ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
             [๕๙๗] คำว่า เจ้าทิฏฐินั้นย่อมถึงความวิวาทในข้างหน้าในโลก ความว่า อนาคต
เรียกว่า ข้างหน้า. เจ้าทิฏฐินั้น ตั้งวาทะของตนในข้างหน้า ย่อมถึง เข้าถึง เข้าไปถึง ถือ ยึดมั่น
ถือมั่น ซึ่งความทะเลาะ ความหมายมั่น ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความทุ่มเถียง ด้วยตนเอง
แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า เจ้าทิฏฐินั้นย่อมถึงความวิวาทในข้างหน้าในโลก. อีกอย่างหนึ่ง
เจ้าทิฏฐินั้น ย่อมทำความทะเลาะ ความหมายมั่น ความแก่งแย่ง ทำความวิวาท ทำความทุ่มเถียง
กับบุคคลอื่นผู้กล่าวในข้างหน้า ว่าท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ ฯลฯ หรือจงแก้ไขเพื่อปลดเปลื้องวาทะ
ถ้าท่านสามารถ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ย่อมถึงความวิวาทในข้างหน้าในโลก.
             [๕๙๘] คำว่า ละทิฏฐิที่ตกลงใจทั้งปวงแล้ว ความว่า ทิฏฐิ ๖๒ ประการ เรียกว่า
ทิฏฐิที่ตกลงใจ ชันตุชน ละ สละ ทิ้ง ปลดปล่อย บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี
ซึ่งทิฏฐิที่ตนตัดสินแล้วทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ละทิฏฐิที่ตกลงใจทั้งปวงแล้ว.
             [๕๙๙] คำว่า ชันตุชน  ... ย่อมไม่ทำความทุ่มเถียงในโลก ความว่า ชันตุชนย่อมไม่ทำ
ความทะเลาะ ไม่ทำความหมายมั่น ไม่ทำความแก่งแย่ง ไม่ทำความวิวาท ไม่ทำความทุ่มเถียง
สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอัคคิเวสสนะ ภิกษุมีจิตพ้นวิเศษแล้วอย่างนี้ ย่อมไม่
โต้เถียง ไม่วิวาทกับใครๆ สิ่งใดที่เขากล่าวกันในโลก ก็กล่าวตามสิ่งนั้น มิได้ถือมั่น. ชื่อว่า
ชันตุชน คือ สัตว์ นระ มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์.
คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ชันตุชน  ... ย่อมไม่ทำความทุ่มเถียงในโลก. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสตอบว่า
                          เจ้าทิฏฐินั้น ตั้งอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจ นับถือเองแล้ว ย่อมถึงความวิวาท
                          ในข้างหน้าในโลก ชันตุชนละทิฏฐิที่ตกลงใจทั้งปวงแล้ว ย่อมไม่ทำ
                          ความทุ่มเถียงในโลก ดังนี้.
จบจูฬวิยูหสุตตนิทเทสที่ ๑๒.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๖๘๑๐-๖๘๓๒ หน้าที่ ๒๘๖-๒๘๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=6810&Z=6832&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=29&item=597&items=3              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=29&item=597&items=3&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=29&item=597&items=3              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=29&item=597&items=3              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=597              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]