ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
จัตตาฬีสนิบาตชาดก
๑. เตสกุณชาดก
ว่าด้วยนกตอบปัญหาพระราชา
[๒๔๓๘] เราขอถามเจ้าเวสสันดร ดูกรนก ขอความเจริญจงมีแก่เจ้า กิจอะไรที่ บุคคลผู้ประสงค์เสวยราชสมบัติกระทำแล้ว เป็นกิจประเสริฐ? [๒๔๓๙] นานนักหนอ พระเจ้ากังสราชพระบิดาเรา ผู้ทรงสงเคราะห์ชาวเมือง พาราณสี เป็นผู้ประมาท ได้ตรัสถามเราผู้บุตรซึ่งหาความประมาทมิได้. [๒๔๔๐] ข้าแต่บรมกษัตริย์ ธรรมดาพระราชาควรทรงห้ามมุสาวาท ความโกรธ และความร่าเริงก่อนทีเดียว แต่นั้นพึงรับสั่งให้กระทำกิจทั้งหลาย คำที่ ข้าพระพุทธเจ้ากล่าวมานั้นนักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า เป็นวัตรของพระ- ราชา. ข้าแต่พระบิดา เมื่อก่อนพระองค์ทรงรักใคร่และเกลียดชังแล้ว พึงทรงทำกรรมใดกรรมนั้นที่พระองค์ทำแล้ว พึงยังพระองค์ให้เดือดร้อน โดยไม่ต้องสงสัย แต่นั้นพระองค์ไม่ควรทรงกระทำกรรมนั้นอีก. ข้าแต่ พระองค์ผู้ทรงบำรุงรัฐ เมื่อกษัตริย์ประมาทแล้ว โภคสมบัติทุกอย่าง ในแว่นแคว้นย่อมพินาศ ข้อนั้นนักปราชญ์กล่าวว่าเป็นความทุกข์ของ พระราชา. ข้าแต่พระบิดา เทพธิดาชื่อศิริ และชื่อลักขีถูกสูจิบริวาร เศรษฐีถามได้ตอบว่า ข้าพเจ้าย่อมยินดีในบุรุษผู้มีความขยันหมั่นเพียร ไม่มีความริษยา. ข้าแต่พระมหาราชา คนกาลกรรณีผู้ทำลายจักร ย่อม ยินดีในบุรุษผู้ริษยา ผู้มีใจชั่ว ผู้ประทุษร้ายการงาน. ข้าแต่พระมหา ราชา พระองค์จงทรงเป็นผู้มีพระทัยดีต่อคนทั้งปวง จงทรงพิทักษ์รักษา คนทั้งปวง จงทรงบรรเทาเสียซึ่งคนไม่มีราศรี จงเป็นผู้มีคนที่มีราศรีเป็น ที่พึ่งเถิด. ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่แห่งชนชาวกาสี บุรุษผู้มีราศรี สมบูรณ์ด้วยความเพียร มีอัธยาศัยใหญ่ ย่อมตัดโคน และยอดของศัตรู ทั้งหลายได้. ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่ของประชาชน จริงอยู่ ถึงท้าว สักกะก็ไม่ทรงประมาทในความหมั่นเพียร ท้าวเธอทรงทำความเพียรใน กัลยาณธรรม ทำพระทัยในความหมั่นเพียร. คนธรรพ์ พรหม เทวดา เป็นผู้เป็นอยู่ อาศัยพระราชาเช่นนั้น เมื่อพระราชาทรงอุตสาหะ ไม่ ทรงประมาท เทวดาทั้งหลายย่อมคุ้มครองป้องกัน. ข้าแต่พระบิดา พระองค์จงทรงเป็นผู้ไม่ประมาท ไม่ทรงพระพิโรธแล้ว รับสั่งให้ทำกิจ ทั้งหลาย จงทรงพยายามในกิจทั้งหลาย เพราะคนเกียจคร้าน ย่อมไม่ พบความสุข. ข้อความที่ข้าพระองค์กล่าวแก้แล้วในปัญหาของพระองค์ นั้น ข้อนี้เป็นอนุศาสนี สามารถยังผู้เป็นมิตรให้ถึงความสุข และยัง คนผู้นั้นเป็นศัตรูให้ถึงความทุกข์ได้. [๒๔๔๑] ดูกรนางนกกุณฑลินี ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของนกมีบรรดาศักดิ์ เจ้าสามารถละ หรือ เจ้าจะเข้าใจได้หรือ กิจอะไร เล่าที่ผู้มุ่งจะครอบครองสมบัติกระทำ แล้วเป็นกิจประเสริฐ? [๒๔๔๒] ข้าแต่พระบิดา ประโยชน์ทั้งปวงตั้งมั่นอยู่ในเหตุ ๒ ประการเท่านั้น คือ ความได้ลาภที่ยังไม่ได้ ๑ การตามรักษาลาภที่ได้แล้ว ๑. พระองค์จงทรง ทราบอำมาตย์ทั้งหลายผู้เป็นนักปราชญ์ ฉลาดในประโยชน์ ไม่แพร่ง พรายความลับ ไม่เป็นนักเลงสุรา ไม่ทำให้เสื่อมเสีย. อำมาตย์ผู้ใด พึงรักษาพระราชทรัพย์ของพระองค์ให้มีคงที่อยู่ได้ ดุจนายสารถียึดรถ ไว้ พระองค์ควรทรงใช้อำมาตย์ผู้นั้น ให้กระทำกิจทั้งหลายของพระองค์ พระราชาพึงเป็นผู้มีอันโตชนอันสงเคราะห์ดีแล้ว พึงตรวจตราพระราช- ทรัพย์ด้วยพระองค์เอง ไม่ควรจัดการทรัพย์และการกู้หนี้ โดยทรงไว้ วางพระทัยในคนอื่น. ควรทรงทราบรายได้รายจ่ายด้วยพระองค์เอง ควร ทรงทราบกิจที่ทำแล้วและยังไม่ทำด้วยพระองค์เอง ควรข่มคนที่ควรข่ม ยกย่องคนที่ควรยกย่อง. ข้าแต่พระองค์ผู้จอมพลรถ พระองค์จงทรง พร่ำสอนเหตุผล แก่ชาวชนบทเอง เจ้าหน้าที่ผู้เก็บภาษีอากร ผู้ไม่ ประกอบด้วยธรรม อย่ายังพระราชทรัพย์และรัฐสีมาของพระองค์ให้ พินาศ. อนึ่ง พระองค์อย่าทรงทำเอง หรืออย่าทรงใช้คนอื่นให้ทำกิจ ทั้งหลายโดยฉับพลัน เพราะว่าการงานที่ทำลงไปโดยฉับพลัน ไม่ดีเลย คนเขลาย่อมเดือดร้อนในภายหลัง. พระองค์อย่าทรงล่วงเลยกุศล อย่า ทรงปล่อยพระทัยให้เกรี้ยวกราดนัก เพราะว่าสกุลที่มั่นคงเป็นอันมาก ได้ถึงความไม่เป็นสกุลเพราะความโกรธ. พระองค์อย่าทรงนึกว่าเราเป็น ใหญ่ แล้วยังมหาชนให้หยั่งลงเพื่อความฉิบหาย กำไรคือความทุกข์อย่า ได้มีแก่หญิงและชายของพระองค์เลย. โภคสมบัติทั้งปวงของพระราชา ผู้ปราศจากความหวาดเสียว แส่หากามารมณ์ ย่อมพินาศหมด ข้อนั้น นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่าเป็นความทุกข์ของพระราชา. ข้อความที่หม่อม ฉันกราบทูลในปัญหาของพระองค์นั้น เป็นวัตตบท นี่แหละเป็น อนุศาสนี ข้าแต่พระมหาราชา บัดนี้ พระองค์ยังทรงขยันบำเพ็ญกุศล ไม่ทรงเป็นนักเลง ไม่ทรงทำให้ราชทรัพย์ให้พินาศ จงทรงศีล เพราะว่า คนทุศีลย่อมตกนรก. [๒๔๔๓] พ่อชัมพุกะ พ่อได้ถามปัญหากะเจ้าโกสิยโคตรและเจ้ากุณฑลินีมาเช่น เดียวกันแล้ว บัดนี้ เจ้าจงบอกกำลังอันอุดมกว่ากำลังทั้งหลาย. [๒๔๔๔] กำลังในบุรุษผู้มีอัธยาศัยใหญ่ในโลกนี้มี ๕ ประการ ในกำลัง ๕ ประการ นั้น กำลังแขน บัณฑิตกล่าวว่าเป็นกำลังต่ำทราม ข้าแต่พระองค์ผู้ทรง เจริญพระชนม์ กำลังโภคทรัพย์ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นกำลังที่ ๒. กำลัง อำมาตย์ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นกำลังที่ ๓ กำลังคือมีชาติยิ่งใหญ่เป็น กำลังที่ ๔ โดยแท้ บัณฑิตย่อมยึดเอากำลังทั้งหมดนี้ไว้ได้. กำลังปัญญา บัณฑิตกล่าวว่าเป็นกำลังประเสริฐ ยอดเยี่ยมกว่ากำลังทั้งหลาย เพราะ ว่าบัณฑิตอันกำลังปัญญาสนับสนุนแล้ว ย่อมได้ความเจริญ. ถ้าบุคคลมี ปัญญาทราม แม้ได้แผ่นดินอันสมบูรณ์ เมื่อเขาไม่ปรารถนา คนอื่นผู้ถึง พร้อมด้วยปัญญา ก็ข่มขี่แย่งเอาแผ่นดินนั้นเสีย. ข้าแต่พระจอมแห่งชน ชาวกาสี ถ้าบุคคลแม้เป็นผู้มีชาติสูง ได้ราชสมบัติแล้วเป็นกษัตริย์ แต่ มีปัญญาทราม หาเป็นอยู่ด้วยราชสมบัติทุกอย่างได้ไม่. ปัญญาเป็นเครื่อง วินิจฉัยข้อความที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมา ปัญญาเป็นเครื่องเพิ่มพูนเกียรติคุณ และชื่อเสียง คนในโลกนี้ประกอบด้วยปัญญาแล้ว แม้เมื่อทุกข์เกิดขึ้น ก็ย่อมได้รับสุข. ก็คนบางคนไม่ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่อาศัยผู้เป็นพหูสูต ผู้ตั้ง อยู่ในธรรม ไม่พิจารณาเหตุผล ย่อมไม่ได้บรรลุปัญญาแล อนึ่ง ผู้ใดรู้ จักจำแนกธรรม ลุกขึ้นในเวลาเช้า ไม่เกียจคร้าน ย่อมบากบั่นตามกาล ผลการงานของผู้นั้นย่อมสำเร็จประโยชน์แห่งการงานของบุคคลผู้มีศีล มิใช่บ่อเกิด ผู้คบหาบุคคลที่มิใช่บ่อเกิด (ลาภยศสุข) ผู้มีปกติเบื่อหน่าย ทำการงาน ย่อมไม่เผล็ดผลโดยชอบ. ส่วนประโยชน์แห่งการงานของ บุคคลผู้ประกอบธรรมอันเป็นภายใน คบหาบุคคลที่เป็นบ่อเกิดอย่างนั้น ไม่มีปกติเบื่อหน่ายทำการงาน ย่อมเผล็ดผลโดยชอบ. ข้าแต่พระบิดา ขอพระองค์ทรงเสวนะปัญญา อันเป็นส่วนแห่งการประกอบความเพียร เป็นเครื่องตามรักษาทรัพย์ที่รวบรวมไว้ และเหตุ ๒ ประการข้างต้นที่ ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลแล้วนั้นเถิด อย่าได้ทรงทำลายทรัพย์เสียด้วยการ งานอันไม่สมควร เพราะคนมีปัญญาทราม ย่อมล่มจมด้วยการงานอันไม่ สมควร ดังเรือนไม้อ้อฉะนั้น. [๒๔๔๕] ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรม ในพระราชมารดา พระราชบิดา ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์. ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรมในพระราชโอรสและพระอัครมเหสี ครั้น ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์. ขอพระองค์จงทรง ประพฤติธรรมในมิตรและอำมาตย์ ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์. ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรมในพาหนะและพล นิกาย ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์. ขอพระองค์ จงทรงประพฤติธรรมในชาวบ้านและชาวนิคม ครั้นทรงประพฤติธรรมใน โลกนี้แล้วจัดเสด็จสู่สวรรค์. ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรมในสมณะ และพราหมณ์ทั้งหลาย ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่ สวรรค์. ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรมในเนื้อและนก ครั้นทรงประพฤติ ธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์. ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรม เพราะธรรมที่บุคคลประพฤติแล้ว ย่อมนำความสุขมาให้ ครั้นพระองค์ ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์. ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์ทรงประพฤติธรรม เพราะว่าพระอินทร์ ทวยเทพพร้อมทั้ง พราหมณ์ ถึงทิพยสถานได้ด้วยธรรมอันตนประพฤติดีแล้ว ข้าแต่บรม กษัตริย์ ขอพระองค์อย่าทรงประมาทธรรมเลย. ข้อความที่ข้าพระองค์ กล่าวแล้วในปัญหาของพระองค์นั้นเป็นวัตตบท ข้อนี้แลเป็นอนุศาสนี ขอพระองค์จงทรงคบหาสมาคมกับผู้มีปัญญา จงมีคุณอันงามทรงทราบข้อ นั้นด้วยพระองค์แล้ว จงทรงปฏิบัติให้ครบถ้วนเถิด
จบ เตสกุณชาดกที่ ๑.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๑๐๐๗๕-๑๐๑๘๕ หน้าที่ ๔๓๘-๔๔๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=10075&Z=10185&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=27&item=2438&items=8              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=27&item=2438&items=8&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=27&item=2438&items=8              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=27&item=2438&items=8              ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=2438              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_27 https://84000.org/tipitaka/english/?index_27

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]