ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
             [๒๒๖๑] 	สัตว์ถือปฏิสนธิกลางคืนก็ตาม ย่อมอยู่ในครรภ์มารดาก่อน สัตว์นั้น
                          ย่อมเกิดขึ้นเพราะกำลังลม ย่อมไปสู่ความเป็นกลละเป็นต้น ย่อมไม่
                          กลับมาสู่ความเป็นกลละเป็นต้นอีก.
             [๒๒๖๒] 	นรชนผู้ประกอบด้วยกำลังกาย หรือกำลังทหารก็ตาม จะสู้รบกับชราและ
                          มรณะแล้วไม่แก่ ไม่ตาย ไม่มีเลย เพราะว่า ชีวิตของสัตว์นี้ทั้งมวล ถูก
                          ความเกิดและความแก่เบียดเบียน เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิด
                          ว่า จะบวชประพฤติธรรม.
             [๒๒๖๓] 	พระราชาผู้เป็นอธิบดีแห่งรัฐทั้งหลาย ย่อมจะข่มขี่หมู่เสนาประกอบด้วย
                          องค์ ๔ อันน่าสะพรึงกลัว เอาชัยชนะได้ แต่ไม่สามารถจะชนะเสนาแห่ง

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๙๘.

มัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติ ธรรม. [๒๒๖๔] พระราชาบางจำพวกแวดล้อมด้วยพลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า ย่อมพ้นจากเงื้อมมือของข้าศึก แต่ก็ไม่อาจจะพ้นจากสำนักของมัจจุราช ได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม. [๒๒๖๕] พระราชาทั้งหลายผู้กล้าหาญ ย่อมหักราญพระนครแห่งราชศัตรูให้ ย่อยยับได้ และกำจัดมหาชนได้ ด้วยพลช้าง พลม้า พลรถ และพล เดินเท้า แต่ไม่สามารถจะหักราญเสนาแห่งมัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม [๒๒๖๖] คชสารทั้งหลายเชือกตกมัน มีมันไหลเยิ้มแตกซาบซ่าน ย่อมย่ำยีนคร ทั้งหลาย และเข่นฆ่าประชาชนได้ แต่ไม่สามารถจะย่ำยีเสนาแห่ง มัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม. [๒๒๖๗] นายขมังธนูทั้งหลาย แม้มีมืออันได้ฝึกฝนมาดีแล้ว สามารถยิงธนูได้ไกล และยิงไม่พลาด ก็ไม่สามารถจะยิงต่อต้านมัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม. [๒๒๖๘] สระทั้งหลาย และมหาปฐพีกับทั้งภูเขาราวป่า ย่อมเสื่อมสิ้นไป สังขาร ทั้งปวงนั้น จะตั้งอยู่นานสักเท่าไร ก็ย่อมเสื่อมสิ้นไป เพราะสังขาร ทั้งปวงนั้น ครั้นถึงการกำหนดแล้วย่อมจะแตกทำลายไป เพราะเหตุ นั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม. [๒๒๖๙] แท้จริง ชีวิตของสัตว์ทั้งมวล ทั้งเป็นสตรีและบุรุษในโลกนี้ เป็นของ หวั่นไหว เหมือนแผ่นผ้าของนักเลงสุรา และต้นไม้เกิดใกล้ฝั่ง เป็นของ หวั่นไหว ไม่ยั่งยืนฉะนั้น เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวช ประพฤติธรรม. [๒๒๗๐] ผลไม้ที่สุกแล้วย่อมหล่นร่วง ฉันใด สัตว์ทั้งหลาย ทั้งหนุ่มทั้งแก่ ทั้ง ปานกลาง ทั้งหญิง ทั้งชาย ย่อมเป็นผู้มีสรีระทำลายหล่นไป ฉันนั้น เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๙๙.

[๒๒๗๑] พระจันทร์ ผู้เป็นราชาแห่งดวงดาวเป็นฉันใด วัยนี้หาเป็นฉันนั้นไม่ เพราะส่วนใดล่วงลงไปแล้ว ส่วนนั้นก็เป็นอันล่วงไปแล้ว ในบัดนี้ แม้ความยินดีในกามคุณของคนแก่ย่อมไม่มี ความสุขจะมีมาแต่ไหน เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม. [๒๒๗๒] ยักษ์ก็ดี ปีศาจก็ดี หรือเปรตก็ดี โกรธเคืองแล้วย่อมเข้าสิงมนุษย์ได้ แต่ไม่สามารถจะเข้าสิงมัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิด ว่า จะบวชประพฤติธรรม. [๒๒๗๓] มนุษย์ทั้งหลายย่อมกระทำการบวงสรวงยักษ์ ปีศาจ หรือเปรตทั้งหลาย ผู้โกรธเคืองแล้วได้ แต่ไม่สามารถจะบวงสรวงแก่มัจจุราชได้ เพราะ เหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม. [๒๒๗๔] พระราชาทรงรู้โทษแล้ว ย่อมลงอาชญากะบุคคลผู้กระทำความผิด ผู้ ประทุษร้ายต่อราชสมบัติ และผู้เบียดเบียนประชาชน ตามสมควร แต่ ไม่สามารถจะลงอาชญามัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึง คิดว่า จะบวชประพฤติธรรม. [๒๒๗๕] ชนทั้งหลายผู้กระทำความผิดก็ดี ผู้ประทุษร้ายราชสมบัติก็ดี ผู้เบียดเบียน ประชาชนก็ดี ย่อมจะยังพระราชาให้ทรงพระกรุณาได้ แต่หาทำให้ มัจจุราชกรุณาได้ไม่ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวช ประพฤติธรรม. [๒๒๗๖] มัจจุราชมิได้มีความอาลัยใยดีว่า ผู้นี้เป็นกษัตริย์ ผู้นี้เป็นพราหมณ์ ผู้นี้มั่งคั่ง ผู้นี้มีกำลัง ผู้นี้มีเดชานุภาพ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม. [๒๒๗๗] ราชสีห์ก็ดี เสือโคร่งก็ดี เสือเหลืองก็ดี ย่อมข่มขี่เคี้ยวกินสัตว์ผู้ดิ้นรน อยู่ได้ แต่ไม่สามารถจะเคี้ยวกินมัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม. [๒๒๗๘] นักเล่นกลทั้งหลาย เมื่อกระทำกลมายา ณ ท่ามกลางสนาม ย่อมลวง นัยน์ตาของประชาชนในที่นั้นๆ ให้หลงเชื่อได้ แต่ไม่สามารถจะลวง

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๐๐.

มัจจุราชให้หลงเชื่อได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวช ประพฤติธรรม. [๒๒๗๙] อสรพิษที่มีพิษร้าย โกรธขึ้นมาแล้วย่อมขบกัดมนุษย์ให้ถึงตายได้ แต่ ไม่สามารถจะขบกัดมัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม. [๒๒๘๐] อสรพิษโกรธขึ้นแล้วขบกัดผู้ใด หมอทั้งหลาย ย่อมถอนพิษที่ผู้นั้นได้ แต่จะถอนพิษ ของผู้ถูกมัจจุราชประทุษร้ายหาไม่ได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม. [๒๒๘๑] แพทย์ผู้มีชื่อเสียงเหล่านี้ คือ แพทย์ธรรมมนตรี แพทย์เวตตรุณ แพทย์โภชะ กำจัดพิษพระยานาคได้ แต่แพทย์เหล่านั้นต้องทำ กาลกิริยานอนตาย เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวช ประพฤติธรรม. [๒๒๘๒] พวกวิชาธร เมื่อร่ายวิชาชื่อโฆระ ย่อมหายตัวไปได้ด้วยโอสถทั้งหลาย แต่จะหายตัวไม่ให้มัจจุราชเห็นไม่ได้เลย เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม. [๒๒๘๓] ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้ว ย่อม นำความสุขมาให้ นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ผู้มีปกติ ประพฤติธรรม ย่อมไม่ไปสู่ทุคติ. [๒๒๘๔] สภาพทั้ง ๒ คือ ธรรมและอธรรม มีวิบากไม่เสมอกัน อธรรมย่อมนำ ไปสู่นรก ธรรมย่อมให้ถึงสุคติ.
จบ อโยฆรชาดกที่ ๑๔.
-----------------------------------------------------
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. มาตังคชาดก ๒. จิตตสัมภูตชาดก ๓. สีวิราชชาดก ๔. ศิริมันทชาดก

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๐๑.

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้
๕. โรหนมิคชาดก ๖. หังสชาดก ๗. สัตติคุมพชาดก ๘. ภัลลาติยชาดก ๙. โสมนัสสชาดก ๑๐. จัมเปยยชาดก ๑๑. มหาโลภนชาดก ๑๒. ปัญจปัณฑิตชาดก ๑๓. หัตถิปาลชาดก ๑๔. อโยฆรชาดก.
จบ วีสตินิบาตชาดก.
-----------------------------------------------------

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๐๒.

ติงสตินิบาตชาดก
๑. กิงฉันทชาดก
ว่าด้วยโทษที่ฉกฉวยเอาประโยชน์ของคนอื่น

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๙๐๖๙-๙๑๖๕ หน้าที่ ๓๙๗-๔๐๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=9069&Z=9165&pagebreak=1 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=27&item=2261&items=24&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=27&item=2261&items=24&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=27&item=2261&items=24&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=27&item=2261&items=24&pagebreak=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=2261              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_27 https://84000.org/tipitaka/english/?index_27

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]