ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๒. ผันทนชาดก
การผูกเวรของหมีและไม้ตะคร้อ
[๑๗๓๘] ท่านเป็นบุรุษถือขวานมาสู่ป่า ยืนอยู่ ดูกรสหาย เราถามท่าน ท่าน จงบอกแก่เรา ท่านต้องการจะตัดไม้หรือ. [๑๗๓๙] เจ้าเป็นหมี เที่ยวอยู่ทั่วไปทั้งที่ทึบ และที่โปร่ง ดูกรสหาย เราถามเจ้า ขอเจ้าจงบอกแก่เรา ไม้อะไรที่จะทำเป็นกงรถได้มั่นคงดี? [๑๗๔๐] ไม้รังก็ไม่มั่นคง ไม้ตะเคียนก็ไม่มั่นคง ไม้หูกวางจะมั่นคงที่ไหนเล่า แต่ว่า ต้นไม้ชื่อว่าต้นตะคร้อนั่นแหละ ทำเป็นกงรถมั่นคงดีนัก. [๑๗๔๑] ต้นตะคร้อนั้นใบเป็นอย่างไร อนึ่ง ลำต้นเป็นอย่างไร ดูกรสหาย เรา ถามเจ้า ขอเจ้าจงบอกแก่เรา เราจะรู้จักไม้ตะคร้อได้อย่างไร? [๑๗๔๒] กิ่งทั้งหลายแห่งต้นไม้ใด ย่อมห้อยลงด้วย ย่อมน้อมลงด้วย แต่ไม่หัก ต้นไม้นั้นชื่อว่าต้นตะคร้อ ที่เรายืนอยู่ใกล้โคนต้นนี่. [๑๗๔๓] ต้นไม้นี้แหละชื่อว่าต้นตะคร้อ เป็นต้นไม้ควรแก่การงานของท่านทุก อย่าง คือ ควรแก่กำ ล้อ ดุม งอน และกงรถ. [๑๗๔๔] เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นตะคร้อได้กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภารทวาชะ แม้ถ้อยคำ ของเรามีอยู่ เชิญท่านฟังถ้อยคำของเราบ้าง. [๑๗๔๕] ท่านจงลอกหนังประมาณ ๔ นิ้ว จากคอแห่งหมีตัวนี้ แล้วจงเอาหนัง หุ้มกงรถ เมื่อทำได้อย่างนั้น กงรถของท่านก็จะพึงเป็นของมั่นคง. [๑๗๔๖] เทวดาผู้สิงอยู่ต้นตะคร้อ จองเวรได้สำเร็จ นำความทุกข์มาให้แก่หมี ทั้งหลาย ที่เกิดแล้ว และยังไม่เกิด ด้วยประการฉะนี้. [๑๗๔๗] ไม้ตะคร้อฆ่าหมี และหมีก็ฆ่าไม้ตะคร้อ ต่างก็ฆ่ากันและกัน ด้วยการ วิวาทกัน ด้วยประการฉะนี้. [๑๗๔๘] ในหมู่มนุษย์ ความวิวาทเกิดขึ้น ณ ที่ใด มนุษย์ทั้งหลายในที่นั้น ย่อม ฟ้อนรำดังนกยูงรำแพนหาง เหมือนหมีและไม้ตะคร้อ ฉะนั้น. [๑๗๔๙] เพราะเหตุนั้น อาตมภาพขอถวายพระพรแก่บพิตรทั้งหลาย ขอความ เจริญจงมีแก่บพิตรทั้งหลาย เท่าที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้ ขอบพิตร ทั้งหลายจงร่วมบันเทิงใจ อย่าวิวาทกัน อย่าเป็นดังหมีและไม้ตะคร้อเลย. [๑๗๕๐] ขอบพิตรทั้งหลายจงศึกษาความสามัคคี ความสามัคคีนั้นแหละ พระ- พุทธเจ้าทั้งหลายทรงสรรเสริญแล้ว บุคคลผู้ยินดีในสามัคคีธรรม ตั้งอยู่ ในธรรม ย่อมไม่คลาดจากธรรม อันเป็นแดนเกษมจากโยคะ.
จบ ผันทนชาดกที่ ๒.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๖๘๐๙-๖๘๓๙ หน้าที่ ๓๐๗-๓๐๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=6809&Z=6839&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=27&item=1738&items=13              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=27&item=1738&items=13&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=27&item=1738&items=13              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=27&item=1738&items=13              ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1738              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_27 https://84000.org/tipitaka/english/?index_27

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]