ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
             [๒๒๖๑] 	สัตว์ถือปฏิสนธิกลางคืนก็ตาม ย่อมอยู่ในครรภ์มารดาก่อน สัตว์นั้น
                          ย่อมเกิดขึ้นเพราะกำลังลม ย่อมไปสู่ความเป็นกลละเป็นต้น ย่อมไม่
                          กลับมาสู่ความเป็นกลละเป็นต้นอีก.
             [๒๒๖๒] 	นรชนผู้ประกอบด้วยกำลังกาย หรือกำลังทหารก็ตาม จะสู้รบกับชราและ
                          มรณะแล้วไม่แก่ ไม่ตาย ไม่มีเลย เพราะว่า ชีวิตของสัตว์นี้ทั้งมวล ถูก
                          ความเกิดและความแก่เบียดเบียน เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิด
                          ว่า จะบวชประพฤติธรรม.
             [๒๒๖๓] 	พระราชาผู้เป็นอธิบดีแห่งรัฐทั้งหลาย ย่อมจะข่มขี่หมู่เสนาประกอบด้วย
                          องค์ ๔ อันน่าสะพรึงกลัว เอาชัยชนะได้ แต่ไม่สามารถจะชนะเสนาแห่ง
                          มัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติ
                          ธรรม.
             [๒๒๖๔] 	พระราชาบางจำพวกแวดล้อมด้วยพลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า
                          ย่อมพ้นจากเงื้อมมือของข้าศึก แต่ก็ไม่อาจจะพ้นจากสำนักของมัจจุราช
                          ได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
             [๒๒๖๕] 	พระราชาทั้งหลายผู้กล้าหาญ ย่อมหักราญพระนครแห่งราชศัตรูให้
                          ย่อยยับได้ และกำจัดมหาชนได้ ด้วยพลช้าง พลม้า พลรถ และพล
                          เดินเท้า แต่ไม่สามารถจะหักราญเสนาแห่งมัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น
                          ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม
             [๒๒๖๖] 	คชสารทั้งหลายเชือกตกมัน มีมันไหลเยิ้มแตกซาบซ่าน ย่อมย่ำยีนคร
                          ทั้งหลาย และเข่นฆ่าประชาชนได้ แต่ไม่สามารถจะย่ำยีเสนาแห่ง
                          มัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
             [๒๒๖๗] 	นายขมังธนูทั้งหลาย แม้มีมืออันได้ฝึกฝนมาดีแล้ว สามารถยิงธนูได้ไกล
                          และยิงไม่พลาด ก็ไม่สามารถจะยิงต่อต้านมัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น
                          ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
             [๒๒๖๘] 	สระทั้งหลาย และมหาปฐพีกับทั้งภูเขาราวป่า ย่อมเสื่อมสิ้นไป สังขาร
                          ทั้งปวงนั้น จะตั้งอยู่นานสักเท่าไร ก็ย่อมเสื่อมสิ้นไป เพราะสังขาร
                          ทั้งปวงนั้น ครั้นถึงการกำหนดแล้วย่อมจะแตกทำลายไป เพราะเหตุ
                          นั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
             [๒๒๖๙] 	แท้จริง ชีวิตของสัตว์ทั้งมวล ทั้งเป็นสตรีและบุรุษในโลกนี้ เป็นของ
                          หวั่นไหว เหมือนแผ่นผ้าของนักเลงสุรา และต้นไม้เกิดใกล้ฝั่ง เป็นของ
                          หวั่นไหว ไม่ยั่งยืนฉะนั้น เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวช
                          ประพฤติธรรม.
             [๒๒๗๐] 	ผลไม้ที่สุกแล้วย่อมหล่นร่วง ฉันใด สัตว์ทั้งหลาย ทั้งหนุ่มทั้งแก่ ทั้ง
                          ปานกลาง ทั้งหญิง ทั้งชาย ย่อมเป็นผู้มีสรีระทำลายหล่นไป ฉันนั้น
                          เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
             [๒๒๗๑] 	พระจันทร์ ผู้เป็นราชาแห่งดวงดาวเป็นฉันใด วัยนี้หาเป็นฉันนั้นไม่
                          เพราะส่วนใดล่วงลงไปแล้ว ส่วนนั้นก็เป็นอันล่วงไปแล้ว ในบัดนี้
                          แม้ความยินดีในกามคุณของคนแก่ย่อมไม่มี ความสุขจะมีมาแต่ไหน
                          เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
             [๒๒๗๒] 	ยักษ์ก็ดี ปีศาจก็ดี หรือเปรตก็ดี โกรธเคืองแล้วย่อมเข้าสิงมนุษย์ได้
                          แต่ไม่สามารถจะเข้าสิงมัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิด
                          ว่า จะบวชประพฤติธรรม.
             [๒๒๗๓] 	มนุษย์ทั้งหลายย่อมกระทำการบวงสรวงยักษ์ ปีศาจ หรือเปรตทั้งหลาย
                          ผู้โกรธเคืองแล้วได้ แต่ไม่สามารถจะบวงสรวงแก่มัจจุราชได้ เพราะ
                          เหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
             [๒๒๗๔] 	พระราชาทรงรู้โทษแล้ว ย่อมลงอาชญากะบุคคลผู้กระทำความผิด ผู้
                          ประทุษร้ายต่อราชสมบัติ และผู้เบียดเบียนประชาชน ตามสมควร แต่
                          ไม่สามารถจะลงอาชญามัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึง
                          คิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
             [๒๒๗๕] 	ชนทั้งหลายผู้กระทำความผิดก็ดี ผู้ประทุษร้ายราชสมบัติก็ดี ผู้เบียดเบียน
                          ประชาชนก็ดี ย่อมจะยังพระราชาให้ทรงพระกรุณาได้ แต่หาทำให้
                          มัจจุราชกรุณาได้ไม่ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวช
                          ประพฤติธรรม.
             [๒๒๗๖] 	มัจจุราชมิได้มีความอาลัยใยดีว่า ผู้นี้เป็นกษัตริย์ ผู้นี้เป็นพราหมณ์
                          ผู้นี้มั่งคั่ง ผู้นี้มีกำลัง ผู้นี้มีเดชานุภาพ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า
                          จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
             [๒๒๗๗] 	ราชสีห์ก็ดี เสือโคร่งก็ดี เสือเหลืองก็ดี ย่อมข่มขี่เคี้ยวกินสัตว์ผู้ดิ้นรน
                          อยู่ได้ แต่ไม่สามารถจะเคี้ยวกินมัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า
                          จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
             [๒๒๗๘] 	นักเล่นกลทั้งหลาย เมื่อกระทำกลมายา ณ ท่ามกลางสนาม ย่อมลวง
                          นัยน์ตาของประชาชนในที่นั้นๆ ให้หลงเชื่อได้ แต่ไม่สามารถจะลวง
                          มัจจุราชให้หลงเชื่อได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวช
                          ประพฤติธรรม.
             [๒๒๗๙] 	อสรพิษที่มีพิษร้าย โกรธขึ้นมาแล้วย่อมขบกัดมนุษย์ให้ถึงตายได้ แต่
                          ไม่สามารถจะขบกัดมัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า
                          จะบวชประพฤติธรรม.
             [๒๒๘๐] 	อสรพิษโกรธขึ้นแล้วขบกัดผู้ใด หมอทั้งหลาย ย่อมถอนพิษที่ผู้นั้นได้
                          แต่จะถอนพิษ ของผู้ถูกมัจจุราชประทุษร้ายหาไม่ได้ เพราะเหตุนั้น
                          ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
             [๒๒๘๑] 	แพทย์ผู้มีชื่อเสียงเหล่านี้ คือ แพทย์ธรรมมนตรี แพทย์เวตตรุณ
                          แพทย์โภชะ กำจัดพิษพระยานาคได้ แต่แพทย์เหล่านั้นต้องทำ
                          กาลกิริยานอนตาย เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวช
                          ประพฤติธรรม.
             [๒๒๘๒] 	พวกวิชาธร เมื่อร่ายวิชาชื่อโฆระ ย่อมหายตัวไปได้ด้วยโอสถทั้งหลาย
                          แต่จะหายตัวไม่ให้มัจจุราชเห็นไม่ได้เลย เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า
                          จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
             [๒๒๘๓] 	ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้ว ย่อม
                          นำความสุขมาให้ นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ผู้มีปกติ
                          ประพฤติธรรม ย่อมไม่ไปสู่ทุคติ.
             [๒๒๘๔] 	สภาพทั้ง ๒ คือ ธรรมและอธรรม มีวิบากไม่เสมอกัน อธรรมย่อมนำ
                          ไปสู่นรก ธรรมย่อมให้ถึงสุคติ.
จบ อโยฆรชาดกที่ ๑๔.
-----------------------------------------------------
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. มาตังคชาดก ๒. จิตตสัมภูตชาดก ๓. สีวิราชชาดก ๔. ศิริมันทชาดก
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้
๕. โรหนมิคชาดก ๖. หังสชาดก ๗. สัตติคุมพชาดก ๘. ภัลลาติยชาดก ๙. โสมนัสสชาดก ๑๐. จัมเปยยชาดก ๑๑. มหาโลภนชาดก ๑๒. ปัญจปัณฑิตชาดก ๑๓. หัตถิปาลชาดก ๑๔. อโยฆรชาดก.
จบ วีสตินิบาตชาดก.
-----------------------------------------------------
ติงสตินิบาตชาดก
๑. กิงฉันทชาดก
ว่าด้วยโทษที่ฉกฉวยเอาประโยชน์ของคนอื่น

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๙๐๖๙-๙๑๖๕ หน้าที่ ๓๙๗-๔๐๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=9069&Z=9165&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=27&item=2261&items=24&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=27&item=2261&items=24              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=27&item=2261&items=24&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=27&item=2261&items=24&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=2261              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_27 https://84000.org/tipitaka/english/?index_27

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]