า [๑๓๓] บุคคลให้สิ่งใด สิ่งนั้นย่อมไม่มี แต่ผลอย่างอื่นที่น่าปรารถนา น่าใคร่มีมาก เพราะฉะนั้นท่านจงให้ทาน แล้วท่านจักพ้นจากทุกข์และ ความฉิบหาย ทั้งจักได้ประสบสุขอันเป็นไปในปัจจุบันและสัมปรายภพ เพราะทานนั้น ขอท่านจงตื่นเถิด อย่าได้ประมาท.
จบ อักขรุกขเปรตวัตถุที่ ๑๓.
๑๔. โภคสังหรเปตวัตถุ
ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตรวบรวมโภคะ
ในเวลาราตรี หญิงเปรต ๔ ตน ถูกทุกข์ครอบงำ จึงพากันร้องไห้รำพันด้วยเสียงดัง อย่างน่ากลัวว่า [๑๓๔] พวกเรารวบรวมโภคทรัพย์ไว้โดยชอบธรรมบ้าง โดยไม่ชอบธรรมบ้าง แต่คนอื่นๆ พากันใช้สอยธรรมเหล่านั้น ส่วนพวกเรากลับมีส่วน แห่งทุกข์.
จบ โภคสังหรเปตวัตถุที่ ๑๔.
๑๕. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ
ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตเศรษฐีบุตร
พระศาสดาได้ตรัสพระคาถาที่เปรต ๔ ตน ปรารภจะกล่าวคนละคาถาให้บริบูรณ์ว่า [๑๓๕] เมื่อพวกเราพากันหมกไหม้อยู่ในนรก ๖ หมื่นปีเต็มบริบูรณ์ โดย ประการทั้งปวง เมื่อไรที่สุดจักมี. ที่สุดไม่มี ที่สุดจักมีแต่ที่ไหน ที่สุดย่อมไม่ปรากฏ แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ เพราะเรากับท่านได้ทำบาปกรรมไว้. พวกเราเหล่าใดไม่ให้ของที่มีอยู่ พวกเราเหล่านั้นย่อมเป็นอยู่ลำบาก เมื่อ ไทยธรรมมีอยู่ พวกเราไม่ได้ทำที่พึ่งแก่ตน. เรานั้นไปจากเปตโลกนี้ ได้กำเนิดเป็นมนุษย์แล้ว จักเป็นผู้รู้ความ ประสงค์ สมบูรณ์ด้วยศีล ทำกุศลให้มากเป็นแน่.
จบ เสฏฐิปุตตเปตวัตถุที่ ๑๕.
๑๖. สัฏฐีกูฏสหัสสเปตวัตถุ
ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตหกหมื่นค้อน
วันหนึ่ง พระมหาโมคคัลลานเถระลงจากเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นเปรตตนหนึ่ง จึงซักถาม ด้วยคาถาว่า [๑๓๖] ทำไมหนอ ท่านจึงวิ่งพล่านไปเหมือนคนบ้า เหมือนเนื้อผู้ระแวงภัย ท่านมาร้องอื้ออึงไปทำไม ท่านคงทำบาปกรรมไว้เป็นแน่? เปรตนั้นตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นเปรตเสวยทุกข์ เกิดในยมโลก เพราะทำ บาปกรรมไว้ จึงไปจากมนุษย์สู่เปตโลก ค้อนเหล็ก ๖ หมื่น ครบ บริบูรณ์โดยประการทั้งปวง ตกใส่ศีรษะและต่อยกระหม่อมของข้าพเจ้า. พระเถระถามว่า ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา ใจ หรือ เพราะผลแห่งกรรมอะไร ท่านจึงไปจากมนุษยโลกสู่เปตโลก อนึ่ง ค้อนเหล็ก ๖ หมื่น ครบ บริบูรณ์โดยประการทั้งปวง ตกใส่ศีรษะและต่อยศีรษะของท่าน เพราะ ผลแห่งกรรมอะไร? เปรตนั้นตอบว่า ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง นามว่า สุเนตตะ มีอินทรีย์อันอบรมแล้ว ผู้หาภัยแต่ที่ไหนมิได้ นั่งเข้าฌานอยู่ที่โคนต้นไม้ ข้าพเจ้าได้ต่อยศีรษะของท่านแตกด้วยการดีดก้อนกรวด เพราะผลแห่ง กรรมนั้น ข้าพเจ้าจึงได้ประสบทุกข์เช่นนี้ ค้อนเหล็ก ๖ หมื่น ครบ บริบูรณ์ โดยประการทั้งปวง จึงตกลงใส่ศีรษะของข้าพเจ้า และต่อย ศีรษะของข้าพเจ้า. พระเถระกล่าวว่า แน่ะบุรุษชั่ว ค้อนเหล็ก ๖ หมื่น ครบบริบูรณ์ โดยประการทั้งปวง ตกลงใส่ศีรษะและต่อยศีรษะของท่าน เพราะเหตุอันสมควรแก่ท่านแล้ว.
จบ สัฏฐีกูฏสหัสสเปตวัตถุที่ ๑๖.
-----------------------------------------------------
รวมเรื่องที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อัมพสักขรเปตวัตถุ ๒. เสริสสกเปตวัตถุ ๓. นันทิกาเปตวัตถุ ๔. เรวดีเปตวัตถุ ๕. อุจฉุเปตวัตถุ ๖. กุมารเปตวัตถุ ๗. ราชปุตตเปตวัตถุ ๘. คูถขาทิกเปตวัตถุที่ ๑ ๙. คูถขาทิกเปตวัตถุที่ ๒ ๑๐. คณเปตวัตถุ ๑๑. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ ๑๒. อัมพวนเปตวัตถุ ๑๓. อักขรุกขเปตวัตถุ ๑๔. โภคสังหรเปตวัตถุ ๑๕. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ ๑๖. สัฏฐีกูฏสหัสสเปตวัตถุ
จบ มหาวรรคที่ ๔.
เปตวัตถุจบบริบูรณ์
-----------------------------------------------------
เถรคาถา
เถรคาถา เอกกนิบาต วรรคที่ ๑
ว่าด้วยคาถาสุภาษิต ในเอกกนิบาต วรรคที่ ๑
[๑๓๗] ขอท่านทั้งหลาย จงฟังคาถาอันน้อมเข้าไปสู่ประโยชน์ ของพระเถระ ทั้งหลายผู้มีตนอันอบรมแล้ว บันลืออยู่ ดุจการบันลือแห่งสีหะทั้งหลาย ซึ่งเป็นสัตว์ประเสริฐกว่าเหล่าสัตว์ผู้มีเขี้ยวทั้งหลาย ที่ใกล้ถ้ำที่ภูเขา ฉะนั้น ก็พระเถระเหล่านั้นมีชื่อ โคตร มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ มีจิต น้อมไปแล้ว ในธรรมตามที่ปรากฏแล้ว มีปัญญา เป็นผู้ไม่เกียจคร้าน อยู่ในเสนาสนะอันสงัด มีป่า โคนไม้ และภูเขาเป็นต้นนั้นๆ ได้ เห็นธรรมแจ่มแจ้ง และได้บรรลุนิพพานอันเป็นธรรมไม่แปรผัน เมื่อ พิจารณาเห็นผลอันเป็นที่สุดกิจซึ่งตนทำเสร็จแล้ว จึงได้ภาษิตเนื้อความนี้.
-----------------------------------------------------
๑. สุภูติเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับจิตหลุดพ้น
[๑๓๘] ได้ยินว่า ท่านพระสุภูติเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า ดูกรฝน กุฎีของเรามุงดีแล้ว มีเครื่องป้องกันอันสบายมิดชิดดี ท่านจงตกลงมา ตามสะดวกเถิด จิตของเราตั้งมั่นดีแล้ว หลุดพ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง เราเป็นผู้มีความเพียรอยู่ เชิญตกลงมาเถิดฝน.
๒. มหาโกฏฐิตเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับความสงบ
[๑๓๙] ได้ยินว่า ท่านพระมหาโกฏฐิตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า บุคคล ผู้สงบ งดเว้นจากการทำความชั่วพูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมกำจัดบาป ธรรมทั้งหลาย เหมือนลมพัดใบไม้ให้ร่วงหล่นไป ฉะนั้น.
๓. กังขาเรวตเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับปัญญา
[๑๔๐] ได้ยินว่า ท่านพระกังขาเรวตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า ท่านจง ดูปัญญานี้ ของพระตถาคตเจ้าทั้งหลายดังไฟอันรุ่งเรืองในเวลาพลบค่ำ พระตถาคตเหล่าใด ย่อมกำจัดความสงสัยของเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ผู้มา เฝ้าถึงสำนักของพระองค์ พระตถาคตเหล่านั้น ย่อมชื่อว่าเป็นผู้แสงสว่าง เป็นผู้ให้ดวงตา.
๔. ปุณณมันตานีปุตตเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการคบคนดี
[๑๔๑] ได้ยินว่า ท่านพระปุณณมันตานีบุตรเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า บุคคลควรสมาคมกับสัปบุรุษ ผู้เป็นบัณฑิตชี้แจงประโยชน์เท่านั้น เพราะธีรชนทั้งหลายเป็นผู้ไม่ประมาท เห็นประจักษ์ด้วยปัญญา ย่อมได้ บรรลุถึงประโยชน์อย่างใหญ่ ประโยชน์อย่างลึกซึ้ง เห็นได้ยาก ละเอียด สุขุม.
๕. ทัพพเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการฝึกอบรม
[๑๔๒] ได้ยินว่า ท่านพระทัพพเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า เมื่อก่อน พระทัพพมัลลบุตรองค์ใด เป็นผู้อันบุคคลอื่น ฝึกฝนได้โดยยาก แต่ เดี๋ยวนี้พระทัพพมัลลบุตรองค์นั้น เป็นผู้อันพระศาสดาได้ทรงฝึกฝนด้วย การฝึกฝนด้วยมรรคอันประเสริฐ เป็นผู้สันโดษ ข้ามความสงสัยได้แล้ว เป็นผู้ชนะกิเลส ปราศจากความขลาด มีจิตตั้งมั่น ดับความเร่าร้อนได้แล้ว.
๖. สีตวนิยเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับความสันโดษ
[๑๔๓] ได้ยินว่า ท่านพระสีตวนิยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุใดมา สู่ป่าสีตวันแล้ว ภิกษุนั้นเป็นผู้อยู่แต่ผู้เดียว สันโดษ มีจิตตั้งมั่น ชนะ กิเลส ปราศจากขนลุกขนพอง มีปัญญารักษากายาคตาสติอยู่.
๗. ภัลลิยเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับผู้ชนะ
[๑๔๔] ได้ยินว่า ท่านพระภัลลิยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า ผู้ใดกำจัด เสนาแห่งมัจจุราช เหมือนห้วงน้ำใหญ่ กำจัดสะพานไม้อ้ออันแสนจะ ทรุดโทรม ฉะนั้น ก็ผู้นั้นจัดว่าเป็นผู้ชนะมาร ปราศจากความหวาดกลัว มีตนอันฝึกฝนแล้วมีจิตตั้งมั่น ดับกิเลสและความเร่าร้อนได้แล้ว.
๘. วีรเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการชนะกิเลส
[๑๔๕] ได้ยินว่า ท่านพระวีรเถระได้ภาษิตคาถานี้ ในเวลาภรรยาเก่าไปเล้าโลม เพื่อให้สึก ว่า เมื่อก่อน ผู้ใดเป็นผู้อันบุคคลอื่นฝึกได้โดยยาก แต่เดี๋ยวนี้ผู้นั้นอัน พระผู้มีพระภาคฝึกฝนได้ดีแล้ว เป็นนักปราชญ์มีความสันโดษ ข้ามความ สงสัยได้แล้ว เป็นผู้ชนะกิเลสมาร ปราศจากขนลุกขนพอง ปราศจาก ความกำหนัด มีจิตตั้งมั่น ดับกิเลสและความเร่าร้อนได้แล้ว.
๙. ปิลินทวัจฉเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการฟังธรรม
[๑๔๖] ได้ยินว่า ท่านพระปิลินทวัจฉเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า การที่เรา มาสู่สำนักของพระศาสดานี้ เป็นการมาดีแล้ว ไม่ไร้ประโยชน์ การที่ เราคิดไว้ว่าจักฟังธรรมในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้วจักบวช เป็น ความคิดที่ไม่ไร้ประโยชน์ เพราะเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงจำแนกธรรม ทั้งหลายอยู่ เราได้บรรลุธรรมอันประเสริฐแล้ว.
๑๐. ปุณณมาสเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการไม่ติดในสิ่งทั้งปวง
[๑๔๗] ได้ยินว่า พระปุณณมาสเถระได้ภาษิตคาถานี้อย่างนี้ว่า ผู้ใดไม่ทะเยอ ทะยานในโลกนี้หรือโลกอื่น ผู้นั้นเป็นผู้จบไตรเพท เป็นผู้สันโดษ สำรวมแล้ว ไม่ติดอยู่ในธรรมทั้งปวง เป็นผู้รู้แจ้งซึ่งความเกิดขึ้นและ ความเสื่อมไปของโลก.
-----------------------------------------------------
ในวรรคนี้รวมพระเถระได้ ๑๐ องค์ คือ
๑. พระสุภูติเถระ ๒. พระมหาโกฏฐิตเถระ ๓. พระกังขาเรวตเถระ ๔. พระปุณณมันตานีปุตตเถระ ๕. พระทัพพเถระ ๖. พระสีตวนิยเถระ ๗. พระภัลลิยเถระ ๘. พระวีรเถระ ๙. พระปิลินทวัจฉเถระ ๑๐. พระปุณณมาสเถระ.
จบ วรรคที่ ๑.
-----------------------------------------------------
เถรคาถา เอกกนิบาต วรรคที่ ๒
ว่าด้วยสุภาษิต ในเอกกนิบาต วรรคที่ ๒
๑. จูฬวัจจฉเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับความยินดีในธรรม
[๑๔๘] ภิกษุผู้มากไปด้วยความปราโมทย์ในธรรมอันพระพุทธเจ้าทรงประกาศแล้ว พึงบรรลุสันตบทอันเป็นธรรมเข้าไปสงบระงับสังขาร เป็นสุข.
๒. มหาวัจฉเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับไตรสิกขา
[๑๔๙] ภิกษุมีกำลังปัญญา สมบูรณ์ด้วยศีลและวัตร มีจิตตั้งมั่น ยินดีในฌาน มีสติ บริโภคโภชนะตามมีตามได้ มีราคะไปปราศแล้ว พึงหวังได้ ซึ่ง กาลปรินิพพานในศาสนานี้.
๓. วนวัจฉเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับรมณียสถาน
[๑๕๐] ภูเขาทั้งหลายอันล้วนแล้วด้วยหิน มีสีเขียวดังเมฆ ดูรุจิเรกงามดี มี ธารวารีเย็นใสสะอาด ดารดาษไปด้วยแมลงค่อมทอง ภูเขาเหล่า นั้นย่อมทำให้เรารื่นรมย์ใจ.
๔. วนวัจฉสามเณรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการอยู่ป่า
[๑๕๑] พระอุปัชฌาย์ของเราได้กล่าวกะเราว่า ดูกรสีวกะ เราจะไปจากที่นี้ กายของเราอยู่ในบ้าน แต่ใจของเราไปอยู่ในป่า แม้เรานอนอยู่ก็ จักไป ความเกี่ยวข้องด้วยหมู่ ย่อมไม่มีแก่ผู้รู้แจ้งชัด.
๕. กุณฑธานเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการข้ามโอฆะ
[๑๕๒] ภิกษุพึงตัดสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ พึงละสังโยชน์เบื้องบน ๕ พึงเจริญ อินทรีย์ ๕ มีศรัทธาเป็นต้นให้ยิ่งขึ้นไป ภิกษุผู้ก้าวล่วงธรรมเป็น เครื่องข้อง ๕ ประการได้แล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ข้ามโอฆะ ได้แล้ว.
๖. เพลัฏฐสีสเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับวันคืน
[๑๕๓] โคอาชาไนยผู้สามารถเทียมไถแล้ว ย่อมลากไถไปได้โดยไม่ลำบาก ฉันใด เมื่อเราได้ความสุขอันไม่เจือด้วยอามิส คืนและวันทั้งหลาย ย่อมผ่านพ้นเราไปโดยยาก ฉันนั้น.
๗. ทาสกเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับความเกียจคร้าน
[๑๕๔] เมื่อใด บุคคลเป็นผู้ง่วงเหงาและกินมากมักนอนหลับกลิ้งเกลือกไปมา เมื่อนั้นเขาเป็นคนเขลา ย่อมเข้าห้องบ่อยๆ เหมือนสุกรใหญ่ที่เขา ปรนปรือด้วยเหยื่อ ฉะนั้น.
๘. สิงคาลปิตาเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับพุทธทายาท
[๑๕๕] ภิกษุผู้อยู่ในป่าเภสกฬาวัน พิจารณาแผ่นดินนี้ด้วยความสำคัญว่า กระดูกทั้งสิ้นเป็นอารมณ์จักได้เป็นทายาทของพระพุทธเจ้า เราเข้าใจว่า จะละกามราคะได้โดยเร็วพลัน.
๙. กุฬเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับหน้าที่บัณฑิต
[๑๕๖] พวกคนไขน้ำก็ไขน้ำไป ช่างศรก็ดัดลูกศร พวกช่างถากก็ถากไม้ พวกบัณฑิตผู้มีวัตรอันงาม ก็ฝึกฝนตน.
๑๐. อชิตเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับความตาย
[๑๕๗] เราไม่มีความกลัวตาย ไม่มีความอาลัยในชีวิต จักเป็นผู้มีสติสัมป- ชัญญะ ละทิ้งกายนี้ไป.
-----------------------------------------------------
ในวรรคนี้รวมพระเถระได้ ๑๐ องค์ คือ
๑. พระจูฬวัจฉเถระ ๒. พระมหาวัจฉเถระ ๓. พระวนวัจฉเถระ ๔. พระสีวกเถระ ๕. พระกุณฑธานเถระ ๖. พระเพลัฏฐสีสเถระ ๗. พระทาสกเถระ ๘. พระสิงคาลปิตาเถระ ๙. พระกุฬเถระ ๑๐. พระอชิตเถระ.
จบ ทุติยวรรค.
-----------------------------------------------------
เถรคาถา เอกกนิบาต วรรคที่ ๓
ว่าด้วยคาถาสุภาษิต ในเอกกนิบาต วรรคที่ ๓
๑. นิโครธเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับทางดำเนินชีวิต
[๑๕๘] เราไม่กลัวภัย พระศาสดาของเราทั้งหลายเป็นผู้ฉลาดในธรรมอันไม่ตาย ภัยย่อมไม่ตั้งอยู่ในหนทางใด ภิกษุทั้งหลายย่อมไปโดยหนทางนั้น.
๒. จิตตกเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับผู้เจริญฌาน
[๑๕๙] นางนกยูงทั้งหลายมีขนเขียว ขนคองาม หงอนงาม พากันร่ำร้อง อยู่ในป่าการวี นางนกยูงเหล่านั้นพากันร่ำร้องในเวลามีลมหนาวเจือ ด้วยฝน ย่อมปลุกบุคคลผู้เจริญฌานซึ่งหลับอยู่ให้ตื่น.
๓. โคสาลเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการเจริญวิเวก
[๑๖๐] เราฉันข้าวมธุปายาสที่พุ่มกอไผ่แล้ว พิจารณาความเกิดและความเสื่อม ไปแห่งขันธ์ทั้งหลายโดยความเคารพ จักกลับไปสู่สานุบรรพตที่เรา เคยอยู่มาแล้ว เจริญวิเวกต่อไป.
๔. สุคันธเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสอน
[๑๖๑] ภิกษุบวชมายังไม่ทันครบพรรษา ได้เห็นธรรมเป็นธรรมดีงาม บรรลุ วิชชา ๓ ได้ทำคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว.
๕. นันทิยเถรคาถา
สุภาษิตเตือนมาร
[๑๖๒] จิตของภิกษุใดได้บรรลุผลญาณ สว่างรุ่งเรืองอยู่เป็นนิตย์ ท่านมา เบียดเบียนภิกษุนั้นเข้า จักได้รับทุกข์แน่นอน นะมาร.
๖. อภัยเถรคาถา
สุภาษิตสรรเสริญพุทธภาษิต
[๑๖๓] เราได้ฟังพระวาจาอันเป็นสุภาษิตของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่ง พระอาทิตย์ จึงได้รู้แจ้งแทงตลอดซึ่งธรรมอันละเอียด เหมือน บุคคลยิงปลายขนทรายด้วยลูกศร ฉะนั้น.
๗. โลมสกังคิยเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับวิเวก
[๑๖๔] เราจักเอาอุระแหวกป่าหญ้าแพรก หญ้าคา หญ้าดอกเลา แฝก หญ้าปล้อง หญ้ามุงกระต่าย พอกพูนวิเวก.
๘. ชัมพุคามิกปุตตเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับศีล
[๑๖๕] ท่านเป็นผู้ขวนขวายในเรื่องผ้าหรือไม่ ยินดีในเครื่องประดับหรือไม่ ท่านทำกลิ่นอันสำเร็จด้วยศีลฟุ้งไปใช่ไหม? หมู่ชนนอกนี้ ไม่อาจ ทำกลิ่นให้สำเร็จด้วยศีลฟุ้งไปได้.
๙. หาริตเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการปรับตัว
[๑๖๖] แน่ะท่านหาริตะ ท่านจงยกตนของท่านขึ้นจากความเกียจคร้าน เหมือนช่างศรยกลูกศรขึ้นดัด ฉะนั้น ท่านจงทำจิตให้ตรงแล้ว ทำลายอวิชชาเสีย.
๑๐. อุตติยเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับความไม่ประมาท
[๑๖๗] เมื่ออาพาธบังเกิดขึ้นแก่เรา สติก็เกิดขึ้นแก่เราว่า อาพาธเกิดขึ้นแก่ เราแล้ว เวลานี้เป็นเวลาที่เราไม่ควรประมาท.
-----------------------------------------------------
ในวรรคนี้รวมพระเถระได้ ๑๐ องค์ คือ
๑. พระนิโครธเถระ ๒. พระจิตตกเถระ ๓. พระโคสาลเถระ ๔. พระสุคันธเถระ ๕. พระนันทิยเถระ ๖. พระอภัยเถระ ๗. พระโลมสกังคิยเถระ ๘. พระชัมพุคามิกปุตตเถระ ๙. พระหาริตเถระ ๑๐. พระอุตติยเถระ.
จบ ตติยวรรคที่ ๓.
-----------------------------------------------------
เถรคาถา เอกกนิบาต วรรคที่ ๔
ว่าด้วยคาถาสุภาษิต ในเอกกนิบาต วรรคที่ ๔
๑. คหุรตีริยเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับความอดทน
[๑๖๘] บุคคลถูกยุงและเหลือบกัดแล้วในป่าใหญ่ พึงเป็นผู้มีสติอดทนต่อสัมผัส แห่งยุงและเหลือบในป่าใหญ่นั้น เหมือนช้างอดทนต่อการถูกอาวุธใน สงคราม ฉะนั้น.
๒. สุปปิยเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับความเพียร
[๑๖๙] บุคคลผู้มีความเพียร ถึงจะแก่ แต่เผากิเลสให้เร่าร้อน พึงบรรลุ นิพพานอันไม่รู้จักแก่ ไม่มีอามิส เป็นธรรมสงบอย่างยิ่ง เกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม.
๓. โสปากเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับเมตตา
[๑๗๐] บุคคลพึงมีเมตตาในคนเดียวผู้เป็นที่รัก ฉันใด ภิกษุพึงมีเมตตาในสัตว์ ทั้งปวงในที่ทุกสถาน ฉันนั้น.
๔. โปสิยเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการออกบวช
[๑๗๑] หญิงเหล่านี้ดีแต่เมื่อยังไม่เข้าไปใกล้ เมื่อเข้าไปใกล้ นำความ ฉิบหายมาให้เป็นนิตย์ทีเดียว เราเดินออกจากป่ามาสู่บ้าน เข้าไปสู่ เรือนแห่งญาติแล้ว ไม่ได้อำลาใครๆ ออกจากเรือนนั้นหนีมาแล้ว.
๕. สามัญญกานิเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับเกียรติยศ
[๑๗๒] บุคคลผู้ต้องการความสุข เมื่อประพฤติให้สมควรแก่ความสุขนั้น ย่อมได้ความสุข ผู้ใดเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นทางตรง เพื่อมรรลุอมตธรรม ผู้นั้นย่อมได้ความสรรเสริญและเจริญ ด้วยยศ.
๖. กุมาปุตตเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับความดี
[๑๗๓] การฟัง เป็นความดี ความประพฤติมักน้อย เป็นความดี การอยู่โดย ไม่มีห่วงใยเป็นความดีทุกเมื่อ การถามสิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นความดี การทำตามโอวาทโดยเคารพ เป็นความดี กิจมีการฟังเป็นต้นนี้ เป็นเครื่องสงบของผู้ไม่มีกังวล.
๗. กุมาปุตตเถรสหายกเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับความเจริญฌาน
[๑๗๔] ภิกษุทั้งหลายไม่สำรวมกาย วาจา ใจ พากันเที่ยวไปสู่ชนบท ต่างๆ ทอดทิ้งสมาธิ การเที่ยวไปสู่แคว้นต่างๆ จักสำเร็จ ประโยชน์อะไรเล่า เพราะฉะนั้น ภิกษุพึงกำจัดความแข่งดี อย่าให้ มิจฉาวิตกและกิเลสมีตัณหาเป็นต้นครอบงำ พึงเจริญฌาน.
๘. ควัมปติเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการพ้นกิเลส
[๑๗๕] เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พากันนอบน้อมพระควัมปติ ผู้ห้ามแม่ น้ำสรภูให้หยุดไหลได้ด้วยฤทธิ์ ไม่ติดอยู่ในกิเลสและตัณหาไรๆ ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งอะไรทั้งสิ้น เป็นผู้ผ่านพ้นเครื่องข้องทั้งปวง เป็น มหามุนี ผู้ถึงฝั่งแห่งภพ.
๙. ติสสเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับสติ
[๑๗๖] บุรุษถูกแทงด้วยหอก หรือถูกไฟไหม้ที่กระหม่อม แล้วรีบรักษา ฉันใด ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติเว้นรอบ เพื่อละความกำหนัดยินดีใน กาม ฉันนั้น.
๑๐. วัฑฒมานเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับสติ
[๑๗๗] บุรุษที่ถูกแทงด้วยหอก หรือถูกไฟไหม้ที่กระหม่อม แล้วรีบรักษา ฉันใด ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติเว้นรอบ เพื่อละความกำหนัดยินดีในภพ ฉันนั้น.
-----------------------------------------------------
ในวรรคนี้รวมพระเถระได้ ๑๐ องค์ คือ
๑. พระคหุรตีริยเถระ ๒. พระสุปปิยเถระ ๓. พระโสปากเถระ ๔. พระโปสิยเถระ ๕. พระสามัญญกานิเถระ ๖. พระกุมาปุตตเถระ ๗. พระกุมาปุตตเถรสหายกเถระ ๘. พระควัมปติเถระ ๙. พระติสสเถระ ๑๐. พระวัฑฒมานเถร.
จบ วรรคที่ ๔.
-----------------------------------------------------
เถรคาถา เอกกนิบาต วรรคที่ ๕
ว่าด้วยคาถาสุภาษิต ในเอกกนีบาต วรรคที่ ๕
๑. สิริวัฑฒเถรคาถา
[๑๗๘] สายฟ้าแลบส่องลอดเข้าไปตามช่องแห่งภูเขาเวภาระ และภูเขาปัณฑวะ ฉันใด ภิกษุผู้เป็นบุตรแห่งพระพุทธเจ้าผู้คงที่ ไม่มีผู้เปรียบ ปาน อยู่ในช่องแห่งภูเขาเจริญฌานอยู่ ฉันนั้น.
๒. ขทิรวนิยเถรคาถา
[๑๗๙] ดูกรสามเณรีหลา อุปหลา สีสุปหลา ท่านทั้งสามเป็นผู้มีสติ เฉพาะหน้าอยู่หรือ พระสารีบุตรผู้เป็นลุงของพวกท่าน มีปัญญา ว่องไว หยั่งรู้เหตุผลได้โดยถูกต้องแม่นยำ เปรียบดังนายขมังธนู ผู้ชำนาญยิงปลายขนทรายมาแล้ว.
๓. สุมังคลเถรคาถา
[๑๘๐] เราพ้นดีแล้วๆ เราเป็นผู้พ้นดีแล้วจากความค่อมทั้ง ๓ คือ เราพ้น แล้วจากการเกี่ยวข้าว จากการไถนา จากการถางหญ้า ถึงแม้ว่า กิจมีการเกี่ยวหญ้าเป็นต้น จะอยู่ในที่ใกล้ๆ เรานี้เอง แต่ก็ไม่สม ควรแก่เราทั้งนั้น ท่านจงเจริญฌานไปเถิดสุมังคละ จงเจริญฌานไปเถิด สุมังคละ ท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่เถิดสุมังคละ.
๔. สานุเถรคาถา
[๑๘๑] คุณโยมจ๋า ชนทั้งหลายเขาพากันร้องไห้ถึงคนที่ตายแล้ว ร้องไห้ ถึงคนที่ยังเป็นอยู่ แต่หายหน้าจากไป ส่วนฉันยังมีชีวิตอยู่ ทั้งปรากฏตัวอยู่ เหตุไรคุณโยมจึงมาร้องไห้ถึงฉันเล่า?
๕. รมนียวิหารีเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับความพลาดพลั้ง
[๑๘๒] โคอาชาไนยผู้สมบูรณ์พลาดล้มแล้ว ย่อมกลับลุกขึ้นตั้งตัวได้ ฉันใด ท่านทั้งหลายจงจำเราไว้ว่า เป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้สมบูรณ์ด้วยทัสสนะ ฉันนั้นเถิด.
๖. สมิทธิเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับความไม่กลัวมาร
[๑๘๓] เราออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา มีสติและปัญญาอันเจริญ มี จิตตั้งมั่นดีแล้ว ดูกรมาร ถึงท่านจักบันดาลรูปต่างๆ ที่น่ากลัว ให้เกิดขึ้น แต่ก็ไม่สามารถทำให้เราสะดุ้งกลัวได้เลย.
๗. อุชชยเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการพึ่งพระพุทธเจ้า
[๑๘๔] ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้แกล้วกล้า ข้าพระองค์ขอนอบน้อมแด่พระองค์ พระองค์เป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากสิ่งทั้งปวง เมื่อข้าพระองค์อยู่ในพระ บัญชาของพระองค์ จึงเป็นผู้ไม่มีอาสวะ อยู่เป็นสุขสำราญ.
๘. สัญชยเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการบวช
[๑๘๕] ตั้งแต่เราออกบวชเป็นบรรพชิต เราไม่รู้สึกถึงความดำริอันไม่ประ- เสริฐประกอบด้วยโทษเลย.
๙. รามเณยยกเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับพลังจิต
[๑๘๖] ดูกรมาร บุคคลบางจำพวก ย่อมสะดุ้งกลัวเพราะเสียงคำรามของ ท่าน และเสียงร้องคำรามแห่งเทวดา แต่จิตของเราไม่หวั่นไหว เพราะเสียงเหล่านั้น เพราะจิตของเรายินดีในความเป็นผู้เดียว.
๑๐. วิมลเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับสมาธิจิต
[๑๘๗] แผ่นดินชุ่มชื่นด้วยน้ำฝน ลมก็พัด สายฟ้าก็แลบไปในท้องฟ้า วิตกทั้งหลายย่อมสงบไป จิตของเราตั้งมั่นแล้วเป็นอันดี.
-----------------------------------------------------
ในวรรคนี้รวมพระเถระได้ ๑๐ องค์ คือ
๑. พระสิริวัฑฒเถระ ๒. พระขทิรวนิยเรวตเถระ ๓. พระสุมังคลเถระ ๔. พระสานุเถระ ๕. พระรมณียวิหารีเถระ ๖. พระสมิทธิเถระ ๗. พระอุชชยเถระ ๘. พระสัญชยเถระ ๙. พระรามเณยยกเถระ ๑๐. พระวิมลเถระ.
จบวรรคที่ ๕.
-----------------------------------------------------
เถรคาถา เอกกนิบาต วรรคที่ ๖
ว่าด้วยคาถาสุภาษิต ในเอกกนิบาต วรรคที่ ๖
๑. โคธิกเถรคาถา
[๑๘๘] ฝนตกลงมา มีเสียงไพเราะดังเสียงเพลงขับ กุฎีของเรามุงดีแล้ว มีประตู หน้าต่างมิดชิดดี จิตของเราก็ตั้งมั่นดีแล้ว ถ้าท่านปรารถนาจะตก ก็เชิญ ตกลงมาเถิดฝน.
๒. สุพาหุเถรคาถา
[๑๘๙] ฝนตกลงมา มีเสียงไพเราะดังเสียงเพลงขับ กุฎีของเรามุงดีแล้ว มีประตู หน้าต่างมิดชิดดี จิตของเราก็ตั้งมั่นดีแล้ว ถ้าท่านปรารถนาจะตก ก็เชิญ ตกลงมาเถิดฝน.
๓. วัลลิยเถรคาถา
[๑๙๐] ฝนตกลงมา มีเสียงไพเราะดังเสียงเพลงขับ กุฎีของเรามุงดีแล้ว มีประตู หน้าต่างมิดชิดดี เราเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่ในกุฎีนั้น ถ้าท่านปรารถนาจะตก ก็เชิญตกลงมาเถิดฝน.
๔. อุตติยเถรคาถา
[๑๙๑] ฝนตกลงมา มีเสียงไพเราะดังเสียงเพลงขับ กุฎีของเรามุงดีแล้ว มีประตู หน้าต่างมิดชิดดี เราผู้เดียวไม่มีเพื่อนอยู่ในกุฎีนั้น ถ้าท่านปรารถนาจะ ตก ก็เชิญตกลงมาเถิดฝน.
๕. อัญชนาวนิยเถรคาถา
[๑๙๒] เราเข้าไปสู่ป่าอัญชนาวัน ทำตั่งให้เป็นกุฎีแล้วได้บรรลุวิชชา ๓ เราได้ กระทำคำสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว.
๖. กุฏิวิหารีเถรคาถา
[๑๙๓] ใครนั่งอยู่ในกุฎี ภิกษุผู้ปราศจากราคะ มีจิตตั้งมั่น อยู่ในกุฎี ขอท่าน จงรู้อย่างนี้เถิดอาวุโส กุฎีที่ท่านทำไว้แล้ว ไม่ไร้ประโยชน์เลย.
๗. กุฏิวิหารีเถรคาถา
[๑๙๔] กุฎีนี้เป็นกุฎีเก่า ท่านปรารถนากุฎีใหม่ ก็จงละความหวังในกุฎีใหม่เสีย ดูกรภิกษุ กุฎีใหม่นำทุกข์มาให้.
๘. รมณียกุฏิกเถรคาถา
[๑๙๕] กุฎีของเราน่ารื่นรมย์บันเทิงใจ เป็นกุฎีที่ทายกให้ด้วยศรัทธา ดูกรนารี ทั้งหลาย เราไม่ต้องการด้วยกุมารีทั้งหลาย ชนเหล่าใดมีความต้องการ เธอทั้งหลายก็จงไปในสำนักของชนเหล่านั้นเถิด.
๙. โกสัลลวิหารีเถรคาถา
[๑๙๖] เราบวชแล้วด้วยศรัทธา เราทำกุฎีไว้ในป่า เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีความ เพียร มีสติสัมปชัญญะ.
๑๐. สีวลีเถรคาถา
[๑๙๗] เราเข้าไปสู่กุฎีเพื่อประโยชน์อันใด เมื่อเราแสวงหาวิชชาและวิมุตติ ได้ ถอนขึ้นซึ่งมานานุสัย ความดำริของเราเหล่านั้นสำเร็จแล้ว.
-----------------------------------------------------
ในวรรคนี้ รวมพระเถระได้ ๑๐ องค์ คือ
๑. พระโคธิกเถระ ๒. พระสุพาหุเถระ ๓. พระวัลลิยเถระ ๔. พระอุตติยเถระ ๕. พระอัญชนาวนิยเถระ ๖. พระกุฏิวิหารีเถระ ๗. พระกุฏิวิหารีเถระ ๘. พระรมณียกุฏิกเถระ ๙. พระโกสัลลวิหารีเถระ ๑๐. พระสีวลีเถระ.
จบ วรรคที่ ๖.
-----------------------------------------------------
เถรคาถา เอกกนิบาต วรรคที่ ๗
ว่าด้วยคาถาสุภาษิต ในเอกกนิบาต วรรคที่ ๗
๑. วัปปเถรคาถา
สุภาษิตว่าด้วยการเห็นและไม่เห็นอันธพาล
[๑๙๘] บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทัสสนะ ย่อมเห็นคนอันธพาลผู้เห็นอยู่ด้วย ย่อมเห็น คนอันธพาลผู้ไม่เห็นอยู่ด้วย ส่วนคนอันธพาลผู้ไม่สมบูรณ์ด้วยทัสสนะ ย่อมไม่เห็นคนอันธพาลผู้ไม่เห็นและคนอันธพาลผู้เห็น.
๒. วัชชีปุตตกเถรถาคา
สุภาษิตเกี่ยวกับการอยู่ป่า
[๑๙๙] เราอยู่ในป่าแต่ผู้เดียว เหมือนท่อนไม้ที่เขาทิ้งไว้ในป่า ชนเป็นอันมาก พากันรักใคร่ต่อเรา เหมือนสัตว์นรกพากันรักใคร่ต่อบุคคลผู้ไปสู่สวรรค์ ฉะนั้น.
๓. ปักขเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับสังสารวัฏ
[๒๐๐] เหยี่ยวทั้งหลายย่อมโฉบลง ชิ้นเนื้อหลุดจากปากของเหยี่ยวตัวหนึ่ง ตกลงพื้นดิน และเหยี่ยวอีกพวกหนึ่งมาคาบเอาไว้อีก ฉันใด สัตว์ ทั้งหลายผู้หมุนเวียนไปในสงสารก็ฉันนั้น จุติจากกุศลธรรมแล้วไปตก ในนรกเป็นต้น ความสุขย่อมติดตามเราผู้สำเร็จกิจแล้ว ผู้ยินดีต่อนิพพาน ด้วยความสุข.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๑-๕๓๔๘ หน้าที่ ๑-๒๒๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=26&A=1&Z=5348&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=26&item=1&items=474              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=26&item=1&items=474&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=26&item=1&items=474              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=26&item=1&items=474              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_26 https://84000.org/tipitaka/english/?index_26

แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]