ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๑๒. ปัญจปัณฑิตชาดก
ว่าด้วยความลับไม่ควรเปิดเผย
[๒๒๒๘] ท่านทั้งหลายผู้เป็นบัณฑิตทั้ง ๕ คน มาพร้อมกันแล้ว ปัญหาย่อม แจ่มแจ้งแก่เรา ท่านทั้งหลายจงฟังปัญหานั้น บุคคลควรเปิดเผยข้อความ ที่ควรติเตียน หรือควรสรรเสริญ อันเป็นความลับ แก่ใคร? [๒๒๒๙] ข้าแต่พระจอมภูมิบาล พระองค์จงตรัสเปิดเผยก่อน พระองค์เป็นผู้ ชุบเลี้ยงพวกข้าพระองค์ ทรงอดทนต่อกรณียกิจอันหนัก เชิญตรัสก่อน ข้าแต่จอมประชาชน ข้าพระองค์ผู้เป็นนักปราชญ์ทั้ง ๕ คน จักพิจารณา สิ่งที่พอพระทัย และเหตุที่ชอบพระทัยของพระองค์ แล้วจักกราบทูล ในภายหลัง. [๒๒๓๐] สามีควรเปิดเผยข้อความที่ควรติเตียน หรือควรสรรเสริญ อันเป็นเนื้อ ความลับ แก่ภรรยาผู้มีศีล ไม่ยอมให้บุรุษอื่นลักสัมผัส คล้อยตามอำนาจ ความพอใจของสามี เป็นที่รักที่พอใจของสามี. [๒๒๓๑] บุคคลควรเปิดเผยข้อความที่ควรติเตียน หรือควรสรรเสริญ อันเป็นเนื้อ ความลับ แก่สหายผู้เป็นที่ระลึก เป็นคติ และเป็นที่พึ่งของสหาย ผู้ ได้รับความทุกข์ลำบากได้. [๒๒๓๒] บุคคลควรเปิดเผยข้อความที่ควรติเตียน หรือควรสรรเสริญ อันเป็นเนื้อ ความลับ แก่พี่น้องซึ่งเป็นพี่ใหญ่ พี่กลาง หรือน้อง ถ้าเขาตั้งใจอยู่ ในศีล มีจิตตั้งมั่น. [๒๒๓๓] บิดาควรเปิดเผยข้อความที่ควรติเตียน หรือควรสรรเสริญ อันเป็น เนื้อความลับ แก่บุตรผู้ดำเนินไปตามใจของบิดา เป็นอนุชาตบุตรมี ปัญญาไม่ทรามกว่าบิดา. [๒๒๓๔] ข้าแต่พระจอมประชาราษฎร์ ผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์นิกร บุตรควรเปิด เผยข้อความที่ควรติเตียน หรือควรสรรเสริญ อันเป็นเนื้อความลับ แก่ มารดาผู้เลี้ยงดูบุตรด้วยความพอใจ รักใคร่. [๒๒๓๕] การปกปิดความลับเอาไว้นั่นแหละเป็นความดี การเปิดเผยความลับ บัณฑิตไม่สรรเสริญเลย นักปราชญ์พึงอดกลั้น ในเมื่อประโยชน์ยัง ไม่สำเร็จ เมื่อประโยชน์สำเร็จแล้วพึงกล่าวตามสบาย. [๒๒๓๖] ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐ พระองค์ทรงมีพระมนัสวิปริตไปอย่างไรหรือ ข้าแต่พระจอมประชากร เกล้ากระหม่อมฉัน ขอฟังพระดำรัสของ พระองค์ พระองค์ทรงดำริอย่างไรหรือ จึงทรงโทมนัส ข้าแต่สมมติเทพ ความผิดของเกล้ากระหม่อมฉันไม่มีเลยหรือ? [๒๒๓๗] มโหสถจะถูกฆ่าเพราะปัญหา เพราะมโหสถผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน ฉันสั่ง ให้ฆ่าแล้ว ฉันคิดถึงเรื่องนั้นจึงโทมนัส ดูกรพระเทวี ความผิดของ เธอไม่มีเลย? [๒๒๓๘] เจ้าไปตั้งหัวค่ำมาเอาจนบัดนี้ ใจของเจ้ารังเกียจเพราะได้ฟังอะไรหรือ ดูกรเจ้าผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน ใครได้พูดอะไรแก่เจ้า เราจะขอฟังคำของ เจ้า เชิญเจ้าบอกแก่เรา? [๒๒๓๙] มโหสถจะถูกฆ่าเพราะปัญหา ข้าแต่พระจอมประชานิกร ในกาลใด พระองค์เสด็จอยู่ในที่ลับ ได้ตรัสความลับกับพระอัครมเหสี เมื่อหัวค่ำ ความลับของพระองค์นั้นได้เปิดเผยแล้ว ข้าพระบาทได้ฟังแล้ว ในกาลนั้น. [๒๒๔๐] เสนกบัณฑิตได้ทำกรรมอันลามก อันไม่ใช่กรรมของสัตบุรุษในสวน ไม้รัง อยู่ในที่ลับแล้วได้บอกเรื่องนั้นแก่สหายคนหนึ่ง กรรมอันลามก นั้นเป็นความลับ อันเสนกบัณฑิตได้เปิดเผยแล้ว ข้าพระบาทได้ฟังแล้ว. [๒๒๔๑] ข้าแต่พระจอมประชานิกร โรคเรื้อนเกิดขึ้นแก่ปุกกุสบุรุษของพระองค์ เป็นโรคที่ไม่สมควรจะใกล้ชิดพระราชา ปุกกุสะอยู่ในที่ลับ ได้แจ้ง เรื่องนี้แก่น้องชาย ความลับอันนั้นอันปุกกุสะเปิดเผยแล้ว ข้าพระบาท ได้ฟังแล้ว. [๒๒๔๒] กามินท์นี้เป็นคนอาพาธ ลามก ถูกยักษ์ชื่อนรเทพสิงแล้ว อยู่ในที่ลับได้ แจ้งเรื่องนี้แก่บุตร ความลับนั้นอันกามินท์ได้เปิดเผยแล้ว ข้าพระบาท ได้ฟังแล้ว. [๒๒๔๓] ท้าวสักกเทวราชได้ประทานมณีรัตน์อันโอฬารมีคด ๘ คด แก่พระอัยกา ของพระองค์เดี๋ยวนี้ มณีรัตน์นั้นได้ตกถึงมือของเทวินท์แล้ว ก็เทวินท์ อยู่ในที่ลับ ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่มารดา ความลับนั้นอันเทวินท์ได้เปิดเผย แล้ว ข้าพระบาทได้ฟังแล้ว. [๒๒๔๔] การปกปิด ความลับเอาไว้นั่นแหละ เป็นความดี การเปิดเผยความลับ บัณฑิตไม่สรรเสริญเลย นักปราชญ์พึงอดกลั้นไว้ในเมื่อประโยชน์ยังไม่ สำเร็จ เมื่อประโยชน์สำเร็จแล้วพึงกล่าวตามสบาย. ไม่ควรเปิดเผย ความลับเลย ควรรักษาความลับนั้นไว้ เหมือนรักษาขุมทรัพย์ ฉะนั้น ความลับอันบุคคลผู้รู้แจ่มแจ้งไม่เปิดเผยได้นั่นแหละเป็นความดี. บัณฑิต ไม่ควรบอกความลับแก่สตรี และแก่คนที่ไม่ใช่มิตร กับอย่าบอกความ ในใจแก่คนที่ถูกอามิสลากไป และแก่คนที่ไม่ใช่มิตร บัณฑิตย่อมอดทน คำด่า คำบริภาษ และการประหารของคนผู้รู้ความลับ ซึ่งคนอื่นไม่รู้ เพราะกลัวจะขยายความลับที่คิดไว้ เหมือนคนที่เป็นทาส อดทนต่อคำด่า ว่าเป็นต้นของนาย ฉะนั้น. ชนทั้งหลายรู้ความลับที่ปรึกษากันของคนๆ หนึ่ง เพียงใด ความสะดุ้งหวาดกลัวของคนนั้น ย่อมเกิดขึ้น เพียงนั้น. เพราะเหตุนั้น จึงไม่ควรเปิดเผยความลับเลย บุคคลจะพูดความลับใน เวลากลางวัน ควรหาโอกาสที่เงียบสงัด เมื่อจะพูดความลับในเวลาค่ำ คืน อย่าปล่อยเสียงให้เกินขอบเขต เพราะว่า คนแอบฟังจะได้ยิน ความลับที่ปรึกษากัน เพราะฉะนั้น ความลับที่ปรึกษากัน ก็จะพลันถึง ความแพร่งพรายทันที.
จบ ปัญจปัณฑิตชาดกที่ ๑๒.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๘๙๑๕-๘๙๘๖ หน้าที่ ๓๙๑-๓๙๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=8915&Z=8986&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=27&item=2228&items=17              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=27&item=2228&items=17&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=27&item=2228&items=17              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=27&item=2228&items=17              ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=2228              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_27 https://84000.org/tipitaka/english/?index_27

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]