ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
             [๑๑๔๖] 	พระเจ้าแผ่นดินทรงรู้ว่า เรากำลังกริ้วจัดไม่พึงลงอาชญา อันไม่สมควร
                          แก่ตนโดยไม่ใช่ฐานะก่อน พึงเพิกถอนความทุกข์ของผู้อื่นอย่างร้ายแรง
                          ไว้.
             [๑๑๔๗] 	เมื่อใด พึงรู้ว่าจิตของตนผ่องใส พึงใคร่ครวญ ความผิดที่ผู้อื่นทำไว้
                          พึงพิจารณาให้เห็นแจ่มแจ้งด้วยตนเองว่า นี่ส่วนประโยชน์ นี่ส่วนโทษ
                          เมื่อนั้น จึงปรับไหมบุคคลนั้นๆ ตามสมควร.
             [๑๑๔๘] 	อนึ่ง พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใด ไม่ถูกอคติครอบงำ ย่อมแนะนำผู้อื่น
                          ที่ควรแนะนำ และไม่ควรแนะนำได้ พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้นชื่อว่า
                          ไม่เผาผู้อื่น และพระองค์เอง พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใดในโลกนี้
                          ทรงลงอาชญาสมควรแก่โทษ พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้น อันคุณงาม
                          ความดีคุ้มครองแล้ว ย่อมไม่เสื่อมจากศิริ.
             [๑๑๔๙] 	กษัตริย์เหล่าใดถูกอคติครอบงำ ไม่ทรงพิจารณาเสียก่อนแล้วทำไป ทรง
                          ลงอาชญาโดยผลุนผลัน กษัตริย์เหล่านั้นประกอบไปด้วยโทษน่าติเตียน
                          ย่อมละทิ้งชีวิตไป และพ้นไปจากโลกนี้แล้ว ก็ย่อมไปสู่ทุคติ.
             [๑๑๕๐] 	พระราชาเหล่าใด ทรงยินดีแล้วในทศพิธราชธรรม อันพระอริยเจ้าประกาศ
                          ไว้ พระราชาเหล่านั้นเป็นผู้ประเสริฐด้วยกาย วาจา และใจ พระราชา
                          เหล่านั้นทรงดำรงมั่นอยู่แล้วในขันติ โสรัจจะ และสมาธิ ย่อมถึงโลก
                          ทั้งสองโดยวิธีอย่างนั้น.
             [๑๑๕๑] 	เราเป็นพระราชาผู้เป็นใหญ่ของสัตว์และมนุษย์ทั้งหลาย ถ้าเราโกรธ
                          ขึ้นมา เราก็ตั้งตนไว้ในแบบอย่างที่โบราณราชแต่งตั้งไว้ คอยห้ามปราม
                          ประชาชนอยู่อย่างนั้น ลงอาชญาโดยอุบายอันแยบคายด้วยความเอ็นดู.
             [๑๑๕๒] 	ข้าแต่กษัตริย์ผู้ชนาธิปัติ บริวารสมบัติและปัญญามิได้ละพระองค์ในกาล
                          ไหนๆ เลย พระองค์มิได้มักกริ้วโกรธ มีพระหฤทัยผ่องใสอยู่เป็นนิจ
                          ขอพระองค์ทรงปราศจากทุกข์ บำรุงพระชนม์ชีพยืนอยู่ตลอดร้อยพรรษา
                          เถิด.
             [๑๑๕๓] 	ข้าแต่กษัตริย์ ขอพระองค์ทรงประกอบด้วยคุณธรรมเหล่านี้ คือ โบราณ
                          ราชวัตร มั่นคงทรงอนุญาตให้หนูเตือนได้ ไม่ทรงกริ้วโกรธมีความสุข
                          สำราญ ไม่เดือดร้อน ปกครองแผ่นดินให้ร่มเย็น แม้จุติจากโลกนี้ไปแล้ว
                          ก็จงทรงถึงสุคติเถิด.
             [๑๑๕๔] 	พระเจ้าธรรมิกราชทรงฉลาดในอุบาย เมื่อครองราชสมบัติด้วยอุบายอัน
                          เป็นธรรม คือ กุศลกรรมบถ ๑๐ อันบัณฑิตแนะนำกล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้
                          พึงยังมหาชนผู้กำเริบร้อนกายและจิตให้ดับหายไป เหมือนมหาเมฆยัง
                          แผ่นดินให้ชุ่มชื่นด้วยน้ำ ฉะนั้น.
จบ สุมังคลชาดกที่ ๔.
๕. คังคมาลชาดก
กามทั้งหลายเกิดจากความดำริ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๔๘๗๖-๔๙๑๑ หน้าที่ ๒๒๗-๒๒๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=4876&Z=4911&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=27&item=1146&items=9&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=27&item=1146&items=9              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=27&item=1146&items=9&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=27&item=1146&items=9&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1146              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_27 https://84000.org/tipitaka/english/?index_27

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]