ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
เถรคาถา ติงสนิบาต
๑. ปุสสเถรคาถา
คาถาสุภาษิตของพระปุสสเถระ
[๓๙๕] ฤาษีมีชื่อตามโคตรว่า ปัณฑรสะ ได้เห็นภิกษุเป็นอันมาก ที่น่าเลื่อมใส มีตนอันอบรมแล้ว สำรวมด้วยดี จึงได้ถามพระปุสสเถระว่า ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จักมีความพอใจอย่างไร มีความประสงค์อย่างไร กระผมถามแล้วขอจงบอกความข้อนั้นแก่กระผมเถิด? พระปุสสเถระจึงกล่าวตอบด้วยคาถาเหล่านี้ ความว่า ดูกรปัณฑรสฤาษี ขอเชิญฟังคำของอาตมา จงจำคำของอาตมาให้ดี อาตมาจะบอกซึ่งข้อความที่ท่านถามถึงอนาคต คือในกาลข้างหน้า ภิกษุ เป็นอันมากจักเป็นคนมักโกรธ มักผูกโกรธไว้ ลบหลู่คุณท่าน หัวดื้อ โอ้อวด ริษยา มีวาทะต่างๆ กัน จักเป็นผู้มีมานะในธรรมที่ยังไม่รู้ทั่วถึง คิดว่าตื้นในธรรมที่ลึกซึ้ง เป็นคนเบา ไม่เคารพธรรม ไม่มีความเคารพ กันและกัน ในกาลข้างหน้า โทษเป็นอันมากจักเกิดขึ้นในหมู่สัตวโลก ก็เพราะภิกษุทั้งหลายผู้ไร้ปัญญา จักทำธรรมที่พระศาสดาทรงแสดงแล้วนี้ ให้เศร้าหมอง ทั้งพวกภิกษุที่มีคุณอันเลว โวหารจัด แกล้วกล้า มี กำลังมาก ปากกล้า ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน ก็จักมีขึ้นในสังฆมณฑล ภิกษุทั้งหลายในสังฆมณฑล แม้ที่มีคุณความดี มีโวหารโดยสมควรแก่ เนื้อความ มีความละอายบาป ไม่ต้องการอะไรๆ ก็จักมีกำลังน้อย ภิกษุทั้งหลายในอนาคตที่ทรามปัญญา ก็จะพากันยินดีเงินทอง ไร่นา ที่ดิน แพะ แกะ และคนใช้หญิงชาย จักเป็นคนโง่มุ่งแต่จะยกโทษ ผู้อื่น ไม่ดำรงมั่นอยู่ในศีล ถือตัว โหดร้าย เที่ยวยินดีแก่การทะเลาะ วิวาท จักมีใจฟุ้งซ่าน นุ่งห่มแต่จีวรที่ย้อมสีเขียวแดง เป็นคนลวงโลก กระด้าง เป็นผู้แส่หาแต่ลาภผล เที่ยวชูเขา คือมานะ ทำตนดั่งพระ อริยเจ้าท่องเที่ยวไปอยู่ เป็นผู้แต่งผมด้วยน้ำมัน ทำให้มีเส้นละเอียด เหลาะแหละ ให้ยาหยอดและทาตา มีร่างกายคลุมด้วยจีวรที่ย้อมด้วยสี งา สัญจรไปตามตรอกน้อยใหญ่ จักพากันเกลียดชังผ้าอันย้อมด้วยน้ำ ฝาดเป็นของไม่น่าเกลียด พระอริยเจ้าทั้งหลายผู้หลุดพ้นแล้วยินดียิ่งนัก เป็นธงชัยของพระอรหันต์ พอใจแต่ในผ้าขาวๆ จักเป็นผู้มุ่งแต่ลาภผล เป็นคนเกียจคร้าน มีความเพียรเลวทราม เห็นการอยู่ป่าอันสงัดเป็น ความลำบาก จักใคร่อยู่ในเสนาสนะที่ใกล้บ้าน ภิกษุเหล่าใดยินดีมิจฉา- ชีพ จักได้ลาภเสมอๆ จักพากันประพฤติตามภิกษุเหล่านั้น (เที่ยวคบหา ราชสกุลเป็นต้นเพื่อให้เกิดลาภแก่ตน) ไม่สำรวมอินทรีย์ เที่ยวไป อนึ่ง ในอนาคตกาล ภิกษุทั้งหลายจะไม่บูชาพวกภิกษุที่มีลาภน้อย จัก ไม่สมคบภิกษุที่เป็นนักปราชญ์มีศีลเป็นที่รัก จักทรงผ้าสีแดง ที่ชนชาว มิลักขะชอบย้อมใช้ พากันติเตียนผ้าอันเป็นธงชัยของตนเสีย บางพวก ก็นุ่งห่มผ้าสีขาวอันเป็นธงของพวกเดียรถีย์ อนึ่ง ในอนาคตกาล ภิกษุ เหล่านั้นจักไม่เคารพในผ้ากาสาวะ จักไม่พิจารณาในอุบายอันแยบคาย บริโภคผ้ากาสาวะ เมื่อทุกข์ครอบงำ ถูกลูกศรแทงเข้าแล้ว ก็ไม่ พิจารณาโดยแยบคาย แสดงอาการยุ่งยากในใจออกมา มีแต่เสียงโอด ครวญอย่างใหญ่หลวง เปรียบเหมือนช้างฉัททันต์ ได้เห็นผ้ากาสาวะ อันเป็นธงชัยของพระอรหันต์ ที่นายโสณุตระพราน นุ่งห่มไปในคราว นั้น ก็ไม่กล้าทำร้าย ได้กล่าวคาถาอันประกอบด้วยประโยชน์มากมาย ว่า ผู้ใดยังมีกิเลสดุจน้ำฝาด ปราศจากทมะและสัจจะจักนุ่งผ้ากาสาวะ ผู้นั้นย่อมไม่ควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ส่วนผู้ใดคายกิเลสดุจน้ำฝาดออกแล้ว ตั้งมั่นอยู่ในศีลอย่างมั่นคง ประกอบด้วยทมะและสัจจะ ผู้นั้นจึงสมควรจะ นุ่งห่มผ้ากาสาวะโดยแท้ ผู้ใดมีศีลวิบัติ มีปัญญาทราม ไม่สำรวมอินทรีย์ กระทำตามความใคร่อย่างเดียว มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่ขวนขวายในทางที่ควร ผู้นั้นไม่สมควรจะนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ส่วนผู้ใดสมบูรณ์ด้วยศีล ปราศจาก ราคะ มีใจตั้งมั่น มีความดำริในใจผ่องใส ผู้นั้นสมควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะ โดยแท้ ผู้ใดไม่มีศีล ผู้นั้นเป็นคนพาล มีจิตใจฟุ้งซ่าน มีมานะฟูขึ้นเหมือน ไม้อ้อ ย่อมสมควรจะนุ่งห่มแต่ผ้าขาวเท่านั้น จักควรนุ่งผ้าห่มผ้ากาสาวะ อย่างไร อนึ่ง ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายในอนาคต จักเป็นผู้มีจิตใจชั่ว ร้าย ไม่เอื้อเฟื้อ จักข่มขี่ภิกษุทั้งหลายผู้คงที่ มีเมตตาจิต แม้ภิกษุ ทั้งหลายที่เป็นคนโง่เขลา มีปัญญาทราม ไม่สำรวมอินทรีย์ กระทำ ตามความใคร่ ถึงพระเถระให้ศึกษาการใช้สอยผ้าจีวร ก็จักไม่เชื่อฟัง พวกภิกษุที่โง่เขลาเหล่านั้น อันพระเถระทั้งหลายให้การศึกษาแล้วเหมือน อย่างนั้น จักไม่เคารพกันและกัน ไม่เอื้อเฟื้อในพระอุปัชฌายาจารย์ จักเป็นเหมือนม้าพิการไม่เอื้อเฟื้อนายสารถี ฉะนั้น ในกาลภายหลังแต่ ตติยสังคายนา ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลาย ในอนาคต จักปฏิบัติอย่างนี้. ครั้นพระปุสสเถระแสดงมหาภัยอันจะบังเกิดขึ้น ในกาลภายหลังอย่างนี้แล้ว เมื่อจะ ให้โอวาทภิกษุที่ประชุมกัน ณ ที่นั้นอีก จึงได้กล่าวคาถา ๓ คาถา ความว่า ภัยอย่างใหญ่หลวงที่จะทำอันตรายต่อข้อปฏิบัติ ย่อมมาในอนาคตอย่างนี้ ก่อน ขอท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้ว่าง่าย จงพูดแต่ถ้อยคำที่สละสลวย มีความเคารพกันและกัน มีจิตเมตตากรุณาต่อกัน จงสำรวมในศีล ปรารภความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวบากบั่นอย่างมั่นเป็นนิตย์ ขอท่าน ทั้งหลายจงเห็นความประมาท โดยความเป็นภัย และจงเห็นความไม่ ประมาทโดยความเป็นของปลอดภัย แล้วจงอบรมอัฏฐังคิกมรรค เมื่อ ทำได้ดังนี้แล้ว ย่อมจะบรรลุนิพพานอันเป็นทางไม่เกิดไม่ตาย.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๗๙๘๐-๘๐๔๘ หน้าที่ ๓๔๔-๓๔๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=26&A=7980&Z=8048&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=26&item=395&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=26&item=395&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=26&item=395&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=26&item=395&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=395              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_26 https://84000.org/tipitaka/english/?index_26

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]