ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
             [๑๓๔๒] 	ผู้ใด ไม่ทำความโกรธในบุคคลผู้ควรโกรธ ผู้นั้นเป็นสัตบุรุษ ย่อมไม่
                          โกรธ ณ ในกาลไหนๆ บุคคลนั้นแม้จะโกรธ ก็ไม่ทำความโกรธให้
                          ปรากฏ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวบุคคลนั้นแล ว่าเป็นสมณะในโลก.
             [๑๓๔๓] 	นรชนใดมีท้องพร่อง ย่อมทนความหิวได้ นรชนนั้นเป็นผู้ฝึกตน
                          แล้ว มีตบะ มีข้าวและน้ำพอประมาณ ย่อมไม่ทำบาปเพราะเหตุแห่ง
                          อาหาร นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวนรชนนั้นแล ว่าเป็นสมณะในโลก.
             [๑๓๔๔] 	บุคคลละการเล่นและความยินดีทั้งปวงได้เด็ดขาด ไม่กล่าวคำเหลาะแหละ
                          นิดหน่อยในโลก เว้นจากการแต่งเนื้อแต่งตัว และเว้นจากเมถุนธรรม
                          นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวบุคคลนั้นแล ว่าเป็นสมณะในโลก.
             [๑๓๔๕] 	บุคคลใด ละสิ่งที่เขาหวงแหน และโลภธรรมทั้งปวงเสีย ด้วยปัญญา
                          เครื่องกำหนดรู้ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวบุคคลนั้นแล ผู้ฝึกตนแล้ว
                          มีจิตตั้งมั่น ไม่มีตัณหา ไม่มีความหวังว่า เป็นสมณะในโลก.
             [๑๓๔๖] 	ดูกรท่านผู้มีปัญญาสามารถจะรู้เหตุและมิใช่เหตุที่ควรทำ เราขอถามท่าน
                          ความทุ่มเถียงกันในถ้อยคำทั้งหลาย บังเกิดมีแก่เราทั้งหลาย ขอท่าน
                          โปรดช่วยตัดเสียซึ่งความสงสัยความเคลือบแคลงในวันนี้ ขอได้โปรด
                          ช่วยเราทั้งหมดให้ข้ามพ้นความสงสัยนั้นในวันนี้?
             [๑๓๔๗] 	บัณฑิตเหล่าใดเป็นผู้สามารถเห็นเนื้อความ บัณฑิตเหล่านั้นจึงจะกล่าวได้
                          โดยแยบคายในกาลนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้จอมประชานิกร ท่านผู้ฉลาด
                          ทั้งหลาย จะพึงวินิจฉัยเนื้อความแห่งถ้อยคำทั้งหลาย ที่ยังไม่ได้กล่าว
                          แล้วได้อย่างไรหนอ?
             [๑๓๔๘] 	พญานาคกล่าวอย่างไร พญาครุฑกล่าวอย่างไร ท้าวสักกะผู้เป็นพระราชา
                          ของคนธรรพ์ตรัสอย่างไร และพระราชาผู้ประเสริฐของชาวกุรุรัฐตรัส
                          อย่างไร?
             [๑๓๔๙] 	พญานาคกล่าวสรรเสริญขันติ พญาครุฑกล่าวยกย่องการไม่ประหาร ท้าว
                          สักกะผู้เป็นพระราชาของคนธรรพ์ตรัสชมการละความยินดี พระราชา
                          ผู้ประเสริฐของชาวกุรุรัฐ ตรัสสรรเสริญความไม่กังวล.
             [๑๓๕๐] 	คำเหล่านี้ทั้งหมดเป็นสุภาษิต ในถ้อยคำของท่านทั้ง ๔ นี้ ไม่มีคำทุพภาษิต
                          แม้นิดหน่อยเลย คุณทั้ง ๔ มีขันติเป็นต้นนี้ ตั้งมั่นอยู่ในผู้ใด ก็เปรียบ
                          ได้กับกำรถ หยั่งเข้าเป็นอันดีที่ดุมรถ ฉะนั้น นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าว
                          บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยธรรม ๔ ประการนั้นแล ว่าเป็นสมณะในโลก.
             [๑๓๕๑] 	ท่านนั้นแลเป็นผู้ประเสริฐ ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นผู้ถึงธรรม รู้แจ้งธรรม
                          มีปัญญาดี พิจารณาปัญหาด้วยปัญญา เป็นนักปราชญ์ ตัดความสงสัย
                          ความเคลือบแคลงทั้งหลายเสีย ได้ตัดความสงสัยความเคลือบแคลง
                          ทั้งหลายสำเร็จแล้ว ดุจนายช่างงาตัดงาช้างด้วยเครื่องมืออันคมฉะนั้น
             [๑๓๕๒] 	ดูกรท่านผู้เป็นปราชญ์ ข้าพเจ้าพอใจด้วยการพยากรณ์ปัญหาของท่าน จึง
                          ขอให้ผ้าผืนนี้ซึ่งมีสีสดใสดุจสีอุบลเขียว ไม่หม่นหมองหาค่ามิได้ มีสี
                          เสมอด้วยควันไฟ เพื่อเป็นธรรมบูชาแก่ท่าน.
             [๑๓๕๓] 	ดูกรท่านผู้เป็นปราชญ์ ข้าพเจ้าพอใจด้วยการพยากรณ์ปัญหาของท่าน จึง
                          ขอให้ดอกไม้ทองมีกลีบตั้งร้อยอันแย้มบาน มีเกสร ประดับด้วยรัตนะ
                          จำนวนพัน เพื่อเป็นธรรมบูชาแก่ท่าน.
             [๑๓๕๔] 	ดูกรท่านผู้เป็นปราชญ์ ข้าพเจ้าพอใจด้วยการพยากรณ์ปัญหาของท่าน จึง
                          ขอให้แก้วมณีอันหาค่ามิได้ งามผ่องใส คล้องอยู่ที่คอ เป็นแก้วมณี
                          เครื่องประดับคอของข้าพเจ้า เพื่อเป็นธรรมบูชาแก่ท่าน.
             [๑๓๕๕] 	ดูกรท่านผู้เป็นปราชญ์ ข้าพเจ้าพอใจด้วยการพยากรณ์ปัญหาของท่าน จึง
                          ขอให้โคนม โคผู้ และช้าง อย่างละพัน รถเทียมด้วยม้าอาชาไนย ๑๐
                          คัน และบ้านส่วย ๑๖ ตำบลแก่ท่าน.
             [๑๓๕๖] 	พญานาคในกาลนั้น เป็นพระสารีบุตร พญาครุฑเป็นพระโมคคัลลานะ
                          ท้าวสักกเทวราชเป็นพระอนุรุทธะ พระเจ้าโกรัพยะเป็นพระอานนท์
                          บัณฑิต วิธูรบัณฑิตเป็นพระโพธิสัตว์นั่นเอง ขอท่านทั้งหลายจงจำ
                          ชาดกไว้อย่างนี้.
จบ จตุโปสถชาดกที่ ๓.
๔. สังขชาดก
ว่าด้วยอานิสงส์ถวายรองเท้า

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๕๕๒๖-๕๕๗๘ หน้าที่ ๒๕๔-๒๕๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=5526&Z=5578&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=27&item=1342&items=15&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=27&item=1342&items=15              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=27&item=1342&items=15&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=27&item=1342&items=15&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1342              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_27 https://84000.org/tipitaka/english/?index_27

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]